project เด็กและเยาวชน

แกะสลักสบู่อาชีพเพื่อทุนการศึกษา

โรงเรียนบ้านช้างคับเปิดโอกาสต่อยอดอาชีพในระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จุดเริ่มต้นจากการพัฒนาต่ออาชีพ มีรายได้ระหว่างเรียนช่วยเหลือครอบครัวทำให้เด็กและครอบครัวสามารถอยู่ในพื้นที่และเลี้ยงตัวเองได้

ระยะเวลาโครงการ 7 เดือน ระหว่าง 1 มีนาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2560 พื้นที่ดำเนินโครงการ โรงเรียนบ้านช้างคับ 99 หมู่ที่ 13 ตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ยอดบริจาคขณะนี้

64,432 บาท

เป้าหมาย

20,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 322%
จำนวนผู้บริจาค 14

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ต่อยอดอาชีพแกะสลักสบู่ กับโรงเรียนบ้านช้างคับ

14 พฤศจิกายน 2017

คุณครูนภากูล ธาตุ ครูผู้เชี่ยวชาญ โรงเรียนบ้านช้างคับ ได้พัฒนาต่อยอดจากการแกะสลักสบู่เพื่อนำมาสร้างรายได้ให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง จนกลายเป็นสินค้า OTOP ของชุมชนบ้านช้างคับ

มีการดำเนินงาน ต่อไปนี้

  1. ฝึกวิชาชีพต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP และออกเยี่ยมตามบ้านของผู้ปกครอง เพื่อติดตามผลการฝึกอาชีพ และสร้างแรงจูงใจในการทำงา
  2. พัฒนาความสามารถในงานแกะสลักไปสู่อาชีพให้กับนักเรียนในระดับชั้นป. 4 - ชั้น ม. 3 โรงเรียนบ้านช้างคับ และเยาวชนที่อยู่ในชุมชนบ้านช้างคับ ที่มีความสามารถในงานแกะสลักเดิม เพื่อการเสริมรายได้ให้กับครอบครัว
  3. ฝึกสอนแกะสลักสบู่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้นักเรียน และเยาวชนได้ใช้เวลาว่างเพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว ในชุมชน
  4. พัฒนาต่อยอดอาชีพให้กับนักเรียนชายด้วยงานหล่อเรซิ่นงานแกะสลักสบู่เป็นของระลึก/เครื่องประดับจากงานแกะสลัก และทำบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่
  5. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ใช้ศิลปะพัฒนาทัศนคติที่ต่อการทำงานรู้จักการพึงพาตนเอง ในการวาดภาพประกอบผลิตภัณฑ์ และป้ายTag ของสินค้า
  6. ฝึกการทำงานให้กับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เริ่มเรียนการแกะสลักพัฒนาฝีมือนอกจากเรียนส่งเสริมมีรายได้มัดลวดก้านต้นไม้ ใบไม้เล็ก และ วาดภาพประกอบผลิตภัณฑ์ และป้ายTag ของสินค้า

ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อการศึกษาได้ที่ Facebook : นภากูล ธาตุ / ต้นกล้าหัตถรักษ์





อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

โรงเรียนบ้านช้างคับเป็นโรงเรียนขยายโอกาสเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในชนบทที่ยากจน คนส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่มันสำปะหลังมีรายได้ปีละ 1 ครั้ง

ช่วงระหว่างรอผลผลิต 8 เดือนสภาวะความเป็นอยู่ค่อนข้างอดยากและลำบาก บางครอบครัวต้องเข้ามาทำงานในกรุงเทพ เด็กนักเรียนถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังอยู่กับแม่ หรือตายาย ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมและนักเรียนขาดโอกาสในการเรียนต่อ มีแนวโน้มออกกลางคัน

การต่อยอดอาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กและครอบครัวสามารถอยู่ในพื้นที่และเลี้ยงตัวเองได้ ครูนภากูล ธาตุ จึงพยายามถ่ายทอดความรู้ด้านงานแกะสลักให้เด็กโรงเรียนบ้านช้างคับ และเคยได้รับรางวัลสูงสุด ชนะเลิศการแกะสลักผักผลไม้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับประเทศ ถึง 2 ครั้ง


