project อื่นๆ

สร้างตู้ทิ้งขยะพิษเพื่อชุมชนปลอดภัย

ขยะอันตรายบ้านเรือน 7 แสนตันต่อปีจะปล่อยให้มันอยู่กับเรา หรือจะกำจัดสารพิษออกจากบ้านเราเสียที มาร่วมกันสร้างตู้ขยะอันตรายเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กลับมา

ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ชลบุรี

ยอดบริจาคขณะนี้

35,110 บาท

เป้าหมาย

33,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 106%
จำนวนผู้บริจาค 48

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สรุปกิจกรรมGreen Box waste ให้ชุมชมไร้ขยะอันตราย

24 เมษายน 2015
 
ปัญหาขยะอันตรายจากชุมชนเกิดจากการประชาชนยังขาดความรู้ และขาดการส่งเสริมการเรียนรู้ ขาดวิธีการจัดเก็บที่เหมาะสมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ประชาชน ทิ้งขยะอันตรายไปกับขยะทั่วไป 
ขยะอันตรายจากชุมชนจึงถือว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวอีกปัญหาของสังคมไทย!
อย่างไรก็ตามการจะแก้ปัญหานี้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในการรณรงค์ให้ความรู้ กระตุ้นจิตสำนึกเพื่อนำไปสู่ การปลูกฝัง เปลี่ยนแปลง ปฏิบัติ ในการลดปริมาณ และมีการคัดแยกขยะอันตรายจากชุมชนออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนนำไปแยกทิ้ง  รวมถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวิธีการจัดเก็บรวบรวมให้เหมาะสม  แยกประเภทให้ชัดเจน  เพื่อให้สามารถนำขยะอันตรายจากชุมชนไปกำจัดและทำลายให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของขยะอันตรายจากชุมชนแต่ละประเภทต่อไป 
Green Box waste จึงใช้รูปแบบกิจกรรมจัดการขยะอันตรายจากชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. กระบวนการอบรมให้ความรู้เรื่องขยะอันตรายจากชุมชน 
2. สร้างกระบวนการจัดเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชนให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น
3. แนะนำเรื่องการกำจัดและทำลายให้ถูกต้องตามหลักวิชาการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
ทางโครงการได้ร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้าน สมคิด สุขขำ ต.ท่าบุญมี จ.ชลบุรีที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความปลอดภัยให้กับลูกบ้าน พร้อมเป็นอำเภอนำร่องที่ปลอดขยะอันตราย  ขั้นตอนแรกเราได้จัดกระบวนการอบรมให้ความรู้เรื่องขยะอันตรายจากชุมชน พร้อมกิจกรรมการเล่นเกมตอบคำถามโดยมีของรางวัลให้ และให้ผู้เข้าร่วมการอบรมออกมาแสดงความคิดเห็นและเล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้ไปทั้งหมดว่ามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน เพื่อสามารถนำไปใช้ปรับปรุงในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป
ผู้ใหญ่สมคิด สุขขำ กล่าวเปิดโครงการตู้ทิ้งขยะพิษเพื่อชุมชนปลอดภัย
ขั้นตอนสอง เน้นกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการจัดเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชน โดยการจัดกิจกรรมขยะพิษแลกไข่ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการนำขยะพิษมาทิ้งในตู้ทิ้งขยะพิษเพื่อชุมชนปลอดภัย และส่งมอบตู้ ทิ้งขยะพิษเพื่อชุมชนปลอดภัยให้แก่ผู้ใหญ่บ้านตู้ทิ้งขยะพิษที่ส่งมอบให้กับ หมู่บ้านทับจุฬา ม. 6 ต.ท่าบุญมี อ. เกาะจันทร์  จ.ชลบุรี
ขยะพิษแลกไข่ 
สุดท้าย หลังจากเก็บรวบรวมขยะได้แล้ว นั่นคือ กระบวนการนำขยะอันตรายจากชุมชนไปกำจัดและทำลายให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ได้ทำการติดต่อบริษัทเอกชน คือ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด(มหาชน) ให้มารับขยะอันตรายจากชุมชนเพื่อนำไปกำจัดและทำลายให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งบริษัทดังกล่าวนั้นเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเรื่องการกำจัดของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม มีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทฝังกลบของเสียอันตราย
จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
สรุปค่าใช้จ่าย
ยอดเงินที่ได้รับจากการระดมทุนผ่านเทใจดอมคอม                                                  31,599  บาท
รายละเอียดการจ่ายเงิน
1. ค่าจัดทำตู้ทิ้งขยะพิษ + สติ๊กเกอร์ชื่อขยะพิษ                                                       15,300  บาท
2. ค่าจัดทำแผ่นพับให้ความรู้+ค่าจัดทำป้ายโครงการ                                                5,495   บาท
3. ค่าไข่ไก่ (ใช้ในกิจกรรมขยะพิษแลกไข่)                                                             1,300   บาท
4. ค่าของรางวัลสำหรับกิจกรรมตอบคำถาม                                                           1,437   บาท
5. ค่าเหมารถไปรับตู้ทิ้งขยะพิษ                                                                              500  บาท
6. ค่ากำจัดขยะพิษ                                                                                         8,000   บาท
7. ค่าจัดทำตู้สำหรับเป็นต้นแบบต่อไป
 
