project สิ่งแวดล้อม

ส่งรุกขกรไทยไปแข่ง Asia-Pacific Tree Climbing Championship 2019

ช่วยกัน ส่งรุกขกร วีรยุทธ เงินชุ่ม และพรนภา ศิริบุญญฤทธิ์แชมป่ประเทศไทย ให้ได้ไปแข่งขัน Asia-Pacific Tree Climbing Championship 2019

ระยะเวลาโครงการ 1 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ไทย

ยอดบริจาคขณะนี้

30,000 บาท

เป้าหมาย

30,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 21

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

รายงานผล รุกขกรไทยในการแข่งขันปีนต้นไม้ The Asia Pacific Tree Climbing Championship 2019

3 พฤษภาคม 2019

รายงานผล รุกขกรไทยในการแข่งขันปีนต้นไม้ The Asia Pacific Tree Climbing Championship 2019 (APTCC) ณ เมือง Christchurch ประเทศ New Zealand ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน 2562 ซึ่งทำผลงานเป็นที่น่าพอใจสำหรับการแข่งขันครั้งแรกในระดับนานาชาติ


ตัวแทนฝ่ายชาย “หนุ่ย วีรยุทธ เงินชุ่ม” สามารถคว้า อันดับที่ 5 ของการแข่งขันประเภท Men’s belayed speed climb จากผู้เข้าแข่งขัน 26 คน ซึ่งเป็นตัวแทนรุกขกรชายคนแรกของประเทศไทยในการแข่งขันปีนต้นไม้ ณ ประเทศนิวซีแลนด์


ขณะที่ น้องพิมพ์ พรนภา ศิริบุญญฤทธิ์ได้รับรางวัล ชนะเลิศอันดับที่ 3 ของการแข่งขันประเภท Women's throwline ซึ่งเป็นตัวแทนรุกขกรหญิงคนแรกของประเทศไทยในการแข่งขันปีนต้นไม้ ณ ประเทศนิวซีแลนด์

โดยการแข่งขันครั้งนี้มีตัวแทนรุกขกรกว่า 6 ประเทศ ได้แก่
Australia, New Zealand, Hongkong, Malaysia, Japan, Thailand

ถ้าถามว่าการไปร่วมการแข่งขันที่นิวซีแลนด์ครั้งนี้ได้อะไร? เหนือกว่าการไปทำผลงานหรือคว้ารางวัลก็คือประสบการณ์ที่มีโอกาสได้เรียนรู้ ได้เห็นเทคนิคและทักษะการทำงานของนักปีนระดับโลกหลายคนจากหลายเชื้อชาติ ซึ่งเทคนิคและทักษะต่างๆ นั้นล้วนตั้งอยู่บนหลักของความปลอดภัยทั้งสิ้น อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ต้องมีมาตรฐานและได้รับการรับรอง ก่อนจะนำไปสู่การทำงานตัดแต่งตลอดจนดูแลต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักรุกขกรรม นักปีนต้นไม้คนไทยทั้ง 2 คน หวังเป็นอย่างยิ่งอีกว่าจะสามารถกลับมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้เห็นความสำเร็จของการจัดการต้นไม้ในเมืองอย่างประเทศนิวซีแลนด์ แก่เพื่อนพี่น้องในวงการรุกขกรรมประเทศไทย รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับการดูแลต้นไม้ในบ้านเรา อีกทั้งหากจะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครก็ตามที่สนใจแต่ยังไม่กล้าที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสายอาชีพนี้ได้เห็นว่าประเทศไทยยังต้องการนักดูแลและตัดแต่งต้นไม้อีกมาก เพื่อขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลต้นไม้นี้ให้กว้างขวางออกไปเรื่อยๆ และเพื่อให้ต้นไม้ในบ้านเราแข็งแรง สวยงาม สามารถอยู่คู่กับเมืองได้อย่างปลอดภัย กลมกลืน และสร้างประโยชน์อีกมากในแง่ของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป


 ขอขอบคุณทุกคน ทุกกลุ่ม และทุกหน่วยงาน ผู้อยู่เบื้องหลังและเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ผลักดันนักปีนต้นไม้คนไทยให้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันปีนต้นไม้ระดับนานาชาติครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญที่ประเทศไทยจะประกาศให้โลกรู้ว่า ขณะนี้เราพร้อมที่จะสร้างมาตรฐานงานรุกขกรรมในประเทศไทยและเราพร้อมที่จะมีนักปีนต้นไม้เพื่อเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติแล้ว



อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

“ให้ต้นไม้ใหญ่ได้ไปต่อ!”

