project อื่นๆ

แบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ

เพราะผู้ต้องขังเดินทางมาซื้อหนังสือไปอ่านเองไม่ได้ เราจึงอาสาเป็นหนุ่มสาวไปรษณีย์ส่งหนังสือดี บินเข้าไปในห้องสมุดเรือนจำ 8 แห่งให้แทน   พวกเรามีแรงบันดาลใจจากการไปพบเห็นผู้ต้องขังจำนวนมากที่ชอบอ่านหนังสือ แต่ไม่มีหนังสือใหม่ๆ และหลากหลายให้อ่าน

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ทุกจังหวัด

ยอดบริจาคขณะนี้

85,694 บาท

เป้าหมาย

70,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 122%
จำนวนผู้บริจาค 79

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

บันทึกการจัดกิจกรรมกับผู้ต้องขังที่จังหวัดเชียงใหม่

22 ธันวาคม 2015
ทีมงานโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ จำนวน 6 คน ได้เดินทางไปเยี่ยมเรือนจำ 2 แห่ง คือ ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ (วันที่ 16 กรกฎาคม 2558) และ เรือนจำอำเภอฝาง จ.เชียงใหม่ (วันที่ 17 กรกฎาคม 2558) โดยจัดกิจกรรมกับผู้ต้องขังในชื่อว่า “READ and you know that you are alive.” เพื่อทำความรู้จักกลุ่มบรรณารักษ์และนักอ่านในเรือนจำ รวมทั้งฟังเสียงสะท้อนจากผู้ต้องขัง ว่าการอ่านหนังสือในเรือนจำเป็นอย่างไรบ้าง
 
กิจกรรม 1 วัน มีดังนี้
  9:00 น.  แนะนำโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ ทำความรู้จักกัน (แนะนำตัว /ร้องเพลง /เล่นเกม)
10:30 น.  หนังสือในดวงใจของผู้ต้องขัง
11:30 น.  เขียนโปสการด์ แนะนำหนังสือ
12:00 น.  พักเที่ยง
13:00 น.  ชีวิตผู้ต้องขังที่ยิ่งกว่านิยาย : ผู้ต้องขังบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตให้อาสาสมัครฟัง
14:00 น.  ทีมงานแนะนำหนังสือน่าอ่าน 100 เล่ม
14:30 น.  ปิดกิจกรรม
 
ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่
ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เป็นเรือนจำขนาดใหญ่มีผู้ต้องขังทั้งหมดกว่า 3,000 คน มีผู้ต้องขังทุกประเภทตั้งแต่โทษเบา โทษมากกว่า 30 ปี โทษตลอดชีวิต และโทษประหารชีวิต กลุ่มที่เราเข้าไปทำกิจกรรมด้วยจะเป็นกลุ่มงานการศึกษา มีหน้าที่ดูแลห้องสมุดและจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีบรรณารักษ์หลักๆ อยู่ 3 คน และผู้ช่วยจัดหนังสืออีก 10 กว่าคน
 
ห้องนอนผู้ต้องขังแต่ละห้องจะนอนกันประมาณ 50 คน แต่ละห้องสามารถยืมหนังสือได้ 15 เล่มต่อสัปดาห์ ตัวแทนห้องจะนำหนังสือมาเปลี่ยนที่ห้องสมุดทุกวันจันทร์ บรรณารักษ์เล่าว่าเป็นช่วงเวลาที่คิวหน้าห้องสมุดยาวเหยียด
 
 
ห้องสมุดที่ทัณฑสถานหญิงมีชั้นวางเป็นระเบียบเรียบร้อย แบ่งเป็น 4 หมวดหลักๆ คือ หนังสือธรรมะ หนังสือนิยาย หนังสือฝึกอาชีพ และนิตยสารต่างๆ บรรณารักษ์เล่าว่า หนังสือธรรมะมีเยอะมากๆ ที่ยังแพคอยู่ในกล่องก็อีกเยอะ ส่วนหมวดที่ยังต้องการอีกมาก คือหนังสือฝึกอาชีพ จำนวนหนังสือยังไม่ถึง ตามเป้าที่กำหนดไว้ และบ่อยครั้งที่ทางฝ่ายทำอาหารและฝ่ายงานฝีมือมาขอหนังสือแต่มีหนังสือไม่พอ
 
