ความเคลื่อนไหว

  • ความคืบหน้าโครงการ > มอบอาหารเพื่อสุนัขยากไร้ มูลนิธิช่วยเหลือสุนัขแหลมแม่พิมพ์

    มอบอาหารให้สุนัข 600 ชีวิต ที่มูลนิธิช่วยเหลือสุนัขแหลมแม่พิมพ์

    12 เมษายน 2024

    มอบอาหารเพื่อสุนัขยากไร้ ที่มูลนิธิช่วยเหลือสุนัขแหลมแม่พิมพ์ จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีผู้ร่วมบริจาคให้แก่มูลนิธิลดน้อยลง ทำให้สุนัขที่มูลนิธิดูแลก็ประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร สุนัขได้รับอาหารไม่เพียงพอจนเกิดอาการเครียด หิว และกัดกัน อีกทั้งสุนัขที่อยู่ในป่า ริมถนน ชายหาด ได้รับอาหาร เพียงบางวันเท่านั้น ทำให้สุนัขบางตัวจึงเริ่มเข้าไปบริเวณบ้านของคน พยายามคุ้ยหาอาหาร ทำให้ผู้คนได้รับความเดือดร้อนไปด้วย

    ความเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับอาหาร สุนัขในมูลนิธิได้รับอาหารอิ่มทุกมื้อ ทำให้สุนัขไม่เครียด และไม่กัดกัน เพื่อแย่งอาหาร รวมถึงสุนัขที่อยู่ ตามป่า ริมถนน และชายหาดจะคอยอาหารจากมูลนิธิที่เดิม โดยมาไปรบกวนบ้านของผู้คนอีก เพราะสุนัขจะรู้ว่า ทางมูลนิธิจะนำอาหารอาหารมาให้ทุกวัน การได้รับบริจาคนี้ มูลนิธิได้นำไปจัดซื้ออาหารให้สุนัขเกือบ 600 ชีวิตให้ได้อิ่มท้อง และการให้อาหารสุนัข จรจัดจนคุ้นเคยทำให้สามารถจับสุนัขทำหมันเพื่อลดจำนวนประชากรสุนัข จรจัดลงได้อีกด้วย

    ความประทับใจจากผู้ดูแลสุนัข


    นายสมพงษ์ แวววับ
    พนักงานที่อยู่ดูแลสุนัขมากว่า 2 ปี สังเกตได้ว่าก่อนหน้านี้สุนัขมีการแย่งอาหารกันแม้ทางเราจะให้อาหารสุนัขแต่ละวันแบบแยกชามกัน แต่สุนัขบางตัวกินไม่อิ่ม และเริ่มเข้ามากัดสุนัขอีกตัว เพื่อแย่งอาหาร แต่หลังจากที่สุนัขได้รับอาหาร ทำให้สุนัขได้รับอาหารเพียงพอ ทั้งสุขภาพสุนัขหลายตัวดีขึ้น และไม่แย่งอาหารกันเหมือนก่อน


    นายอนุชา บุญสอน
    พนักงานที่ดูแลสุนัขมากว่า3ปี สุนัขยากไร้จรจัดที่อยู่ตามป่า ริมถนน ชายหาดมีจำนวนมากขึ้นทุกปี เนื่องจากทางมูลนิธิไม่มีอาหารเพียงพอ จึงทำให้สุนัขบางตัวยังคงหวาดระแวง ไม่กล้าเข้ามาใกล้ แต่หลังจากได้รับอาหารเทางมูลนิธิสามารถเข้าใกล้สุนัขได้มากขึ้น เนื่องจากสุนัขจะคุ้นเคยว่าทางมูลนิธิมาให้อาหารทุกวัน บางตัวจับได้ บางตัวเข้ามาใกล้จนสามารถเป่ายาสลบได้ จนสามารถทำหมันให้สุนัขได้ทุกอาทิตย์ ทำให้ประชากรสุนัขจรจัดลดลงบ้าง หากไม่มีผู้นำสุนัขมาปล่อยเพิ่มอีก

    ผลลัพธ์จากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลง
    สุนัขยากไร้ภายในมูลนิธิ และสุนัขยากไร้ที่อาศัยอยู่บริเวณป่า ริมถนน ชายหาด บริเวณตำบลชากโดนไปจนถึงชายหาด แหลมแม่พิมพ์600 ตัวสุนัขได้รับอาหารที่เพียงพอทำให้สุนัขไม่เครียด ไม่กัดกัน และการให้อาหารสุนัขจรจัดยากไร้ทุกวัน ทำให้สร้างความคุ้นเคยจนสามารถจับสุนัขเหล่านั้นมาทำหมัน เพื่อลดจำนวนประชากรสุนัข และสุนัขจรจัดจะไม่ไปรบกวนสร้างความวุ่นวายให้ผู้คนในหมู่บ้านอีกด้วย
    ภาพกิจกรรม


    อาหารที่จัดเตรียมให้แกสุนัขภายในมูลนิธิจานวน300ตัว ประกอบไปด้วยข้าว อาหารเม็ด และไก่บด ส่วนอาหารที่จัดเตรียมเพื่อสุนัขจรจัดยากไร้ที่อยู่บริเวณในป่า ริมทาง บริเวณชายหาด ประกอบไปด้วยข้าว อาหารเม็ด โครงไก่บด อาหารเม็ด โครงไก่บด ซึ่งจะต้องออกไปให้สุนัขทุกๆวันเพื่อให้สุนัขได้กินอิ่มท้อง และสร้างความคุ้นเคยกับสุนัขเพิ่ที่จะสามารถจับสุนัขทำหมันได้มากขึ้น


    สุนัขจะได้รับอาหารในจานวนที่พอเพียงและเท่ากัน ทางมูลนิธิจะให้อาหารด้วยชามไม่เทใส่รางเพื่อที่ด้วยชามไม่เทใส่รางเพื่อที่สุนัขตัวที่อ่อนแอกว่าจะได้กินอย่างเท่ากัน และพนักงานจะยืนดูสุนัขจนกว่าสุนัขจะกินอาหารเสร็จ


    สุนัขที่เคยขาดสารอาหารและถูกนามาปล่อยทิ้งริมทางมีสุขภาพดีขึ้นด้วยอาหารที่เพียงพอ มีสุขภาพดี ร่างกายสมบูรณ์


    สุนัขที่อาศัยอยู่ริมถนน ชายหาดจะรอคอยอาหารอยู่บริเวณที่เดิมทุกๆวัน โดยไม่ไปรบกวนร้านอาหารหรือบ้านของผู้คน จนสร้างความเดือดร้อนเหมือนก่อนหน้านี้


