มอบทุนสนับสนุน นวัตกรผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2

กองทุนนวัตกรรมเพื่อวิจัยในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาไวรัสโควิด19 และไวรัสอื่นๆในอนาคต

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2020

จากการระดมทุน โครงการกองทุนนวัตกรรมเพื่อวิจัยในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาไวรัสโควิด19 และไวรัสอื่นๆ ในอนาคต ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ ได้คัดเลือกการสนับสนุนนวัตกร จำนวน 1 ราย คือ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งจัดทำโครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศไทย

ปัญหาและที่มา

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ทำให้เกิดการล็อคดาวน์ในประเทศขึ้น ทำให้สถานการณ์ในประเทศไทยดีขึ้นไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศกว่า 100 วัน แต่อย่างไรก็ตามช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเกิดขึ้นทำให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นในสังคมอีกครั้ง

จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ได้โดยตรง และถึงแม้จะมีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ได้ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าประเทศไทยจะได้รับวัคซีนเมื่อใด

ประเทศไทยยังไม่มีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศมาก่อน แต่การพัฒนาวัคซีนในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการต่อยอดวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของระบบสาธารณสุขของประเทศได้

แนวทางการแก้ปัญหา

เพื่อเป็นการทำให้ประเทศมีความมั่นคงทางด้านสุขภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องสามารถพัฒนาองค์ความรู้และสร้างระบบที่เอื้ออำนวยส่งเสริมให้นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเองได้แทนการพัฒนาต่อยอดวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศ

รูปแบบของโครงการ

โครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศไทยโดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เริ่มทำการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 มาตั้งแต่เดือนมีนาคม นับตั้งแต่เชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ระบาด โดยการถอดรหัสข้อมูลพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 และผลิตโดยใช้พืช จากนั้นจะดำเนินการทดลองในสัตว์ทดลองเพื่อดูว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันตอบสนองหรือไม่ ก่อนเข้าทำการทดสอบในมนุษย์ต่อไป

การดำเนินการ