หนังสือที่ผู้ต้องขังนำมาเล่าสู่กันฟังว่าชอบอ่าน ได้แก่ นิยาย การ์ตูนญี่ปุ่น คู่สร้างคู่สมชีวจิต หนังสือธรรมะ ฯลฯ มีผู้เข้าร่วมคนหนึ่งที่เคยประกวดเขียนเรื่องสั้นจนได้รางวัลมาก่อนชอบอ่านหนังสือมาก หนังสือที่มักจะแนะนำให้ผู้ต้องขังอ่านกันแรกๆ คือหนังสือธรรมมะ หวังว่าจะช่วยปลอบประโลมจิตใจของผู้มาใหม่ให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ส่วนนิยายเป็นการสร้างความบันเทิงและใช้เวลาให้หมดไป หนังสือเกี่ยวกับดาราผู้ต้องขังให้ความเห็นว่า “เม้าท์ดาราก็ดีกว่าเม้าท์กันเอง” หนังสือช่วยให้ผู้ต้องขังมีโลกที่เป็นส่วนตัว จากปกติที่ความเป็นอยู่แออัด พื้นที่ส่วนตัวแทบไม่มี ทำให้กระทบกระทั่งกันได้ง่าย ใครที่มีเรื่องกันก็อาจจะถูกทำโทษโดยการขังเดี่ยวให้อยู่คนเดียว 
 
กิจกรรมสุดท้าย ทีมงานได้แนะนำหนังสือใหม่ๆ ที่มีคนร่วมแบ่งปันมาและบางส่วนเป็นหนังสือที่ทีมงานซื้อมาใหม่ โดยเป็นหนังสือในหมวดวรรณกรรมผู้ใหญ่ วรรณกรรมเยาวชน ประวัติชีวิตคนที่น่าสนใจ หนังสือภาพ นิตยสารและอื่นๆ โดยวิธีการแนะนำก็ง่ายๆ คือหยิบหนังสือที่อยากแนะนำขึ้นมาทีละเล่ม อ่านบทนำให้ฟัง หรือเล่าความประทับใจในหนังสือ หรือเกริ่นนำเรื่องย่อๆ ให้พอได้กลิ่นที่ชวนติดตาม หลังจบกิจกรรมนี้ ผู้ต้องขังหลายคนสะท้อนว่า ทำให้เห็นหนังสือประเภทอื่นๆ ที่เดิมไม่คิดจะหยิบมาอ่านเปิดโลกการอ่านให้กว้างขึ้น
 
 
โปสการ์ดฝืมือผู้ต้องขัง
 
เรือนจำอำเภอฝาง จ.เชียงใหม่
เรือนจำอำเภอฝาง มีผู้ต้องขังในแดนชาย 1,200 คน และผู้ต้องขังในแดนหญิง 190 คน ทีมงานเข้าไปทำกิจกรรมในแดนหญิง โดยเรือนจำนี้มีความต่างจากที่ทัณฑสถานเชียงใหม่คือ ไม่ได้มีห้องสมุดแบบเป็นทางการ ทางแดนหญิงอาศัยปรับพื้นที่มุมหนึ่งเป็นชั้นหนังสือ ซึ่งหนังสือที่มีอยู่ยังน้อยมากในทุกหมวด ห้องสมุดหลักของเรือนจำจะอยู่ในแดนชายและไม่มีการเวียนหนังสือกัน
 
 
ในแดนหญิงสามารถยืมหนังสือได้คนละ 1 เล่ม สามารถยืมได้ทุกวัน และยืมแบบวันต่อวัน ถ้ายังอ่านไม่จบและอยากอ่านต่อก็สามารถนำมายืมใหม่ บรรณารักษ์ที่ดูแลหนังสือมี 1 คน เป็นผู้ต้องขังที่ยังไม่ได้ตัดสินคดี เธอจบปริญญาเอกมาก่อน ทำให้มีความรู้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
 