    การให้อาหารสุนัขจรจัดยากไร้เหล่านี้ในทุกๆวันสามารถสร้างความเชื่อใจให้กับสุนัข จนสามารถจับให้กับสุนัขหรือสามารถอยู่ใกล้สุนัขจนเป่ายาสลบเพื่อนำสุนัขจรจัดเหล่านี้มาทำหมัน เพื่อลดจำนวนประชากรสุนัขได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > “ปลูกจิตสำนึก ด้านการลด และแยกขยะ” ด้วยPUPPET ROADSHOW

    “ปลูกจิตสำนึก ด้านการลด และแยกขยะ” ให้เด็กนักเรียน

    12 เมษายน 2024

    มูลนิธิคุณนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนเป็นส่วนหนึ่งในการทำกิจกรรมพี่ DoDo และเพื่อนชวนแยกขยะ พร้อมการเผยแพร่สื่อการเรียนการสอนเพื่อโลกสีเขียว Video การเรียนการสอน 10 ตอน

    กิจกรรมพี่ DoDo

    • วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 ที่พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร)
    • วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2566 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
    • วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 งาน "อยากวิ่งกับหมา" ที่เมืองโบราณ
    • วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 ที่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน
    • วันศุกร์และเสาร์ที่ 16 และ 17 มิถุนายน ที่จังหวัดเชียงราย
    • วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    • วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ที่โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา
    • วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ที่โบราณสถานป้อมเพชร
    • วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 งานวันเด็กแห่งชาติ ที่พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 จตุจักร
    • วันที่ 22 และ 23 มกราคม 2567 ที่ โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม

    กิจกรรมเพื่อนชวนแยกขยะ (มีกิจกรรมการแสดงหุ่นเชิด วาฬน้อยท้องผูก) 

    • โรงเรียนวัดธงชัยธรรมจักร อ.บางสะพาน
    • โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา ผู้เข้าร่วม 300-400 คน
    • งานวันเด็กแห่งชาติ ที่พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 จตุจักร

    ข้อเสนอแนะ เด็กและเยาวชนมีความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพื้นที่หรือจังหวัด แต่ขึ้นอยู่กับคุณครูในแต่ละโรงเรียนว่าให้ความสำคัญความรู้พื้นฐานในคการคัดแยกขยะมากน้อยอย่างไรบ้าง เช่น จังหวัดเชียงรายเป็นที่น่าแปลกใจมาก ว่านักเรียนมีความรู้เรื่องการแยกขยะดีมาก และทุกคนมีแก้วน้ำส่วนตัว ะและปลอดภัยต่อการใช้งาน

    ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลง
    เด็กและเยาวชน7,000 คน

    เด็กมีความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ

    ภาพกิจกรรม


    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > กองทุนช่วยเด็กป่วยไปหาหมอกับมูลนิธิยุวรักษ์

    พาเด็กป่วย 5 คนไปหาหมอกับมูลนิธิยุวรักษ์ ปี 2566

    12 เมษายน 2024

    มูลนิธิยุวรักษ์ได้ทำการช่วยเหลือเด็กป่วยที่ครอบครัวที่ยากจน ยากไร้ ด้อยโอกาส บางกรณีก็มีส่วนต่างจากสิทธิ์ที่คนไข้ได้รับ บางกรณีครอบครัวเดียวกันแต่ลูกป่วยหมดทุกคน ฐานะก็ยากจน บางครอบครัวสามีทำงานคนเดียวแต่ลูกป่วยโรคร้ายแรง ต้องรักษาตัวระยะยาว จำเป็นต้องได้รับยาที่แพงอย่างต่อเนื่อง มูลนิธิยุวรักษ์จึงเข้าไปช่วยเหลือด้านต่างๆ

    • ช่วยเหลือในด้านให้ค่าเดินทางไปพบแพทย์
    • ช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลในส่วนเกินของที่คนไข้ได้รับ
    • ช่วยเหลือด้านพัฒนาการด้านร่างกายของคนไข้ ที่อาจต้องไปพบนักกายภาพเป็นประจำ
    • ช่วยเหลือเกี่ยวกับสิ่งของที่จำเป็นของคนไข้ที่ต้องใช้ประจำ เช่น แพมเพิท ยาบางตัวที่มีราคาแพงนอกสิทธิ์ที่ได้รับ รวมถึงนมและอาหารเสริมทางการแพทย์

    มูลนิธิยุวรักษ์ได้นำเงินที่ได้รับบริจาคจากโครงการฯ ไปช่วยเหลือเด็กป่วยทั้ง 5 คน ต่อเนื่องต่อไปนี้ 

    เด็กคนที่ 1

    เด็กหญิงนะ อยู่ในความดูแลของมูลนิธิยุวรักษ์ ปี 2558 ป่วยเป็นโรคหัวใจชนิดเขียว และมีปัญหาทางการได้ยิน และระบบทางเดินหายใจ มีอาการนอนกรน หายใจทางปากและมีกลั้นหายใจขณะนอนหลับ คุณหมอนัดให้มาตรวจดูอาการเรื่อยๆ จนกระทั่งอาการเริ่มหนักขึ้นถึงขั้นหยุดหายใจตอนหลับ คุณหมอเลยนัดส่องกล้องทางจมูก ได้พบก้อนเนื้อเป็นพังผืดบริวณโคลนลิ้นและในโพรงจมูก และนัดผ่าตัด ในวันที่ 2 มิย. 66 และตรวจการนอนหลับหลังผ่าตัด ในวันที่ 17 มิย.66 ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี จนกระทั่ง 3-4 เดือนต่อมา น้องนะเริ่มมีอาการเหมือนเดิม คุณหมอได้ทำการส่องกล้องอีกครั้งพบก้อนเนื้อโตขึ้นมาอีกและพบหลายจุด คุณหมอทำการผ่าตัดอีกครั้งเมื่อวันที่ 3 มค. 67 และดูอาการอยู่ห้อง ICU จนถึงวันที่ 5 มค.67 และได้มาพักรักษาต่อที่บ้าน ปัจจุบันน้องนะยังต้องพบหมอเพื่อติดตามอาการตามคุณหมอนัดต่อไป

    ปัจจุบันคุณหมอโรคหัวใจต้องนัด 6 เดือน/ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ และคุณหมอหูคอจมูก นัดทุก 3 เดือน