รวม                                                                                                           31,732 บาท
 
 
ผลการดำเนินโครงการ
จาการจัดกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย   50  คน  ผลของการอบรมทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องขยะอันตรายจากบ้านเรือนซึ่งวัดผลได้จากการที่ ผู้เข้ารับการอบรมช่วยกันนำขยะพิษมาทิ้งที่ตู้ทิ้งขยะพิษที่ทางผู้ใหญ่บ้านกำหนดจุดไว้ให้ซึ่งแค่ระเวลา 1 เดือน สามารถรวบรวมขยะไว้ได้ 60 กิโลกรัม ประมาณครึ่งรถกะบะ ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจพอสมควร และจะช่วยกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยกัน ลดการเกิดขยะพิษพร้อมทั้งช่วยกันคัดแยกทิ้งให้ถูกต้องต่อไป
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

ขยะอันตรายในชุมชนมีมากถึง 0.7 ล้านตันต่อปี แถมวันนี้เราไม่มีที่ทิ้งขยะเหล่านั้นอีกด้วย

กลุ่ม Green Box Waste ผู้ริเริ่มทำโครงการ “ตู้ทิ้งขยะอันตรายเพื่อชุมชมปลอดสารพิษ” ได้ไอเดียมาจากเรื่องใกล้ตัวที่ว่า

วันนี้เราทิ้งขยะอันตรายอย่าง ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง แบตเตอรี่ หลอดไฟ กันที่ไหน???

พวกเราทิ้งขยะพวกนี้ในถังเดียวกับขยะเศษอาหาร ขวดพลาสติกหรือเปล่า???

คุณเคยหงุดหงิดไหม เวลาแยกขยะแล้ว สุดท้ายขยะเหล่านั้นถูกนำมารวมกันต่อหน้าต่อตา???

คำถามเหล่านี้เองที่ทำให้ สุวรรณ์ เด่นมาลัย หนึ่งใน กลุ่ม Green Box Waste ลุกขึ้นมาทำตู้ขยะอันตรายเพื่อชุมชมและยังสร้างกระบวนการจำกัดให้ถูกต้องอีก

เขาเล่าว่า จากการคลุกคลีกับแวดวงขยะอันตราย ต้องบอกว่าขยะอันตรายที่เกิดจากกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐมีมาตราการเข้มงวดให้บริษัทเหล่านั้นกำจัดขยะให้ถูกวิธี เช่น ฝั่งกลบ เผาทำลาย เป็นต้น และไม่ใช่ว่านำไปทำที่ไหนก็ได้ เพราะหน่วยงานรัฐมีข้อบังคับอีกเช่นกันว่าให้ทำกับบริษัทที่ได้รับการตรวจสอบว่าดำเนินการแบบถูกวิธี  เช่นการเผาขยะ เมื่อเผาแล้วไม่ใช่ปล่อยควันพิษขึ้นท้องฟ้า แต่เตาเผาต้องมีระบบกำจัดควันพิษด้วย ส่วนการฝั่งกลบก็ต้องมีวิธีไม่ให้ขยะเหล่านั้นหลั่งสารพิษแทรกซึมบนพื้นดินและไหลลงแหล่งน้ำทำให้ดินและน้ำเป็นพิษได้