หนังสือที่ผู้ต้องขังที่นี่ชอบอ่าน คือ นิยาย สารคดีท่องเที่ยว เคล็ดลับความงาม ชีวจิตแม่สอนลูก ให้กำลังใจ กฎแห่งกรรม คู่สร้างคู่สม ทีวีพูล และวรรณกรรมด้วยความที่เรือนจำฝางอยู่ไกลจากตัวเมืองมาก ทำให้หนังสือและโอกาสต่างๆ ก็น้อยไปด้วยเมื่อเทียบกับทัณฑสถานหญิง ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่จึงดีใจมากที่มีหนังสือใหม่ๆ เดินทางไปถึงเรือนจำ ผู้ต้องขังหลายคนสะท้อนว่า ตอนอยู่ข้างนอกไม่ได้อ่านหนังสือ พอเข้ามาอยู่ในเรือนจำแล้วได้อ่านหนังสือมากขึ้น และหนังสือที่เข้ามาในเรือนจำแล้วจะอยู่ไปอีกนานเป็นสิบๆ ปี
 
ภาพกิจกรรมของผู้ต้องขังจากเรือนจำฝาง
 
 
 
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ครั้งที่ 2
ยอดบริจาคที่ทางโครงการได้รับจาก taejai.com      85,694 บาท
หักค่าธรรมเนียมจาก taejai.com 10%                 (-) 8,569 บาท
คงเหลือเป็นค่าดำเนินการ                                    77,125 บาท
ค่าดำเนินโครงการ ครั้งที่ 1                              (-) 41,485 บาท
คงเหลือเป็นค่าดำเนินการ ครั้งที่ 2                    35,640 บาท
 
 
ความประทับใจต่อโครงการเทใจและผู้สนับสนุน
ขอบคุณทางเทใจ และผู้ส่งต่อข้อมูล ผู้ที่เข้ามาแนะนำหนังสือ ผู้บริจาคเงินให้กับโครงการของเราอีกครั้งที่ให้โอกาส ไว้ใจและเชื่อเหมือนๆ กันกับเราถึงพลังของหนังสือและความสามารถของเพื่อนร่วมสังคมของเราที่อยู่ในเรือนจำ ว่าทั้งสองอย่างนี้จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยขึ้นมาผ่านการอ่านได้ การได้เข้าไปทำกิจกรรมครั้งนี้ ช่วยสนับสนุนให้ความคิดที่ว่า Prison should be a place for Correction not Punishment ชัดเจนขึ้นในทรรศนะของทีมงาน
 
ถึงแม้ว่าโครงการของเราที่ระดมทุนผ่านทางเทใจจะสำเร็จลงแล้ว แต่เราก็ยังดำเนินการโครงการของเราต่อภายใต้การรับแบ่งปันหนังสือและเงินบริจาคผ่านช่องทางของเราเอง ใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งต่อหนังสือคุณภาพดี สามารถเข้ามาเจอเราได้ตามช่องทางเหล่านี้: )
 
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

*** ขอบคุณทุกการบริจาคที่ทำให้โครงการระดมทุนสำเร็จ ทั้งนี้ทางทีมยังเปิดรับการสนับสนุนจนถึงวันที่กำหนด โดยจะหารือกันว่าเงินบริจาคที่เกินเป้าหมายเราจะนำไปซื้อหนังสือเพิ่ม และ/หรือ แบ่งปันหนังสือให้เรือนจำอื่น ๆ ที่ยังขาดแคลนหนังสือต่อไป***
 
เมื่อกลางปี 2556 เพื่อนในทีมได้เข้าไปทำกิจกรรมกับผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำแห่งหนึ่ง ได้เห็นว่าห้องสมุดมีสภาพสุดแสนจะเหี่ยวเฉา หนังสือที่มีส่วนใหญ่เป็นหนังสือแนวบุญกรรม สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน บลาบลา กับหนังสือเคลือบฝุ่นอื่นๆ อีกบ้างนิดหน่อย เล่มที่ฮิตๆ ก็เยินเน่าจวนเจียนจะขาด พอได้พูดคุยกับผู้ต้องขังหญิงคนหนึ่งที่ชอบอ่านหนังสือ เธอบอกว่า "อ่านหมดทุกเล่มจนไม่รู้จะ อ่าน อะ ไร แล้ว!"
 
