project อื่นๆ

ธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์

เรารู้กันดีว่า " เมล็ดพันธุ์ " เป็นหัวใจสำคัญในการเริ่มทำการเกษตร หากไม่มีเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรก็คงเริ่มลงมือเพาะปลูกไม่ได้ มาร่วมสร้างคลังอาหารที่ยั่งยืนของชาติและบรรเทาความยากจนของเกษตรกรไทยเพื่อจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้บริการกู้ยืมเมล็ดพันธุ์แก่เกษตรกร และส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อเกิดเป็นระบบการช่วยเหลืออย่างยั่งยืน

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ลพบุรี

ยอดบริจาคขณะนี้

10,950 บาท

เป้าหมาย

33,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 33%
จำนวนผู้บริจาค 10

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความคืบหน้าธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์จังหวัดลพบุรี

9 มกราคม 2013

หลังจากที่ บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด ได้คัดเลือกเกษตรกรจาก หมู่ที่ 1,2,3 ต.เขาสมอคอน จ.ลพบุรีจำนวน 7 คน ที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 เราก็ได้เริ่มทดลองปลูกข้าวอินทรีย์สายพันธุ์สินเหล็กในพื้นที่จำนวน 50 ไร่ โดยการปฏิบัติจริงครั้งนี้ เกษตรกรได้เรียนรู้วิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

คุณนาวี นาควัชระ กรรมการผู้จัดการบริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด บอกว่า เดือนมีนาคม 2556 เราจะเห็นเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ล็อตแรกของธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรียที่ชุมชมเทใจได้ช่วยกันระดมทุนในการสร้างขึ้นแล้ว
     นอกจากนี้ระหว่างการเฝ้ารอผลผลิต เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 ทาง บริษัทนวัตกรรมชาวบ้าน ได้นำเกษตรกรเหล่านั้น รวมถึงสมาชิกใหม่อีก 5 ท่าน ไปดูงานที่มูลนิธิมูลนิธิขวัญข้าวใน 5 เรื่องหลักๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย
1. การทำนาแบบยั่งยืนและรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมในนาข้าว
2. การทำปุ๋ยหมักฟางข้าว ( ลดการใช้ปุ๋ยทุกชนิด )
3. การคัดเลือกพันธุ์ข้าว ( ลดการต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว )
4. การปรับแนวความคิดในการจัดการศัตรูพืช ที่ไม่ใช่แค่การกำจัด
5. การใช้จุลินทรีย์และการขยายปริมาณจุลินทรีย์ในการจัดการศัตรูพืช
ครั้งหน้าเราจะนำต้นข้าวบนพื้นนาอินทรีย์มาใช้ชมพร้อมกับกิจกรรมส่งเสริมชาวบ้านกันต่อไปค่ะ
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ชาวนาเกิดสูญพืชผลและรายได้ที่จะเป็นเงินทุนในการทำการเกษตร และต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อเป็นเงินทุนไปซื้อเมล็ดพันธุ์และ ไม่มีสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพื่อการผลิตอีกครั้ง พวกเขาจะกลับมาทำเกษตรกรรมอีกครั้งได้อย่างไร หากไม่มีทั้งเงินทุนทั้ง "เมล็ดพันธุ์" เพื่อเริ่มเพาะปลูก

โครงการ  ธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ จึงเกิดขึ้น โดยเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ขาดแคลน "เมล็ดพันธุ์" ในการเพาะปลูก  ธนาคารเมล็ดพันธุ์ ประกอบการในรูปแบบและธุรกรรมเหมือนธนาคาร แต่เปลี่ยนจาก เงิน เป็น "เมล็ดพันธุ์"  มีทั้งบริการให้กู้ และ ยืม เมล็ดพันธุ์   แต่ไม่ได้ให้แค่เมล็ดพันธุ์เท่านั้น แต่จะทำงานควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกษตรกรในการเพาะปลูกแนว "เกษตรอินทรีย์" ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ในระยะยาว

 เมล็ดพันธุ์ ของธนาคาร มาจากหลากหลายท้องถิ่น ผ่านการคัดและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี รวมทั้งวิจัยและรวบรวมสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น ข้าวสายพันธุ์ที่ทนต่อน้ำท่วม ฯลฯ  เมล็ดพันธุ์ของ ธนาคารเป็น เมล็ดพันธุ์อินทรีย์ คุณภาพสูง แข็งแรง ปราศจากโรคแมลง ให้ผลผลิตดี

