project สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ

กองทุนป้องกันไฟป่าชุมชนบ้านพุยาง จ.ราชบุรี

สนับสนุนการป้องกันไฟป่าร่วมกับชุมชนบ้านพุยาง ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ด้วยการทำแนวกันไฟ ลาดตระเวนและอยู่ยามเฝ้าระวัง เพื่อรักษาแปลงฟื้นฟูป่า 12 ไร่ รวมถึงป่าชุมชนและพื้นที่การเกษตรโดยรอบ ในช่วงหน้าแล้ง

Duration 10 ธ.ค. 2566 ถึง 30 เม.ย. 2567 Area ระบุพื้นที่: บ้านพุยาง ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

Current donation amount

38,052 THB

Target

57,200 THB
ดำเนินการไปแล้ว 67%
1 days left จำนวนผู้บริจาค 85

สนับสนุนการป้องกันไฟป่าร่วมกับชุมชนบ้านพุยาง ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ด้วยการทำแนวกันไฟ ลาดตระเวนและอยู่ยามเฝ้าระวัง เพื่อรักษาแปลงฟื้นฟูป่า 12 ไร่ รวมถึงป่าชุมชนและพื้นที่การเกษตรโดยรอบ ในช่วงหน้าแล้ง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

พื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟป่าขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าแล้ง ทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตรของชุมชนเป็นอย่างมาก

ตั้งแต่ปี 2563 ทางมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการฟื้นฟูป่าในพื้นที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และแปลงฟื้นฟูป่าปี 2565 ก็ประสบกับไฟป่าลามเข้า สร้างความเสียหายให้กับต้นไม้ที่ปลูกกว่า 70%

ปัญหาไฟป่าในพื้นที่ส่วนใหญ่มาจากการขาดการวางแผนป้องกันอย่างเป็นระบบ ขาดบุคลากรในการเฝ้าระวังไฟ และแจ้งเหตุไฟป่าได้ทันท่วงที ขาดอุปกรณ์ดับไฟ รถน้ำ และเครื่องมือที่จำเป็น ขาดการประสานงานกับท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในการทำแนวกันไฟ และวางมาตรการณ์รับมืออย่างเหมาะสม

ดังนั้นในปี 2566-2567 นี้ ที่คาดว่าจะต้องประสบกับภัยแล้ง และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดไฟป่าในพื้นที่ ทางมูลนิธิฯ ได้ขอความร่วมมือกับผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ มาร่วมกันวางแผนป้องกันและรับมือกับไฟป่า เพื่อดูแลรักษาแปลงฟื้นฟูป่า 12 ไร่ ที่ได้ปลูกซ่อมไปรวม 2,700 ต้น และป่าชุมชนบ้านพุยางอีกกว่า 5,000 ไร่ 

วิธีการดำเนินงาน การเฝ้าระวังไฟและจัดการไฟป่าร่วมกับชุมชนบ้านพุยาง

ทางมูลนิธิฯ ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้นำชุมชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพื่อออกแบบและวางแผนการป้องกันและรับมือกับไฟป่า โดยทางชุมชนได้ร่วมสรุปแผนการดำเนินงานดังนี้

1. การป้องกันและเฝ้าระวังไฟ

     1.1 พบปะพูดคุยกับเจ้าของไร่รอบแปลง ขอความร่วมมือช่วยสอดส่อง หรือแจ้งเหตุการณ์ยังผู้ใหญ่บ้าน

     1.2 จัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านผลัดเปลี่ยนเข้ามาลาดตระเวนที่แปลงต่อเนื่อง

           เดือน ธ.ค - ม.ค ลาดตระเวนวันละครั้ง หรือ 2 ครั้ง ตามสถานการณ์

           เดือน ก.พ – เม.ย ลาดตระเวนเข้มข้น วันละ 3 ครั้ง (เช้า-กลางวัน-เย็น) ทั้งในแปลงและบริเวณรอบป่าธรรมชาติที่ติดกับแปลง

     1.3 มีชุดอุปกรณ์ดับไฟสำรองไว้ที่บ้านที่อยู่ใกล้แปลง เมื่อเกิดเหตุนำไปใช้ได้ทันที

2. ทำแนวกันไฟรอบแปลง และลดเชื้อเพลิงในแปลง

     2.1 ใช้รถแบคโฮและรถไถลงปรับที่รอบแปลง เปิดถนนให้เป็นแนวกันไฟความกว้าง 6 เมตร เพื่อให้รถบรรทุกน้ำของเทศบาลขับเข้าแปลงได้สะดวกเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้

     2.2 ตัดหญ้ากำจัดวัชพืช ลดทอนความเสี่ยงของการเกิดไฟในช่วงก่อนเข้าหน้าแล้ง ประมาณช่วงเดือนธันวาคม

