ความเคลื่อนไหว

  • ความคืบหน้าโครงการ > ระดมทุนซื้อเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้า จ.ลำปาง เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

    มอบเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้า ให้กับ อบต.บ้านเสด็จ จ.ลำปาง

    15 มีนาคม 2024

    หลังจากที่มอบเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านป่าแงะ จังหวัดเชียงรายแล้วนั้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ทางโครงการได้ดำเนินการมอบเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้าให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ จังหวัดลำปาง จำนวน 1 เครื่อง พร้อมสาธิตวิธีการใช้งานเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้า เพื่อทำแนวป้องกันและดับไฟป่าต่อไป



    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > บริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์ช่วยดับไฟป่า ลดปัญหาหมอกควัน (PM 2.5)

    15 มีนาคม 2024

    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > บริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์ช่วยดับไฟป่า ลดปัญหาหมอกควัน (PM 2.5)

    มอบเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้า ให้กับ อบต.บ้านเสด็จ จ.ลำปาง

    15 มีนาคม 2024

    หลังจากที่มอบเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านป่าแงะ จังหวัดเชียงรายแล้วนั้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ทางโครงการได้ดำเนินการมอบเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้าให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ จังหวัดลำปาง จำนวน 1 เครื่อง พร้อมสาธิตวิธีการใช้งานเครื่องเป่าใบไม้ไฟฟ้า เพื่อทำแนวป้องกันและดับไฟป่าต่อไป



    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ผ้าห่มให้น้องได้อุ่น

    กิจกรรมส่งความสุข ส่งมอบของขวัญ และผ้าห่มคลายความหนาว

    15 มีนาคม 2024

    ช่วงระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ทางมูลนิธิไอแคร์ ประเทศไทยได้นำส่งผ้าห่มไปยัง 5 โรงเรียนด้วยกัน อันได้แก่

    1. โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
    2. โรงเรียนตชด.สาขาบ้านห้วยกุ๊ก อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
    3. โรงเรียนบ้านจอซิเดอเหนือ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    4. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโกแประ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
    5. โรงเรียนบ้านโพซอ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    และได้ทยอยเดินทางไปแจกด้วยตัวเองพร้อมกับอาสาสมัคร ร่วมด้วยการทำกิจกรรมส่งความสุข ส่งมอบของขวัญ และผ้าห่ม คลายความหนาวและอบอุ่นหัวใจไปพร้อมๆ กัน

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

     " รู้สึกดีใจและขอบคุณมากๆ สำหรับผ้าห่มและของขวัญต่างๆ และกิจกรรมสนุกสนานที่มอบให้นักเรียนของเราครับ สามารถช่วยน้องๆ บนดอยซึ่งที่นี่หนาวมากๆ ในฤดูหนาวครับ " ครูวัต ร.ร.ตชด.สาขาบ้านห้วยกุ๊ก

     " ขอบคุณผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน ที่มีส่วนสนับสนุนในการช่วยมอบผ้าห่มให้น้องๆ โรงเรียนบ้านจอซิเดอเหนือ และผู้ปกครอง ซึ่งอยู่บนดอยบริเวณรอบโรงเรียนนนี้ได้คลายความหนาว และมีความสุขไปกับกิจกรรส่งความสุขช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ครับ " ครูอาคม โรงเรียนบ้านจอซิเดอเหนือ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    เด็กและเยาวชนนักเรียนโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา, ร.ร.ตชด.บ้านห้วยกุ๊ก, โรงเรียนบ้านจอซิเดอเหนือ, ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโกแประ, โรงเรียนบ้านโพซอ650 คนนักเรียนมีผ้าห่มใช้เพื่อคลายความหนาวในช่วงฤดูหนาวนี้
    โรงเรียนโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา, ร.ร.ตชด.บ้านห้วยกุ๊ก, โรงเรียนบ้านจอซิเดอเหนือ, ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโกแประ, โรงเรียนบ้านโพซอ5 โรงเรียนโรงเรียนได้มีส่วนช่วยแจกจ่ายผ้าห่มให้นักเรียนและผู้ปกครองใช้เพื่อคลายความหนาวในช่วงฤดูหนาวนี้
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ซ่อมบ้านให้คุณตาธนพลพ้นภัยน้ำท่วม