ช่วยกัน ส่งรุกขกรชายหญิงของไทย แชมป์ Thailand Tree Climbing Championship 2018   วีรยุทธ เงินชุ่ม และพรนภา ศิริบุญญฤทธิ์   ไปแข่งขัน Asia-Pacific Tree Climbing Championship 2019 ประเทศนิวซีแลนด์ 5-7 เมษายน นี้  

เพื่อไปเพิ่มทักษะการปีนตัดแต่งต้นไม้แบบมาตรฐานสากล และกลับมาฝึกอบรมให้รุกขกรไทยไปช่วยกันดูแลต้นไม้ใหญ่ให้ทั่วประเทศ


‘รุกขกร’ หรือหมอต้นไม้

ทำหน้าที่เยียวยา รักษา และดูแลต้นไม้ใหญ่ สามารถปีนขึ้นไปตัดแต่งต้นไม้ เพื่อไม่ให้มีกิ่งแห้งหรือผุ และต้องมีองค์ความรู้ทุกภาคส่วนของต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้สวยงามแข็งแรงในประเทศที่ต้นไม้ใหญ่ในเมืองสวยๆ อย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มีมาตรฐานเกี่ยวกับอาชีพนี้อย่างชัดเจน การจัดการต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะผู้ทำต้องมีใบอนุญาตทำให้การจัดการงานรุกขกรในต่างประเทศเป็นระบบและเชื่อถือได้

ขณะที่ประเทศไทยที่ยังไม่มีระบบมาตรฐานรองรับอาชีพรุกขกร แต่ละคนเมื่อจบอบรมไปก็เป็นหน้าที่ของตนเอง พร้อมฝึกฝน หาความรู้ เพื่อให้วันหนึ่งสามารถเรียกตัวเองว่าเป็นรุกขกรได้อย่างภูมิใจ 

เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการจัดแข่งปีนต้นไม้ Thailand Tree Climbing Championship 2018 เป็นครั้งแรก ได้ผู้ชนะประเภทชายและหญิงคือ วีรยุทธ เงินชุ่ม (หนุ่ย หนุ่มเชียงใหม่) และพรนภา ศิริบุญญฤทธิ์ (พิม สาววนศาสตร์ ม.เกษตร) โดยทั้งสองคน ได้รับเชิญโดย New Zealand Arboriculture Association ให้ไปร่วมแข่ง Asia Pacific Tree Climbing Championship 2019 ที่เมือง Christchurch วันที่ 5-7 เมษายนนี้ 

"หนุ่ย"กับ "พิม" ต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดไม่ไหว จึงขอชวนเพื่อนต้นไม้ทุกคน ช่วยกันสนับสนุนให้พิมกับหนุ่ยได้ไปแข่งขัน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ เพิ่มทักษะการปีนตัดแต่งต้นไม้แบบมาตรฐานสากล และกลับมาฝึกอบรมให้รุกขกรไทยที่ช่วยกันดูแลต้นไม้ใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อสุขภาพของคนไทยและของเมืองที่ต้นไม้จะช่วยดูแลให้ได้ต่อไปด้วย


ประโยชน์ของการไปแข่งขัน

  • ถ้าไปฝึกที่นิวซีแลนด์แล้วประเทศไทยได้อะไร รุกขกรไทยได้ฝึกทักษะขั้นสูงในการทำงานบนต้นไม้ใหญ่กับวิทยากรระดับโลก
  • สามารถเชื่อมโยงองค์กรด้านการจัดการต้นไม้ในเมืองในระดับสากล กับองค์กรที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย
  • กลับมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่ได้จากการอบรมและแข่งขันที่นิวซีแลนด์ ให้กับรุกขกรในประเทศไทย
  • นำความรู้ ประสบการณ์ ความสำเร็จในการจัดการต้นไม้ในเมืองของประเทศอย่างนิวซีแลนด์ มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย
  • เป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ๆ หันมาทำอาชีพด้านนี้ ทำให้สามารถผลิตวิทยากรมาทำงานดูแลต้นไม้ทั่วประเทศได้มากขึ้น
  • ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดูแลต้นไม้ในเมืองให้กับคนทั่วไป นำมาซึ่งการตระหนักรู้ถึงปัญหาและวิธีจัดการอย่างรู้เท่าทันเวลาเราเห็นต้นไม้ต้นเดียวกัน

น่าดีใจที่เหล่ารุกขกรต่างพยายามสร้างการรับรู้ให้ผู้คนอยู่เสมอ กับต้นไม้เอง พวกเขายังคงทำหน้าที่เป็นหมอช่วยเช่นเคย

เมื่อมีรุกขกรเพิ่มขึ้น จะได้มาช่วยกันเยียวยาและบรรเทาอาการป่วยไข้ของต้นไม้ให้อยู่กับเมืองอย่างมีความสุข ทำให้ต้นไม้ที่สุขภาพไม่ดีกลับมามีสุขภาพดี แข็งแรง ยืนหยัดให้ร่มเงาและอากาศกับเราไปได้นานๆ 

ภาคี

Bigtrees


รูปภาพ : a day magazine

รายงานผล รุกขกรไทยในการแข่งขันปีนต้นไม้ The Asia Pacific Tree Climbing Championship 2019

3 พฤษภาคม 2019

รายงานผล รุกขกรไทยในการแข่งขันปีนต้นไม้ The Asia Pacific Tree Climbing Championship 2019 (APTCC) ณ เมือง Christchurch ประเทศ New Zealand ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน 2562 ซึ่งทำผลงานเป็นที่น่าพอใจสำหรับการแข่งขันครั้งแรกในระดับนานาชาติ


ตัวแทนฝ่ายชาย “หนุ่ย วีรยุทธ เงินชุ่ม” สามารถคว้า อันดับที่ 5 ของการแข่งขันประเภท Men’s belayed speed climb จากผู้เข้าแข่งขัน 26 คน ซึ่งเป็นตัวแทนรุกขกรชายคนแรกของประเทศไทยในการแข่งขันปีนต้นไม้ ณ ประเทศนิวซีแลนด์


ขณะที่ น้องพิมพ์ พรนภา ศิริบุญญฤทธิ์ได้รับรางวัล ชนะเลิศอันดับที่ 3 ของการแข่งขันประเภท Women's throwline ซึ่งเป็นตัวแทนรุกขกรหญิงคนแรกของประเทศไทยในการแข่งขันปีนต้นไม้ ณ ประเทศนิวซีแลนด์

โดยการแข่งขันครั้งนี้มีตัวแทนรุกขกรกว่า 6 ประเทศ ได้แก่
Australia, New Zealand, Hongkong, Malaysia, Japan, Thailand

ถ้าถามว่าการไปร่วมการแข่งขันที่นิวซีแลนด์ครั้งนี้ได้อะไร? เหนือกว่าการไปทำผลงานหรือคว้ารางวัลก็คือประสบการณ์ที่มีโอกาสได้เรียนรู้ ได้เห็นเทคนิคและทักษะการทำงานของนักปีนระดับโลกหลายคนจากหลายเชื้อชาติ ซึ่งเทคนิคและทักษะต่างๆ นั้นล้วนตั้งอยู่บนหลักของความปลอดภัยทั้งสิ้น อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ต้องมีมาตรฐานและได้รับการรับรอง ก่อนจะนำไปสู่การทำงานตัดแต่งตลอดจนดูแลต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักรุกขกรรม นักปีนต้นไม้คนไทยทั้ง 2 คน หวังเป็นอย่างยิ่งอีกว่าจะสามารถกลับมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้เห็นความสำเร็จของการจัดการต้นไม้ในเมืองอย่างประเทศนิวซีแลนด์ แก่เพื่อนพี่น้องในวงการรุกขกรรมประเทศไทย รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับการดูแลต้นไม้ในบ้านเรา อีกทั้งหากจะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครก็ตามที่สนใจแต่ยังไม่กล้าที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสายอาชีพนี้ได้เห็นว่าประเทศไทยยังต้องการนักดูแลและตัดแต่งต้นไม้อีกมาก เพื่อขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลต้นไม้นี้ให้กว้างขวางออกไปเรื่อยๆ และเพื่อให้ต้นไม้ในบ้านเราแข็งแรง สวยงาม สามารถอยู่คู่กับเมืองได้อย่างปลอดภัย กลมกลืน และสร้างประโยชน์อีกมากในแง่ของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป


 ขอขอบคุณทุกคน ทุกกลุ่ม และทุกหน่วยงาน ผู้อยู่เบื้องหลังและเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ผลักดันนักปีนต้นไม้คนไทยให้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันปีนต้นไม้ระดับนานาชาติครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญที่ประเทศไทยจะประกาศให้โลกรู้ว่า ขณะนี้เราพร้อมที่จะสร้างมาตรฐานงานรุกขกรรมในประเทศไทยและเราพร้อมที่จะมีนักปีนต้นไม้เพื่อเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติแล้ว



แผนการใช้เงิน



รายการ
 จำนวน  จำนวน(เงิน)
1.ค่าวีซ่า ฯลฯ คนละ 7,000 บาท1 คน7,000
2.ค่าที่พักอาหารวันละ 2,000 บาm5 วัน10,000
3.ค่าตั๋วเครื่องบินที่ยังขาดอยู่ประมาณคนละ 10,000 บาท1 คน10,000
4.ค่าดำเนินการเทใจ 10 %
3,000