    เด็กคนที่ 2

    เด็กชายแดง อยู่ในความดูแลของมูลนิธิยุวรักษ์ ปี 2560 เป็นเด็กคลอดก่อนกำหนดตอนอายุครรภ์ได้ 7 เดือน ตอนคลอดน้องแดงหยุดหายใจประมาณ 1 ชั่วโมง คุณหมอช่วยปั้มหัวใจจนน้องแดงฟื้น และต้องอยู่ในตู้อบอีก 3 เดือน พออายุ 9 เดือน คุณหมอทำการ X-Ray ร่างกายและสมอง ผลออกมาน้องแดงมีอาการสมองฝ่อและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัจจุบันต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย แต่จากที่น้องแดงตัวโตและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น จะไม่สามารถนั่งนานๆได้ เพราะกระดูกช่วงเอวเล็ก ทำให้ช่วงบนจะใหญ่กว่าช่วงล่าง ทำให้การพัฒนาทางด้านร่างกายไม่ค่อยดีนัก แต่ทางด้านสมองมีความจำดี สอนอะไรจำได้หมด

    ปัจจุบันคุณหมอนัดไปทำกายภาพอาทิตย์ละ 2 ครั้ง

    เด็กคนที่ 3

    เด็กชายวัต อยู่ในความดูแลของมูลนิธิยุวรักษ์ ปี 2563 ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง เริ่มแรกน้องวัตมีอาการปวดหัว อาเจียน มองเห็นภาพช้อน และเริ่มมีแขนขาอ่อนแรง และชักเกร็ง จึงตรวจเจอเนื้องอกในสมอง เมื่อวันที่ 30 พย. 2562 และโรงพยาบาลได้ส่งตัวมารักษาที่ต่อโรงพยาบาลจุฬา เนื่องจากโรงพยาบาลเดิมมีเครื่องมือในการรักษาไม่พร้อม และรักษาอาการอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลจุฬา โดยทำการผ่าตัดและให้ยาเคมีบำบัดและฉายแสง จนครบการรักษา และคุณหมอนัดติดตามอาการและทำ MRI ปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูค่ามะเร็งและก้อนเนื้อในสมอง และผลของการทำ MRI ปี 2566 ก้อนเนื้อในสมองมีอาการเล็กลง และไม่มีเชื้อมะเร็งแต่โอกาสจะกลับมาเป็นใหม่ได้ อาการปวดหัวของน้องวัตดีขึ้น คุณหมอให้ยา แคลเซี่ยม วิตามิน D มารับประทาน และติดตามผลตามอาการต่อไป

    ปัจจุบันน้องวัตสามารถไปโรงเรียนได้ แต่ร่างกายยังไม่เต็มร้อย เพราะยังมีปัญหาเรื่องการมองเห็น และสายตาสั้น จึงต้องใส่แว่นเพื่อถนอมสายตา และคุณหมอนัดตรวจเลือดและมะเร็ง ปีละ 1 ครั้ง ส่วนด้านหูคอจมูก นัดทุก 6 เดือน

    เด็กคนที่ 4

    เด็กหญิงนี ป่วยด้วยโรค Case Hydrocephalus ตาด้านขวาไม่มีลูกตา มองไม่เห็น ต้องรักษาตัวด้วยแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำศัลยกรรมจมูกและตา รวมถึงผ่าตัดสมองเพื่อสอดท่อระบายน้ำออก 

    น้องนีเกิดภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus) ตั้งแต่แรกเกิด ทำให้ตาด้านขวาไม่มีลูกตา ตาด้านซ้ายมองเห็นบ้างแต่ไม่ชัด ต้องได้รับการผ่าตัดช่วยเหลือในการระบายน้ำออกจากสมอง ศัลยกรรมตกแต่งจมูกและตา ส่งผลให้พัฒนาการล่าช้าทุกด้าน จึงจำเป็นต้องไปรักษาตัวจากที่ต่างจังหวัดและต้องกระตุ้นพัฒนาการที่โรงพยาบาลใกล้บ้านอย่างสม่ำเสมอ และได้ผ่าตัดศัลยกรรมแล้วเมื่อวันที่ 4 ม.ค.63 นัดติดตามอาการโดยวิธีการ Telemedicine โดยมีสหวิชาชีพทั้งแพทย์ นักจิตวิทยาพูดคุยเกี่ยวการอาการทั้งทางกายและทางจิตใจ ด้านพัฒนาการหลังจากผ่าตัดจมูกแล้ว น้องนีสามารถพูดสื่อสารพอได้ บอกความต้องการได้ ทำกิจวัตรประจำวันได้แต่มารดาต้องช่วยเหลือเรื่องความสะอาด ทำตามคำสั่งได้ แยกหมวดหมู่และสีได้ถูกต้องแต่ทั้งนี้ยังต้องให้มีคนดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด 

    ปัจจุบันน้องนี ยังคงต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง และหากผู้ป่วยมีประจำเดือนแพทย์เจ้าของไข้จะทำหัตการตัดมดลูก เนื่องจากผู้ป่วยดูแลตนเองได้น้อย และต้องศัลยกรรมตกแต่งจมูกให้ดูดีขึ้น

    เด็กคนที่ 5

    เด็กหญิงมูนา อยู่ในความดูแลของมูลนิธิยุวรักษ์ ปี 2561 ตั้งแต่อายุ 1 เดือน ป่วยด้วยโรคภาวะต่อมใต้สมองอักเสบ มีภาวะชักต่อเนื่อง ส่งผลให้หยุดการเจริญเติบโต แพทย์จำเป็นต้องให้ยากระตุ้นการเจริญเติบโต เป็นเวลาต่อเนื่อง 15 ปี เพื่อให้เติบโตได้ใกล้เคียงเด็กปกติ คุณแม่ได้ส่งผู้ป่วยไปเรียนที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ 2 ปี แล้ว หลังจากเข้าเรียน ทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้มากขึ้น กลัวคนน้อยลง ปัจจุบันสามารถพูดได้เป็นประโยคสั้นๆ แต่พูดยังไม่ค่อยชัด ไม่สามารถเดินเองได้ต้องมีคนช่วยพยุงเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษาพิเศษช่วยน้องมูนาได้ฝึกเดินและทำกายภาพ

    ปัจจุบันน้องมูนาอาการดีขึ้น คุณหมอนัดติดตามอาการและรับยานัดทุกๆ 3 เดือน และกระตุ้นยาฉีดเพิ่มฮอร์โมนวันละ 1 ครั้ง

    ความประทับใจจากคุณแม่น้องมูนา


    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > อาสาปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูวางไข่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง (จ.กาญจนบุรี)

    อาสาสร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง กาญจนบุรี

    9 เมษายน 2024

    โครงการอาสาปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูวางไข่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง จ.กาญจนบุรี ได้ดำเนินการตลอดช่วงเวลาฤดูปลาวางไข่หรือฤดูฝน ครอบคลุมเวลาตั้งแต่ 16 มิถุนายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566 โดยแบ่งการทำงานเป็นครั้ง ๆ จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 4-5 วัน ซึ่งแต่ละครั้งได้มีการเปิดรับอาสาสมัครครั้งละ 10-15 คน เข้ามาขับเคลื่อนการทำงานภาคสนาม ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนเขาแหลม อุทยานแห่งชาติเขาแหลม กลุ่มคนอาสาเพื่อแผ่นดิน เป็นต้น

    รูปแบบการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนโดยอาสาสมัครแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

    ช่วงที่ 1 ช่วงต้นฤดูกาล พวกเรามุ่งเน้นการลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ เตรียมอุปกรณ์ และมีการฝึกปฏิบัติงานให้กับอาสาสมัครที่เข้ามาใหม่ รวมทั้งการเรียนรู้และทำความเข้าใจสภาพพื้นที่ที่มีความหลากหลาย

    ช่วงที่ 2 ช่วงกลางฤดูกาล มุ่งเน้นการทำงานแข่งกับเวลา ออกเรือไปเพื่อช่วยเหลือปลาผ่าน 3 ภารกิจย่อย ได้แก่

    1. ค้นหาอุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายออกจากลำน้ำ
    2. ตัด แกะ ปลดปล่อย ช่วยชีวิตปลาออกจากอุปกรณ์ประมงผิดกฎหมายคืนสู่ลำน้ำ
    3. เก็บกู้อุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายออกจากลำน้ำ

    ช่วงที่ 3 ช่วงท้ายฤดูกาล เน้นการเข้าพื้นที่เพื่อหาความร่วมมือ ประชุมร่วม ประเมินข้อมูลการทำงานเพื่อวางแผน และส่งข้อมูลให้หน่วยงานในความรับผิดชอบนำไปใช้ในการแก้ปัญหาระยะยาวต่อไป

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

    “ เราเห็นคนที่ทำงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จริง ที่มีใจแต่ขาดการสนับสนุนในหลายๆ อย่าง เราได้ใช้ชีวิตกับพี่ๆ น้องๆ อาสากลุ่มใบไม้ ให้ความรู้สึกเหมือนไปทำงานกับญาติพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องมากกว่า เพราะทุกคนใส่ใจดูแลกันมากๆ ประทับใจสุดๆ เป็นพื้นที่ปลอดภัยสุด อยากมีโอกาสได้เจอทุกคนอีก ได้เรียนรู้จักการให้มากกว่าการรับไปด้วยกันอีก ขอบคุณประสบการณ์ครั้งนี้จริงๆ ที่หลังจากนี้ทุกครั้งที่เราหาปลาเราคงมีจิตสำนึกส่วนนี้ฝังอยู่ในใจและถ่ายทอดต่อไปให้คนรอบตัวได้รู้และได้ตระหนักจริงๆ ” คุณไอรินทร์ สมสรรพมงคล อาสาสมัครโครงการ

    “ เป็นช่วงเวลา 4 วัน 3 คืน ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา โดยเป็นการนอนแพแบบไม่มีไฟฟ้า ต้องตักน้ำจากแม่น้ำมาอาบ นี่ยังไม่รวมกับทางขึ้นลงแพที่ลาดชันพอฝนตกดินก็เละและลื่น งานอาสานี้เป็นมากกว่างานอาสาคือความสัมพันธ์ เราได้มานั่งคุยกัน ปรึกษากัน ช่วยเหลือกัน และใช้เวลาร่วมกันในการทำสิ่งที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน และทำให้รู้ว่าคนทำงานตรงนี้ต้องมีคุณภาพชีวิตแบบนี้อยู่ตลอด ไม่ใช่แค่เรื่องคุณภาพชีวิต แต่ยังมีเรื่องของความพร้อมของสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน มันน่าเศร้าใจที่ไม่มีอะไรเลยสักอย่างที่ ‘มากเพียงพอ’ จะใช้ มันน่าเศร้าใจมากเลยที่งานอนุรักษ์มันดู ‘ไม่สำคัญพอ’ ที่จะได้รับการสนับสนุนทั้งกำลังคน อุปกรณ์ และงบประมาณ ” คุณชนากานต์ จิตรหาญ อาสาสมัครโครงการ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    พื้นที่ป่าเกิดพื้นที่ปลอดภัยของปลา สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี200,000 ไร่พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ในบริเวณผืนน้ำได้รับการปกป้องจากการออกทำงาน ลาดตระเวณ ทั้งจากอาสาสมัคร และจากเจ้าหน้าที่ภาคสนามจากหน่วยประมงฯ และอุทยานฯ โดยได้มีการสนับสนุนทรัพยากรทำงาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เสบียง ไฟฉาย กระเป๋ากันน้ำ ยารักษาโรค จากการดำเนินงานของโครงการ
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม







    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ซ่อมแซมแพเพื่องานป้องกันทรัพยากรทางน้ำ ห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

    ซ่อมแซมแพที่ปากน้ำห้วยบิคลี่ กาญจนบุรี

    9 เมษายน 2024

    ในการซ่อมแซมแพครั้งนี้ เป็นแพอาสาสมัครที่ใช้ร่วมกันทำงานเพื่องานป้องกันทรัพยากรทางน้ำ ทั้งพ่อแม่พันธุ์ปลาในธรรมชาติ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่าในพื้นที่ โดยพื้นที่ตั้งของแพอยู่ที่ปากห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

    ในช่วงก่อนฤดูฝนเราได้เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจความเสียหาย ประเมินการทำงาน ค่าใช้จ่าย และวางแผนการทำงานเพื่อการซ่อมแซมแพให้แล้วเสร็จก่อนช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงฤดูปลาวางไข่ที่จะมีอาสาสมัครและหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาทำงานภาคสนาม โดยมีทีมอาสาสมัครกลุ่มใบไม้จำนวน 6 คน เข้าพื้นที่สำรวจ และวางแผนการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยประมงฯ

    เดือนมิถุยายน-กรกฎาคม เป็นช่วงวางแผนระดมทรัพยากรการทำงาน และเปิดรับทีมอาสาสมัครที่มีทักษะช่าง โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาด้วยสองมือ ได้ติดต่อเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัคร โดยในครั้งนี้มีทีมช่างอาสาเข้าร่วมวางแผนการทำงาน

    • เริ่มจากการรื้อถอนโครงสร้างที่มีการผุพัง โดยใช้อาสาสมัครร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ประมง ร่วมกันรื้อแพเก่าที่ได้รับความเสียหาย ใช้เวลา 3 วัน ในการทำงาน
    • ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาด้วยสองมือ นำทีมช่างอาสาจำนวน 15 คน เข้าร่วมปฏิบัติงาน ในการทำโครงสร้าง เปลี่ยนเสา คาน โครงสร้างสำคัญของแพ โดยขณะทำงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จนแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำงาน
    • การเข้าพื้นที่ทำงานของอาสาสมัคร ร่วมกับชาวบ้าน ช่างจากหน่วยประมง ในการก่อสร้างผนัง โต๊ะ ห้องน้ำ สุขภัณฑ์ โดยมีการจัดซื้ออุปกรณ์ วัสดุก่อสร้างในการทำงานเข้าไปเพิ่ม รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมในการซ่อมแซมแพ

