project เด็กและเยาวชน

สอนหญิงทันภัยหญิง

ให้เด็กผู้หญิงภาคอีสานได้เรียนรู้ภัยใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยเหลือและปกป้องตังเองเมื่อเกิดภัย

ยอดบริจาคขณะนี้

383,420 บาท

เป้าหมาย

343,750 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 112%
63 วัน จำนวนผู้บริจาค 251

ความคืบหน้าโครงการ

สอนเด็กนักเรียนหญิงในภาคอีสาน 688 คน ให้รู้ทันภัยหญิง

27 ธันวาคม 2022

การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการดำเนินการครั้งที่ 1 ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 360 คน ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดสถานการณ์การณ์โรคโควิด19 ทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนได้เป็นระยะเวลามากกว่า 2 ปี โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ได้อบรมเยาวชนหญิง จำนวน 688 คน รวมผู้เข้าอบรมอบรมทั้งสิ้น จำนวน 1,048 คน สำเร็จตามโครงการ โดยผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย รวมถึงเรียนรู้วิธีการป้องกันภัยดังกล่าวและสามารถเข้าถึงหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้

ขอบเขตของกิจกรรม

  1. เรียนรู้เกี่ยวกับภัยใกล้ตัวและภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน
  2. ข้อมูลในการเข้าถึงหรือติดต่อหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัย
  3. เรียนรู้วิธีการป้องกันตัวขั้นพื้นฐานผ่านการสาธิต

รายชื่อโรงเรียนและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ที่รายชื่อโรงเรียนจำนวนนักเรียน
1โรงเรียนโนนกุงวิทยาคม115
2โรงเรียนเสนางคนิคม196
3โรงเรียนสำโรงวิทยาคาร132
4โรงเรียนปลาค้าววิทยานุสรณ์86
5โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา81
6โรงเรียนมัธยมบักดองวิทยา78

ยอดรวมการจัดกิจกรรม 688

สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับหลังการอบรม

  • ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้กับตนเอง
  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองและเอาตัวรอดเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์รุนแรง
  • ได้รับความสนุกจากการเข้าร่วมกิจกรรมและเรียนรู้
  • ชื่นชอบเนื้อหาในการทำกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในการเข้าร่วมกิจกรรม
  • เห็นด้วยมากที่สุด และเห็นด้วยอย่างมาก ว่ากิจกรรมนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • เห็นด้วยมากที่สุด และเห็นด้วยอย่างมาก ว่ากิจกรรมนี้ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในประเด็นความรุนแรงและรู้ถึงหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้

ภาพกิจกรรม

  

      

ความประทับใจของผู้ที่เข้าร่วมอบรม

   

  • ได้รู้วิธีการป้องกันตัว รู้จักระมัดระวังและชอบพี่ๆ มากเลยค่ะชอบมาก อยากให้พี่ๆมาอีก กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ชอบที่สุดเลยค่า ชอบของรางวัลทุกอย่างเลยค่ะ 
  • ประทับใจกับกิจกรรมนี้มากเลยค่ะ คำถามง่าย ตอบง่าย มีประโยชน์มากๆค่ะ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง ของรางวัลน่ารักมากๆค่ะ พี่วิทยากรมีความรู้ที่หลากหลาย น่ารักมากค่ะ
  • รู้สึกมีความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้สึกปลอดภัยขึ้น และสนุกสนาน, สิ่งที่ได้เรียนรู้: ได้รู้ภัยต่างๆ และวิธีแก้ปัญหา, คำแนะนำ: อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีก
  • รู้สึกสนุกและมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากโจรและการถูกลวนลามต่างๆ และสามารถนำไปใช้ได้จริง ขอบคุณค่ะ
  • ได้ความรู้มากมายและได้ความรู้หลากหลายของพี่ๆไปใช้เป็นประโยชน์มากและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและความรู้สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

“ได้รู้ทักษะการป้องกันตนเองจากภัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ได้รู้จักเบอร์และศูนย์ต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือได้”

“ได้ความรู้การเอาตัวรอด ได้รู้จักสิ่งไม่เคยรู้ อยากให้พี่ๆ มาบ่อยๆ เพื่อจะให้นักเรียนเอาตัวรอดได้”

“สนุกสนาน เพลิดเพลิน  มีความรู้มากขึ้น ได้รับท่าป้องกันตัวอีกด้วย ได้รับความสามัคคีในกลุ่ม”


