project อื่นๆ

สร้างอาชีพให้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง

ติดอาชีพให้ผู้หญิงที่เป็นหยื่อความรุนแรง เพราะความมั่นคงทางเศรษฐกิจคืออาวุธแห่งการปลดแอกความรุนแรง

Duration 1 ปี Area กรุงเทพ

Current donation amount

37,607 THB

Target

30,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 125%
จำนวนผู้บริจาค 24

สำเร็จแล้ว

Project updates

จากใจเจ้าของโครงการสร้างอาชีพให้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง

25 May 2015
โครงการสร้างอาชีพให้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง เป็นโครงการสานใจ ของ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ โครงการนี้ตั้งขึ้น เพื่อช่วยฝึกอาชีพให้ผู้เดือดร้อนเน่นฝึกอาชีพตามทักษะ ความสามารถและความสมัครใจ โดยกำหนดว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่ผลิตจะได้รับการออกแบบโดยนักออกแบบอาชีพ และผู้เดือดร้อนจะสามารถทำได้เองทั้งชิ้น เพื่อให้มีรายได้ และเมื่อออกไปแล้ว ก็จะผลิตเป็นอาชีพได้
 
ในช่วงแรกที่ได้รับแบบมาจากนักออกแบบ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ ไม่ได้คิดว่าวัตถุดิบจะหายากมากนัก แต่พบว่า วัตถุดิบบางชนิดหายากมาก จึงได้นำเงินที่ได้จากการระดมทุนผ่านทางเทใจนี้ไปซื้อ ซึ่งทำให้มีวัตถุดิบสำหรับฝึกหัด และเริ่มผลิตสินค้าออกจำหน่ายได้ เมื่อจำหน่ายได้แล้ว จะมีเงินหมุนเวียนสำหรับซื้อวัตถุดิบมาผลิตต่อไป ผู้เดือดร้อนคิดว่า การทำงานเช่นนี้ ทำให้ชีวิตมีความหมาย และมีรายได้ด้วย
 
เราจึงขอขอบคุณผู้บริจาคโครงการสร้างอาชีพให้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง ทุกท่าน ที่ส่วนได้ช่วยเหลือผู้หญิงที่กำลังได้รับความเดือดร้อน ได้กลับมาสร้างคุณค่า ฝึกฝนทักษะและสร้างอาชีพหารายได้ไปจุนเจือครอบครัวได้อีกด้วย
 
อรุณี ศิริวัฒน์
ตัวแทนสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ
Read more »
See all project updates

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

4 ใน 10 ของผู้หญิงไทย ถูกทำร้ายร่างกายและถูกกระทำความรุนแรงทางเพศด้วยน้ำมือของบุคคลผู้ใกล้ชิด 
1 ใน 2 ของ “เหยื่อ”  ไม่บอกผู้อื่นเลย ถูกปิดเงียบอย่างไร้ร่องรอย (องค์การอนามัยโลก 2005)
ความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นปรากฏการณ์ที่มีอย่างแพร่หลายในทุกชนชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจขอไทย  โดย
เฉพาะผู้หญิงยากไร้มีแนวโน้มที่จะตกเป็น “เหยื่อ” ความรุนแรง เพราะพวกเธอมีทางเลือกน้อยที่จะไปให้พ้นจากสัมพันธภาพที่ประกอบด้วยความรุนแรง 
 
สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ www.apsw-thailand.org  ที่ทำงานมาตั้งแต่ปี 2525 พบทางออกที่ดีที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ “อาชีพ” ที่จะทำให้เธอหลุดพ้นจากความยากจนและสามารถพึ่งพาตนเองได้เท่านั้น  โครงการ “ฝึกอาชีพเพื่อฟื้นฟูหญิงในบ้านพักฉุกเฉินที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง” โดยเราจะชักชวนหญิงที่ตกเป็นเหยื่อ เข้าร่วมการอบรมงานหัตกรรม โดยมีเป้าหมาย 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก เพื่อให้พวกเธอเอาชนะรอยบาดแผลที่มี และฟื้นฟูให้รู้จักคุณค่าของตนเองได้
ขั้นตอนสอง พวกเธอจะมีอาชีพและสามารถที่จะสร้างรายได้

และขั้นตอนสาม เป้าหมายสูงสุดคือ  เราจะผลักดันให้พวกเธอรวมกลุ่มจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ที่จะหารายได้ ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับประโยชน์ ส่งผลต่อสังคมในวงกว้าง เพราะผู้หญิงจะใช้จ่าย 90% ของรายได้ไปเพื่อครอบครัว และชุมชน

จะดีไหม ถ้าทุกคนจะมอบหนทางที่จะฟื้นคืนความมั่นใจในตัวเอง ปรับปรุงสถานภาพของผู้หญิงเหล่านี้ เพื่อให้พวกเธอประสบความสำเร็จ?