    จนถึงช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน เป็นผู้ดูที่ปลาและสัตว์น้ำจะเริ่มวางไข่ ทีมอาสาได้เข้าพื้นที่ทำโครงการเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้พ่อแม่พันธุ์ปลา แพแห่งนี้ก็ได้ซ่อมแซมจนแล้วเสร็จ สามารถใช้งานได้ รองรับการทำงานของอาสาสมัครไม่น้อยกว่าปีละ 50 คน ด้วยดี

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

    “ ดีใจที่เห็นแพมีความแข็งแรงมั่นคง เพราะเป็นหนึ่งในอาสาสมัครที่ได้เข้าร่วมภารกิจทำงานกับกลุ่มใบไม้มาตั้งแต่แรก ๆ เห็นการทรุกโทรม ผุพังของแพ พร้อม ๆ กับประโยชน์ที่แพได้รองรับ ดูแล คนทำงาน ที่สามารถช่วยเหลืองานอนุรักษ์แม่ปลา เมื่อแพได้ถูกซ่อมแซมจึงทำให้เกิดความมั่นใจว่าการทำงานจะเกิดความยั่งยืน ทั้งต่อปลา แม่น้ำ และต่อเครือข่ายอาสาสมัครคนทำงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่ ” คุณบัวลูกแก้ว ศักดิ์ชัชวาล อาสาสมัครที่ใช้งานแพ 

    “ รู้สึกได้ใช้ทักษะและความตั้งใจของตัวเอง ในการทำประโยชน์ เพราะการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสถานที่ แพทำงาน จำเป็นต้องมีความเข้าใจงานช่าง รู้จักวัสดุ ในครั้งนี้มีโอกาสเข้าร่วมตั้งแต่การสำรวจความเสียหายและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มใบไม้และพี่ ๆ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลแพ เมื่อแพซ่อมแซมเสร็จก็เหมือนเราได้เห็นความสำเร็จไปด้วย และเชื่อว่าแพที่ช่วยกันซ่อมจะสามารถใช้งานเกิดประโยชน์ และพร้อมรองรับการทำงานของผู้คนได้อีกหลายปี ” คุณอาทร จักรวาลมลฑล อาสาสมัครที่ใช้งานแพ

    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ผู้นำการเปลี่ยนแปลง Teach For Thailand 2023

    ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา 2566

    9 เมษายน 2024

    ในปี 2566 มีผู้สมัครโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 รวม 1,281 คน โดยผ่านการคัดเลือกและเข้าสอนในโรงเรียนรวม 80 คน

    ปัจจุบันในภาคเรียนที่ 2/2566 เรามีครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ 129 คน ทำงานใน 5 ภาค 54 โรงเรียน และพัฒนานักเรียนอยู่ 13,081 คน

    ตลอดทั้งปี 2566 เรามีครูผู้นำฯ ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2565 จนถึงภาคเรียนปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 182 คน ทำงานใน 5 ภูมิภาค 60 โรงเรียน และมีนักเรียนที่ได้รับประโยชน์ในทุกภาคเรียนรวมทั้งสิ้น 36,040 คน (เรียนกับครูผู้นำฯ ไปแล้ว 22,959 คน กำลังเรียนอีก 13,081 คน)

    เรามุ่งมั่นว่าในปี 2567 ไปจนถึง ปี 2569 เราจะคัดสรรครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 300 คน เพื่อเข้าถึงนักเรียน 100,000 คน ใน 175 โรงเรียน และเครือข่ายศิษย์เก่าจะเข้าถึงนักเรียนได้อีก 500,000 คน โดยเราวางเป้าหมายที่จะขยายการทำงานผ่าน 3 เสาหลัก

    1. Grow เติบโตและขยายผลกระทบเชิงบวกจากการทำงานของเราผ่านการเข้าถึงเด็กนักเรียนให้ได้มากขึ้น โดยเรามีแผนจะขยายการทำงานไปสู่ชั้นประถม จากที่ปัจจุบันครูผู้นำฯ สอนเพียงระดับมัธยมต้น
    2. Accelerate เร่งขยายผลกระทบเชิงบวกจากการทำงานของศิษย์เก่าฯ ผ่านการสร้างความร่วมมือในกลุ่มศิษย์เก่า แทนการทำงานแบบต่างคนต่างทำหรือการเริ่มจากศูนย์ เพื่อให้เกิดโครงการที่พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกได้รวดเร็วขึ้น
    3. Imprint มุ่งมั่นผลักดันการศึกษาและเป็นแบบอย่างให้ชุมชน ด้วยการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและเครื่องมือต่างๆ ที่เราได้พัฒนามาตลอดระยะเวลาหลายปี ผ่านการทำงานของครูผู้นำฯ และศิษย์เก่าฯ
    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

     “ ครูเขาไม่ได้เดินเข้ามาสอนแล้วออกไป แต่เป็นครูในทุก ๆ สถานที่ ทุกช่วงเวลาของชีวิต ตอนเรียนม. 2 ทางโรงเรียนได้รับครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เข้ามาเป็นครั้งแรก คือครูแขและครูกอล์ฟ ผมจึงได้รู้จักมูลนิธินี้ผ่านครูทั้งสองคน จากที่เคยออกไปเล่นช่วงเวลาพัก ก็ใช้เวลาว่างตรงนั้นมาพูดคุยกับครูแขครูกอล์ฟแทน เพราะได้แลกเปลี่ยนและมีกิจกรรมให้ทำตลอด ทำให้ผมได้ซึมซับกระบวนการ วิธีการทำงาน และการใช้ชีวิตแบบใหม่ ๆ กระบวนการสอนของครูแข เป็นการสอนที่ให้เด็กได้ลงมือทำและเรียนรู้ไปด้วยตัวเอง จากที่ไม่ชอบวิชานี้ กลายเป็นพวกผมชอบวิชาภาษาอังกฤษกันมาก ๆ ตอนม. 3 ครูแขได้ให้นักเรียนไปลองสัมภาษณ์ชาวต่างชาติ เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับพวกผมเพราะตามปกติแล้วแทบไม่มีโอกาสได้เจอคนต่างชาติเลย และพี่แขพี่กอล์ฟไม่ได้สอนแค่คำศัพท์เท่านั้น แต่ยังสอนทักษะการตัดวิดีโอคลิปอีกด้วย แนวคิดของครูแขครูกอล์ฟที่ผมยังจดจำมาใช้จนวันนี้ คือการให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสการเรียนรู้เท่ากัน ” น้องนรากร แก้วมณี (บีท) นักเรียนโรงเรียนวัดสังฆราชาที่ได้เรียนกับ ‘ครูแข’ ภรปภัช พิศาลเตชะกุล และ ‘ครูกอล์ฟ’ ศุภเกียรติ คุ้มหอยกัน ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ปัจจุบัน บีทกำลังสอบใบประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูและฝึกสอนที่โรงเรียนวัดสังฆราชา