เหล่านี้เป็นความคิดเห็นของน้องๆที่มีโอกาสร่วมกิจกรรม Better Me for Girls ตอน กิจกรรมสิทธิของเราเรียกร้องได้  ของมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดีเมื่อปีที่ผ่านมา

ปีการศึกษา 2562 เรามีแผนที่จะมอบความรู้เหล่านี้แก่น้องๆ ในโรงเรียนรุ่นต่อๆ ไป   Better Me for Girls สิทธิของเราเรียกร้องได้ (Claim your Rights) ใช้ระยะเวลา 3 ชั่วโมง ที่จะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยใกล้ตัวและภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงหรือติดต่อหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้วิธีการป้องกันตัวขั้นพื้นฐานผ่านการสาธิตและทดลองปฏิบัติในกิจกรรม

จากประสบการณ์ที่เราเคยทำกิจกรรมมา เราพบว่า

• ส่วนใหญ่พบเจอกับเหตุการณ์ความรุนแรง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงว่าการกระทำเหล่านั้นเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความรุนแรง เช่น พ่อตีแม่ ถือว่าเป็นความผิด แต่น้องๆ เข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ เพราะพบเห็นได้โดยทั่วไป เป็นต้น

• ขาดความรู้เกี่ยวกับภัยด้านอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และบางครั้งไม่ตระหนักรู้ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นภัยแก่ตนเอง เช่น ภัยที่เกิดจากการเล่นเฟสบุ้คหรือโซเชียลอื่นๆ

• ขาดความรู้ในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง

• ขาดความรู้เกี่ยวกับข้อมูลของหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภัย

และหลังจากที่น้องๆ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับเรา เราได้รับการตอบรับจากน้องว่าการร่วมกิจกรรมทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยและตระหนักถึงภัยที่สามารถเกิดขึ้นกับตนเองได้ การระวังตัวและมีสติจะทำให้ปลอดภัยจากภัยต่างๆ น้องๆ ได้เรียนรู้ถึงหน่วยงานต่างๆ ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ และเรียนรู้ว่าภัยมีหลากหลายรูปแบบ โดยเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นของความรุนแรงของผู้หญิงและเด็กมากยิ่งขึ้น จากระยะเวลาในการทำงานตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มีน้องๆ ที่ได้รับความรู้และเข้าร่วมในกิจกรรมของเรามากกว่า 19,618 คน จากทั้งหมด 201 กิจกรรม

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1.  ทีมงานจะติดต่อโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล/นอกเขตเมืองของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อสอบถามความต้องการ และทำหนังสือเข้าชี้แจงเพื่อขอจัดกิจกรรม
  2. ออกพื้นที่ทำกิจกรรมตามวันที่โรงเรียนสะดวกในช่วงเดือนกรกฎาคม 2562 – ธันวาคม 2562 กิจกรรมใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
  3. ทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของเป้าหมายในครั้งต่อ


ประโยชน์ของโครงการ

  1. เยาวชนหญิงจะได้รับประโยชน์จากโครงการเป้าหมาย 1,000 คน ครอบคลุม 15 – 20 โรงเรียน ผ่านการทำกิจกรรม 20 กิจกรรม กิจกรรมละ 50 คนต่อครั้ง สามารถจัดได้ไม่เกิน 70 เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
  2. น้องๆ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยใกล้ตัว สิทธิและกฎหมายที่คุ้มครองตนเองเกี่ยวข้องกับภัยอันตราย ความรุนแรง และหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยต่างๆ รวมถึงรู้จักวิธีการป้องกันตัวขั้นพื้นฐานที่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
  3. ทำให้น้องๆ ได้มีโอกาสในการเรียนรู้ว่าสถานการณ์ใดบ้างที่อาจตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง และโอกาสเรียนรู้ทักษะที่จะเอาตัวรอดได้ในกรณีที่เกิดภัย
  4. น้องๆ จะมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงการเข้าถึงช่องทางต่างๆ ที่สามารถให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภัยได้
  5. มีความมั่นใจที่จะปกป้องตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ และสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้
  6. น้องๆ มีความรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิตที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของตนเองได้