ประโยชน์ของโครงการ :

โดยเข้ารับการฝึกอบรม และสรรค์สร้างงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่า
ระยะสั้น ผู้หญิงที่ได้ผ่านการฝึกอบรม สามารถที่จะเอาชนะรอยบาดแผลที่มี และฟื้นฟูให้รู้จักคุณค่าของตนเองได้
ระยะกลาง ได้รับการฝึกฝนทักษะงานอาชีพและสามารถที่จะสร้างรายได้
ระยะยาว จะสามารถหารายได้ ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับประโยชน์ ส่งผลต่อสังคมในวงกว้าง เพราะผู้หญิงจะใช้จ่าย 90% ของรายได้ไปเพื่อครอบครัว และชุมชน (ผลการศึกษาของ Rizzoli, 2007)

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

เป้าหมายในอนาคต : กิจการเพื่อสังคม เพื่อทำให้ผู้หญิงที่อ่อนแอมีอำนาจทางเศรษฐกิจ
กลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกพักอยู่ในบ้านพักฉุกเฉิน ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ปี
 
วิธีการ
1.เราจะเน้นการฝึกอาชีพตามความสมัครสมัครใจ และปรับให้เข้ากับความต้องการ ทักษะ และความสามารถ  เป็นรายๆ ไป  เช่น ฝึกมัดย้อม เสร็จสิ้นหลักสูตร ภายในวันเดียว และผู้ฝึกอบรมจะเริ่มผลิตผ้าพันคอ สีสันสดใส ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง  ในขณะที่การฝึกอบรมเรื่องการปักผ้า ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ และจำเป็นที่ต้องมีความสามารถเพิ่มขึ้นด้วย
2.ฝึกอบรม 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ผู้ฝึกอบรม โดยหลังจากจบการฝึกอบรม พวกเขาสามารถที่จะ รังสรรค์ผลงานที่จะเกิดขึ้นจาก ก-ฮ ยิ่งสมาชิกอยู่ในบ้านพักนานก็จะยิ่งเพิ่มพูนทักษะมากขึ้น
3.ผลงานทุกชิ้นเป็นงานฝีมือ เฉพาะตัว  และบอกเล่าเรื่องราวของผู้ที่สร้างมันขึ้นมา นักออกแบบที่มีชื่อเสียงได้ออกแบบคอลเลคชั่นใหม่ โดยได้รับแรงบันดาลใจ จากศิลปะ วัฒนธรรมไทย ล้านนา ชิ้นงานผลิตจากวัสดุเหลือใช้ คอลเลคชั่นนี้จะออกวางตลาดในเดือน มกราคม 2558  ถ้าท่านมีส่วนร่วมในโครงการ ท่านก็มีโอกาสได้รับชิ้นงานนั้นอีกด้วย

สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ www.apsw-thailand.org ได้ช่วยเหลือ ผู้หญิงและเด็ก จำนวนมากกว่า 53,000 ราย โดยการบริการให้คำปรึกษา ที่พักอาศัย การรักษา การเยียวยาทางจิตใจ และบริการฝึกอาชีพ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ คือเหยื่อแห่งความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ในภาวะไม่พร้อม และหญิงผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ขอขอบพระคุณ การสนับสนุนของท่าน เราจะใช้เงินทุนนี้ในการฝึกอบรม แก่ผู้หญิงที่เป็นสมาชิกบ้านพักฉุกเฉิน โดยตั้งใจจะรวบรวมทุน 30,000 บาท  เพื่อว่าจ้างวิทยากร เป็นเวลา 1 ปี มาฝึกอบรมงานใหม่ๆ (เช่น ทำเครื่องประดับ, งานถักไหมพรม, งานทำผ้าบาติก) และทำสินค้าแบบใหม่ๆ เพื่อเพิ่มยอดขาย
 
