project ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วย

สร้างยิ้ม เสริมสุขให้ผู้สูงวัย ผู้ยากไร้ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

วิสาหกิจพัฒนาชุมชนยั่งยืน ชวนแบ่งปัน อาหารและของจำเป็นให้ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ในจ.ลำปางเพื่อแบ่งเบาภาระและแบ่งปันรอยยิ้ม เสริมสร้างกำลังใจให้คนเหล่านี้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ระยะเวลาโครงการ 01 ม.ค. 2567 ถึง 31 ธ.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: อ.แม่เมาะ อ.งาว จังหวัดลำปาง และพื้นที่ใกล้เคียง

ยอดบริจาคขณะนี้

58,416 บาท

เป้าหมาย

148,500 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 39%
จำนวนผู้บริจาค 115

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

มอบชุดยังชีพแก่ผู้สูงวัย ผู้ป่วยยากไร้ จำนวน 29 คน

22 เมษายน 2024

โครงการได้ดำเนินการ 2 เดือน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ระหว่างวันที่ 26 - 28 และมีนาคม 2567 ระหว่างวันที่ 27 - 29 พื้นที่ดำเนินการในจังหวัดลำปาง ดังนี้

  • ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จำนวน 4 ราย
  • ตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ จำนวน 4 ราย
  • ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จำนวน 5 ราย
  • ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จำนวน 5 ราย
  • ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จำนวน 10 ราย
  • ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จำนวน 1 ราย

โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 29 ราย และได้รับชุดยังชีพมูลค่า 900 บาทต่อเดือน ในชุดยังชีพประกอบด้วย ปลากระป๋อง น้ำผลไม้ ข้าวสาร น้ำดื่ม น้ำมันพืช โจ๊กสำเร็จรูป สบู่ ขนม กระดาษทิชชู ผงซักฟอก แซมพู รสดี ผงชูรส ไข่ไก่ บะหมี่สำเร็จรูป และสิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เช่น แพมเพิส ลูกบอล

ในการดำเนินการทีมงานได้ประสานงานกับ รพ.สต.ของแต่ละตำบล, รพ.อำเภอ และอสม. เจ้าของพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้ร่วมในการจ่ายชุดยังชีพ มีการจัดทำแผนการทำงาน กำหนดการ และได้แจ้งแผนการดำเนินการให้ผู้ประสานงานได้รับทราบ ก่อนการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้เข้าร่วมโครงการทีมงานจะร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลก่อนการเข้าพบ เมื่อถึงบ้านผู้เข้าร่วมโครงการทีม อสม. และแพทย์ จะพูดคุยและสอบถามความเป็นอยู่ และการดูแลสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำ แล้วแจ้งวัตถุประสงค์ในการมาครั้งนี้ มอบชุดยังชีพ สอบถามถึงความต้องการที่อยากได้ บันทึกข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำกลับมาประเมินผู้เข้าร่วมโครงการ ทางด้านสุขภาพจิต สุขภาพกาย อาการ สภาพแวดล้อม สุขลักษณะด้านต่าง ๆ และแนวทางในการให้ความช่วยเหลือในโอกาสต่อไป

จากการดำเนินการโครงการในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่ายังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังเข้าไม่ถึงการช่วยเหลือ ความแตกต่าง ความต้องการและสิ่งของจำเป็น ในการดำเนินการครั้งต่อไปจำเป็นต้องมีการขอข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการ การประเมินความต้องการที่แท้จริง การจัดหาสิ่งของที่จำเป็นต่อการรักษาให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพกาย และจิตใจที่ดี และให้เห็นว่าสังคมยังไม่ทอดทิ้ง

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ เป็นโครงการที่ดี สิ่งของที่ได้รับสามารถนำมาประกอบอาหารได้ ทำให้ช่วยประหยัดค่าครองชีพได้ ของที่ได้รับสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ” นางระเบียบ เกตุแก้ว อายุ 93 ปี (แม่ระเบียบ) 

“ ชอบที่มีโครงการแบบนี้ และมีการดูแลต่อเนื่อง ทำให้มีวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ช่วยลดรายจ่ายที่ต้องซื้อเช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เครื่องปรุง อยากให้มีโครงการแบบนี้ต่อไป ” นางพร้าว ทาก๋อง อายุ 76 ปี (แม่พร้าว)

“ ผมเป็นครอบครัวที่มีเพียง 3 พี่น้อง พ่อ แม่ เสียชีวิต ต้องอยู่กันตามมีตามเกิดมาเกือบ 2 ปี ไม่มีหน่วยงานไหนมาช่วยเหลือ พอพี่ ๆ เข้ามาช่วยเหลือในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้มีหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาช่วยเหลืออีก 2 หน่วยงาน ส่วนตัวคิดว่าเป็นโครงการที่ดี ทำให้มีสิ่งของจำเป็นในการใช้ในชีวิตประจำวัน และวัตถุดิบในการประกอบอาหาร อยากให้มีโครงการแบบนี้อย่างต่อเนื่อง ” นายคมไผ่ ผาคำ อายุ 14 ปี (น้องไผ่)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนเด็ก ผ่าตัดท่อปัสวะ ต.แม่เมาะ
เด็ก ออทิสติก ต.จางเหนือ
4 คนเด็กได้รับแพมเพิส เพื่อให้ถูกสุขลักษณะ
ผู้พิการและผู้ป่วย