พวกเราเลยเกิดความคิดอยากส่งหนังสือเข้าเรือนจำ ให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ จึงได้ประชาสัมพันธ์รวบรวมหนังสือมือสองจากเพื่อนๆ ผ่านทางเฟสบุ๊ค "แบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ" โดยเน้นหนังสือที่อยู่ในสภาพดี หลากหลายประเภท ทั้งให้แง่คิดต่อชีวิตและเพื่อความผ่อนคลายจิตใจ ปรากฎว่าได้ผลตอบรับที่ดีมาก!! ทั้งคนส่งและคนอ่าน ผู้ต้องขังได้เรียนรู้โลกใหม่ๆ ผ่านตัวอักษรและจินตนาการ
 
รายการเปิดโลกเปิดเล่ม ช่อง ThaiPBS (นาทีที่ 4.00 - 12.20)

 
บันทึกจากผู้ต้องขัง

ประโยชน์ของโครงการ :

- ให้ผู้ต้องขังมีช่องทางการเรียนรู้มากขึ้น ใช้เวลาที่อยู่ในเรือนจำเพื่อการบำบัดเยียวยาตนเอง หล่อเลี้ยงพลังชีวิต และเสริมสร้างภูมิต้านทานก่อนกลับสู่สังคม
- ให้บุคคลทั่วไปได้มีโอกาสทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยการแบ่งปัน

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

1. จัดซึ้อหนังสือใหม่ รวมถึงอุปกรณ์ สื่อภาพยนตร์ที่ไม่มีคนบริจาค ให้เรือนจำ 8 แห่งได้แก่
1.1 กลุ่มหนังสือทั่วไป* ประกอบด้วย
วรรณกรรมเยาวชน, วรรณกรรมคลาสสิค-ร่วมสมัย-แปลฯ        20%
เรื่องสั้น บทกวี                                                            20%
ความรู้ทั่วไปร่วมสมัย, ชีวิตคนธรรมดาที่น่าสนใจ                   20%
งานฝีมือ ศิลปะ                                                           20%
คู่มือดูแลสุขภาพ                                                         20%
 
1.2 หนังสือที่ผู้ต้องขังในแต่ละพื้นที่ต้องการ* ได้แก่
คู่มือเย็บสมุดสําหรับกลุ่มสมุดทํามือ                                         25%
คู่มือถักโครเชต์เย็บปักถักร้อยสําหรับกลุ่มผู้ต้องขังหญิงทํางานฝีมือ    25%
คู่มือทําอาหารสุขภาพสําหรับกลุ่มทําครัว                                   25%
คู่มือโยคะสําหรับกลุ่มผู้ฝึกโยคะ                                              25%
 
*หมายเหตุ
- การจัดซื้อจะใช้วิธีติดต่อสํานักพิมพ์โดยตรง หรือช่วงงานหนังสือลดราคาพิเศษ
- สัดส่วนประเภทของหนังสือที่จะจัดซื้อจากเงินบริจาคที่ได้รับจาก เว็บไซต์ taejai.com อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามประเภทของหนังสือที่ทางโครงการได้รับ ในเวลานั้นๆ จากการเปิดรับบริจาคหนังสืออีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งผู้สนใจบริจาคหนังสือสามารถดูรายละเอียดได้ที่ แบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ
- นอกจากทางโครงการจะจัดซื้อหนังสือแล้ว เรายังเปิดรับบริจาคหนังสือผ่านทาง แบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ เพื่อเป็นส่วนเติมเต็มห้องสมุดเรือนจำมากขึ้น
 
สัดส่วนจำนวนหนังสือที่ทางโครงการได้รับบริจาคในปี 2557
 
2. จัดทำกิจกรรมติดตามและประเมินผล
ทีมงานโครงการเข้าไปติดตามการอ่านหนังสือของผู้ต้องขังในเรือนจำ เช่น หนังสือประเภทไหนเป็นที่น่าสนใจ-ไม่น่าสนใจ, ผู้ต้องขังมีแนวโน้มการเข้าใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้นหรือไม่, แลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่ได้อ่าน, ฝึกถ่ายทอดสิ่งที่ได้รับจากการอ่านความในใจ ออกมาเป็นตัวหนังสือผ่านการบันทึกลงสมุด เพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาโครงการต่อ และเผยแพร่ผลที่ได้จากกิจกรรมให้ผู้สนับสนุนโครงการได้รับทราบ
 