จุดเริ่มต้นจากการพัฒนาต่ออาชีพ มีรายได้ระหว่างเรียนช่วยเหลือครอบครัวพัฒนาเรื่อยมาจนเป็น OTOP เพื่อการศึกษา ( OTOP for Education ) ภายใต้ตราสินค้า “ ต้นกล้าหัตถรักษ์ ” TONKLAHATTHARAK มีSloganของสินค้า “ ขอโอกาสเอาความสามารถ แลกเป็นทุนการศึกษา ” “ Please give me a chance for my abilty to redeem the scholarship. ” เป็นผลิตภัณฑ์ เป็นของฝาก ของที่ระลึก ใช้ตกแต่ง และได้ผ่านจดทะเบียนตราสินค้า ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้า (มผช) และคัดสรรดาวเป็น OTOP 4 ดาว เมื่อปี พ.ศ. 2559


อย่างไรก็ตามสิ่งขาดแคลนขณะนี้คือต้นทุนหมุนเวียนระหว่างรอการขายสินค้า เพราะค่าแรงการผลิต ค่าเย็บปักถักร้อยเครื่องประดับ ค่าสบู่แลอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีเงินนวนหนึ่งมาสำรองเพื่อหมุนเียนไป ประกอบกับเราต้องการมอบรายได้ให้นักเรียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเป็นในการศึกษาบรรเทาทุกข์ความยากจนที่จะประทังชีวิต เราจึงอยากชวนทุกท่านมาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาอาชีพนี้

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในกลุ่มมี 3 ดังนี้

  1. กลุ่มผู้ปกครองและเยาวชนที่คาดว่าไม่ได้เรียนต่อ
  2. กลุ่มเยาวชนที่เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวะศึกษา และมหาวิทยาลัยในเยาวชนกลุ่มนี้ใช้เวลาว่างแกะสลักสบู่มีรายได้เสริม
  3. กลุ่มนักเรียนโรงเรียนบ้านช้างคับ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-3 ใช้ศิลปะพัฒนาทัศนคติที่ต่อการทำงานรู้จักการพึ่งพาตนเอง วาดภาพประกอบกล่อง/ ป้ายTag ของสินค้า
กลุ่มที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เริ่มเรียนการแกะสลักพัฒนาฝีมือนอกจากเรียนส่งเสริมมีรายได้มัดลวดก้านต้นไม้ ใบไม้เล็ก และ วาดภาพประกอบกล่อง/ ป้ายTag ของสินค้า
กลุ่มที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 พัฒนาฝีมือแกะสลักสบู่ จัดตกแต่งชิ้นงานทำบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่ ใช้เวลาว่างและในวันเสาร์- อาทิตย์

การขยายผลการเรียนรู้ด้านอาชีพจากโรงเรียนสู่ครอบครัวและชุมชน เป็นการศึกษาที่ช่วยให้อิ่มท้องแก้ปัญหาความยากจนให้กับครอบครัวได้ ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่1 ต้นทุนการผลิต เช่น สบู่ วัสดุตกแต่ง และอื่นๆ เป็นคืนเป็นทุนหมุนเวียนการผลิตต่อไป ส่วนที่ 2 เป็นค่าแรงในการผลิต ที่เป็นรายได้ของนักเรียนผู้ปกครองและเยาวชนในชุมชน ส่วนที่ 3 กำไร นำมาเป็นทุนในการฝึกแกะสลักสบู่ให้กับนักเรียนรุ่นใหม่ต่อๆไป

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ฝึกวิชาชีพต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ผู้ปกครองและออกเยี่ยมบ้านติดตามผลการฝึกอาชีพให้กับผู้ปกครอง เพื่อสร้างแรงจูงใจของการดำเนินงาน
  2. การจัดการเรียนรู้สู่อาชีพ พัฒนาความสามารถในงานแกะสลักไปสู่อาชีพให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ เยาวชนนอกสถานศึกษาในชุมชนบ้านช้างคับที่มีความสามารถในงานแกะสลักเดิม เพื่อการเสริมรายได้ให้กับครอบครัว
  3. แกะสลักสบู่เพื่อจัดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นักเรียน และ เยาวชน นำสบู่ไปแกะสลักสบู่นอกเวลาเรียนเพื่อการเสริมรายได้ให้กับครอบครัว ในชุมชน
  4. พัฒนาต่อยอดอาชีพให้กับนักเรียนชายด้วยงานหล่อเรซิ่นงานแกะสลักสบู่ให้ของที่ระลึก/เครื่องประดับจากงานแกะสลัก ทำบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่
  5. ฝึกวาดภาพให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1-3 ใช้ศิลปะพัฒนาทัศนคติที่ต่อการทำงานรู้จักการพึงพาตนเอง วาดภาพประกอบกล่อง/ ป้ายTag ของสินค้า
  6. ฝึกการทำงานให้กับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เริ่มเรียนการแกะสลักพัฒนาฝีมือนอกจากเรียนส่งเสริมมีรายได้มัดลวดก้านต้นไม้ ใบไม้เล็ก และ วาดภาพประกอบกล่อง/ ป้ายTag ของสินค้า
  7. สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ Facebook: ต้นกล้าหัตถรักษ์