ทว่า ขยะอันตรายชุมชมที่มีมหาศาลที่สิที่เป็นปัญหา หลายครั้งพบว่าชาวบ้านบางคนยังขาดความรู้ หรือขาดทางเลือกในการกำจัด บางต้องทิ้งขยะอันตรายรวมกับขยะอื่นๆ หรือ บางครั้งต้องฝั่งขยะอันตรายไว้ในชุมชนตัวเอง สุดท้ายสารพิษ อาทิ ตะกั่ว ปรอท แคทเมียม แมงกานีส อาร์เซนิค ที่อยู่ในชุมชนนั้น ยิ่งนานวันก็ยิ่งเยอะ ถ้าคิดแค่ว่า 10 ปีที่ผ่านมา ขยะพิษจำนวนรวมประมาณ 7 ล้านตันหายไปไหน  จึงทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคปอด ไตวาย กระดูกเสื่อมมากขึ้น 

มาร่วมเปลี่ยนโลกใบนี้ให้น่าอยู่กลุ่ม Green Box Waste ที่ต้องการทำชุมชนต้นแบบเรื่องขยะอันตรายให้เกิดขึ้นในประเทศไทยกันเถอะ

 
 
 
 

ประโยชน์ของโครงการ :

1. ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจ มีจิตสำนึก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะอันตรายจากบ้านเรือน

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ เกิดความคิดริเริ่มการดำเนินการด้านการจัดการขยะอันตรายจากชุมชน

3.ปัญหาการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน ได้มีการจัดการอย่างเป็นระบบและถูกต้องตามหลักวิชาการ

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

 

สิ่งที่กลุ่ม Green Box Waste จะทำคือ ตู้ทิ้งขยะอันตรายชุมชมเพื่อมอบให้ อบต. ท่าบุญมี จ. ชลบุรีก่อน  โดยหวังว่าตู้และวิธีการกำจัดที่ถูกต้องจะเป็นต้นแบบให้ชุมชน และหมู่บ้านในประเทศไทยได้มีใช้กัน ตู้ทิ้งขยะดังกล่าวจะมีการแบ่งรูปแบบขยะอันตรายให้คนได้ทิ้งอย่างถูกต้อง เช่น ถ่านไฟฉายทิ้งช่องสีฟ้า สเปร์ย์ทิ้งช่องสีแดง หลอดไฟทิ้งช่องสีเหลือง เพื่อให้ทุกคนทิ้งได้ถูกต้อง  นอกจากนี้ปลายปีเมื่อขยะเต็มก็จะถูกส่งไปกำจัด 
 
โครงการนี้จะเริ่มทำต้นแบบตู้ทิ้งขยะอันตรายจำนวน 1 ตู้ สำหรับ 1 หมู่บ้าน และพวกผมจะจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านเพื่อพวกเขาเข้าใจและหันมาใส่ใจเรื่องการคัดแยกขนะ จากนั้นเมื่อขยะเต็ม เราจะทำการส่งกำจัดให้ถูกต้องแบบเหมือนกับขยะอุตสาหกรรม คือนำไปฝั่งกลบและทำลายต่อกับบริษัทหรือหน่วยงานรัฐที่จะมาเป็นผู้ร่วมโครงการกับเรา และในอนาคตเราต้องการให้ทุกชุมชน หมู่บ้าน คอนโด มีตู้ขยะอันตรายโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้ขยะเหล่านั้นปะปนกับสิ่งอื่นและถูกนำไปทำลายแบบไม่ถูกวิธี

สมาชิกภายในทีม :

  1. สุวรรณ์ เด่นมาลัย E-mail : Suwanmanu@windowslive.com
  2. นายสมคิด สุขขำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่6 ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

 

 

ขอบคุณภาพประกอบจาก :

 

www.adeq.or.th
www.strivetosimplify.com

Green Box waste เตรียมมอบตู้ขยะพิษ 31 ม.ค. 58 นี้

23 ธันวาคม 2014

คุณสุวรรณ์ เด่นมาลัย มาอัพเดทโครงการของGreen Box Waste ได้ทำโครงการตู้ทิ้งขยะพิษเพื่อชุมชนปลอดภัยร่วมกับทางเทใจดอทคอมว่า
 