กิจกรรมติดตามและประเมินผลจะเลือกเรือนจำขนาดเล็กที่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังเข้าถึงการอ่าน จำนวน 1-2 แห่งใน 6 เดือนแรก (สถานที่อยู่ในระหว่างประสานงาน)

สมาชิกภายในทีม :

ONCE Studio : Creative media and project for me and you and everyone we know.
อีเมล์: once.a.studio@gmail.com
 
นภา ธรรมทรงศนะ (Napa Thamsongsana) :: นักออกแบบกราฟฟิคที่สนใจเรื่องการบำบัดเยียวยา เริ่มทำกิจกรรมกับผู้ต้องขังหญิงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เรียนรู้และเติบโตอยู่ตลอดเวลา
 
นลิน รมย์ศิลป์ศุภา (Nalin Romesilpsupa)  :: นักออกแบบอิสระ สนใจการอ่านและเรียนรู้ผ่านตัวอักษร เชื่อว่าการได้อ่านหนังสือดีๆ เป็นเรื่องดีของชีวิต
 
อัญชนา นนท์พิทยา (Unchana Nonpittaya)  :: อดีตพนักงานการตลาดที่สนใจเรื่องการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ และมีโอกาสได้เจอเพื่อนที่ชักชวนให้ทำอะไรสนุกๆ เพื่อตัวเองและคนรอบตัวอยู่เสมอ
 
และสามารถติดตามข่าวสารโครงการได้ที่
 

การดำเนินงานของโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ

5 มิถุนายน 2015

หลังจากการระดมทุนโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ ทีมงานเจ้าของโครงการ ONCE Studio, Creative media and project for me and you and everyone we know.โดยคุณนภา ธรรมทรงศนะ คุณนลิน รมย์ศิลป์ศุภา และคุณอัญชนา นนท์พิทยา การระดมทุนโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ จำนวน 85,694บาท หักค่าธรรมเนียมจาก taejai.com 10% 8,569บาท คงเหลือเป็นค่าดำเนินการ 77,125บาท
 
การดำเนินการที่ได้ทำไปแล้ว (ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2558)
 
การจัดซื้อหนังสือลดราคาพิเศษใน งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 43 และดำเนินการจัดส่งหนังสือไปยังเรือนจำ 8 แห่ง
 
 
การจัดซื้อหนังสือในราคาส่ง จากกิจกรรมระหว่างโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำและร้านหนังสือบูคู จังหวัดปัตตานี
 
การดำเนินการที่จะเกิดขึ้น
ทางโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ จะนำเงินคงเหลือไปใช้ดำเนินการดังนี้
1. จัดซื้ออุปกรณ์ประกอบกิจกรรมจากหนังสือ เช่น อุปกรณ์ถักโครเชต์, อุปกรณ์ตัดเย็บสมุดทำมือ
2. จัดซื้อสื่อภาพยนตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องขังและผู้คุมเรือนจำ
3. เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำกิจกรรมติดตามและประเมินผล ที่เรือนจำที่ทีมงานได้ติดต่อและได้รับอนุญาตให้เข้าทำกิจกรรม เช่น แลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่ได้อ่าน, ฝึกถ่ายทอดสิ่งที่ได้รับจากการอ่าน ความในใจ ออกมาเป็นตัวหนังสือผ่านการบันทึกลงสมุด
4. จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น สมุดบันทึก, เครื่องเขียน
 
