project เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ อื่นๆ

Homecoming พาใจกลับบ้าน

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อบทบาทและคุณค่าของทุกคนในสังคม นอกจากปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย ยังพ่วงเรื่องสุขภาพใจมาด้วย ประเทศไทยพบว่าบุคลากรด้านจิตวิทยามีไม่เพียงพออย่างมาก เราในฐานะนักออกแบบเห็นว่าการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ และรู้จักป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิต เป็นอีกหนทางสำคัญที่จะช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้จึงเกิดเป็น “Homecoming พาใจกลับบ้าน“ พื้นที่บำบัดใจในรูปแบบใหม่ที่ผสานระหว่างดิจิทัลอาร์ตและทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่ทำให้เรื่องสุขภาพใจเป็นเรื่องใกล้ตัว ปี 2567 นี้ เราตัดสินใจจัดงานขึ้นอีกครั้งโดยมีผู้สนับสนุนหลักแล้ว แต่ยังต้องการเงินอีกจำนวนหนึ่งสำหรับเป็นค่าดำเนินงานตลอดทั้งปี

ระยะเวลาโครงการ 24 มิ.ย. 2567 ถึง 24 มิ.ย. 2568 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: แขวงหนองบอน เขตประเวศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร (MMAD, MunMun Srinakarin)

ยอดบริจาคขณะนี้

247 บาท

เป้าหมาย

484,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 0%
88 วัน จำนวนผู้บริจาค 2

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อบทบาทและคุณค่าของทุกคนในสังคม นอกจากปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย ยังพ่วงเรื่องสุขภาพใจมาด้วย ประเทศไทยพบว่าบุคลากรด้านจิตวิทยามีไม่เพียงพออย่างมาก เราในฐานะนักออกแบบเห็นว่าการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ และรู้จักป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิต เป็นอีกหนทางสำคัญที่จะช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้จึงเกิดเป็น “Homecoming พาใจกลับบ้าน“ พื้นที่บำบัดใจในรูปแบบใหม่ที่ผสานระหว่างดิจิทัลอาร์ตและทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่ทำให้เรื่องสุขภาพใจเป็นเรื่องใกล้ตัว ปี 2567 นี้ เราตัดสินใจจัดงานขึ้นอีกครั้งโดยมีผู้สนับสนุนหลักแล้ว แต่ยังต้องการเงินอีกจำนวนหนึ่งสำหรับเป็นค่าดำเนินงานตลอดทั้งปี

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมทั้ง ด้านเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โรคระบาดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้คนไทยจำนวนมากมีสภาพจิตใจที่แย่ลง ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตประเมินว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2021 จากฐานข้อมูลเดิม 7.37 ต่อแสนประชากร ความจริงแล้วอาจสูงถึง 10.08 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกและสูงกว่าเป้าหมายของกรมเป็นอย่างมาก (อ้างอิง ข้อมูลจากบทความในเว็ปไซต์ 101 PUB วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2023)

เพื่อการเอาตัวรอดจากวิกฤติต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานที่ต้องแบกรับความคาดหวังจากทั้งด้านการทำงาน การเงิน ความฝัน และครอบครัว พวกเขาต้องรีดเค้นศักยภาพและใช้ทุกพลังที่มีโดยแทบไม่ได้มีโอกาสหันกลับมาดูแลตัวเอง จนได้ชื่อว่าเป็น ‘ยุคแห่งความหมดไฟ’ ทำให้คนไทยมีความเครียดสูง และเสี่ยงกับภาวะซึมเศร้า

ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้จำนวนจิตแพทย์ไม่เพียงพอ จากข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 จากสถิติของกรมสุขภาพจิตระบุว่า จิตแพทย์รวม 845 คน ซึ่งมีอัตราส่วน 1.28 คนต่อประชากรแสนคน / นักจิตวิทยา(คลินิก) รวม 1,037 คน ซึ่งมีอัตราส่วน 1.57 คนต่อประชากรแสนคน / พยาบาลจิตเวชรวม 4,064 คน ซึ่งมีอัตราส่วน 6.14 คนต่อประชากรแสนคน โดยบางจังหวัดไม่มีจิตแพทย์เลย (อ้างอิง ข้อมูลจากบทความในเว็ปไซต์ thaihealthreport เดือน มีนาคม ปี 2023)

จากตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นชัดว่าประเทศไทยขาดบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างมาก การส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต (Promotion & Prevention Approach) จึงเป็นอีกหนทางสำคัญในการช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น

วิธีการแก้ไข

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่แค่เรื่องธรรมดาทั่วไป แต่ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยเหตุนี้ บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ ร่วมกับภาคีต่างๆ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการทำงานเชิงป้องกัน (Promotion & Prevention Approach) ด้วยการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่เชิงบำบัด (Therapeutic Space) ผสานกับองค์ความรู้ด้าน Digital Art ที่เป็นรูปแบบของสื่อที่มีความดึงดูดน่าสนใจ ด้วยการใช้แสง, สี, เสียง และสัมผัส เพื่อเน้นการทำงานกับฐานกาย ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการทำงานกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ พร้อมร้อยเรียงเรื่องราวของเนื้อหา ภายใต้แนวคิดและตัวแปรทางจิตวิทยา ‘ความเมตตากรุณาต่อตัวเอง’ (Self-Compassion) เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ และเอื้อให้เกิดการตระหนักรู้ด้านสุขภาพใจให้กับกลุ่มคนวัยทำงาน รวมถึงมุ่งเน้นการทำให้ปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันและลดปัญหาการตีตรา (Stigmatize) ทำให้งานนิทรรศการพาใจกลับบ้าน ที่เคยจัดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ได้รับผลตอบรับจากผู้ชมอย่างดีทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก

ความสำเร็จในเชิงกว้าง

นิทรรศการ Homecoming ‘พาใจกลับบ้าน’ ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1-30 มิถุนายน 2566 ซึ่งออกแบบประสบการณ์และดำเนินการโดย บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัด ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และได้รับการสนับสนุนจาก Ooca, River City Bangkok และ Persona Health App มีจำนวนผู้ชมที่เข้าร่วมงานถึง 40,450 คน และมียอดผู้ชมที่พูดถึงประเด็นสุขภาพจิตผ่าน #พาใจกลับบ้าน จากทุก online platform มากกว่า 10 ล้านข้อความ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลแอดแมน อวอร์ส 2023 รางวัล Bronze ในสาขา Good for people ประเภทงานสุขภาพ และสุขภาวะ (Health & Well-being) โดยสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย

ความสำเร็จในเชิงลึก

ข้อมูลที่ถูกบันทึกผ่านแอปพลิเคชั่นแบบสอบถาม ในนิทรรศการ Homecoming ‘พาใจกลับบ้าน’ ครั้งที่ 2 จากแบบสอบถามในประเด็นความผ่อนคลายในชีวิตหลังเข้าร่วมนิทรรศการ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่านิทรรศการนี้ทำให้ผู้เข้า ร่วมรู้สึกผ่อนคลายในระดับ 70-100 คะแนน (มาก-มากที่สุด) คิดเป็น 87.8% และผู้เข้าร่วมนิทรรศการมีความเข้าใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้น ในระดับ 70-100 คะแนน (มาก-มากที่สุด) อยู่ที่ 78.51% ซึ่งสะท้อนว่าพื้นที่เชิงประสบการณ์แห่งนี้ไม่เพียงเอื้อให้ผู้เข้าร่วมนิทรรศการรู้สึกผ่อนคลายใจ แต่ยังช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพจิต และสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลจิตใจเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมนิทรรศการและมีแนวโน้มที่จะแนะนำต่อให้คนอื่นรูัจักนิทรรศการนี้อีกด้วย

จากความสำเร็จที่ผ่านมาทำให้ บริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัด ได้สานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับ MMAD, MunMun Srinakarin เพื่อจัด นิทรรศการ Homecoming ‘พาใจกลับบ้าน’ ครั้งที่ 3 เป็นระยะเวลาหนึ่งปี เพื่อเป็นพื้นที่ที่ให้ผู้คนทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกและรู้จักวิธีการดูแลใจเบื้องต้น แต่ด้วยจำนวนเงินตั้งต้นของโครงการยังไม่เพียงพอ ทีมงานยังคงขาดในส่วนของค่าจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพจิตทั้งในรูปแบบของ workshop และ เสวนา ระหว่างปี รวมถึงการจัดจ้างบุคคลากรในการดูแลและปรับปรุงพื้นที่นิทรรศการ เพื่อที่จะทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนตลอดระยะการดำเนินการของโครงการ