หลังจากปิดโครงการทางกลุ่มได้ดำเนินการสั่งทำตู้ทิ้งขยะพิษจนเสร็จสิ้น และประสานไปยัง อบต.ท่าบุญมี จ.ชลบุรี เพื่อกำหนดวันทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งขณะนี้ทาง อบต.ท่าบุญมี ได้ชักชวนผู้นำท้องถิ่นไกล้เคียงเข้าร่วมโครงการ เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้ผู้นำท้องถิ่นอื่นๆ ทราบเกี่ยวกับปัญหาขยะอันตรายชุมชน โดยกำหนดไว้เป็น วันที่ 31/1/2558
 
ทั้งนี้ระหว่างการดำเนินการของกลุ่ม Green Box Waste ทางชุมชมวัดตระพังทอง จ.สุโขทัย ที่กำลังดำเนินการโครงการลดปริมาณขยะในพื้นที่วัดตระพังทอง จ.สุโขทัย  สนใจตู้ทิ้งขยะพิษ ทางทีมงานจึงนำตู้ที่สั่งผลิตเสร็จแล้วไปดำเนินโครงการที่วัดตระพังทอง เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีและเป็นประโยชน์กับชาววัดตระพังทองในการแก้ปัญหาเรื่องขยะอันตรายชุมชน กลุ่มจึงอยากรายงานความคืบหน้าให้ผู้บริจาครับทราบด้วย พร้อมนำภาพกิจกรรมที่วัดตระพังทองมาให้ทุกท่านชม 
 
สำหรับวันกิจกรรมของโครงการที่ ต.ท่าบุญมี เราจะเก็บภาพกิจกรรมมาให้ชมต่อไป  ขอบคุณครับ
 