ความประทับใจต่อโครงการเทใจและผู้สนับสนุน
ขอบคุณทางเทใจที่ให้โอกาสโครงการเราได้เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับคัดเลือกเพื่อรับบริจาคเงินผ่านพื้นที่สื่อกลางนี้ ขอบคุณผู้บริจาคเงินให้กับโครงการของเรา ที่ไว้ใจและเชื่อเหมือนๆ กันกับเราถึงพลังของหนังสือและความสามารถของเพื่อนร่วมสังคมของเราที่อยู่ในเรือนจำ ว่าทั้งสองอย่างนี้จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยขึ้นมาผ่านการอ่านได้ ขอบคุณการบอกต่อ การแชร์ข้อมูล การชักชวนแบ่งปันเงิน การแนะนำหนังสือที่ตัวเองชอบและคิดว่าดี ให้อ่านต่อๆ กันไป รู้สึกว่าเราได้เชื่อมต่อกัน และเหมือนเป็นชุมชนการให้ ที่ทางเทใจน่าจะคาดหวังไว้ให้เกิดขึ้นเหมือนกัน และเราก็เห็นว่ามันเกิดขึ้นแล้วผ่านโครงการของเรานี่ล่ะ
 
ขอบคุณข้อความให้กำลังใจดีๆ เหล่านี้
และถึงแม้ว่าโครงการของเราที่ระดมทุนผ่านทางเทใจจะสำเร็จลงแล้ว แต่เราก็ยังดำเนินการโครงการของเราต่อภายใต้การรับแบ่งปันหนังสือและเงินบริจาคผ่านช่องทางของ
เราเอง ใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งต่อหนังสือคุณภาพดี สามารถเข้ามาเจอเราได้ตามช่องทางเหล่านี้นะ : )
 
เจ้าของโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ

บันทึกการจัดกิจกรรมกับผู้ต้องขังที่จังหวัดเชียงใหม่

22 ธันวาคม 2015

ทีมงานโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ จำนวน 6 คน ได้เดินทางไปเยี่ยมเรือนจำ 2 แห่ง คือ ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ (วันที่ 16 กรกฎาคม 2558) และ เรือนจำอำเภอฝาง จ.เชียงใหม่ (วันที่ 17 กรกฎาคม 2558) โดยจัดกิจกรรมกับผู้ต้องขังในชื่อว่า “READ and you know that you are alive.” เพื่อทำความรู้จักกลุ่มบรรณารักษ์และนักอ่านในเรือนจำ รวมทั้งฟังเสียงสะท้อนจากผู้ต้องขัง ว่าการอ่านหนังสือในเรือนจำเป็นอย่างไรบ้าง
 
กิจกรรม 1 วัน มีดังนี้
  9:00 น.  แนะนำโครงการแบ่งปันหนังสือเข้าเรือนจำ ทำความรู้จักกัน (แนะนำตัว /ร้องเพลง /เล่นเกม)
10:30 น.  หนังสือในดวงใจของผู้ต้องขัง
11:30 น.  เขียนโปสการด์ แนะนำหนังสือ
12:00 น.  พักเที่ยง
13:00 น.  ชีวิตผู้ต้องขังที่ยิ่งกว่านิยาย : ผู้ต้องขังบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตให้อาสาสมัครฟัง
14:00 น.  ทีมงานแนะนำหนังสือน่าอ่าน 100 เล่ม
14:30 น.  ปิดกิจกรรม
 
ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่
ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เป็นเรือนจำขนาดใหญ่มีผู้ต้องขังทั้งหมดกว่า 3,000 คน มีผู้ต้องขังทุกประเภทตั้งแต่โทษเบา โทษมากกว่า 30 ปี โทษตลอดชีวิต และโทษประหารชีวิต กลุ่มที่เราเข้าไปทำกิจกรรมด้วยจะเป็นกลุ่มงานการศึกษา มีหน้าที่ดูแลห้องสมุดและจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีบรรณารักษ์หลักๆ อยู่ 3 คน และผู้ช่วยจัดหนังสืออีก 10 กว่าคน
 
ห้องนอนผู้ต้องขังแต่ละห้องจะนอนกันประมาณ 50 คน แต่ละห้องสามารถยืมหนังสือได้ 15 เล่มต่อสัปดาห์ ตัวแทนห้องจะนำหนังสือมาเปลี่ยนที่ห้องสมุดทุกวันจันทร์ บรรณารักษ์เล่าว่าเป็นช่วงเวลาที่คิวหน้าห้องสมุดยาวเหยียด
 