     “ ครูแพรวมีวิธีการสอนที่เข้าใจเด็ก เด็กคนไหนเรียนรู้ได้เยอะก็สนับสนุน เด็กกลุ่มไหนเรียนรู้ช้า ก็จะค่อย ๆ สอนจากขั้น 1 ไป 2 ทำให้เด็กตามคนอื่นทัน และไม่หงุดหงิดเวลาเด็กตามไม่ทัน เห็นน้องพยายามเข้าใจความต่างของนักเรียน เราก็คิดว่าบางทีเราก็ไม่เข้าใจเวลาเด็กทำไม่ได้ แต่จริง ๆ เด็กแค่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน อย่างครูแพรวมีประสบการณ์ชีวิตเยอะ ก็จะไม่ได้เน้นสอนแต่วิชาการอย่างเดียว ในด้านการจัดการเรียนการสอน ก็มีลำดับชัดเจน มีการนำเข้าสู่บทเรียน และใช้สื่อหลากหลาย เช่น บางครั้งครูแพรวก็ใช้คลิปเสียงมาสอนภาษา กระบวนการเรียนการสอนใช้เทคโนโลยี เป็นประโยชน์และทันสมัย เราไม่ได้เป็นครูพี่เลี้ยงที่สอนเขาอย่างเดียว หลายครั้งเราก็ได้เรียนรู้จากเขาด้วย ” ครูกัญญา พุทธินาม (ตู่) ครูภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านเจดีย์แม่ครัว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงของครูแพรว ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 9

     “ พี่รู้จักโครงการ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ช่วงปี 63-64 ได้รู้ว่าครูที่มาสอนมาในชื่อ ‘ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ พอได้ฟังคำนี้แล้วมันมีพลัง อย่างมีน้องคนนึงจบจากรัฐศาสตร์ แล้วมาสอนคณิตศาสตร์ ตอนแรกเราคิดว่าวิชานี้จะเป็นข้อจำกัดของเด็กสายนี้ไหม ที่เขาไม่ถนัด แต่น้องเขาก็มุ่งมั่น ทำได้ดี พาทุกคนก้าวข้ามตรงจุดนี้ ทำให้เห็นว่าคนคนหนึ่งสามารถเรียนรู้ได้มากมาย ถ้าเราใส่ใจ นอกจากครูทีชจะเป็นผู้นำทางวิชาการแล้ว เขายังทำให้เด็กยอมรับ และกับครูพี่เลี้ยงก็ทำงานกันได้โอเค การร่วมงานกับเพื่อนครูก็ดี และเขาก็มีบ้านพักอยู่ใกล้โรงเรียน เมื่อมีกิจกรรมต่างๆในชุมชนก็มาร่วม อย่างกิจกรรมลงทะเบียนแอพ Thai D ของกระทรวงมหาดไทย มีการมาใช้พื้นที่ของโรงเรียน ให้นักเรียนและคนในพื้นที่มาลงทะเบียนใช้บัตรประชาชนผ่านทางออนไลน์ ครูทีชก็มาช่วยลงทะเบียนให้นักเรียน มีครูคนหนึ่งสอนคณิตศาสตร์ เขาก็ใช้ทุนชุมชนมาเกื้อกูลการศึกษาพานักเรียนไปเรียนที่สถานประกอบการทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แล้วสอนวางแผนทางการเงิน การลงทุน เจ้าของกิจการเองก็ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กในชุมชน เราอยากให้เด็กมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน โดยใช้ทุกวิชาเป็นสื่อพาเด็กไปถึงจุดนั้น นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้เด็กมุ่งมั่นและมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะของศตวรรษที่ 21 ซึ่งตรงนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตัวครูผู้นำ พอได้เข้ามาก็มีโอกาสพัฒนาตนเอง เป็นผู้นำนำการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดา แต่เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ จึงสามารถส่งต่อไปถึงเด็กได้ ครูแต่ละคนมีแนวคิด เจตคติที่ดี จึงพาจนเองเข้ามาสู่เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ” ผอ. ศิริพงษ์ จำใช้ ผู้อำนวยการโรงเรียนชิตใจชื่น จังหวัดปราจีนบุรี

    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > เย็บ ลด กดทับ-ที่นอนป้องกันแผลกดทับเพื่อผู้ป่วยติดเตียงบนดอย

    มอบที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียง

    3 เมษายน 2024

    โครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงยากไร้ ได้เข้าถึงและมีที่นอนป้องกันแผลกดทับใช้ ทดแทนที่นอนป้องกันแผลกดทับไฟฟ้าแบบเป่าลมที่มีราคาสูง อีกทั้งยังเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริง

    ขณะนี้โครงการได้จัดทำการผลิตที่นอนป้องกันแผลกดทับไปแล้ว เป็นจำนวน 60 ผืน โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาจิตอาสา ปี 2 คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 5 คน เป็นผู้เย็บที่นอนฯ โดยนักศึกษาฯ ใช้เวลาเย็บในช่วงปิดภาคเรียนการศึกษา และทั้งนี้นักศึกษาจิตอาสาฯ จะยังคงทำการเย็บที่นอนป้องกันแผลกดทับต่อไปให้แล้วเสร็จ

    สำหรับที่นอนป้องกันแผลกดทับจำนวน 60 ผืน ที่เย็บเสร็จแล้วนั้น มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย ( ป่วยให้ยืม@ติดดอย ) ได้ทำการส่งมอบให้กับ รพ.สต. แม่ยาว จำนวน 50 ผืน และ ผู้ญาติป่วยติดเตียงที่ติดต่อเข้ามาขอรับโดยตรง ทั้งในพื้นที่ อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่สรวย อีกจำนวน 9 ผืน และอีก 1 ผืน เก็บไว้เป็นตัวอย่างเพื่อการเผยแพร่ความรู้กับกลุ่ม อสม. ในจังหวัดเชียงราย

    และจากสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ ยังคงมีผู้ป่วยฯ ที่มีความต้องการใช้ที่อนป้องกันแผลกดทับ อีกจำนวนมาก มูลนิธิฯ จะยังคงทำระดมทุน/ทรัพยากรในการผลิตและทำการเย็บที่นอนฯ เพื่อส่งต่อให้กับ รพ.สต.ในพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป

    สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการในครั้งนี้

    • ความสนใจและความร่วมมือจากภาคประชาชน ทำให้เกิดจิตอาสาในพื้นที่เพิ่มขึ้น 
    • ได้รับความสนใจจากหน่วยงานท้องถิ่นนอกพื้นที่เป้าหมาย เข้าขอรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ และ อสม. ในพื้นที่
    • ผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ มีสภาพแผลฯ ที่ดีขึ้น และไม่เกิดแผลกดทับใหม่ขึ้นอีก ที่นอนมีการระบายอากาศได้ดี ดูแลง่าย ผู้ป่วยหลับสบายพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    ผู้พิการและผู้ป่วยผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ยาว อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย40 คนภาวะแผลกดทับที่เกิดขึ้นจากเดิมมีสภาพแผลที่ดีขึ้น มีการระบายอากาศอับชื้นได้ดี ไม่เกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยติดเตียงรายใหม่
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ส่งน้องเข้าห้องเรียนธรรมชาติ

    ส่งน้องเข้าเรียนธรรมชาติที่ป่าชายเลนบางปู

    28 มีนาคม 2024

    โครงการ “ส่งน้องเข้าเรียนธรรมชาติ” ดำเนินการในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยมีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม จำนวน 28 คน ครู 3 คน รวมทั้งสิ้น 31 คน ในรูปแบบโปรแกรมหลักสูตรธรรมชาติศึกษา ระยะเวลาครึ่งวัน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกฯ (บางปู) จ.สมุทรปราการ

    รูปแบบกิจกรรมมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เริ่มด้วยการแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มย่อย เพื่อให้เข้าถึงนักเรียนทุกคน และนำไปสู่กิจกรรมเกมถามตอบเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนที่บางปู เป็นการประเมินความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของนักเรียน และทำความรู้จักเกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลนผ่านการบรรยายเนื้อหา ก่อนพานักเรียนสำรวจและเรียนรู้ในห้องเรียนธรรมชาติป่าชายเลน เปิดรับประสบการณ์ใหม่จากทรัพยากรของจริงผ่านการสังเกตด้วยตา สัมผัสด้วยมือ การฟัง และการชิม รวมถึงการชี้ให้เห็นถึงปัญหาขยะตามแนวชายฝั่งทะเล นักเรียนจึงได้ช่วยกันเก็บขยะตามแนวป่าชายเลนเพื่อลดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ จากนั้นมาสรุปบทเรียนความรู้จากป่าชายเลนร่วมกันผ่านการทำใบงาน

    ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการทำกิจกรรม นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ในป่าชายเลน และตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการดำรงอยู่ของระบบนิเวศป่าชายเลนเพิ่มขึ้น เมื่อประเมินจากการตอบคำถามก่อนการบรรยายเปรียบเทียบกับข้อมูลที่นักเรียนตอบในใบงาน สรุปว่านักเรียนได้เห็นถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่จริง รวมถึงผลกระทบของขยะในระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับชาติ และได้ช่วยกันระดมความคิดเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

     “ กิจกรรมสนุกและได้ความรู้ ทั้งเรื่องต้นไม้ และสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงขยะทะเลที่มาจากแม่น้ำมาอยู่ที่บางปู และส่งผลกระทบต่อวาฬบรูด้าที่กินขยะทะเลแล้วกลายเป็นซากโครงกระดูกให้มาศึกษาที่บางปู ” เด็กหญิงธัญสิริ หวังดีน้องข้าวหอม

     “ กิจกรรมสนุก นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม กิจกรรมน่าสนใจได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นตนเอง วิทยากรให้ความรู้ได้ครอบคลุม พูดเพราะ อธิบายเก่ง นักเรียนเข้าใจง่าย และสิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม คือ ต้องการให้ขยายกลุ่มนักเรียนให้เพิ่มขึ้นในระดับชั้นอื่น เพราะเนื้อหาดีมาก นักเรียนในระดับชั้นอื่นจะได้รู้จักท้องถิ่นของตนเอง ” นางสาวพิชญ์นรี แสนขัติ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    เด็กและเยาวชนเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม จ.สมุทรปราการ 28 คนเด็กนักเรียนได้เรียนรู้ สัมผัส ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนผ่านประสบการณ์ตรง ตระหนักรู้ถึงผลเสียของขยะที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ และร่วมระดมความคิดเพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม








    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ปันสุขให้น้อง ผ่านการปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่ม

    ปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่มโรงเรียนวัดกาหลง

    28 มีนาคม 2024

    วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โครงการได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่ม ณ โรงเรียนวัดกาหลง ตำบลเปร็ง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ดำเนินการปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่มคือช่าง จำนวน 3 คน และมีผู้ที่ได้รับประโยช์คือนักเรียนโรงเรียนวัดกาหลง จำนวน 117 คน รวมถึงบุคลากรทางการศึกษาภายในโรงเรียนอีกจำนวน 10 คน

    สิ่งที่ได้รับจากการดำเนินการปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่ม คือการที่นักเรียนและบุคลากรภายในโรงเรียนได้มีเครื่องกรองน้ำดื่มที่สะอาดไว้บริโภค เนื่องจากก่อนหน้าที่จะทำการดำเนินการ ระบบน้ำของเครื่องกรองน้ำที่มีอยู่ไม่ทำงานในการกรองน้ำออกมา แต่ถ้าหากปรับปรุงเสร็จ ก็จะทำให้ระบบน้ำของเครื่องทำงาน และเกิดการกรองน้ำออกมา ทำให้นักเรียน รวมถึงบุคลากรภายในโรงเรียนวัดกาหลงได้มีน้ำสะอาดในการบริโภค

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    เด็กและเยาวชนเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดกาหลง จ.สมุทรปราการ117 คนเด็กนักเรียนมีน้ำดื่มที่สะอาดในการบริโภค
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ส่งเด็กเก่งให้ไปต่อ!! ทุนการศึกษาเพื่อเด็กเรียนดี สู้ชีวิตเพราะความยากจน ปี2

    เด็กนักศึกษาได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 7 คน

    28 มีนาคม 2024

    มูลนิธิเรดิออนฯ เริ่มเปิดรับสมัครเด็กทุนในโครงการ Hope Scholarship ปี 4 โครงการมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยเรามุ่งเน้นเด็กที่มีความมุ่งมั่นในการกลับไปพัฒนาชุมชน และส่งมอบโอกาสที่ตัวเองได้รับไปยังผู้อื่นอีกมากมายในอนาคต