การสนับสนุนของทุกท่านจะเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ในการเริ่มดำเนินกิจการเพื่อสังคม และเริ่มต้นกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามที่ ศาสตราจารย์ โมฮัมเมด ยูนุส  ได้กล่าวไว้ “เงินบริจาคหนึ่งยูโรมีชีวิตเดียว แต่ยูโรของกิจการเพื่อสังคมจะนำกลับไปลงทุนได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า” ผลกำไรทั้งหมดของกิจการเพื่อสังคมนี้จำนำไปขยายผลในธุรกิจ เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้หญิงจำนวนมากขึ้น
เพื่อเป็นการขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในกิจการเพื่อสังคม ผู้หญิงที่ได้ผ่านการอบรม จะส่งของขวัญที่ผลิตด้วยความรักจากประเทศไทย
ติดตามความคืบหน้าของโครงการ ในหน้า เฟสบุ๊ค หรือเว็บไซต์ของเรา โดยถ้าคุณต้องการที่จะเป็นส่วนร่วม หรือเพิ่มเติมในรายละเอียดของโครงการ กรุณาติดต่อเรา
Facebook : APSW Thailand

สมาชิกภายในทีม :

Chloé Chambraud

โครงการการศึกษาและฝึกอาชีพ
ความเชี่ยวชาญ: การพัฒนาระหว่างประเทศ, การสร้างศักยภาพสตรี 
chloe@empow-her.fr

 

Luisa De Simone

โครงการการศึกษาและฝึกอาชีพ
ความเชี่ยวชาญ: การบริหารแผนกลยุทธ์ 
luisa@empow-her.fr

 

Sali Sasaki

นักออกแบบ แฟชั่น

 

อรุณี ศิริวัฒน์
ผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ 
00662 929-2301-07
training@apsw-thailand.org

ภาคี :

Empow’Her

จากใจเจ้าของโครงการสร้างอาชีพให้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง

25 May 2015

โครงการสร้างอาชีพให้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง เป็นโครงการสานใจ ของ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ โครงการนี้ตั้งขึ้น เพื่อช่วยฝึกอาชีพให้ผู้เดือดร้อนเน่นฝึกอาชีพตามทักษะ ความสามารถและความสมัครใจ โดยกำหนดว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่ผลิตจะได้รับการออกแบบโดยนักออกแบบอาชีพ และผู้เดือดร้อนจะสามารถทำได้เองทั้งชิ้น เพื่อให้มีรายได้ และเมื่อออกไปแล้ว ก็จะผลิตเป็นอาชีพได้
 
ในช่วงแรกที่ได้รับแบบมาจากนักออกแบบ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ ไม่ได้คิดว่าวัตถุดิบจะหายากมากนัก แต่พบว่า วัตถุดิบบางชนิดหายากมาก จึงได้นำเงินที่ได้จากการระดมทุนผ่านทางเทใจนี้ไปซื้อ ซึ่งทำให้มีวัตถุดิบสำหรับฝึกหัด และเริ่มผลิตสินค้าออกจำหน่ายได้ เมื่อจำหน่ายได้แล้ว จะมีเงินหมุนเวียนสำหรับซื้อวัตถุดิบมาผลิตต่อไป ผู้เดือดร้อนคิดว่า การทำงานเช่นนี้ ทำให้ชีวิตมีความหมาย และมีรายได้ด้วย
 
เราจึงขอขอบคุณผู้บริจาคโครงการสร้างอาชีพให้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรง ทุกท่าน ที่ส่วนได้ช่วยเหลือผู้หญิงที่กำลังได้รับความเดือดร้อน ได้กลับมาสร้างคุณค่า ฝึกฝนทักษะและสร้างอาชีพหารายได้ไปจุนเจือครอบครัวได้อีกด้วย
 
อรุณี ศิริวัฒน์
ตัวแทนสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ

Budget plan

รายการจำนวน (คน)ราคา(บาท)

1.การอบรมฝึกอาชีพครึ่งวัน

1.1วัสดุ อุปกรณ์สำหรับการฝึกอาชีพ

1.2วิทยากร

1.3ผู้อบรม

12

9,000

2.การอบรมฝึกอาชีพเต็มวัน

2.1วัสดุ อุปกรณ์สำหรับการฝึกอาชีพ

2.2วิทยากร

2.3ผู้อบรม

1218,000
3.ค่าบริการทางเทใจ 3,000
รวมทั้งหมด 30,000