 
ห้องสมุดที่ทัณฑสถานหญิงมีชั้นวางเป็นระเบียบเรียบร้อย แบ่งเป็น 4 หมวดหลักๆ คือ หนังสือธรรมะ หนังสือนิยาย หนังสือฝึกอาชีพ และนิตยสารต่างๆ บรรณารักษ์เล่าว่า หนังสือธรรมะมีเยอะมากๆ ที่ยังแพคอยู่ในกล่องก็อีกเยอะ ส่วนหมวดที่ยังต้องการอีกมาก คือหนังสือฝึกอาชีพ จำนวนหนังสือยังไม่ถึง ตามเป้าที่กำหนดไว้ และบ่อยครั้งที่ทางฝ่ายทำอาหารและฝ่ายงานฝีมือมาขอหนังสือแต่มีหนังสือไม่พอ
 
หนังสือที่ผู้ต้องขังนำมาเล่าสู่กันฟังว่าชอบอ่าน ได้แก่ นิยาย การ์ตูนญี่ปุ่น คู่สร้างคู่สมชีวจิต หนังสือธรรมะ ฯลฯ มีผู้เข้าร่วมคนหนึ่งที่เคยประกวดเขียนเรื่องสั้นจนได้รางวัลมาก่อนชอบอ่านหนังสือมาก หนังสือที่มักจะแนะนำให้ผู้ต้องขังอ่านกันแรกๆ คือหนังสือธรรมมะ หวังว่าจะช่วยปลอบประโลมจิตใจของผู้มาใหม่ให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ส่วนนิยายเป็นการสร้างความบันเทิงและใช้เวลาให้หมดไป หนังสือเกี่ยวกับดาราผู้ต้องขังให้ความเห็นว่า “เม้าท์ดาราก็ดีกว่าเม้าท์กันเอง” หนังสือช่วยให้ผู้ต้องขังมีโลกที่เป็นส่วนตัว จากปกติที่ความเป็นอยู่แออัด พื้นที่ส่วนตัวแทบไม่มี ทำให้กระทบกระทั่งกันได้ง่าย ใครที่มีเรื่องกันก็อาจจะถูกทำโทษโดยการขังเดี่ยวให้อยู่คนเดียว 
 
กิจกรรมสุดท้าย ทีมงานได้แนะนำหนังสือใหม่ๆ ที่มีคนร่วมแบ่งปันมาและบางส่วนเป็นหนังสือที่ทีมงานซื้อมาใหม่ โดยเป็นหนังสือในหมวดวรรณกรรมผู้ใหญ่ วรรณกรรมเยาวชน ประวัติชีวิตคนที่น่าสนใจ หนังสือภาพ นิตยสารและอื่นๆ โดยวิธีการแนะนำก็ง่ายๆ คือหยิบหนังสือที่อยากแนะนำขึ้นมาทีละเล่ม อ่านบทนำให้ฟัง หรือเล่าความประทับใจในหนังสือ หรือเกริ่นนำเรื่องย่อๆ ให้พอได้กลิ่นที่ชวนติดตาม หลังจบกิจกรรมนี้ ผู้ต้องขังหลายคนสะท้อนว่า ทำให้เห็นหนังสือประเภทอื่นๆ ที่เดิมไม่คิดจะหยิบมาอ่านเปิดโลกการอ่านให้กว้างขึ้น
 
 
โปสการ์ดฝืมือผู้ต้องขัง
 
เรือนจำอำเภอฝาง จ.เชียงใหม่
เรือนจำอำเภอฝาง มีผู้ต้องขังในแดนชาย 1,200 คน และผู้ต้องขังในแดนหญิง 190 คน ทีมงานเข้าไปทำกิจกรรมในแดนหญิง โดยเรือนจำนี้มีความต่างจากที่ทัณฑสถานเชียงใหม่คือ ไม่ได้มีห้องสมุดแบบเป็นทางการ ทางแดนหญิงอาศัยปรับพื้นที่มุมหนึ่งเป็นชั้นหนังสือ ซึ่งหนังสือที่มีอยู่ยังน้อยมากในทุกหมวด ห้องสมุดหลักของเรือนจำจะอยู่ในแดนชายและไม่มีการเวียนหนังสือกัน
 