    สร้างกำแพงกันน้ำให้คุณตาธนพลพ้นภัยน้ำท่วม

    13 มีนาคม 2024

    มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุได้ดำเนินการซ่อมแซมบ้านให้คุณตาธนพลพ้นภัยน้ำท่วม โดยระดมทุนในช่วงระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 พฤษภาคม 2566 ระดมทุนได้เงินจำนวนทั้งสิ้น 16,299 บาท

    ทางมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึง ผู้นำชุมชน และจิตอาสาในชุมชนเพื่อดำเนินการปรับปรุง โดยมีการลงความเห็นว่าให้ดำเนินการซ่อมแซมในการสร้างกำแพงกันน้ำ จำนวน 9 ตารางเมตร ในงบประมาณ 27,000 บาท โดยมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุได้เพิ่มงบให้อีก 10,701 บาท โดยมีช่างชุมชน กองช่างขององค์การบริหารส่วนตำบลฯ ได้ดำเนินการซ่อมแซม เพื่อป้องกันน้ำป่าไหลหลากที่จะเข้าท่วมในพื้นที่บ้านของตาธนพล

    ความประทับใจของผู้ได้รับประโยชน์

     “ เป็นความประทับใจที่ตาจะไม่มีวันลืม ที่ทุกคนได้ช่วยกันบริจาคเงินซ่อมแซมรั้ว กำแพงบ้านให้ตารู้สึกดีใจและซาบซึ้งมากที่ยังมีคนค่อยช่วยเหลือ ต่อไปนี้ตาจะไม่ต้องกังวลเมื่อฝนตกแล้ว ว่าน้ำป่าที่จะไหลท่วมเข้าบ้าน ตารู้สึกดีใจมากๆ ตาขอให้ทุกคนที่บริจาค ช่วยเหลือให้ตาในครั้งนี้ มีสุขภาพแข็งแรง มีความเจริญก้าวหน้าในด้านการงาน มีความสุขตลอดไป ” คุณตาธนพล อุ่นผง

    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม



    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้

    สำเร็จแล้ว!!โตโน่ ภาคิน ส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง ให้โรงพยาบาลนครพนม จากโครงการ ONE MAN AND THE RIVER

    12 มีนาคม 2024

    สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีสำหรับโครงการ ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้ ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจจะส่งต่อความสุขและโอกาสในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ดีของประชาชน 2 ฝั่งโขงของ โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ศิลปินและนักแสดงชื่อดัง รวมกับผู้สนับสนุนและมีส่วนเกี่ยวข้องจากทุก ๆ ภาคส่วน หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขงไปเมื่อปี 2565

     



    ล่าสุด วันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โตโน่ และทีมงานจากโครงการ ONE MAN AND THE RIVER ได้ส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง ให้กับโรงพยาบาลนครพนม จ.นครพนม พร้อมเปิดช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือดเรียบร้อย ส่วนด้านฝั่งลาวก็มีการจัดซื้อและมอบเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อใช้สำหรับการรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วมากกว่า 12,000 ราย

    นายนฤพนธ์ ยุทธเกษมสันต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม กล่าวว่าปัจจุบันมีการเปิดประเทศจะมีผู้เดินทางมาเยือนจังหวัดนครพนมเพิ่มขึ้น จากทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวและภาคการแพทย์และสุขภาพ ในด้านสาธารณสุข จังหวัดนครพนมได้ดำเนินการรองรับผู้สูงอายุ มีประชากรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์และสุขภาพในจังหวัดนครพนม ปี 2563 เราให้บริการผู้ป่วยนอก 320,210 ครั้ง ผู้ป่วยใน 27,992 ครั้ง คาดว่าการเปิดประเทศจะมีประชากรต่างชาติ เดินทางเข้ามารักษาจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันยังเป็นปัญหาหลักในพื้นที่ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นการก่อตั้งศูนย์หัวใจสองฝั่งโขงโรงพยาบาลนครพนม จะช่วยให้ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) ในจังหวัดนครพนม และพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างรวดเร็วตามมาตรฐานการรักษา เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพลภาพ โดยในส่วนของโรงพยาบาลนครพนมนั้นได้ดำเนินการยื่นเรื่องไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในเดือนเมษายนและระหว่างที่เรากำลังพัฒนาบุคลากรให้ด้านนี้ให้มากขึ้น เราได้ทีมศูนย์หัวใจเพื่อแผ่นดินจากโรงพยาบาลสกลนครมาช่วยก่อน


