project อื่นๆ

สร้างโรงสีชุมชนเพื่อข้าวอินทรีย์พันธุ์ท้องถิ่น

สร้างโรงสีข้าวอินทรีย์ชุมชน ส่งเสริมการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหารของชาติไทยที่ยั่งยืน

พื้นที่ดำเนินโครงการ สุรินทร์

ยอดบริจาคขณะนี้

57,754 บาท

เป้าหมาย

60,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 96%
จำนวนผู้บริจาค 10

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการโรงสีชุมชน

22 มิถุนายน 2015

ในด้านการดำเนินงาน

ได้ดำเนินการสร้างยุ้งข้าวและโรงสีเสร็จเรียบร้อยเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว จากนั้นจึงเริ่มจัดหาซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ เมื่อถึงฤดูกาลทำนา เราได้ประกาศให้ชาวนาในพื้นที่ที่สนใจขอยืมเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมพื้นเมืองไปปลูกและนำเมล็ดพันธุ์มาคืนตามจำนวนที่ยืมเมื่อได้ผลผลิต และเราจะรับซื้อผลผลิตที่เหลือ โดยมีข้อตกลงว่าต้องปลูกแบบอินทรีย์เท่านั้น ซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ให้ยืมมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์มะลินิลสุรินทร์ และพันธุ์มะลิโกเมนสุรินทร์ 

 

ในต้นฤดูกาลทำนาปีที่แล้วมีผู้สนใจมาสมัคร 3 ราย ได้นำไปทดลองปลูกทั้ง 2 พันธุ์
หลังจากที่เราทำตกกล้าเพื่อเตรียมทำนาดำ แล้วเหลือต้นกล้าข้าวจำนวนมาก จึงประกาศแจกต้นกล้าฟรีอีกรอบ คราวนี้มีผู้สนใจนำไปปลูกเพิ่มเติมอีก 5 ราย
โดยระหว่างช่วงเพาะปลูกมีชาวบ้านในหมู่บ้านให้ความสนใจและแวะเวียนเข้ามาดูแปลงนา และพูดคุยเรื่องการปลูกข้าวอินทรีย์กับเราเป็นระยะ

 

เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็รับซื้อข้าวอินทรีย์พันธุ์พื้นเมือง โดยไม่ได้หักค่าความชื้นหรือข้าวปนแต่อย่างใด โดยเราเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถนำข้าวที่ปลูกแบบอินทรีย์เท่านั้นมาสีที่โรงสีได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่หักเป็นข้าวสารเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายในการจัดการ เช่น ค่าไฟฟ้าและค่าเสื่อมของลูกยางเครื่องสีข้าว

 

ในด้านการใช้จ่ายงบประมาณ

เนื่องจากราคาวัสดุอุปกรณ์ที่เขียนในโครงการนั้นคลาดเคลื่อนจากราคาจริงหลังดำเนินงานมาก
โดยเราได้รับเงินบริจาครวมกันประมาณ 59,000 บาท จากโครงการเทใจ

 

ซึ่งเราได้นำไปซื้ออุปกรณ์การสีข้าว 2 เครื่อง ได้แก่
-เครื่องสีข้าวกล้องขนาดย่อม 45,000 บาท
-เครื่องทำความสะอาดข้าวกล้องขนาดย่อมที่ต้องใช้ประกอบกับเครื่องสีข้าวกล้อง 18,000 บาท

 

รวมเป็น 63,000 บาท เราจึงออกเงินส่วนตัวเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง
จากเดิมที่เคยตั้งใจว่าจะใช้เงินเพียง 20,000 บาท สำหรับเครื่องสีข้าว แต่มาทราบภายหลังว่าราคานั้นเป็นเครื่องสีขนาดเล็กสำหรับครัวเรือน ที่สีได้แค่เพียงพอกับการหุงข้าวสารเพียง 1 หม้อต่อครั้ง

ส่วนเครื่องสีข้าวที่เราดำเนินการซื้อมานั้น เมื่อนำมาใช้จริง มีกำลังผลิตต่อวันประมาณ 150 กิโลกรัมต่อวัน ต่างจากที่เขียนในใบโฆษณาว่าได้ 150 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
ในขณะที่เครื่องสีข้าวสำหรับชุมชนที่คิดว่าจะใช้งานได้จริง ราคาเริ่มต้นที่ 200,000 กว่าบาท ถึงจะมีกำลังผลิตวันละ 800-1,000 กิโลกรัม เพียงพอสำหรับโรงสีขนาดชุมชนจริงๆ