สมาชิกภายในทีม 

นางสาวสโรชินี อัญญเวชสัมฤทธิ์ (พี่เบียร์) พัฒนาหลักสูตรและวิทยากร

นางสาววีณา อุทารัมย์ (พี่นาง) ประสานงานโครงการและผู้ช่วยวิทยากร

นางสาวณัฐกานต์ สายเพ็ชร์ (พี่เดียร์) ประสานงานโครงการและผู้ช่วยวิทยากร

ติดต่อทีมงาน staff@pratthanadee.org

ภาคี 

โรงเรียนในเขตพื้นที่ห่างไกล/นอกเขตเมืองของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง (อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร)

สามารถติดตามความคืบหน้าของการดำเนินกิจกรรมได้ที่

-Facebook: https://www.facebook.com/Pratthanadee.Foundation/

- Instagram: Pratthanadee

- Twitter: PratthanadeeOrg

- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UC6Of-Gr8P0W-J24cZxDLNdA/featured

- Website: https://pratthanadee.org/ 

เทใจดอทคอม ขออนุญาตหักค่าธรรมเนียมการให้บริการ 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

สอนเด็กนักเรียนหญิงในภาคอีสาน 360 คน ให้รู้ทันภัยหญิง

22 กรกฎาคม 2019

ลงพื้นที่ภาคอีสานครั้งแรก ทีมงานมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสอนการรักษาสิทธิ์ของตนเอง การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภัยอันตราย และทักษะการป้องกันตัว ให้แก่นักเรียนหญิง จำนวน 360 คน ใน 6 กลุ่ม ต่อไปนี้

โรงเรียนระดับชั้นจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วม (คน)
โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์ จ.อุบลราชธานีม.289
โรงเรียนบึงมะลูวิทยา จ.ศรีสะเกษม.250
โรงเรียนบึงมะลูวิทยา จ.ศรีสะเกษม.554
โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม จ.อุบลราชธานีม.2-360
โรงเรียนตาลสุมพัฒนา จ.อุบลราชธานีม.2-370
โรงเรียนตาลสุมพัฒนา จ.อุบลราชธานีม.437
นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น360

ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน (จากนักเรียน 355 คน)

  • 85% ของนักเรียนไม่เคยผ่านการอบรมในลักษณะนี้มาก่อน (นักเรียนมีความเข้าใจคาดเคลื่อนในช่วงแรกเพราะคิดว่ามาให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา และหรือกฎหมายจราจร)
  • 85% เคยมีประสบการณ์และพบเห็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง

นักเรียนที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง ดังต่อไปนี้  

  • 68% พบเห็นคนทะเลาะและตบตีกัน
  • 29% พบเห็นพี่น้องทะเลาะตบตีกัน
  • 12% พ่อแม่ ทะเลาะตบตีกัน
  • 13% ถูกเพื่อนทำร้ายร่างกาย
  • 94% ของนักเรียนที่ไม่ทราบว่าหากเกิดความรุนแรงขึ้นกับตนเองหรือคนรอบข้าง หน่วยงานใดที่สามารถช่วยเหลือและติดต่อได้
  • 20% ของนักเรียนไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรหากเกิดเหตุรุนแรงขึ้นกับตนเองและผู้อื่น

ภาพกิจกรรม

โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์ จังหวัดอุบลราชธานี


สิ่งที่เด็กนักเรียนได้รับ


โรงเรียนบึงมะลูวิทยา จังหวัดศรีษะเกษ 







สิ่งที่เด็กนักเรียนได้รับ

โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี 




สิ่งที่เด็กนักเรียนได้รับ

โรงเรียนตาลสุมพัฒนา จังหวัดอุบลราชธานี




สิ่งที่เด็กนักเรียนได้รับ

ผลลัพธ์ของผู้ที่ผ่านการทำกิจกรรม

ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมภายหลังการอบรม
นักเรียนกว่า 22% ไม่รู้และเข้าใจว่าภัยอันตรายไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในบ้านและจากบุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง นักเรียน 100% ทราบว่าภัยอันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทั้งจากบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอก 
นักเรียนกว่า 66% เข้าใจว่าการถูกลงโทษโดยการกักบริเวณเป็นการกระทำที่ถูกต้องและสามารถทำได้โดยไม่มีความผิด  นักเรียน 100% ทราบว่าผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นๆ ไม่สามารถกักขัง หน่วงเหนี่ยวนักเรียนได้ ซึ่งการทำโทษสามารถทำโดยวิธีอื่นที่ไม่กระทบต่อร่างกายและจิตใจ  
นักเรียนกว่า 83% ไม่รู้ว่าหน่วยงานใดให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดความรุนแรงและจะเข้าถึงหน่วยงานนั้นๆ ได้อย่างไร นักเรียน 100% ทราบว่าหน่วยงานใดให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดความรุนแรงและจะเข้าถึงหน่วยงานนั้นๆ