ผู้สูงอายุป่วยติดเตียง, น้ำหนักเกิน, ผู้ป่วย
ผู้ป่วยอุบัติเหตุติดเตียง, ติดบ้าน

25 คน
  • ผู้ป่วยมีวัตถุดิบในการประกอบอาหาร
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการครองชีพ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

วิสาหกิจพัฒนาชุมชนยั่งยืน ชวนแบ่งปัน อาหารและของจำเป็นให้ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ในจ.ลำปางเพื่อแบ่งเบาภาระและแบ่งปันรอยยิ้ม เสริมสร้างกำลังใจให้คนเหล่านี้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

สังคมผู้สูงอายุ และผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส สำหรับประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาหลักของสังคมผู้สูงอายุ และผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส คือ ค่าของชีพ จำนวนเงินที่ได้รับยังคงไม่เพียงพอในการใช้ดำรงชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ และผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ที่มีฐานะยากจน และบางคนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อลูกหลานอีกด้วย

สังคมผู้สูงอายุ และผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ส่วนใหญ่ต้องการ การหยิบยื่นความช่วยเหลือ ดังนั้นวิสาหกิจพัฒนาชุมชนยั่งยืน (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จึงเล็งเห็นว่าสังคมผู้สูงอายุ และผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ต้องได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือ ในการดำรงชีพ เพื่อช่วยในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้บ้าง เป็นการช่วยเหลือ แบ่งปันรอยยิ้ม เสริมสร้างกำลังใจ ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยการช่วยเหลือด้านอาหารและสิ่งของที่จำเป็น ให้สามารถดำรงชีพได้อย่างมีความสุข


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่เป้าหมาย พูดคุย สอบถามปัญหา และประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส 

  • คัดเลือกผู้สูงอายุ และผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ทั้งหมด 50 คน โดยแบ่งเป็น พื้นที่อำเภอแม่เมาะ 40 คน พื้นที่อำเภองาว 10 คน
  • พื้นที่อำเภอแม่เมาะ มีทั้งหมด 5 ตำบล โดยคัดเลือก ตำบลละ 8 คน
  • คัดเลือกพื้นที่อำเภองาว จำนวน 10 คน

เกณฑ์การคัดเลือก

  • เป็นผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ที่อยู่ในพื้นที่
  • อยู่ตามลำพัง หรือมีฐานะยากจน
  • ผู้มีรายได้น้อย หรือมีรายได้ในครัวเรือนน้อยกว่า 2,000 บาทต่อเดือน 
  • ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือใช้ชีวิตยากลำบาก

2.พิจารณาข้อมูลเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุเข้าโครงการ และวางแผนให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสม

กรณีผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ที่เข้าโครงการเสียชีวิตระหว่างโครงการ จะดำเนินการคัดเลือกผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาสใหม่ในพื้นที่นั้นๆ ให้เป็นไปตามระยะเวลาโครงการจนสิ้นสุดโครงการ

3.ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ จัดมอบปัจจัยพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตให้ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ตามความจำเป็น  มอบชุดดำรงชีพให้คนละ 1 ชุด เป็นระยะเวลา 3 เดือน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น ลงพื้นที่พูดคุยสอบถามทุกข์สุข และให้กำลังใจ


ผู้รับผิดชอบโครงการ

วิสาหกิจพัฒนาชุมชนยั่งยืน ( วิสาหกิจเพื่อสังคม )

มอบชุดยังชีพแก่ผู้สูงวัย ผู้ป่วยยากไร้ จำนวน 29 คน

22 เมษายน 2024

โครงการได้ดำเนินการ 2 เดือน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ระหว่างวันที่ 26 - 28 และมีนาคม 2567 ระหว่างวันที่ 27 - 29 พื้นที่ดำเนินการในจังหวัดลำปาง ดังนี้

  • ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จำนวน 4 ราย
  • ตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ จำนวน 4 ราย
  • ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จำนวน 5 ราย
  • ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จำนวน 5 ราย
  • ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จำนวน 10 ราย
  • ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จำนวน 1 ราย

โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 29 ราย และได้รับชุดยังชีพมูลค่า 900 บาทต่อเดือน ในชุดยังชีพประกอบด้วย ปลากระป๋อง น้ำผลไม้ ข้าวสาร น้ำดื่ม น้ำมันพืช โจ๊กสำเร็จรูป สบู่ ขนม กระดาษทิชชู ผงซักฟอก แซมพู รสดี ผงชูรส ไข่ไก่ บะหมี่สำเร็จรูป และสิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียงหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เช่น แพมเพิส ลูกบอล