นอกจากนี้ เรายังใช้เงินส่วนตัวอีกก้อนเพื่อนำมาซื้อยุ้งข้าวมือสอง นำมาประกอบใหม่ และต่อเติมให้เป็นยุ้งข้าวและโรงสีชุมชนขนาดย่อม ติดตั้งน้ำไฟ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ อีกประมาณ 100,000 บาท

จากเดิมที่เคยตั้งใจว่าจะใช้เพียง  40,000 บาท สำหรับการทำยุ้งข้าว

สรุป งบประมาณบานปลายและยังน้อยเกินกว่าจะสร้างโรงสีชุมชนขนาดย่อมได้จริง แต่ในด้านการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการปลูกข้าวอินทรีย์ เกิดกระแส เกิดการเรียนรู้นั้นผ่านไปได้ด้วยดี

 

 

 

 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

เราอยากกินข้าวพันธุ์ที่ถูกคัดมาแล้วว่าต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ จริงๆ เหรอ

ถ้าเป็นอย่างนั้นทั้งร่างกายเราและชาวนาก็ต้องรับสารเคมีต่อไปเท่าใด

ชาวนาไทยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการทำนาเคมีที่มีต้นทุนสูงมากมาย จนเป็นหนี้นอกระบบอีกเท่าไหร่

 


ชาวนาลงแขกดำนาข้าวอินทรีย์ท้องถิ่น

 

วันนี้...เกษตรกรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านหนองเหล็กตาช้าง จ.สุรินทร์ ยังคงทำนาเคมีอยู่ จึงประสบปัญหาเรื้อรัง ทั้งปัญหาสุขภาพ ปัญหาขาดทุนซ้ำซ้อนจากต้นทุนการผลิตที่มีราคาสูง รวมไปถึงปัญหาหนี้นอกระบบ แม้มีเกษตรกรบางกลุ่มที่อยากหันมาทำเกษตรอินทรีย์ แต่ก็ขาดองค์ความรู้ ขาดเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ท้องถิ่น และขาดช่องทางในการจัดจำหน่าย จนทำให้ขาดความเชื่อมั่นที่จะทำเกษตรอินทรีย์ แม้จะรู้ว่าดีต่อสุขภาพของตนเอง

ที่สำคัญ โรงสีขนาดใหญ่ยังผูกขาดการรับซื้อข้าวสารจากเกษตรกรในพื้นที่ ซ้ำร้ายยังกดราคารับซื้อข้าวสารจากเกษตรกรที่ต้องเร่งขายข้าวเพราะไม่มียุ้งข้าวเป็นของตัวเองและใช้สารเคมีปริมาณมากในการจัดเก็บข้าวสาร 

 


ตัวอย่างยุ้งข้าวในชุมชน

 

วันนี้อีกเช่นกัน..... รื่นรมย์ ออแกนิค ลีฟวิ่ง จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมก่อตั้งโรงสีข้าวชุมชนขนาดย่อม เพื่อมาสีข้าวอินทรีย์ให้คนไทยได้รับประทาน เพราะคุณรู้ไหมว่า ข้าวอินทรีย์ที่ถูกสีโดยเครื่องสีข้าวจากโรงสีข้าวเคมีมันจะไม่เป็นข้าวอินทรีย์อีกต่อไป

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้กระดูกสันหลังของชาติที่สนใจการทำนาอินทรีย์ในชุมชนมีทางเลือก และยังสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนภายในชุมชนอีกด้วย

 

ถอนวัชพืชในแปลงนาอินทรีย์ทดลอง

 

ประโยชน์ของโครงการ :

  • ทำให้เกษตรกรในชุมชนที่ทำนาเคมี มีความตระหนักถึงปัญหาของเกษตรเคมี และมีโอกาสเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำนามาเป็นเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน
  • ทำให้เกษตรกรในชุมชนที่อยากทำเกษตรอินทรีย์ มีทางเลือกในการสีข้าวอินทรีย์พันธุ์ท้องถิ่นที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร เช่น ข้าวกล้องหอมมะลินิลสุรินทร์อินทรีย์
  • ทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางอาหาร โดยสามารถปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง และยังมีอำนาจต่อรองราคาขายมากขึ้น โดยไม่ต้องขึ้นกับโรงสีขนาดใหญ่ในพื้นที่
  • เกิดเครือข่ายการทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ในชุมชน
  • ลดปัญหาสังคมในชุมชนทางอ้อม เช่น ปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมี ปัญหาขาดทุนซ้ำซ้อนจากต้นทุนการผลิตที่มีราคาสูง ปัญหาหนี้นอกระบบ เป็นต้น
  • ผู้บริโภคจะได้รับข้าวอินทรีย์ที่ปลอดสารเคมีจากการเพาะปลูกและการจัดเก็บในโรงสี และได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการบริโภคข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่อุดมไปด้วยสารอาหาร