     2.3 ทดลองปลูกกล้วยตามขอบแปลงเพื่อเป็นแนวป้องกันไฟ และช่วยเพิ่มความชื้นในแปลง

3. มาตรการป้องกัน หรือเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้

     3.1 หากพบจุดเสี่ยงที่อาจเกิดไฟ เช่น การจุดไฟใกล้แปลง พบร่องรอยของการจุดไฟ ให้แจ้งผู้ใหญ่บ้านทันที หากติดต่อผู้ใหญ่ไม่ได้ ให้แจ้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

     3.2 มีทีมเข้าดับไฟทันทีเมื่อเกิดเหตุ โดยไปถึงที่เกิดเหตุภายในเวลาไม่เกิน 20 นาที หลังที่ได้รับแจ้ง

     3.3 เมื่อเกิดเหตุ ผู้ใหญ่บ้านแจ้งข่าวผ่านหอสื่อสารของชุมชน ระดมคนในหมู่บ้านมาช่วยดับไฟ ใช้เวลาระดมคนและอุปกรณ์การดับไฟภายใน 15 นาที

     3.4 แจ้งเทศบาลเพื่อขอรถบรรทุกน้ำเข้าพื้นที่ และแจ้งหน่วยป้องกันรักษาป่า รบ.3 พุยาง ทันทีที่ได้รับแจ้งเกิดเหตุ เพื่อขอกำลังเสริมมาช่วยดับไฟ

           - กรณีมีน้ำพร้อมใช้ในรถแล้ว ออกจากเทศบาลได้ทันที ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึงแปลง

           - กรณีรถไม่พร้อมใช้ต้องเติมน้ำใส่รถ ใช้เวลาถึงแปลง 1 - 1.30 ชั่วโมง

           - กรณีของเจ้าหน้าที่ป่าไม้อยู่ประจำที่หน่วย เดินทางมาช่วยได้ทันที ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ตารางการดำเนินงาน

ลำดับรายการระยะเวลา
1ตัดหญ้า ทำแนวกันไฟ เปิดถนนรอบแปลงธันวาคม 2566
2
ลาดตระเวน เฝ้าระวังไฟ 5 เดือน
2 เดือนแรก (วันละ 2 ครั้ง / วันละครั้ง)
3 เดือนถัดมา (ทุกวัน วันละ 3 ครั้ง)
ธันวาคม 2566 - เมษายน 2567
3ทำแนวกันไฟชั้นใน ป่าธรรมชาติ กว้าง 6 เมตรกุมภาพันธ์ 2567
4ติดตามการดำเนินงานและสถานการณ์กับชุมชนธันวาคม 2566 - เมษายน 2567

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ไม่มีไฟเข้าพื้นที่แปลงปลูกป่าและพื้นที่ป่าชุมชนใกล้เคียง

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ลงพื้นที่พูดคุยหารือกับชุมชน เรื่องมาตรการการป้องกันไฟป่าและดับไฟ
  2. ลงพื้นที่ทำแนวกันไฟร่วมกับชุมชนในระยะเริ่มต้นฤดูกาลเฝ้าระวังไฟ
  3. ติดตามและอัพเดทสถานการณ์ไฟป่ากับชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  4. สนับสนุนอุปกรณ์ทำแนวกันไฟให้กับชุมชนและเจ้าหน้าที่
  5. สรุปรายงานการดำเนินงานของกองทุนป้องกันไฟป่า


ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์

มูลนิธิได้ดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศ เพิ่มพื้นที่ป่าธรรมชาติให้กับประเทศไทยมากว่า 38 ปี โดยระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมในการปลูก ดูแลรักษาและติดตามผล ร่วมกับชุมชนเจ้าของพื้นที่อย่างเป็นระบบ และเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ เข้าใจ และเห็นคุณค่าของธรรมชาติ

มูลนิธิได้รับรางวัล หน่วยงานดีเด่นของชาติ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปี 2540

ไม่มีข้อมูล

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่ารถแบคโฮ รถไถ ทำแนวกันไฟ เปิดถนนรอบแปลง 1 ครั้ง 10,000.00
2 ค่ายามไฟลาดตระเวน ธ.ค.2566-เม.ย.2567 5 เดือน 18,000.00
3 ค่าเครื่องเป่าลม ราคา 6,000 บาท 2 เครื่อง 12,000.00
4 จัดกิจกรรมทำแนวกันไฟกับชุมชน และติดตามสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ 3 ครั้ง 12,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
52,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
5,200.00

ยอดระดมทุน
57,200.00

Donate to
กองทุนป้องกันไฟป่าชุมชนบ้านพุยาง จ.ราชบุรี

Amount
Payment Methods

Pay by scan/upload QR code via mobile banking application of Siam Commercial bank, TMB bank, Krungthai bank, Bangkok bank, Krungsri bank, Thanachart bank, Kasikorn bank, GSB Bank

You will get the QR code after you confirm donation.

Tax Deduction

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
Filling out to send confirmation email
Filling out to send confirmation email

We will send receipt to your email after donation succeed.


Credit card information will be securely processed by provider with international standard PCI-DSS Compliant Omise logo

Invite Friends