ในการดำเนินการทีมงานได้ประสานงานกับ รพ.สต.ของแต่ละตำบล, รพ.อำเภอ และอสม. เจ้าของพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้ร่วมในการจ่ายชุดยังชีพ มีการจัดทำแผนการทำงาน กำหนดการ และได้แจ้งแผนการดำเนินการให้ผู้ประสานงานได้รับทราบ ก่อนการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้เข้าร่วมโครงการทีมงานจะร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลก่อนการเข้าพบ เมื่อถึงบ้านผู้เข้าร่วมโครงการทีม อสม. และแพทย์ จะพูดคุยและสอบถามความเป็นอยู่ และการดูแลสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำ แล้วแจ้งวัตถุประสงค์ในการมาครั้งนี้ มอบชุดยังชีพ สอบถามถึงความต้องการที่อยากได้ บันทึกข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำกลับมาประเมินผู้เข้าร่วมโครงการ ทางด้านสุขภาพจิต สุขภาพกาย อาการ สภาพแวดล้อม สุขลักษณะด้านต่าง ๆ และแนวทางในการให้ความช่วยเหลือในโอกาสต่อไป

จากการดำเนินการโครงการในครั้งนี้ ทำให้เห็นว่ายังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังเข้าไม่ถึงการช่วยเหลือ ความแตกต่าง ความต้องการและสิ่งของจำเป็น ในการดำเนินการครั้งต่อไปจำเป็นต้องมีการขอข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการ การประเมินความต้องการที่แท้จริง การจัดหาสิ่งของที่จำเป็นต่อการรักษาให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพกาย และจิตใจที่ดี และให้เห็นว่าสังคมยังไม่ทอดทิ้ง

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ เป็นโครงการที่ดี สิ่งของที่ได้รับสามารถนำมาประกอบอาหารได้ ทำให้ช่วยประหยัดค่าครองชีพได้ ของที่ได้รับสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ” นางระเบียบ เกตุแก้ว อายุ 93 ปี (แม่ระเบียบ) 

“ ชอบที่มีโครงการแบบนี้ และมีการดูแลต่อเนื่อง ทำให้มีวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ช่วยลดรายจ่ายที่ต้องซื้อเช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เครื่องปรุง อยากให้มีโครงการแบบนี้ต่อไป ” นางพร้าว ทาก๋อง อายุ 76 ปี (แม่พร้าว)

“ ผมเป็นครอบครัวที่มีเพียง 3 พี่น้อง พ่อ แม่ เสียชีวิต ต้องอยู่กันตามมีตามเกิดมาเกือบ 2 ปี ไม่มีหน่วยงานไหนมาช่วยเหลือ พอพี่ ๆ เข้ามาช่วยเหลือในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้มีหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาช่วยเหลืออีก 2 หน่วยงาน ส่วนตัวคิดว่าเป็นโครงการที่ดี ทำให้มีสิ่งของจำเป็นในการใช้ในชีวิตประจำวัน และวัตถุดิบในการประกอบอาหาร อยากให้มีโครงการแบบนี้อย่างต่อเนื่อง ” นายคมไผ่ ผาคำ อายุ 14 ปี (น้องไผ่)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนเด็ก ผ่าตัดท่อปัสวะ ต.แม่เมาะ
เด็ก ออทิสติก ต.จางเหนือ
4 คนเด็กได้รับแพมเพิส เพื่อให้ถูกสุขลักษณะ
ผู้พิการและผู้ป่วย

ผู้สูงอายุป่วยติดเตียง, น้ำหนักเกิน, ผู้ป่วย
ผู้ป่วยอุบัติเหตุติดเตียง, ติดบ้าน

25 คน
  • ผู้ป่วยมีวัตถุดิบในการประกอบอาหาร
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการครองชีพ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ชุดดำรงชีพต่อคนต่อเดือน 900 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ประกอบด้วย - ปลากระป๋อง ราคา 19 บาท จำนวน 3 กระป๋อง - น้ำผลไม้ ราคา 44 บาท จำนวน 2 แพค - ข้าวสาร 5 กิโลกรัม ราคา 160 บาท จำนวน 1 ถุง - น้ำดื่ม แพคละ 12 ขวด ราคา 60 บาท จำนวน 3 แพค - น้ำมันพืช ราคา 46 บาท จำนวน 1 ขวด - โจ๊กสำเร็จรูป ราคา 12 จำนวน 5 ซอง - สบู่ ราคา 15 บาท จำนวน 1 ก้อน - ขนม แพคละ 12 ชิ้น ราคา 40 บาท จำนวน 1 แพค - กระดาษทิชชูแบบม้วน ราคา 15 บาท จำนวน 1 ม้วน - ผงซักฟอก ราคา 14 บาท จำนวน 1 ถุง - แชมพู ราคา 15 บาท จำนวน 1 ขวด - รสดี ราคา 5 บาท จำนวน 1 ซอง - ผงชูรส ราคา 10 บาท จำนวน 1 ซอง - ไข่ไก่ 30 ฟอง ราคา 130 บาท - บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 10 ซอง ราคา 65 บาท 50 135,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
135,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
13,500.00

ยอดระดมทุน
148,500.00