มาดูภาพกิจกรรมที่ ชุมชมวัดตระพังทอง จ.สุโขทัย กันไปพลางๆก่อนนะครับ
 
ทีมงานและเหล่าอาสาจัดเตรียมจุดคัดแยกขยะ
 
ชาวชุมชนทำความสะอาดพื้นที่เพื่อต้อนรับตลาด Green Market
 
มอบตู้และทำกิจกรรมสร้างความเข้าใจวิธีการคัดแยกขยะ 
 
ขอบคุณครับ
 

สรุปกิจกรรมGreen Box waste ให้ชุมชมไร้ขยะอันตราย

24 เมษายน 2015

 
ปัญหาขยะอันตรายจากชุมชนเกิดจากการประชาชนยังขาดความรู้ และขาดการส่งเสริมการเรียนรู้ ขาดวิธีการจัดเก็บที่เหมาะสมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ประชาชน ทิ้งขยะอันตรายไปกับขยะทั่วไป 
ขยะอันตรายจากชุมชนจึงถือว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวอีกปัญหาของสังคมไทย!
อย่างไรก็ตามการจะแก้ปัญหานี้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในการรณรงค์ให้ความรู้ กระตุ้นจิตสำนึกเพื่อนำไปสู่ การปลูกฝัง เปลี่ยนแปลง ปฏิบัติ ในการลดปริมาณ และมีการคัดแยกขยะอันตรายจากชุมชนออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนนำไปแยกทิ้ง  รวมถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวิธีการจัดเก็บรวบรวมให้เหมาะสม  แยกประเภทให้ชัดเจน  เพื่อให้สามารถนำขยะอันตรายจากชุมชนไปกำจัดและทำลายให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของขยะอันตรายจากชุมชนแต่ละประเภทต่อไป 
Green Box waste จึงใช้รูปแบบกิจกรรมจัดการขยะอันตรายจากชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. กระบวนการอบรมให้ความรู้เรื่องขยะอันตรายจากชุมชน 
2. สร้างกระบวนการจัดเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชนให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น
3. แนะนำเรื่องการกำจัดและทำลายให้ถูกต้องตามหลักวิชาการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
ทางโครงการได้ร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้าน สมคิด สุขขำ ต.ท่าบุญมี จ.ชลบุรีที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความปลอดภัยให้กับลูกบ้าน พร้อมเป็นอำเภอนำร่องที่ปลอดขยะอันตราย  ขั้นตอนแรกเราได้จัดกระบวนการอบรมให้ความรู้เรื่องขยะอันตรายจากชุมชน พร้อมกิจกรรมการเล่นเกมตอบคำถามโดยมีของรางวัลให้ และให้ผู้เข้าร่วมการอบรมออกมาแสดงความคิดเห็นและเล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้ไปทั้งหมดว่ามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน เพื่อสามารถนำไปใช้ปรับปรุงในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป
ผู้ใหญ่สมคิด สุขขำ กล่าวเปิดโครงการตู้ทิ้งขยะพิษเพื่อชุมชนปลอดภัย
ขั้นตอนสอง เน้นกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการจัดเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชน โดยการจัดกิจกรรมขยะพิษแลกไข่ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการนำขยะพิษมาทิ้งในตู้ทิ้งขยะพิษเพื่อชุมชนปลอดภัย และส่งมอบตู้ ทิ้งขยะพิษเพื่อชุมชนปลอดภัยให้แก่ผู้ใหญ่บ้านตู้ทิ้งขยะพิษที่ส่งมอบให้กับ หมู่บ้านทับจุฬา ม. 6 ต.ท่าบุญมี อ. เกาะจันทร์  จ.ชลบุรี
ขยะพิษแลกไข่ 
สุดท้าย หลังจากเก็บรวบรวมขยะได้แล้ว นั่นคือ กระบวนการนำขยะอันตรายจากชุมชนไปกำจัดและทำลายให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ได้ทำการติดต่อบริษัทเอกชน คือ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด(มหาชน) ให้มารับขยะอันตรายจากชุมชนเพื่อนำไปกำจัดและทำลายให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งบริษัทดังกล่าวนั้นเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเรื่องการกำจัดของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม มีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทฝังกลบของเสียอันตราย
จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
สรุปค่าใช้จ่าย
ยอดเงินที่ได้รับจากการระดมทุนผ่านเทใจดอมคอม                                                  31,599  บาท
รายละเอียดการจ่ายเงิน
1. ค่าจัดทำตู้ทิ้งขยะพิษ + สติ๊กเกอร์ชื่อขยะพิษ                                                       15,300  บาท
2. ค่าจัดทำแผ่นพับให้ความรู้+ค่าจัดทำป้ายโครงการ                                                5,495   บาท
3. ค่าไข่ไก่ (ใช้ในกิจกรรมขยะพิษแลกไข่)                                                             1,300   บาท
4. ค่าของรางวัลสำหรับกิจกรรมตอบคำถาม                                                           1,437   บาท
5. ค่าเหมารถไปรับตู้ทิ้งขยะพิษ                                                                              500  บาท
6. ค่ากำจัดขยะพิษ                                                                                         8,000   บาท
7. ค่าจัดทำตู้สำหรับเป็นต้นแบบต่อไป
 
รวม                                                                                                           31,732 บาท
 
 
ผลการดำเนินโครงการ
จาการจัดกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย   50  คน  ผลของการอบรมทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องขยะอันตรายจากบ้านเรือนซึ่งวัดผลได้จากการที่ ผู้เข้ารับการอบรมช่วยกันนำขยะพิษมาทิ้งที่ตู้ทิ้งขยะพิษที่ทางผู้ใหญ่บ้านกำหนดจุดไว้ให้ซึ่งแค่ระเวลา 1 เดือน สามารถรวบรวมขยะไว้ได้ 60 กิโลกรัม ประมาณครึ่งรถกะบะ ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจพอสมควร และจะช่วยกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยกัน ลดการเกิดขยะพิษพร้อมทั้งช่วยกันคัดแยกทิ้งให้ถูกต้องต่อไป

แผนการใช้เงิน

รายการราคา/หน่วยจำนวนราคารวม (บาท)
ตู้ขยะ20,000

1

20,000
ค่ากำจัดขยะต่อปี : อบต.  10,000
ค่าดำเนินการ  3,000
รวมทั้งสิ้น   33,000