 
ในแดนหญิงสามารถยืมหนังสือได้คนละ 1 เล่ม สามารถยืมได้ทุกวัน และยืมแบบวันต่อวัน ถ้ายังอ่านไม่จบและอยากอ่านต่อก็สามารถนำมายืมใหม่ บรรณารักษ์ที่ดูแลหนังสือมี 1 คน เป็นผู้ต้องขังที่ยังไม่ได้ตัดสินคดี เธอจบปริญญาเอกมาก่อน ทำให้มีความรู้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
 
หนังสือที่ผู้ต้องขังที่นี่ชอบอ่าน คือ นิยาย สารคดีท่องเที่ยว เคล็ดลับความงาม ชีวจิตแม่สอนลูก ให้กำลังใจ กฎแห่งกรรม คู่สร้างคู่สม ทีวีพูล และวรรณกรรมด้วยความที่เรือนจำฝางอยู่ไกลจากตัวเมืองมาก ทำให้หนังสือและโอกาสต่างๆ ก็น้อยไปด้วยเมื่อเทียบกับทัณฑสถานหญิง ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่จึงดีใจมากที่มีหนังสือใหม่ๆ เดินทางไปถึงเรือนจำ ผู้ต้องขังหลายคนสะท้อนว่า ตอนอยู่ข้างนอกไม่ได้อ่านหนังสือ พอเข้ามาอยู่ในเรือนจำแล้วได้อ่านหนังสือมากขึ้น และหนังสือที่เข้ามาในเรือนจำแล้วจะอยู่ไปอีกนานเป็นสิบๆ ปี
 
ภาพกิจกรรมของผู้ต้องขังจากเรือนจำฝาง
 
 
 
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ครั้งที่ 2
ยอดบริจาคที่ทางโครงการได้รับจาก taejai.com      85,694 บาท
หักค่าธรรมเนียมจาก taejai.com 10%                 (-) 8,569 บาท
คงเหลือเป็นค่าดำเนินการ                                    77,125 บาท
ค่าดำเนินโครงการ ครั้งที่ 1                              (-) 41,485 บาท
คงเหลือเป็นค่าดำเนินการ ครั้งที่ 2                    35,640 บาท
 
 
ความประทับใจต่อโครงการเทใจและผู้สนับสนุน
ขอบคุณทางเทใจ และผู้ส่งต่อข้อมูล ผู้ที่เข้ามาแนะนำหนังสือ ผู้บริจาคเงินให้กับโครงการของเราอีกครั้งที่ให้โอกาส ไว้ใจและเชื่อเหมือนๆ กันกับเราถึงพลังของหนังสือและความสามารถของเพื่อนร่วมสังคมของเราที่อยู่ในเรือนจำ ว่าทั้งสองอย่างนี้จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยขึ้นมาผ่านการอ่านได้ การได้เข้าไปทำกิจกรรมครั้งนี้ ช่วยสนับสนุนให้ความคิดที่ว่า Prison should be a place for Correction not Punishment ชัดเจนขึ้นในทรรศนะของทีมงาน
 
ถึงแม้ว่าโครงการของเราที่ระดมทุนผ่านทางเทใจจะสำเร็จลงแล้ว แต่เราก็ยังดำเนินการโครงการของเราต่อภายใต้การรับแบ่งปันหนังสือและเงินบริจาคผ่านช่องทางของเราเอง ใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งต่อหนังสือคุณภาพดี สามารถเข้ามาเจอเราได้ตามช่องทางเหล่านี้: )
 

แผนการใช้เงิน

รายการราคา(บาท)
1.จัดซื้อหนังสือใหม่ อุปกรณ์ สื่อภาพยนตร์เข้าเรือนจำ 8 แห่ง แห่งละ 5,000 บาท

40,000

2. ค่าจัดส่งไปรษณีย์และบรรจุภัณฑ์ 8 แห่ง แห่งละประมาณ 2,875 บาท23,000
3. ค่าธรรมเนียมเทใจ 10%7,000
Total70,000