    ในปี 2023 มูลนิธิเรดิออนฯ ได้เริ่มเปิดรับสมัครนักเรียน/นักศึกษาทั่วประเทศ โดยประชาสัมพันธ์ผ่านมามหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงทางสื่อต่างๆ ของทางมูลนิธิฯ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้สมัครขอทุนจำนวนทั้งหมด 197 คน มีผู้ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์รอบแรก จำนวน 60 คน โดยมีการสัมภาษณ์รอบแรกในระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2566 และมีผู้ผ่านเข้ารอบสัมภาษณ์รอบสุดท้าย ในวันที่ 17 มิถุนายน 2566 จำนวน 16 คน โดยเกณฑ์การตัดสินใจที่เราพิจารณาจะเน้นเรื่องของความมุ่งมั่นในการเรียนที่จะทำให้ความฝันเป็นจริง และหัวใจที่อยากกลับไปพัฒนาชุมชนไม่ว่าจะเป็นชุมชนของตัวเอง หรือชุมชนที่ขาดโอกาสอีกมากมายในประเทศไทย

    โดยมีผู้ได้รับทุนการศึกษาในโครงการ Hope Scholarship ปี 4 จำนวนทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็นทุนการศึกษา 10,000 บาท/เทอม จำนวน 3 คน และทุนการศึกษา 5,000 บาท/เทอม จำนวน 4 คน ซึ่งทุนการศึกษาที่เรามอบให้นี้เป็นทุนการศึกษาให้เปล่าที่จะครอบคลุมตลอดจนจบการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้สามารถมุ่งมั่นตั้งใจเรียนและทำตามความฝันได้ โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการศึกษา เนื่องจากยอดระดมทุนที่ได้รับผ่านทางเทใจ จำนวน 69,475 บาท ทางมูลนิธิเรดิออนฯ จึงสมทบยอดทุนการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ครบตามจำนวนทุน 400,000 บาท

    และในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มูลนิธิได้จัดค่ายอาสาสำหรับนักศึกษาในโครงการ Hope Scholarship ภายใต้ธีม "Medical Mission Trip" ในระหว่างวันที่ 21-24 ธันวาคม 2566 ค่ายอาสาที่เราให้น้องๆ ในโครงการทุนของเราได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือทีมแพทย์อาสาจากประเทศสิงคโปร์ ในการเปิด Mobile Clinic ในชุมชนเข็กน้อย เราได้เห็นถึงความมุ่งมั่น หัวใจที่เสียสละ และพร้อมที่จะเรียนรู้ของน้องๆ ทุกคน และเราเชื่อว่าน้องๆ ทุกคนจะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมในอนาคต

    ค่ายครั้งนี้ทำให้เราเห็นว่า โอกาสที่เรามอบให้กับน้องๆ ทุกคน กำลังเติบโต และผลิบาน นอกจากน้องๆ จะได้ช่วยเหลือทีมแพทย์อาสาแล้ว หนึ่งในเด็กทุนที่กำลังจะเรียนจบทันตแพทยศาสตร์ ยังได้ใช้ทักษะที่ได้เรียนมาช่วยตรวจเช็คฟันให้กับเด็กๆ ในโครงการของมูลนิธิ รวมถึงได้อบรมให้ความรู้กับเด็กๆ ในชุมชนเกี่ยวกับการแปรงฟันที่ถูกต้อง ร่วมกับทีมนักศึกษาทุนด้วยกัน

    มูลนิธิเรดิออนฯ ขอขอบคุณทุกการบริจาค ทุกการสนับสนุนที่ได้รับผ่านเทใจดอทคอมที่เป็นส่วนหนึ่งในการมอบโอกาสทางการศึกษาและสนับสนุนเด็กเก่งในโครงการ Hope Scholarship ปี 4 จำนวนทั้งหมด 7 คน ให้ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และทำตามความฝันของตัวเองได้ รวมถึงท่านได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเปลี่ยนแปลง เพราะเราเชื่อว่าเด็กเหล่านี้เมื่อเรียนจบไปแล้วในอนาคต พวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมของประเทศไทยให้ดีขึ้นได้ และเราเชื่อว่ายังมีนักเรียน/นักศึกษาอีกมาก ที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษานี้ เราจึงเดินหน้าดำเนินโครงการในปีต่อๆ ไป เพื่อให้เด็กที่มุ่งมั่นและตั้งใจได้เรียนต่อ และสานฝันของพวกเขาให้เป็นจริง

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

    “ ความความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิเรดิออนฯ ปีที่ผ่านมา ดิฉันรู้สึกขอบคุณที่เปิดโอกาสให้กับดิฉันในวันนั้นสำหรับดิฉันทุนนี้เข้ามาเพื่อเติมเต็มเสมือนเเสงเทียนที่จุดประกายความหวังขึ้นมาอีกครั้ง ขอบคุณที่มอบโอกาสให้ดิฉันได้เดินทางตามความฝันที่วาดไว้ตอนนี้ดิฉันเดินมาครึ่งทางเเล้วนะคะ ” นางสาวฮุสนา โบอุมา นักศึกษาจากสาขาการพัฒนาเด็กปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยชุมชนปัตตานี (ศูนย์สายบุรี)

    “ หนูขอขอบคุณทางมูลนิธิเรดิออน และขอบคุณผู้ที่สนับสนุนทุนการศึกษาทุกท่านนะคะ ที่มอบทุนการศึกษาให้หนู ขอบคุณที่ทางมูลนิธิได้มอบโอกาสนี้ให้กับหนู ทุนการศึกษานี้เปรียบดังน้ำ ที่หยดลงมาช่วยให้ต้นไม้นี้ เติบโตได้อย่างงอกงามยิ่งขึ้น จากดินที่แห้งแล้งกลับกลายเป็นดินที่ชุ่มชื้น และดูแลต้นไม้ต้นนี้ด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ซึ่งมูลนิธิเรดิออนมิใช่เพียงผู้ที่ให้โอกาสในการศึกษา แต่เปรียบดั่งครอบครัวของหนูด้วยค่ะ ” นางสาวศศินา ยิ้มย่อง นักศึกษาจากสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาทักษิน วิทยาเขตพัทลุง

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    เด็กและเยาวชนนักศึกษาในโครงการ Hope Scholarship ปี4 ในหลายจังหวัด ทั่วประเทศ
    7 คน
    • เด็กนักศึกษาในโครงการได้รับทุนการศึกษาสำหรับเรียนต่อในระดับปริญญาตรี โดยได้รับการสนับสนุนตลอดจนจบการศึกษา
    • นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการลงพื้นที่เป็นอาสาสมัคร เพื่อเรียนรู้งานพัฒนาชุมชน เรียนรู้บริบทของสังคม และได้เห็นสังคมในมุมมองที่แตกต่างออกไปผ่านค่ายอาสาที่ผ่านมา ทำให้น้องๆ ได้เห็นความยิ่งใหญ่และคุณค่าของการให้ การช่วยเหลือ และความรักที่พวกเขาสามารถส่งต่อให้กับชุมชนได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






    อ่านต่อ