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

  • จัดซื้อเครื่องสีข้าวกล้องอินทรีย์ขนาดย่อม
  • จัดซื้อยุ้งข้าวมือสองขนาดย่อม และติดตั้งในชุมชน
  • ชักชวนกลุ่มเกษตรกรที่ทำนาแบบใช้สารเคมี มาศึกษาดูงานในพื้นที่ตัวอย่าง และจัดอบรมความรู้เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นเกษตรอินทรีย์
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวอินทรีย์พันธุ์ท้องถิ่นมากขึ้น โดยให้สมาชิกเกษตรอินทรีย์ยืมเมล็ดพันธุ์ และรับซื้อผลผลิตในราคายุติธรรรม
  • เปิดโอกาสให้สมาชิกเกษตรอินทรีย์ในชุมชน สามารถใช้บริการเครื่องสีข้าวในราคายุติธรรม

หว่านข้าวอินทรีย์เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น

สมาชิกภายในทีม :

เกรียงไกร บุญเหลือ หนุ่มเมืองกรุง อดีตผู้จัดการรีสอร์ท หันเหความสนใจกลับมาพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของพ่อตนเอง มีความฝันว่าจะทำให้เกษตรกรในชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ดวงแก้ว ตั้งใจตรง อดีตสาว NGOs ที่เคยประสบปัญหาสุขภาพจากการทำงานในเมืองกรุง จึงเกิดความสนใจในเรื่องสุขภาพและการพึ่งตนเอง (Self-reliance)

ภาคี :

  • กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในชุมชนบ้านหนองเหล็กตาช้าง จ.สุรินทร์
  • รื่นรมย์ ออร์แกนิค ลิฟวิ่ง

ความประทับใจจากเจ้าของโครงการสร้างโรงสีชุมชนเพื่อข้าวอินทรีย์พันธุ์ท้องถิ่น

12 มีนาคม 2014

โครงการสร้างโรงสีชุมชนเพื่อข้าวอินทรีย์พันธุ์ท้องถิ่น เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ชาวเทใจได้ระดมเงินบริจาคสำเร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีเป้าหมายการระดมทุนที่ 60,000 บาท แต่สามารถระดมทุนได้จำนวนเงิน 65,108 บาท เจ้าของโครงการคือนางสาวดวงแก้ว ตั้งใจตรง และ นายเกรียงไกร บุญเหลือ โดยจะดำเนินโครงการภายในพื้นที่ บ้านหนองเหล็กตาช้าง หมู่ที่ 16 ต.เมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

  • จัดซื้อเครื่องสีข้าวกล้องอินทรีย์ขนาดย่อม
  • จัดซื้อยุ้งข้าวมือสองขนาดย่อม และติดตั้งในชุมชน
  • ชักชวนกลุ่มเกษตรกรที่ทำนาแบบใช้สารเคมี มาศึกษาดูงานในพื้นที่ตัวอย่าง และจัดอบรมความรู้เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นเกษตรอินทรีย์
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวอินทรีย์พันธุ์ท้องถิ่นมากขึ้น โดยให้สมาชิกเกษตรอินทรีย์ยืมเมล็ดพันธุ์ และรับซื้อผลผลิตในราคายุติธรรรม
  • เปิดโอกาสให้สมาชิกเกษตรอินทรีย์ในชุมชน สามารถใช้บริการเครื่องสีข้าวในราคายุติธรรม

 

พวกเขามีข้อความฝากถึงชาวเทใจทุกคน ที่ร่วมสนับสนุนโครงการสร้างโรงสีชุมชนเพื่อข้าวอินทรีย์พันธุ์ท้องถิ่น
"อยากขอขอบคุณทางโครงการเทใจ ที่เปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอโครงการดีๆต่อสาธารณะ และขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุกๆท่านที่ให้ความสนใจในปัญหาของชาวนาไทย และร่วมสนับสนุนโครงการให้เกิดขึ้นจริง"
"เชื่อว่าจุดเริ่มต้นของโครงการนี้จะช่วยต่อยอดความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพที่แข็งแรง และรายได้ที่ยั่งยืน ของชาวนาไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และผู้บริโภคมีทางเลือกในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ"
 
นางสาวดวงแก้ว ตั้งใจตรง และ นายเกรียงไกร บุญเหลือ
 

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการโรงสีชุมชน

22 มิถุนายน 2015

ในด้านการดำเนินงาน

ได้ดำเนินการสร้างยุ้งข้าวและโรงสีเสร็จเรียบร้อยเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว จากนั้นจึงเริ่มจัดหาซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ เมื่อถึงฤดูกาลทำนา เราได้ประกาศให้ชาวนาในพื้นที่ที่สนใจขอยืมเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมพื้นเมืองไปปลูกและนำเมล็ดพันธุ์มาคืนตามจำนวนที่ยืมเมื่อได้ผลผลิต และเราจะรับซื้อผลผลิตที่เหลือ โดยมีข้อตกลงว่าต้องปลูกแบบอินทรีย์เท่านั้น ซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ให้ยืมมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์มะลินิลสุรินทร์ และพันธุ์มะลิโกเมนสุรินทร์ 