ประโยชน์ของโครงการ

  1. นักเรียนและครอบครัว มีรายได้เป็นทุนการศึกษาและบรรเทาทุกข์ความยากจนที่จะประทังชีวิตของครอบครัว ในช่วงของการรอผลผลิตจากไร่มันสำปะหลัง
  2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของการจัดการศึกษาที่ยั่งยืน ของโรงเรียนยากจนในชนบทพัฒนาทักษะชีวิต การเรียนรู้จริงนำผลการเรียนรู้มาพัฒนาและแก้ไขความยากจนของครอบครัว ส่งเสริมทักษะการทำงาน
  3. อนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นศิลปะประจำชาติไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ด้านงานการแกะผักและผลไม้ที่ต่อยอดสู่งานอาชีพ ปลูกฝังให้เห็นคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รักและหวงแหนในมรดกทางวัฒนธรรมของไทย และมีความรักภาคภูมิใจในการสืบทอด

สมาชิกภายในทีม

  • นางสาวนภากูล ธาตุ (Miss. Napakul Tatu)
    ครูเชี่ยวชาญโรงเรียนบ้านช้างคับ ผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้ฝึกสอนงานแกะสลักผักผลไม้และให้กับนักเรียนเป็นระยะเวลา 24ปี  
    โทร.091-3890542, E-mail: na_pakul@hotmail.com, เฟซบุ๊ก: นภากูล ธาตุ  
  • นายเฉลิม พงษ์สกัด (Mr. Chalerm Pongsakad)
    ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านช้างคับ ผู้ออกแบบการจัดและบรรจุภัณฑ์ของสินค้า
    โทร.0831659788, เฟซบุ๊ก: เฉลิมพงษ์สกัด 
  • นางนงพงา พิชัย (Mrs. Nongphanga Pichai)
    ที่ปรึกษาโครงการในด้านต่าง ๆ
    โทร.0896402327, E-mail: Krunong8888@ hotmail.com, เฟซบุ๊ก: Nongphanga Pichai 

ภาคี

  1. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร, Facebook: สนง. พัฒนาชุมชนอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
  2. คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ให้ความอนุเคราะห์จัดทำ Facebook ต้นกล้าหัตถรักษ์ 

น้ำใจจากเจ้าของโครงการ

  • บริจาค 500 บาทขึ้นไป : โปสการ์ดผลงานนักเรียนขอบคุณ จำนวน 1 ใบ
  • บริจาค 1,000 บาทขึ้นไป : โปสการ์ดผลงานนักเรียนขอบคุณ จำนวน 1 ใบและ ผลิตภัณฑ์แกะสลักสบู่ จำนวน1 ก้อน
  • บริจาค 2,500 บาทขึ้นไป : โปสการ์ดผลงานนักเรียนขอบคุณ จำนวน 1 ใบและ ผลิตภัณฑ์แกะสลักสบู่กล่องใส่การบูร จำนวน 2 ชิ้น
  • บริจาค 5,000 บาทขึ้นไป : โปสการ์ดผลงานนักเรียนขอบคุณ จำนวน 1 ใบ ผลิตภัณฑ์แกะสลักสบู่กล่องการบูรหัวใจ จำนวน 2 ชิ้น

ต่อยอดอาชีพแกะสลักสบู่ กับโรงเรียนบ้านช้างคับ

14 พฤศจิกายน 2017

คุณครูนภากูล ธาตุ ครูผู้เชี่ยวชาญ โรงเรียนบ้านช้างคับ ได้พัฒนาต่อยอดจากการแกะสลักสบู่เพื่อนำมาสร้างรายได้ให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง จนกลายเป็นสินค้า OTOP ของชุมชนบ้านช้างคับ

มีการดำเนินงาน ต่อไปนี้

  1. ฝึกวิชาชีพต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP และออกเยี่ยมตามบ้านของผู้ปกครอง เพื่อติดตามผลการฝึกอาชีพ และสร้างแรงจูงใจในการทำงา
  2. พัฒนาความสามารถในงานแกะสลักไปสู่อาชีพให้กับนักเรียนในระดับชั้นป. 4 - ชั้น ม. 3 โรงเรียนบ้านช้างคับ และเยาวชนที่อยู่ในชุมชนบ้านช้างคับ ที่มีความสามารถในงานแกะสลักเดิม เพื่อการเสริมรายได้ให้กับครอบครัว
  3. ฝึกสอนแกะสลักสบู่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้นักเรียน และเยาวชนได้ใช้เวลาว่างเพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว ในชุมชน
  4. พัฒนาต่อยอดอาชีพให้กับนักเรียนชายด้วยงานหล่อเรซิ่นงานแกะสลักสบู่เป็นของระลึก/เครื่องประดับจากงานแกะสลัก และทำบรรจุภัณฑ์จากไม้ไผ่
  5. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ใช้ศิลปะพัฒนาทัศนคติที่ต่อการทำงานรู้จักการพึงพาตนเอง ในการวาดภาพประกอบผลิตภัณฑ์ และป้ายTag ของสินค้า
  6. ฝึกการทำงานให้กับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เริ่มเรียนการแกะสลักพัฒนาฝีมือนอกจากเรียนส่งเสริมมีรายได้มัดลวดก้านต้นไม้ ใบไม้เล็ก และ วาดภาพประกอบผลิตภัณฑ์ และป้ายTag ของสินค้า

ร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อการศึกษาได้ที่ Facebook : นภากูล ธาตุ / ต้นกล้าหัตถรักษ์





แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนราคา (บาท)

ทุนหมุนเวียนเพื่อเป็นค่าแรงการผลิต เช่น ค่าแรงแกะสลักสบู่ ค่าเย็บปักถักร้อยเครื่องประดับ วาดภาพป้ายTag และค่าแรงอื่นๆ มีความจำเป็นมากเพราะเป็นค่าใช้จ่ายเป็นทุนการศึกษาระหว่างเรียนและบรรเทาทุกข์ความยากจนที่จะประทังชีวิตในช่วงของการรอผลผลิตจากไร่มันสำปะหลัง ไม่สามารถที่จะรอจำหน่ายสินค้าได้ เมื่อจำหน่ายสินค้าได้จะหมุนเวียนกลับมาเป็นทุนค่าแรงต่อไป เป็นทุนที่จะคงอยู่กับโครงการตลอด ค่าแรงของงานฝีมือ

  • ราคา10 บาท/1 ชิ้น
  • ดอกตุ้ม ราคา 7 บาท/1 ชิ้น
  • ดอกข่า ราคา 5 บาท/1 ชิ้น
  • แกะสลักสบู่ทั้งก้อน ราคา 20 บาท/1 ก้อน
  • ค่าแรงเข็มขัด สร้อย ประมาณ 70-100 บาท/1ชิ้น
  • วาดภาพ 5บาท/ชิ้น
  • บรรจุภัณฑ์ไม้ไผ่ 100บาท/ชิ้น
  • งานอื่น ๆ เช่น มัดลวด เฉลี่ยเป็นปันผลสิ้นปี
-30,000

สบู่สำหรับแกะสลักใช้สบู่อิมพีเรียล

  • ขนาด75 กรัม ราคาต่อแพ็ค 43 บาท
  • ขนาด100 กรัม ราคาต่อแพ็ค 55 บาท
  • ขนาด125 กรัม ราคาต่อแพ็ค 60 บาท
ขนาด75 กรัม จำนวน 40 แพ็ค
ขนาด100 กรัมจำนวน40 แพ็ค
ขนาด100 กรัมจำนวน40 แพ็ค  
6,120
ด้ายถัก Summer Venus เบอร์ 16 ขนาด 100 กรัม หน่วยละ 60 บาท50 ม้วน3,000
ลูกปัดคละแบบต่าง ๆ สำหรับตกแต่ง หน่วยละ 500 บาท4 ถุง880
รวมเป็นเงิน
40,000