    ด้าน น.ส.เอด้า จิรไพศาลกุล กรรมการผู้จัดการเทใจดอทคอม กล่าวว่า เทใจดอทคอมเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ระดมทุนและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วนให้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการใช้งาน ความพร้อมของเจ้าหน้าที่และบุคคลากรทางการแพทย์ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามานำเสนอต่อคณะกรรมการกลาง โดยกระบวนการดังกล่าวทางองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น hand social enterprise ช่วยออกแบบกระบวนเพื่อให้การคัดเลือกโปร่งใสที่สุด และการทำศูนย์หัวใจสองฝั่งโขงยังได้ความอนุเคราะห์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจากที่ต่าง ๆ ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ผศ.นพ.ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรศาสตร์หัวใจโรงพยาบาลทรวงอก น.พ.ธนพัฒน์ เลิศวิทยากำจร นายแพทย์ชำนาญการ อายุรกรรม (หัวใจ) ผศ.พ.ญ.รัตนา คำวิลัยศักดิ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ที่ได้ร่วมกันคัดเลือกเพื่อให้ได้เครื่องที่ดีและเหมาะสมกับโรงพยาบาลที่จะเป็นศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง

    ด้าน โตโน่ ภาคิน เล่าว่า“พวกเราทั้งพี่น้องชาวไทยและพี่น้องชาว สปป.ลาวได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน โดยมูลค่าสิ่งของที่เราจัดซื้อไปทั้งหมดคิดเป็น 92,500,000 บาทวันนี้ถือเป็นวันที่ดีมาก ๆ อีกวันที่เรามาร่วมกันเป็นสักขีพยานในการปิดโครงการ เพื่อส่งสอบ “ศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง (Cath Lab)” ที่ใช้เวลากว่า 6 เดือนในการจัดตั้งศูนย์หัวใจแห่งนี้ เริ่มตั้งแต่การทำห้องสวนหัวใจใหม่ที่มีระบบความปลอดภัยจากอันตรายจากรังสีต่าง ๆ รวมถึงการทำระบบไฟฟ้าสำรองที่สามารถตรวจรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง แม้ระบบไฟฟ้าจะดับทั้งเมืองนครพนม

    นอกจากนี้ยังมีการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ในห้องตรวจรักษาแบบครบครัน ได้แก่ เครื่องสวนหัวใจระนาบเดี่ยว, เครื่องอัลตร้าซาวด์หัวใจ, เครื่องอัลตร้าซาวด์ชนิดดูเส้นเลือดหัวใจ, เครื่องตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด, เครื่องปั้มหัวใจไฟฟ้า, เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ พร้อมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เพื่อให้วิเคราะห์การตรวจรักษาได้อย่างแม่นยำ ปัจจุบันเราทราบว่าทั้งสองโรงพยาบาลได้ใช้เครื่องมือแพทย์ที่ได้รับบริจาคจากโครงการหนึ่งคนว่ายหลายคนให้ อย่างคุ้มค่าเช่นโรงพยาบาลนครพนมมีการใช้งานเครื่องต่าง ๆ ทุกวัน ขณะที่โรงพยาบาลแขวงคำม่วนได้ใช้ตรวจรักษาคนลาวไปแล้วกว่า 12,000 คน

    “ผมรู้สึกดีใจที่พวกเราได้มีส่วนร่วมทำให้พี่น้องชาวไทยและชาว สปป.ลาว ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงโรงพยาบาลแห่งนี้ได้เข้าถึงการตรวจรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดีและทีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสุดท้ายนี้ผมขอบคุณพระคุณทุก ๆ ท่านที่มีส่วนในการทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงตามเจตนาที่ได้ตั้งใจไว้”


    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > กองทุนฮอมใจ๋ จ้วยสูงวัยประสบภัยพิบัติ (Disaster Response for the Elderly Fund)

    ลงพื้นที่เยี่ยมและมอบของใช้จำเป็นให้กับผู้สูงอายุ 2566

    11 มีนาคม 2024

    กองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัย เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่สามารถเข้าถึงในการช่วยเหลือ พร้อมกับการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ เกิดจากผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ และมีความรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญความเสี่ยงตามฤดูกาล เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันในฤดูหนาว ขณะที่ฤดูร้อนเราต้องเจอปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน

    มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนนี้ เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน กระบี่ ขอนแก่น

    ความประทับใจของผู้ได้รับผลประโยชน์



    ลงพื้นที่เยี่ยม ผ้าห่มเพื่อป้องกันภัยกันหนาว

    ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือฉุกเฉินจากภัยหนาว ในพื้นที่ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ตำบลแกน้อย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ละ 20 ราย โดยดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน กลุ่มผู้นำชุมชนลงมอบผ้าห่มเพื่อบรรเทาความหนาวให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่

    • เนื่องจากพื้นที่ตำบลแกน้อย อำเภอเชียงดาว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ไม่มีบัตรประชาชน และไม่มีสัญชาติ จึงมักจะไม่ได้รับความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
    • พื้นที่ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง มีพื้นที่เป็นทิวเขา จะมีอากาศเย็นตลอดเกือบทั้งปี โดยเฉพาะฤดูหนาว ทำให้ผู้สูงอายุต้องการผ้าห่มเพื่อบรรเทาจากอากาศหนาว และส่วนใหญ่มีฐานะยากจน 

    ลงพื้นที่เยี่ยม มอบหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่

    ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2566 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับกลไกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ลงมอบหน้ากากฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 200 คน พร้อมกับให้ความรู้ และการป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุ ญาติผู้ดูแล รวมถึงสอนการใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง 
    จัดอบรมการทำแผ่นกรองฝุ่นแบบ DIY

    ในช่วงเดือนมกราคม 2566 จัดสอนเครื่องกรองฝุ่น PM 2.5 แบบ DIY จาก แผ่น HEPA และสอนแนะนำการใช้แอพลิเคชั่น Ntaqhi และ โดยมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พื้นที่ชุมชนเขตเมืองเชียงใหม่ และ อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานหมูบ้าน พื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ละ 30 คน ทั้งนี้อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และอสม. และมูลนิธิได้นำงบประมาณจัดซื้อแผ่น HEPA ให้อาสาสมัครได้ลงพื้นที่ไปประกอบจัดตั้งให้กับ ผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็นการป้องกันจากฝุ่น PM 2.5 
    ลงพื้นที่เยี่ยม มอบหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 พื้นที่นอกเมือง 

    ช่วงเดือนธันวาคม 2566 - มกราคม 2567 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุสนับสนุนหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่เขตอำเภอเชียงดาว อำเภอสะเมิง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่จังหวัดลำปาง พื้นที่ละ 100 ชิ้น โดยมีแกนนำชมรมผู้สูงอายุ อสม. นำไปแจกจ่ายให้กับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็นการป้องกันจากฝุ่นควัน 
    ช่วยเหลือของใช้จำเป็นให้กับผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

    มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ โครงการกองทุนฮอมใจ๋ จ้วยสูงวัยประสบภัยพิบัติ นำถุงยังชีพช่วยเหลือผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ชุมชนหนองหอย และชุมชนใจแก้ว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 100 ชุด และพื้นที่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ชุด ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เนื่องจากอยู่ใกล้บริเวณน้ำท่วม โดยถุงยังชีพ ประกอบด้วยอาหารแห้ง ไข่ไก่ ข้าวสาร ยารักษาโรค น้ำดื่มเพื่อบรรเทาในช่วงสถานการณ์ 
    ช่วยเหลือ สนับสนุนถุงยังชีพให้ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก

    สนับสนุนถุงยังชีพช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับประสบภัยจากน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 ชุด ในถุงยังชีพประกอบด้วย ข้าวสาร ไข่ไก่ ยารักษาโรค เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น 

    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ADOPT A GRANNY ปันสุขผู้สูงวัย

    ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2566

    7 มีนาคม 2024

    โครงการ ADOPT A GRANNY ปันสุขผู้สูงวัย เฟส 2 ดำเนินการช่วยเหลือผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อระดมทุนผ่านแพลทฟอร์มเทใจในการปันสุขให้ผู้สูงวัยจำนวน 500 คน ด้วยการสนับสนุนค่าอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม เครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับสภาวะอากาศ และยาสามัญประจำบ้านแก่สูงอายุยากไร้ และผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการดูแล เดือนละ 350 บาทหรือ 4,200 บาทต่อปี

    ดำเนินงานในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 97 ชุมชน กลไกการเยี่ยมบ้าน โครงการจะดำเนินงานโดย บั๊ดดี้โฮมแคร์ ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจเพื่อสังคมของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเขตเมืองเชียงใหม่ หรือ ช.อ.บ. อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีกิจกรรมหลัก 3 อย่างด้วยกันคือ

    1. ลงพื้นที่เยี่ยม ผู้สูงอายุยากไร้ โดยพูดคุย สอบถาม ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 โครงการได้มีการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ 300 คน (จากเป้าหมาย 500 คน) และในการลงเยี่ยมนี้ มีการเก็บข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้สูงอายุ พื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และในปี 2566 โครงการได้ขยายพื้นที่ ในพื้นที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าเป็นผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุวัยกลาง อายุระหว่าง 70-79 ปี เป็นผู้สูงอายุวัยต้น อายุระหว่าง 60-69 ปี และที่น่าสนใจคือ มีผู้ที่ยังอายุไม่ถึง 60 ปี ยังไม่เป็นผู้สูงอายุ แต่มีภาวะพึ่งพิง มีความชราภาพ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อยู่ในกลุ่มนี้ โดยเป็นกลุ่มที่อาสาสมัครในชุมชนลงความเห็นว่าเป็นผู้ยากไร้ต้องการคนช่วยเหลือดูแล 
    2. ประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุยากไร้ ด้วยการ วัดความดัน, วัดปริมาณอ๊อกซิเจนปลายนิ้ว, วัดไข้ และคำนวณค่า BMI เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค จากการลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุยากไร้ และสอบถามปัญหาด้านสุขภาพ วิเคราะห์ความทุกข์ของปัญหาจากข้อมูลผู้สูงอายุ 300 คน พบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง และเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ส่วนโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายพบ โรคอัลไซเมอร์/สมองเสื่อม  และข้อเข่าเสื่อม นอกจากภาวะโรคของผู้สูงอายุแล้ว ยังมีอาการทางกายที่แทรกซ้อนในกลุ่มผู้สูงอายุตามฐานข้อมูลของโครงการ คือ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง  มีภาวะกระดูกเสื่อม และมีอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ส่วนอาการทางจิตที่พบ มีผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า และผู้ที่มีอาการกังวลและอารมณ์แปรปรวน 
    3. ให้คำแนะนำด้านการ ดูแลเรื่องสุขอนามัย อาหาร โภชนาการ การมอบของใช้จำเป็นเร่งด่วนให้ผู้สูงอายุ ในทุก ๆ 3 เดือน สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยสมบูรณ์ จะใช้กระบวนการลงไปตรวจและประเมินภาวะสุขภาพที่บ้าน โดยมีการเก็บข้อมูลเชิงลึกเพื่อติดตามประเมินการเปลี่ยนแปลงทางภาวะสุขภาพ และใช้กิจกรรมต่างๆ มาส่งเสริม ฟื้นฟู ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย/จิต ดีขึ้น หรือคงสภาพให้ลดภาวะการพึ่งพิงได้มากที่สุด โดย 
      การให้คำแนะนำด้านการ ดูแลเรื่องสุขอนามัย
      เนื่องจากผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง ต้องการคนดูแล โครงการ ADOPT A GRANNY ปันสุขผู้สูงวัย สามารถลงพื้นที่เข้ามาเยี่ยมได้เพียง 2-4 ครั้งต่อเดือน จึงมีการกำหนดแผนการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลร่วมกับอาสาสมัคร และญาติ เพื่อช่วยกันดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าไปอบรมเสริมทักษะให้อาสาสมัครและญาติในการดูแลที่ถูกวิธี 
      การช่วยเหลือดูแลเรื่องอาหาร และโภชนาการ
      ในช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน และเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2566 ได้ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งหมดมีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน รวมถึงได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ บางรายต้องรับประทานอาหารค้างคืน เนื่องจากมีความจำเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย โครงการจึงจัดกิจกรรมร่วมกับอาสาสมัครในการปรุงอาหารสุกใหม่ จัดทำปิ่นโตปันสุขมอบอาหารพื้นเมืองที่มีส่วนประกอบของผักพื้นบ้านที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร เพื่อช่วยเสริมโภชนาการให้เหมาะกับโรค รวมถึงงมอบอาหารที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้หลายวัน เช่น ไข่ไก่ นม อาหารเสริม เป็นต้น 
      การมอบสิ่งของช่วยเหลือตามจำเป็น และเร่งด่วน
      ในระหว่างดำเนินงานโครงการในระยะช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน และตุลาคม-พฤศจิกายน 2566 ได้ดำเนินการช่วยเหลือในโอกาสที่มีสถานการณ์เร่งด่วนที่ยิ่งทำให้ผู้สูงอายุมีความเปราะบางยิ่งขึ้น หรือภาวะความยากจน ขาดปัจจัยด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ มุ้ง ยารักษาโรค หรือไม้เท้าพยุงเดิน โครงการได้จัดสรรสิ่งของช่วยเหลือตามจำเป็นต่อสถานการณ์นั้น 
      การช่วยเหลือดูแลเรื่องกายภาพบำบัด
      เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีอาการอัมพฤกษ์อัมพาตและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องการการทำกายภาพ และฝึกเดิน ทางโครงการจึงจัดกิจกรรมฝึกเดิน และนวดผ่อนคลาย รวมถึงแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการช่วยการทำกายภาพ (ช้างจับมือ) ทุกๆ ครั้งที่ลงเยี่ยม และบรรจุกิจกรรมกายภาพ และฝึกเดินลงในแผนดูแลสุขภาพส่วนบุคคลตามอาการของผู้สูงอายุ และมีการติดตามโดยอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน 
    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์


    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ด่วน! ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 3 จังหวัดชายแดนใต้

    มอบถุงยังชีพ และหม้อหุงข้าวให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    1 มีนาคม 2024

    เงินบริจาคนำไปสนับสนุนถุงยังชีพ นม แพมเพิสเด็ก แพมเพิสผู้ใหญ่ การจัดทำครัวชุมชน และซื้อหม้อหุงข้าวให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    เมื่อวันที่ 22-24 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 มากกว่า 13 อำเภอ 68 ตำบล 410 หมู่บ้าน 28,049 ครัวเรือน 109,545 คน 8 ชุมชน โรงเรียน 254 แห่ง มัสยิด 13 แห่ง วัด 18 แห่ง ถนน 2 สาย ได้รับความเสียหาย ต้องรีบอพยพผู้คนออกจากบ้านที่ตัวเองอยู่อาศัย และหาพื้นที่ปลอดภัยอยู่ระหว่างรอน้ำลด หลายคนต้องออกมาโดยไม่ได้นำสิ่งใดออกมาด้วย หรือหากอยู่ในพื้นที่การกินอยู่ก็ลำบาก

    นอกจากการบริจาคข้าวสารอาหารแห้ง และอบต. ได้ตั้งครัวชุมชนแล้ว ชาวบ้านไม่ต้องการเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว ชาวบ้านอยากประกอบอาหารทานเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระพึ่งพาจากคนภายนอก ส่วนปัญหาการมอบถุงยังชีพ เช่น ข้าวสาร ก็ยังมีปัญหาเพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด เช่น หม้อหุงข้าว ได้รับความเสียหาย เนื่องจากน้ำท่วมสูงมิดหลังคาบ้าน และเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบ 90 ปี