มารู้จักกันสักนิดกับ " เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน " (Grassroot Innovation Network - GIN)

เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน มีประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานด้านเกษตรอินทรีย์และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรไทย เครือข่าย ฯ ประสบความสำเร็จมาแล้วกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่เรื่อง เมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ยอินทรีย์  การให้ความรู้ การทำงานร่วมกับชาวบ้านเพื่อพัฒนาการทำเกษตรกรรมแบบเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งช่วยเหลือด้านการตลาด ด้วยการรับซื้อผลิตผลและหาช่องทางจำหน่ายให้อีกด้วย

รู้จักกับคุณ นาวี นาควัชระ ผู้ประสานงานเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน และแนวคิดการทำงานของเขาได้ที่ http://change.in.th/?p=66

ประโยชน์ของโครงการ :

ธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์

  • ช่วยสำรองเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรไว้ใช้ยามขาดแคลน เช่น ผลกระทบจากภัยพิบัติ 
  • ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร 
  • ฟื้นฟูภาคเกษตรกรรมเมื่อประสบภัยพิบัติ
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้มีแหล่งรายได้และทุนการผลิตที่มั่นคง จากการเพาะปลูกแนวเกษตรอินทรีย์

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

  • ลงพื้นที่พูดคุย พบปะกับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย พูดคุยกับผู้นำชุมชน สร้างความเข้าใจและเห็นความสำคัญของโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ และการทำเกษตรอินทรีย์
  • ตั้งคณะกรรมการในพื้นที่จังหวัด จัดตั้งและดำเนินการธนาคารเมล็ดพันธุ์ 
  • รับสมัครเกษตรกรเป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 100 ครอบครัว
  • จัดหาเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในธนาคารเมล็ดพันธุ์ ให้ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ และให้บริการ กู้ยืม เมล็ดพันธุ์ ดูแล เยี่ยมเยือนเกษตรกรที่เป็นสมาชิก

สมาชิกภายในทีม :

  • เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน
  • เกษตรกรหรือชาวบ้านในพื้นที่ พื้นที่ละ 1 คน

ภาคี :

ชุมชนพื้นที่ในจ.ลพบุรี

ธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์เริ่มดำเนินการด้วยเทใจก้อนแรก

25 ตุลาคม 2012

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมาทางเทใจได้โอนเงินจำนวน 8,145 บาทไปให้กับเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน (GIN) เพื่อไปเริ่มดำเนินโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์กันแล้ว เรามั่นใจว่าการดำเนินของโครงการจะทำให้ประเทศไทยเพิ่มวิถีเกษตรอินทรีย์ต่อไป 

เดี๋ยวเราจะให้คุณนาวี นาควัชระ นำเรื่องราวและภาพมาให้ทุกท่านชมกันนะคะว่า เงินก้อนแรกของเทใจนำไปทำอะไรได้บ้าง 

มาร่วมมือกันส่งเสริมโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์กับเทใจดอทคอม.

ลงพื้นที่ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี

15 พฤศจิกายน 2012

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555 โครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ได้ลงพื้นที่หมู่ที่ 1 ,2 และ 3 ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เพื่อแนะนำองค์กรนวัตกรรมชาวบ้านให้สมาชิกเกษตรกรรู้จัก และบอกเล่าที่มาของโครงการที่จะทำในพื้นที่ นอกจากนั้นยังพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เบื้องต้นพบว่าเกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนในการทำนา สุขภาพและผลกระทบจากการใช้สารเคมีในนาข้าว การระบาดของโรคและแมลงในนาข้าว รวมถึงหนี้สินครัวเรือน
 


นายบุญชู คุ้มม่วง เกษตรกรหมู่ที่ 2 กำลังให้ข้อมูลกับทางโครงการ

เกษตรกรยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการ พร้อมที่จะทดลองทำเกษตรอินทรีย์ แต่มีความกังวลใจอยู่บ้างเกี่ยวกับเรื่องของพันธุ์ข้าวที่ทีมทำงานจะมาส่งเสริม มีการสอบถามเพิ่มเติมถึงรายละเอียดของพันธุ์ข้าวและความทนทานศัตรูพืช

หลังจากนั้นโครงการได้จัดกิจกรรมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 กันยายน  2555 เพื่อประชุมเรื่องพันธุ์ข้าวที่ใช้ และการวาดแผนผังฟาร์ม โดยอธิบายลักษณะพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ ให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับทราบ และสอนวิธีการเขียนแผนผังนาหรือที่ตั้งฟาร์มให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรรู้จักการออกแบบผังนาที่ถูกต้อง
 


เกษตรกร หมู่ที่ 1, 2 , 3 จำนวน 14 ราย ร่วมประชุมกับทางโครงการ
 


ตัวอย่างแผนผังที่ตั้งฟาร์มของนางแสงดาว ชมบุญ เกษตรกรหมู่ที่ 2

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ได้ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมครั้งที่ 3 เพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้ขั้นตอนและหลักการพื้นฐานในการทำเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้อง และเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำการเกษตรร่วมกันกับทีมงาน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของประสิทธิภาพของการทำเกษตรอินทรีย์ในระยะเริ่มต้นที่ทำให้ผลผลิตที่ได้มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นประเด็นที่เกษตรกรให้ความสำคัญและกังวลใจ สำหรับฤดูการผลิตนี้จึงเน้นการลดการใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืชก่อน และเมื่อเกษตรกรมีความพร้อมจึงจะขยายให้มีการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น

นอกจากนี้ทีมงานยังเน้นการให้ความสำคัญต่อการบันทึกต้นทุนของการทำนาเพื่อให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงรายจ่ายที่ลดลงและกำไรที่มากขึ้นจากการทำเกษตรอินทรีย์ ถึงแม้ปริมาณผลผลิตจะลดลงก็ตาม

ความคืบหน้าธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์จังหวัดลพบุรี

9 มกราคม 2013

หลังจากที่ บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด ได้คัดเลือกเกษตรกรจาก หมู่ที่ 1,2,3 ต.เขาสมอคอน จ.ลพบุรีจำนวน 7 คน ที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 เราก็ได้เริ่มทดลองปลูกข้าวอินทรีย์สายพันธุ์สินเหล็กในพื้นที่จำนวน 50 ไร่ โดยการปฏิบัติจริงครั้งนี้ เกษตรกรได้เรียนรู้วิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

คุณนาวี นาควัชระ กรรมการผู้จัดการบริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด บอกว่า เดือนมีนาคม 2556 เราจะเห็นเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ล็อตแรกของธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรียที่ชุมชมเทใจได้ช่วยกันระดมทุนในการสร้างขึ้นแล้ว
     นอกจากนี้ระหว่างการเฝ้ารอผลผลิต เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 ทาง บริษัทนวัตกรรมชาวบ้าน ได้นำเกษตรกรเหล่านั้น รวมถึงสมาชิกใหม่อีก 5 ท่าน ไปดูงานที่มูลนิธิมูลนิธิขวัญข้าวใน 5 เรื่องหลักๆ ด้วยกัน ประกอบด้วย
1. การทำนาแบบยั่งยืนและรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมในนาข้าว
2. การทำปุ๋ยหมักฟางข้าว ( ลดการใช้ปุ๋ยทุกชนิด )
3. การคัดเลือกพันธุ์ข้าว ( ลดการต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว )
4. การปรับแนวความคิดในการจัดการศัตรูพืช ที่ไม่ใช่แค่การกำจัด
5. การใช้จุลินทรีย์และการขยายปริมาณจุลินทรีย์ในการจัดการศัตรูพืช
ครั้งหน้าเราจะนำต้นข้าวบนพื้นนาอินทรีย์มาใช้ชมพร้อมกับกิจกรรมส่งเสริมชาวบ้านกันต่อไปค่ะ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนราคารวม (บาท)
ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว ( สินเหล็ก,หอมนิล,ไรซ์เบอรี่, หอมชลสิทธิ์, เจ็กเชย ฯลฯ )

30

4,000
ค่าเมล็ดพันธุ์พืชอื่นๆ เช่น ถั่ว, ผัก, ต้นกล้า ฯลฯ กก.201,000
รถเข็นกระสอบข้าว2 6,000
ตาชั่งแบบรางเลื่อนขนาดชั่ง 500 กก.1010,000
ผ้าใบพลาสติคสำหรับคลุมกระสอบเมล็ดพันธุ์เพื่อป้องกันฝนขนาด 12x6 เมตร112,000