 

ในต้นฤดูกาลทำนาปีที่แล้วมีผู้สนใจมาสมัคร 3 ราย ได้นำไปทดลองปลูกทั้ง 2 พันธุ์
หลังจากที่เราทำตกกล้าเพื่อเตรียมทำนาดำ แล้วเหลือต้นกล้าข้าวจำนวนมาก จึงประกาศแจกต้นกล้าฟรีอีกรอบ คราวนี้มีผู้สนใจนำไปปลูกเพิ่มเติมอีก 5 ราย
โดยระหว่างช่วงเพาะปลูกมีชาวบ้านในหมู่บ้านให้ความสนใจและแวะเวียนเข้ามาดูแปลงนา และพูดคุยเรื่องการปลูกข้าวอินทรีย์กับเราเป็นระยะ

 

เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็รับซื้อข้าวอินทรีย์พันธุ์พื้นเมือง โดยไม่ได้หักค่าความชื้นหรือข้าวปนแต่อย่างใด โดยเราเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถนำข้าวที่ปลูกแบบอินทรีย์เท่านั้นมาสีที่โรงสีได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่หักเป็นข้าวสารเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายในการจัดการ เช่น ค่าไฟฟ้าและค่าเสื่อมของลูกยางเครื่องสีข้าว

 

ในด้านการใช้จ่ายงบประมาณ

เนื่องจากราคาวัสดุอุปกรณ์ที่เขียนในโครงการนั้นคลาดเคลื่อนจากราคาจริงหลังดำเนินงานมาก
โดยเราได้รับเงินบริจาครวมกันประมาณ 59,000 บาท จากโครงการเทใจ

 

ซึ่งเราได้นำไปซื้ออุปกรณ์การสีข้าว 2 เครื่อง ได้แก่
-เครื่องสีข้าวกล้องขนาดย่อม 45,000 บาท
-เครื่องทำความสะอาดข้าวกล้องขนาดย่อมที่ต้องใช้ประกอบกับเครื่องสีข้าวกล้อง 18,000 บาท

 

รวมเป็น 63,000 บาท เราจึงออกเงินส่วนตัวเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง
จากเดิมที่เคยตั้งใจว่าจะใช้เงินเพียง 20,000 บาท สำหรับเครื่องสีข้าว แต่มาทราบภายหลังว่าราคานั้นเป็นเครื่องสีขนาดเล็กสำหรับครัวเรือน ที่สีได้แค่เพียงพอกับการหุงข้าวสารเพียง 1 หม้อต่อครั้ง

ส่วนเครื่องสีข้าวที่เราดำเนินการซื้อมานั้น เมื่อนำมาใช้จริง มีกำลังผลิตต่อวันประมาณ 150 กิโลกรัมต่อวัน ต่างจากที่เขียนในใบโฆษณาว่าได้ 150 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
ในขณะที่เครื่องสีข้าวสำหรับชุมชนที่คิดว่าจะใช้งานได้จริง ราคาเริ่มต้นที่ 200,000 กว่าบาท ถึงจะมีกำลังผลิตวันละ 800-1,000 กิโลกรัม เพียงพอสำหรับโรงสีขนาดชุมชนจริงๆ

นอกจากนี้ เรายังใช้เงินส่วนตัวอีกก้อนเพื่อนำมาซื้อยุ้งข้าวมือสอง นำมาประกอบใหม่ และต่อเติมให้เป็นยุ้งข้าวและโรงสีชุมชนขนาดย่อม ติดตั้งน้ำไฟ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ อีกประมาณ 100,000 บาท

จากเดิมที่เคยตั้งใจว่าจะใช้เพียง  40,000 บาท สำหรับการทำยุ้งข้าว

สรุป งบประมาณบานปลายและยังน้อยเกินกว่าจะสร้างโรงสีชุมชนขนาดย่อมได้จริง แต่ในด้านการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการปลูกข้าวอินทรีย์ เกิดกระแส เกิดการเรียนรู้นั้นผ่านไปได้ด้วยดี

 

 

 

 

แผนการใช้เงิน

 

รายการราคารวม (บาท)
เครื่องสีข้าวขนาดย่อม20,000
ยุ้งเก็บข้าวมือสอง35,000
ค่าดำเนินการในพื้นที่5,000
รวม60,000