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. ขั้นตอนการออกแบบ (อยู่ระหว่างดำเนินการในขั้นตอน Design Development จะแล้วเสร็จ 30/04/24)

โดยออกแบบและปรับปรุงพื้นที่จากห้องร้านค้าภายในห้างให้กลายเป็นพื้นที่นิทรรศการที่เหมาะสม และออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมภายในงานร่วมกับกลุ่มนักจิตวิทยา เพื่อให้ได้ประสบการณ์เชิงบำบัดที่เหมาะสม 

2. ขั้นตอนการทดสอบ (อยู่ระหว่างดำเนินการ จะแล้วเสร็จ 15/06/24)

ทดสอบประสบการณ์และกระบวนการที่ได้จากขั้นออกแบบ กับกลุ่ม Focus group เพื่อพัฒนาเป็นฉบับสมบูรณ์ พร้อมกับการทดสอบวัสดุที่ใช้ภายในงานนิทรรศการทั้งหมด ทั้งวัสดุสำหรับสัมผัส, แสงเสียง รวมไปจนถึงกลิ่นภายในงาน เพื่อเริ่มผลิตชิ้นงาน Installation ภายในงาน

3. ขั้นตอนการก่อสร้าง (เริ่มดำเนินการ 18/04/24 จะแล้วเสร็จ 15/04/24 และทดสอบขั้นสุดท้ายถึงวันเปิดงาน)

ก่อสร้างตามแบบสร้าง  ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดภายในงาน ติดตั้งระบบ แสง, เสียง

4.ขั้นตอนเปิดงานและดำเนินงาน (เปิดงาน 24/06/24)

Staff Workshop ให้ความรู้และอบรมบุคคลากรที่ประจำที่งานด้วยทีมงานออกแบบประสบการณ์และนักจิตวิทยา เพื่อคอยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เข้าร่วมงาน จัดกิจกรรม Workshop หรือเสวนาเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับกลุ่มคนที่อยากดูแลสุขภาพใจของตัวเอง 6 ครั้ง/ปี (ไม่นับรวมกิจกรรมจาก Partner นอกภาคี)

ตลอดการทำงานทางทีมต้องจัดการ ซ่อมบำรุงพื้นที่และชิ้นงานภายในนิทรรศการตลอด 1ปี และดูแลช่องทางการสื่อสารพร้อมบุคคลากรที่ช่วยอำนวยความสะดวก Online

ผู้รับผิดชอบโครงการ

Eyedropper Fill Co.,Ltd.

https://www.facebook.com/eyedropperfill

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 สนับสนุนค่าบำรุงและปรับปรุงพื้นที่นิทรรศการ เนื่องจากภายในนิทรรศการต้องใช้การสัมผัสจึงต้องใช้งบประมาณส่วนนี้ซื้ออุปกรณ์รวมถึง Service ในการค่าเชื้อให้สะอาดและปลอดภัยอยู่เสมอ 10,000บาท/เดือน 12 เดือน 120,000.00
2 สนับสนุนค่าจัด Workshop หรือ เสวนา เกี่ยวกับสุขภาพจิตในพื้นที่นิทรรศการขนาดไม่เกิน 30คน/1ครั้ง (กิจกรรมจัดทำโดยพาใจกลับบ้าน ไม่นับรวมกับกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย Partner นอกภาคีอื่นๆ) จำนวน 6 ครั้ง 12 เดือน 120,000.00
3 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนค่าบุคคลกรดูแลและอำนวยความสะดวกภายในนิทรรศการ (เนื่องจากงบประมาณของผู้สนับสนุนหลักคือ MMAD สามารถ Cover ค่าบุคคลากรส่วนนี้ได้ 3 เดือน เราต้องการเงินสนนับสนุนเพิ่มอีก 9 เดือน เป็นเงิน 1,350,000 บาท) 12 เดือน 200,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
440,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
44,000.00

ยอดระดมทุน
484,000.00

บริจาคให้
Homecoming พาใจกลับบ้าน

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน