สรุปโครงการ KKP รวมน้ำใจ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

KKP รวมน้ำใจ ฟื้นฟูผู้ประสบอุทุกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2020

จากเหตุการณ์น้ำท่วมภาคอีสาน ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ได้รับความเสียหายในวงกว้าง มูลนิธิกระจกเงา ในบทบาทขององค์กรที่มีประสบการณ์ในการจัดการอาสาสมัครในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ได้ลงพื้นที่เข้าให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในระยะฟื้นฟูหลังน้ำลด โดยมีธนาคารเกียรตินาคินให้การสนับสนุนงบประมาณ ยังประโยชน์ให้ชาวบ้านผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ได้รับการช่วยเหลือมากกว่า 10 ชุมชน เป็นจำนวนหลายร้อยครัวเรือน ประกอบไปด้วย

  1. บ้านท่าข้องเหล็ก
  2. บ้านช่างหม้อ
  3. เทศบาลหาดสวนสุข
  4. ชุมชนหาดสวนสุข
  5. บ้านท่ากอไผ่
  6. บ้านหาดสวนยา
  7. บ้านคูยาง
  8. ชุมชนดีงาม
  9. บ้านท่าบ้งมั่ง
  10. ชุมชนเกตุแก้ว


กิจกรรมที่ดำเนินงานประกอบไปด้วย

  1. กิจกรรมอาสาล้างบ้าน ระดมอาสาสมัคร เข้าล้างบ้าน ทำความสะอาดชุมชนผู้ประสบภัย โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วม 5 รุ่น รวม 200 คน พร้อมอาสาสมัครที่มาเข้าร่วมในพื้นที่จำนวนกว่า
  2. กิจกรรมซ่อมสร้างบ้านผู้ประสบภัยยากไร้
  3. กิจกรรมส่งมอบของบริจาคถึงผู้ประสบภัย ประกอบด้วย เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ของอุปโภคบริโภค อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  4. สนับสนุนอุปกรณ์ และเครื่องจักรทำความสะอาดบ้านและชุมชน


รายละเอียดผลการดำเนินงาน ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 10 ชุมชน ดังนี้

1. บ้านท่าข้องเหล็ก หมู่ 8 ตำบลคำน้ำแซ่บ

  •  นำอาสาสมัครล้างบ้าน 4 หลังคาเรือน

2. บ้านช่างหม้อ หมู่ 5 ตำบลคำน้ำแซ่บ

  • นำอาสาสมัครล้างบ้าน 4 หลังคาเรือน และล้างวัดบ้านช่างหม้อ
  • สนับสนุนค่าถมดิน บ้านแม่เรียม 5,000 บาท
  • สนุบสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ซ่อมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 30 หลังคาเรือน 

3. เทศบาลหาดสวนสุข

  • นำอาสาสมัครทำความสะอาดโรงเรียนบ้านหาดสวนยา
  • นำผักตบลงจากหลังคา 1 หลังคาเรือน
  • สนับสนุนอุปกรณ์ก่อสร้างบ้าน 1 หลังคาเรือน
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ซ่อมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 55 หลังคาเรือน

4. ชุมชนหาดสวนสุข 1 เทศบาลวารินชำราบ

  • นำอาสาสมัครล้างบ้าน 10 หลังคาเรือน
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด 50 หลังคาเรือน
  • สร้างบ้านให้ผู้ประสบภัย 1 หลัง
  • สนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน 12 หลังคาเรือน
  • นำอาสาสมัครเข้าซ่อมแซมบ้าน 11 หลังคาเรือน

5. บ้านท่อกอไผ่

  • นำกำลังอาสาล้างบ้านผู้ประสบภัย 6 หลัง และทำความสะอาดศาลากลางหมู่บ้าน
  • สร้างบ้านให้ผู้ประสบภัย 1 หลัง
  • สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างบ้าน 40 หลังคาเรือน
  • ซ่อมแซมบ้านผู้ประสบภัย 17 หลังคาเรือน เช่น เปลี่ยนประตู หน้าต่าง ทำคานบ้าน
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 50 หลังคาเรือน
  • สนับสนุนสีทาบ้าน 44 หลังคาเรือน

6. บ้านหาดสวนยา

  • ทำความสะอาดศาลากลางหมู่บ้าน และทำควาสะอาดบ้าน 5 หลังคาเรือน
  • ซ่อมแซมบ้านผู้ประสบภัย 2 หลัง
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 35 หลังคาเรือน

7. บ้านคูยาง

  • นำกำลังอาสาล้างบ้าน 4 หลังคาเรือน
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 75 หลังคาเรือน

8. ชุมชนดีงาม

  • นำอาสาล้างบ้าน 1 หลังคาเรือน 
  • สนับสนุนสีทาบ้าน 3 หลังคาเรือน
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 20 หลังคาเรือน

9. ชุมชนท่าบ้งมั่ง

  • นำกำลังอาสาล้างบ้าน ล้างวัดเสนาวงษ์ และล้างบ้านผู้ประสบภัย 5 หลังคาเรือน
  • นำอาสาซ่อมแซมบ้าน สนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 15 หลังคาเรือน
  • สนับสนุนสีทาบ้าน 3 หลัง

10. ชุมชนเกตุแก้ว

  • นำกำลังอาสาล้างบ้านผู้ประสบภัย 7 หลัง
  • สร้างบ้านผู้ประสบภัย 12 หลังคาเรือน
  • ซ่อมบ้านผู้ประสบภัย 1 หลัง
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 70 หลังคาเรือน
  • สนับสนุนสีทาบ้าน 3 หลัง

11. แจกกระสอบปุ๋ย เพื่อให้ผู้ประสบภัยใช้เก็บขยะภายในบ้าน และชุมชน กว่า 10 ชุมชน 20,000 ใบ

12. จัดหา และนำกำลังรถฉีดน้ำ รถดั้ม และแมคโคร เข้าทำความสะอาดเก็บขยะเฟอร์นิเจอร์ที่ลอยมากับน้ำออกจากถนนในชุมชนต่างๆ รวม 3 ชุมชน  

ประมวลภาพการดำเนินการ

ภาพก่อน และหลังทำบ้านคุณตาวิจิตร

“นี่ไม่ได้โม้นะ แต่ผมซ่อมได้หมด รถอะไรก็มาเหอะ จะรถแทรกเตอร์ รถแบคโฮ โอ้ยยยย!! ซ่อมได้สบาย”

“จริงๆ ผมเป็นคนกรุงเทพนะ ตอนเด็กๆ อยู่บางกอกน้อย นี่ตามพี่ชายมาอยู่วาริน (วารินชำราบ) พี่ชายมาทำงานซ่อมรถแทรกเตอร์ ก็ตามมาเป็นผู้ช่วยเขา พอพี่ชายตาย ก็มาเป็นหัวหน้าแทน แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว เก็บขยะขาย”

คุณตาวิจิตร ภาคภูมิ อายุ 81 ปี แกอยู่ชุมชนเกตุแก้ว เป็นพื้นทีที่น้ำท่วมก่อน และลงหลังสุด บ้านตาอยู่ในแอ่ง ต่ำกว่าถนนร่วม 2 เมตร พอน้ำท่วม บ้านจึงแช่น้ำแบบมิดหลังคาอยู่เป็นเดือน หลังน้ำลด บ้านตากลายเป็นซากไม้ผุพัง

“อยู่ด้วยเงินผู้สูงอายุ 800 บาท กับบัตรคนจน ที่เขาให้เอาไว้ซื้อของนั่นล่ะ พอได้มีกะปิ น้ำปลากับเขาบ้าง เก็บขยะขายพอได้ซักสองสามร้อย ถึงจะมีไปซื้อเขากินได้”

ตั้งแต่น้ำท่วม ตาวิจิตรก็เลิกเก็บของเก่าขาย แกป่วยออดๆ แอดๆ มาร่วมเดือนแล้ว ตอนนี้แกยังนอนในเพิงพักชั่วคราว แต่คืนนี้แกจะได้กลับเข้าไปนอนในบ้านเสียที ญาติที่ดูแลคุณตาเล่าให้เราฟัง

ถามว่าดีใจไหม ได้บ้านใหม่แล้ว แกระบายยิ้มจนเปื้อนหน้า แทนคำตอบ

#งานซ่อมสร้างบ้าน  #ชุมชนเกตุแก้ว #วารินชำราบ #อุบลราชธานี #ภารกิจฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม