สอนเด็กนักเรียนหญิงในภาคอีสาน 360 คน ให้รู้ทันภัยหญิง

สอนหญิงทันภัยหญิง

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2019

ลงพื้นที่ภาคอีสานครั้งแรก ทีมงานมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสอนการรักษาสิทธิ์ของตนเอง การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภัยอันตราย และทักษะการป้องกันตัว ให้แก่นักเรียนหญิง จำนวน 360 คน ใน 6 กลุ่ม ต่อไปนี้

โรงเรียนระดับชั้นจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วม (คน)
โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์ จ.อุบลราชธานีม.289
โรงเรียนบึงมะลูวิทยา จ.ศรีสะเกษม.250
โรงเรียนบึงมะลูวิทยา จ.ศรีสะเกษม.554
โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม จ.อุบลราชธานีม.2-360
โรงเรียนตาลสุมพัฒนา จ.อุบลราชธานีม.2-370
โรงเรียนตาลสุมพัฒนา จ.อุบลราชธานีม.437
นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น360

ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน (จากนักเรียน 355 คน)

  • 85% ของนักเรียนไม่เคยผ่านการอบรมในลักษณะนี้มาก่อน (นักเรียนมีความเข้าใจคาดเคลื่อนในช่วงแรกเพราะคิดว่ามาให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา และหรือกฎหมายจราจร)
  • 85% เคยมีประสบการณ์และพบเห็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง

นักเรียนที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง ดังต่อไปนี้  

  • 68% พบเห็นคนทะเลาะและตบตีกัน
  • 29% พบเห็นพี่น้องทะเลาะตบตีกัน
  • 12% พ่อแม่ ทะเลาะตบตีกัน
  • 13% ถูกเพื่อนทำร้ายร่างกาย
  • 94% ของนักเรียนที่ไม่ทราบว่าหากเกิดความรุนแรงขึ้นกับตนเองหรือคนรอบข้าง หน่วยงานใดที่สามารถช่วยเหลือและติดต่อได้
  • 20% ของนักเรียนไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรหากเกิดเหตุรุนแรงขึ้นกับตนเองและผู้อื่น

ภาพกิจกรรม

โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์ จังหวัดอุบลราชธานี


สิ่งที่เด็กนักเรียนได้รับ


โรงเรียนบึงมะลูวิทยา จังหวัดศรีษะเกษ 







สิ่งที่เด็กนักเรียนได้รับ

โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี 




สิ่งที่เด็กนักเรียนได้รับ

โรงเรียนตาลสุมพัฒนา จังหวัดอุบลราชธานี




สิ่งที่เด็กนักเรียนได้รับ

ผลลัพธ์ของผู้ที่ผ่านการทำกิจกรรม

ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมภายหลังการอบรม
นักเรียนกว่า 22% ไม่รู้และเข้าใจว่าภัยอันตรายไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในบ้านและจากบุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง นักเรียน 100% ทราบว่าภัยอันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทั้งจากบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอก 
นักเรียนกว่า 66% เข้าใจว่าการถูกลงโทษโดยการกักบริเวณเป็นการกระทำที่ถูกต้องและสามารถทำได้โดยไม่มีความผิด  นักเรียน 100% ทราบว่าผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นๆ ไม่สามารถกักขัง หน่วงเหนี่ยวนักเรียนได้ ซึ่งการทำโทษสามารถทำโดยวิธีอื่นที่ไม่กระทบต่อร่างกายและจิตใจ  
นักเรียนกว่า 83% ไม่รู้ว่าหน่วยงานใดให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดความรุนแรงและจะเข้าถึงหน่วยงานนั้นๆ ได้อย่างไร นักเรียน 100% ทราบว่าหน่วยงานใดให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดความรุนแรงและจะเข้าถึงหน่วยงานนั้นๆ

ผลการประเมินกิจกรรมของนักเรียน:

  • มากกว่า 75% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคว่า “คุณได้รับความรู้และเข้าใจภัยอันตรายมากยิ่งขึ้น”
  • มากกว่า 51% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคว่า “คุณได้รับความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานและการเข้ารับการช่วยเหลือหากเกิดภัยอันตราย”
  • มากกว่า 43% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยกับประโยคว่า “คุณได้รับความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานและการเข้ารับการช่วยเหลือหากเกิดภัยอันตราย”
  • มากกว่า 49% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคว่า “คุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้”
  • มากกว่า 43% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยกับประโยคว่า “คุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้”
  • มากกว่า 38% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคว่า “คุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมไปบอกคนอื่นๆ ได้”
  • มากกว่า 38% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยกับประโยคว่า “คุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมไปบอกคนอื่นๆ ได้”