    เครื่องใช้ไฟฟ้าและที่นอนไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่หลังน้ำลด จึงต้องขอรับบริจาคเงินเพื่อซื้อหม้อหุงข้าวซึ่งเป็นความต้องการของชาวบ้าน นอกเหนือจากความต้องการพวกเครื่องนอนและเสื้อผ้าที่เปื้อนโคลน หลังจากการส่งมอบถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้งแล้ว ชาวบ้านรู้สึกถึงความห่วงใยของสังคมที่ไม่ทอดทิ้งเขาให้เผชิญกับสถานการณ์ภัยพิบัติตามลำพัง ถึงแม้ว่าหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่อยู่ในฐานะยากจน อดมื้อกินมื้อ ได้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับภาวะวิกฤติต่อไป

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    ประชาชนทั่วไปครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี250 คนได้รับการสนับสนุนถุงยังชีพ นม แพมเพิสเด็ก แพมเพิสผู้ใหญ่ การจัดทำครัวชุมชน และหม้อหุงข้าว สำหรับจัดทำอาหาร
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





    อ่านต่อ
  • ความคืบหน้าโครงการ > ให้น้องได้ดื่มน้ำสะอาดโรงเรียนในพื้นที่บนดอยสูง

    ติดตั้งเครื่องกรองน้ำให้กับ 2 โรงเรียน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

    22 กุมภาพันธ์ 2024

    มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กได้จัดทำ โครงการให้น้องได้ดื่มน้ำสะอาด ร่วมกับเทใจดอทคอม เพื่อระดมทุนในการจัดซื้อเครื่องกรองน้ำมาตรฐานติดตั้งให้กับโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลพื้นที่ดำเนินโครงการฯ โรงเรียนท้องถิ่นทุรกันดารบนดอยสูง จำนวน ๖ โรงเรียน

    โดยโรงเรียนดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำที่ไหลผ่านจากภูเขา ทำให้น้ำมีสารบนเปื้อนจากสารพิษของยาฆ่าแมลงตกค้างจากการทำเกษตรในพื้นที่ และหินตกตะกอนบนเปื้อนในน้ำ ส่งผลให้ครู นักเรียนในโรงเรียนใช้น้ำไม่สะอาดในการอุปโภคบริโภคซึ้งส่งผลต่อร่างกายโดยตรง

    ซึ่งเป้าหมายในการระดมทุนในการจัดซื้อเครื่องกรองน้ำครั้งนี้ จำนวน 500,000 บาท ให้กับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการระดมทุนที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่

    1. โรงเรียนชุมชนแม่ลาศึกษา อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ( ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ )
    2. โรงเรียนบ้านละอูบ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ( ดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ )

    หลังจากมูลนิธิฯ ได้เบิกเงินโครงการฯ เพื่อดำเนินงาน โดยแบ่งการเบิกเงินจำนวน 2 งวด

    • งวดที่ 1 จำนวน 96,837 บาท
    • งวดที่ 2 จำนวน 76,642 บาท

    รวมจำนวน 173,479 บาท

    ปัจจุบันได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกรองน้ำให้กับโรงเรียน 2 โรงเรียน คือ

    1. โรงเรียนชุมชนแม่ลาศึกษา อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีการดำเนินการติดตั้งระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2566
    2. โรงเรียนบ้านละอูบ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินการติดตั้งระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2567 นี้

    ในการดำเนินการติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ทั้ง 2 โรงเรียนนี้ ส่งผลให้โรงเรียนและนักเรียนมีน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคที่สะอาดและปลอดภัย เด็กนักเรียนมีสุขภาพดีเพิ่มมากขึ้น ส่วนโรงเรียนที่เหลืออยู่ระหว่างการระดมทุนเพิ่มร่วมกับเทใจดอทคอม ต่อเนื่องในปี 25667

    ซึ่งตลอดระยะเวลาการระดมทุนที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ได้มีการเผยแพร่ระดมทุนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในทุกๆ ช่องทางสื่อของมูลนิธิฯ ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่และกรรมการมูลนิธิฯ ได้เร่งช่วยกันสื่อสารการระดมทุนมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2566 ถึงปัจจุบัน เพื่อระดมทุนให้กับโรงเรียนที่เหลืออีกจำนวน 4 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ดังกล่าว

    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





    อ่านต่อ