ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการคัดเลือกเซลล์ที่ผลิตแอนติบอดีต้นแบบประสิทธิภาพสูงเพื่อพัฒนาเป็นยาแอนติบอดีและชุดตรวจเชื้อ SARS-CoV-2

รวมพลังสู้ไม่ถอย... สนับสนุนแพทย์จุฬาฯ สร้างแอนติบอดีต้านโควิด-19

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2022

จากการระดมทุนจากเทใจ เพื่อสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ทำให้โครงการสามารถนำเงินที่ได้ไปใช้ในกระบวนการคัดเลือกหาผู้ป่วยที่หายดีจากโรคโควิด-19 แล้ว ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สูง ตามที่ต้องการ จากนั้นนำเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยมาสร้างเซลล์ไฮบริโดมาด้วยเทคนิคการหลอมรวมเซลล์ด้วยกระแสไฟฟ้า พบว่าทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการคัดเลือกเซลล์ที่ผลิตแอนติบอดีประสิทธิภาพสูงที่สามารถจับและยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในหลอดทดลอง จำนวน 15 ชนิด โดยสามารถยับยั้งเชื้อสายพันธุ์เดลต้า (Delta) ได้มากกว่า 90% และในจำนวนดังกล่าวมีแอนติบอดี 9 ชนิด ที่สามารถยับยั้งเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้มากกว่า 80% อีกด้วย ซึ่งแอนติบอดีเหล่านี้สามารถนำไปเป็นแอนติบอดีต้นแบบเพื่อผลิตเป็นยารักษาหรือป้องกันโรคโควิด-19 ได้


นอกจากนี้ทีมวิจัยยังประสบความสำเร็จในการคัดเลือกเซลล์ที่สามารถผลิตแอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพสูงต่อโปรตีน Nucleocapsid ของเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ทั้งหมด 12 ชนิด ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแอนติบอดีต้นแบบในการผลิตเป็นชุดตรวจเชื้อ SARS-CoV-2 ได้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 


ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้เปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอนาคต
ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถใช้แอนติบอดีในการป้องกันการติดเชื้อได้
ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในอนาคต
ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่จำเพาะ และมีประสิทธิภาพจากการใช้ยาแอนติบอดี
นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย9 คนมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างแอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้นำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างแอนติบอดีต่อโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น

ภาพประกอบ

จานหลุมสำหรับเลี้ยง B-cell ที่ผลิตแอนติบอดี

นักวิจัยกำลังส่องดูเซลล์ที่ผลิตแอนติบอดีภายใต้กล้องจุลทรรศน์

ทีมวิจัยพัฒนาแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19