ผลการประเมินกิจกรรมของนักเรียน:

  • มากกว่า 75% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคว่า “คุณได้รับความรู้และเข้าใจภัยอันตรายมากยิ่งขึ้น”
  • มากกว่า 51% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคว่า “คุณได้รับความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานและการเข้ารับการช่วยเหลือหากเกิดภัยอันตราย”
  • มากกว่า 43% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยกับประโยคว่า “คุณได้รับความรู้และเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานและการเข้ารับการช่วยเหลือหากเกิดภัยอันตราย”
  • มากกว่า 49% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคว่า “คุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้”
  • มากกว่า 43% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยกับประโยคว่า “คุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้”
  • มากกว่า 38% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยคว่า “คุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมไปบอกคนอื่นๆ ได้”
  • มากกว่า 38% ของผู้เข้าร่วม เห็นด้วยกับประโยคว่า “คุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมไปบอกคนอื่นๆ ได้”

กิจกรรมสอนหญิงทันภัยหญิง กลับมาจัดอีกครั้งในเดือนมิ.ย. 63

26 พฤษภาคม 2020

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ไกล้เคียง ทำให้หลายโรงเรียนปิดทำการและไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้ตามปกติ มีผลทำให้ชั่วโมงการเรียนของนักเรียนไม่เพียงพอ และโรงเรียนจึงไม่สามารถให้มูลนิธิฯ เข้าไปจัดกิจกรรมได้ อีกทั้งการเดินทางที่ไม่สะดวกในหลายพื้นที่มีผลต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าว รวมถึงการระดมทุนที่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมทำให้มูลนิธิไม่สามารถจัดกิจกรรมต่อได้ในปีที่ผ่านมา

ในปี 2363 นี้ มูลนิธิฯ ได้วางแผนที่จะจัดกิจกรรมอีกครั้งในเดือนมิถุนายน 2563 จากเงินบริจาคที่ได้ทำการระดมทุนมาเพิ่มเติม และขยายเวลาการระดมทุนต่อจนถึงเดือนตุลาคม

ปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการและเพิ่มรอบการอบรม

9 ธันวาคม 2021

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของโครงการตลอดปี 2564 ทางมูลนิธิจึงมีแผนการขยายระยะเวลาการเปิดระดมทุน และปรับเปลี่ยนรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมดังนี้

  • ขยายระยะเวลาการบริจาคจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565
  • เพิ่มวงเงิน จำนวน 68,750 บาท สำหรับจัดกิจกรรมเพิ่ม 5 กิจกรรม จำนวนเป้าหมาย 250 คน รวมวงเงินทั้งสิ้น 343,750 บาท เป้าหมาย 25 กิจกรรม 1,250 คน
  • เบิกงบประมาณมาจัดกิจกรรมไปแล้ว 1 ครั้ง ยอดเงิน 65,000 บาท (6 กิจกรรม 360 คน)
  • เริ่มเตรียมซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดกิจกรรมเดือนเมษายน 2565 และเริ่มจัดกิจกรรมในเดือนพฤษภาคม 2565
  • หากไม่สามารถลงในพื้นที่โรงเรียนได้ในช่วงเวลาดังกล่าวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID19 เตรียมแผนการปรับกิจกรรมเป็นจัดส่งชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองแทนการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน โดยรายละเอียดของชุดการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้

    ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่จะชวนน้องๆ นักเรียนหญิง มาเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงหรือติดต่อหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยต่างๆ เหล่านั้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้วิธีการป้องกันตัวขั้นพื้นฐาน ผ่านชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองนี้

    ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

  • ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภัยประเภทต่างๆ รายชื่อหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือและการเอาตัวรอดขั้นพื้นฐาน
  • เกมส์กิจกรรมตอบคำถามเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ
  • อุปกรณ์เครื่องเขียนที่ใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ของที่ระลึกในการเข้าร่วมกิจกรรม

    ใช้รับของที่ระลึกสุดพิเศษหลังกิจกรรม เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมแล้วส่งกิจกรรมตอบคำถามกลับมายังมูลนิธิทางไปรษณีย์ (มีจดหมายพร้อมแสตมป์และไปรษณียบัตรพร้อมส่งแนบมาด้วย) หรือถ่ายรูปส่งกลับมาให้ทีมงานทางเฟสบุ๊ค

    สอบถามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ 093 408 1124 (เฟรนด์) 092 362 0784 (เบียร์)

    มูลนิธิปิดทำการทุกวันศุกร์และเสาร์

    ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เฟสบุ๊ค มูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี

FB Page: www.facebook.com/Pratthanadee.Foundation


สอนเด็กนักเรียนหญิงในภาคอีสาน 688 คน ให้รู้ทันภัยหญิง

27 ธันวาคม 2022

การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการดำเนินการครั้งที่ 1 ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 360 คน ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดสถานการณ์การณ์โรคโควิด19 ทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนได้เป็นระยะเวลามากกว่า 2 ปี โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ได้อบรมเยาวชนหญิง จำนวน 688 คน รวมผู้เข้าอบรมอบรมทั้งสิ้น จำนวน 1,048 คน สำเร็จตามโครงการ โดยผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย รวมถึงเรียนรู้วิธีการป้องกันภัยดังกล่าวและสามารถเข้าถึงหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้

ขอบเขตของกิจกรรม

  1. เรียนรู้เกี่ยวกับภัยใกล้ตัวและภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน
  2. ข้อมูลในการเข้าถึงหรือติดต่อหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัย
  3. เรียนรู้วิธีการป้องกันตัวขั้นพื้นฐานผ่านการสาธิต

รายชื่อโรงเรียนและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ที่รายชื่อโรงเรียนจำนวนนักเรียน
1โรงเรียนโนนกุงวิทยาคม115
2โรงเรียนเสนางคนิคม196
3โรงเรียนสำโรงวิทยาคาร132
4โรงเรียนปลาค้าววิทยานุสรณ์86
5โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา81
6โรงเรียนมัธยมบักดองวิทยา78

ยอดรวมการจัดกิจกรรม 688

สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับหลังการอบรม

  • ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้กับตนเอง
  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองและเอาตัวรอดเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์รุนแรง
  • ได้รับความสนุกจากการเข้าร่วมกิจกรรมและเรียนรู้
  • ชื่นชอบเนื้อหาในการทำกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในการเข้าร่วมกิจกรรม
  • เห็นด้วยมากที่สุด และเห็นด้วยอย่างมาก ว่ากิจกรรมนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • เห็นด้วยมากที่สุด และเห็นด้วยอย่างมาก ว่ากิจกรรมนี้ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในประเด็นความรุนแรงและรู้ถึงหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้

ภาพกิจกรรม

  

      

ความประทับใจของผู้ที่เข้าร่วมอบรม

   

  • ได้รู้วิธีการป้องกันตัว รู้จักระมัดระวังและชอบพี่ๆ มากเลยค่ะชอบมาก อยากให้พี่ๆมาอีก กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ชอบที่สุดเลยค่า ชอบของรางวัลทุกอย่างเลยค่ะ 
  • ประทับใจกับกิจกรรมนี้มากเลยค่ะ คำถามง่าย ตอบง่าย มีประโยชน์มากๆค่ะ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง ของรางวัลน่ารักมากๆค่ะ พี่วิทยากรมีความรู้ที่หลากหลาย น่ารักมากค่ะ
  • รู้สึกมีความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รู้สึกปลอดภัยขึ้น และสนุกสนาน, สิ่งที่ได้เรียนรู้: ได้รู้ภัยต่างๆ และวิธีแก้ปัญหา, คำแนะนำ: อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีก
  • รู้สึกสนุกและมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากโจรและการถูกลวนลามต่างๆ และสามารถนำไปใช้ได้จริง ขอบคุณค่ะ
  • ได้ความรู้มากมายและได้ความรู้หลากหลายของพี่ๆไปใช้เป็นประโยชน์มากและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและความรู้สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนคลาสบาท
Better Me for Girls : สิทธิของเราเรียกร้องได้ (Claim your Rights) 1ครั้งรอบรับเด็กได้ 60 คน25 ครั้ง343,750

ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10% เป็นเงินโดยประมาณ 34,375 บาท

(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

หรือคิดเฉลี่ยเป็นจำนวเงิน 234 บาท ต่อเด็ก 1 คน


บริจาคให้
สอนหญิงทันภัยหญิง

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกลุ บนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน