project กลุ่มคนเปราะบาง

ข้าวสารเพื่อเพื่อนมอแกนเกาะสุรินทร์

หน้ามรสุมนี้เพื่อนมอแกนเกาะสุรินทร์ไม่สามารถตั้งตัวและซื้อข้าวสารตุนได้ทันเหมือนปีที่ผ่านมา เพราะปัญหาไฟไหม้บ้านและทรัพย์สินจนสิ้นเนื้อประดาตัว เราจึงอยากระดมความช่วยเหลือครั้งใหญ่ด้วยการส่งข้าวสารเพื่อประคองชีวิตของพี่น้องมอแกนในช่วงมรสุม

Duration 2 เดือน

Current donation amount

387,188 THB

Target

386,412 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 331

สำเร็จแล้ว

Project updates

มอบข้าวและของแห้งให้เพื่อนมอแกน หมู่เกาะสุรินทร์เรียบร้อยแล้ว

30 April 2019

เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมาก่อนจะเข้าสู่หน้ามรสุมของทะเลฝั่นอันดามัน ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะทราบดีว่าเป็นช่วงปิดเกาะแก่งต่าง ๆ เนื่องจากมรสุมจะเข้า การเดินท่องเที่ยวก็อันตราย ขณะที่น้องชาวเกาะทั้งหลายก็เดินทางออกนอกเกาะและทำมาหากินลำบากเช่นกัน

เทใจดอทอคอม, มูลนิธิชุมชนไท,  เครือข่ายชาวเล, เตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรมอุทยานแห่งชาติ, สำนักข่าวชายขอบ และสื่อมวลชนได้ลงพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เนื่องจากได้นำเงินบริจาคของทุกท่าน ไปซื้อข้าวสาร อาหารแห้งให้ชุมชนมอแกนไว้เป็นเสบียงในช่วงฤดูมรสุม เพราะเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาไฟได้ไหม้บ้านของพี่น้องไปกว่า 61 หลัง เงินทองที่เก็บไว้ซื้อของก็มอดไหม้ไปด้วย

การระดมทุนครั้งนี้ เราสามารถซื้อ ข้าวสาร 243 กระสอบ (กระสอบละ 50 กิโลกรัม, กะปิ 162กิโลกรัม, กระเทียม 200กิโลกรัม, หอมแดง 100 กิโลกรัม, น้ำมัน 243 ขวด พริกแห้ง 200 กิโลกรัม, น้ำปลา น้ำตาล เกลือ ไข่ ผลไม้ เครื่องครัว หม้อ กะทะ ครก มีด รวมกว่า 15 ตัน โดยทำการส่งมอบของทั้งหมดผ่านตัวแทนกรรมการชาวเลได้จัดสรรค์กับสมาชิกทั้ง 81 ครอบครัวอย่างละเท่าๆ กัน ซึ่งทำให้พี่น้องมอแกนจะสามารถใช้ชีวิตผ่านช่วงมรสุมนี้ไปได้

มอแกนเกาะสุรินทร์ฝากขอบคุณทุกผู้บริจาคทุกท่านที่มาช่วยให้ผ่านช่วงมรสุมไปได้

วันนี้เราเห็นแววตาแห่งความสุขที่มีบ้านใหม่ไว้หลบแดด หลบพายุจากฝีมือทหาร มีอาหารเป็นเสบียงในยามปิดเกาะที่ไม่สามารถทำงานได้

ขอบคุณน้ำใจของทุกท่าน

หมายเหตุ 

ชาวมอแกนเนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยาน จึงไม่สามารถประกอบอาชีพประมงเพื่อการค้าได้ ส่วนใหญ่จึงมีอาชีพรับจ้าง โดยทำงานที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ขับเรือนำเที่ยว ขณะที่เด็กและผู้หญิงขายของที่ระลึก ซึ่งงานเหล่านี้จะสามารถทำได้ในช่วงเปิดเกาะที่มีนักท่องเที่ยวมาเท่านั้น นั่นก็คือ ระหว่าง กลางพฤศจิกายนถึงกลางเมษายนของทุกปี 

เราขอนำภาพมาฝากทุกท่านกัน

บรรยายภาพ : รับมอบข้าวสาร อาหารแห้ง

บรรยายภาพ : ลงชื่อรับมอบของ

บรรยายภาพ : ระหว่างรอก็ร้องรำทำเพลงฉบับมอแกน 

บรรยายภาพ : ตัวแทนช่วยกันนำไข่ใส่ถุงให้แต่ละบ้าน 

บรรยายภาพ : พี่น้องช่วยกันแบกข้าวกลับบ้านไปเป็นเสบียง


Read more »
See all project updates

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 เกิดประกายไฟลุกขึ้นที่บ้านหลังหนึ่ง แรงลมโหมไฟลุกหลังอื่นๆ ทหารและอุทยานฯหมู่เกาะสุรินทร์มาช่วยกันดับไฟแต่ไม่ทัน บ้านและทรัพย์สินโดนไหม้ไป 61 หลัง  เรือท้องแบน 32 ลำ เรือแจว 2 ลำ เรือหัวโทง 25 กง 2 ลำ ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชาวเลมอแกนแบบสิ้นเนื้อประดาตัว

อีก 20 หลังที่บ้านไม่ไหม้ก็ต้องมาช่วยพี่น้องจนไม่ได้ออกหากิน เป็นบุญชาวเลมอแกนที่มีครัวพระราชทานให้ทั้งมอแกนและคนที่ไปช่วยจนบ้านเสร็จ

หลังจากไฟไหม้ผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง แกนนำชาวเลมอแกนซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายชาวเลและองค์กรที่ปรึกษา วางแผนจัดตั้งศูนย์ประสานความช่วยเหลือฯทันที พร้อมกับการจัดกระบวนการบริหารจัดการสิ่งของบริจาค เพราะความช่วยเหลือมาจากหลายที่ มีจำนวนมาก แต่บ้านยังไม่เสร็จ

ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะพร้อมหมดแล้ว!

แต่ทว่าการดำรงชีพในข่วงหน้ามรสุมนี่สิ จะทำเช่นไร


            ภาพประกอบ : บ้านเรือนและอุปกรณ์ทำมาหากินที่เสียหาย

ปกติแล้ว ชาวมอแกนจะมีรายได้จากการรับจ้างและสินค้าที่ระลึกในช่วงเปิดเกาะ โดยเงินก้อนนี้จะเก็บไว้ซื้อของกินและใช้ให้ตัวเองอยู่รอดในช่วงปิดเกาะ (หน้ามรสุม) เนื่องด้วยไม่มีรายได้เกิดขึ้นในช่วงที่สร้างบ้าน เพราะต้องเร่งสร้างบ้านให้เสร็จก่อนที่จะเข้าหน้ามรสุม

ผละกระทบที่ตามมาหลังจากเกาะจะถูกตัดขาดจากโลกภายนอก คือ อาหาร การหากับข้าวเป็นสิ่งไม่น่ากังวล สัตว์น้ำชายฝั่งยังพอหามาประทัง แต่สำหรับข้าวสารนั้นไม่สามารถหาที่ไหนได้ จะกลายเป็นช่วงหน้ามรสุมของเพื่อนชาวมอแกนสิ่งที่เพื่อนชาวมอแกนอยากได้มากที่สุดคือ ข้าวสาร สำหรับ 6 เดือนข้างหน้าที่ต้องเจอกับการปิดเกาะ หรือนับจาก พฤษภาคม ถึง ตุลาคม นี้ เราจึงอยากชวนทุกคนมาซื้อข้าวสารเฉลี่ยหลังละ 3 กระสอบ ซึ่งชื้อให้ทั้งหมด 81 หลัง หรือเท่ากับ 243 กระสอบ ราคาเฉลี่ยกระสอบละ 1, 500 บาท 

           ภาพประกอบ : ของที่ระลึกของชาวมอแกน

ชุมชนชาวเลมอแกนเกาะสุรินทร์ เป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัย หากินอยู่ในทะเลและชายฝั่ง มีวิถีชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติ ผู้คนที่ได้พบเห็นและศึกษา ต่างบอกเล่าถึงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และน่าสนใจหลังจาก”สึนามิ” ปี 2547 มอแกนเกาะสุรินทร์อ่าวต่างๆ ถูกย้ายมาอยู่อ่าวบอนเพียงอ่าวเดียว บ้านเรือนที่สร้างจึงมีจำนวนมากเรียงชิดติดกัน ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่

ประโยชน์โครงการ

1.ชาวมอแกน 81 หลัง มีเสบียงรองรับช่วงมรสุม

2.สร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน

ทีมงาน

  • ชุมชนมอแกนเกาะสุรินทร์ และเครือข่ายชาวเลอันดามัน
  • มูลนิธิชุมชนไท 

หมายเหตุ

สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการจัดส่งข้าวสาร สามารถส่งได้ที่
ศูนย์ประสานงานชุมชนบ้านน้ำเค็ม มูลนิธิชุมชนไท 41 ม.2 ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82190

     


17 April 2019

รายงานความคืบหน้าโครงการ ข้าวสารเพื่อมอแกน อันเนื่องมาจากเหตุไฟไหม้หมู่บ้านชาวมอแกนเกาะสุรินทร์ใต้ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 ทำให้บ้านเรือนเสียหายจำนวน 61 หลัง สถานีอนามัย 1 หลัง 

ก่อนหน้านี้มีธารน้ำใจจากประชาชนทั่วไปที่ส่งเสื้อผ้าและสิ่งของจำเป็นมาให้ และยังได้รับพระมหากุณาธิคุณจากในหลวงซึ่งได้รับเงินพระราชทานจำนวน 17,000 บาท และจังหวัดได้อนุมัติงบประมาณ 30,000 บาทต่อหลัง ในการก่อสร้างบ้านหลังใหม่ให้กับชุมชนชาวมอแกน ตลอดเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทหารได้เป็นแกนหลักร่วมกับชาวบ้านก่อสร้างบ้านทั้งหมดจนแล้วเสร็จ ขณะนี้ชาวบ้านจึงมีที่อยู่เรียบร้อยแล้ว


 อย่างไรก็ตามหลังเกิดเหตุ มูลนิธิชุมชนไท ร่วมกับเครือข่ายชาวเล ได้มีส่วนร่วมเข้าฟื้นฟูในหลากหลายรูปแบบ เช่นการระดมเครื่องมือสร้างบ้าน จัดหาอุปกรณ์ดำน้ำ เหล็กยิงปลา เพื่อใช้หาปลาในการดำรงชีพ โดยการทำงานผ่านคณะกรรมการชุมชน

ทั้งนี้ยังพบข้อจำกัด เพื่อการประคองชีวิตช่วงมรสุม 6 เดือนของชาวมอแกนเกาะสุรินทร์ เพราะเงินทองที่เก็บไว้ใช้ในช่วงปิดเกาะนั่นไฟได้เผาไหม้ไปหมด ประกอบกับช่วงการก่อสร้างสร้างบ้าน ชาวมอแกนก็มีเพียงบางส่วนที่ทำงานลูกจ้างอุทยาน และบริษัทนำเที่ยว ที่พอจะมีรายได้ประทังครอบครัว ขณะที่บางส่วนไม่สามารถหารายได้เพียงพอที่จะดำรงชีพในช่วงมรสุม


 ทาง www.taejai.com ร่วมกับมูลนิธิชุมชนไท,เครือข่ายชาวเล และสำนักข่าวชายขอบ จึงจัดระดมทุนเพื่อช่วยเหลือให้พวกเขาสามารถพยุงชีวิต ครอบครัว ให้ผ่านช่วงมรสุม ปีนี้ไปให้ได้ก่อน. นั่นคือการจัดหาข้าวสาร บ้านละ 3 กระสอบ (ประมาณ 150 กก.) หอม กะเทียม น้ำมัน น้ำปลา กะปิ พริก มีด เขียง ครก มีดพร้า. และอื่นๆ ตามที่จำเป็น สำหรับสมาชิกมอแกนเกาะสุรินทร์ 81 ครอบครัวอย่างเท่าๆกัน โดยทีมงานทั้งหมดจะลงไปบริจาคของทั้งหมด ในวันที่ 28 เมษายน 62 ตามกำหนดการนี้

รายงานการเงิน

เนื่องจากตอนที่ระดมทุนได้กำหนดค่าข้าวสารและค่าขนเฉลี่ยไว้ที่ 1500 ต่อกระสอบ แต่เมื่อจัดซื้อจริง ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าของกิจกรรมให้ในราคาทุนและค่าเรือนั่นได้ความอนุเคราะห์จากอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ที่ให้สนับสนุนแค่ค่าน้ำมันเท่านั้น ทำให้งบประมาณเหลือพอที่จะซื้อเสบียงและอื่นๆเพิ่มเติม เช่น ครก, มีด, กะปิ, เกลือ, น้ำตาล, พริกแห้ง, กระเทียม, น้ำตาล และน้ำมันพืช

อนึ่ง สำหรับหน้ามรสุมหรือวันปิดเกาะ จะอยู่ในช่วงวันที่ 16 พ.ค.-16 พ.ย. ของทุกปี


มอบข้าวและของแห้งให้เพื่อนมอแกน หมู่เกาะสุรินทร์เรียบร้อยแล้ว

30 April 2019

เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมาก่อนจะเข้าสู่หน้ามรสุมของทะเลฝั่นอันดามัน ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะทราบดีว่าเป็นช่วงปิดเกาะแก่งต่าง ๆ เนื่องจากมรสุมจะเข้า การเดินท่องเที่ยวก็อันตราย ขณะที่น้องชาวเกาะทั้งหลายก็เดินทางออกนอกเกาะและทำมาหากินลำบากเช่นกัน

เทใจดอทอคอม, มูลนิธิชุมชนไท,  เครือข่ายชาวเล, เตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรมอุทยานแห่งชาติ, สำนักข่าวชายขอบ และสื่อมวลชนได้ลงพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ เนื่องจากได้นำเงินบริจาคของทุกท่าน ไปซื้อข้าวสาร อาหารแห้งให้ชุมชนมอแกนไว้เป็นเสบียงในช่วงฤดูมรสุม เพราะเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาไฟได้ไหม้บ้านของพี่น้องไปกว่า 61 หลัง เงินทองที่เก็บไว้ซื้อของก็มอดไหม้ไปด้วย

การระดมทุนครั้งนี้ เราสามารถซื้อ ข้าวสาร 243 กระสอบ (กระสอบละ 50 กิโลกรัม, กะปิ 162กิโลกรัม, กระเทียม 200กิโลกรัม, หอมแดง 100 กิโลกรัม, น้ำมัน 243 ขวด พริกแห้ง 200 กิโลกรัม, น้ำปลา น้ำตาล เกลือ ไข่ ผลไม้ เครื่องครัว หม้อ กะทะ ครก มีด รวมกว่า 15 ตัน โดยทำการส่งมอบของทั้งหมดผ่านตัวแทนกรรมการชาวเลได้จัดสรรค์กับสมาชิกทั้ง 81 ครอบครัวอย่างละเท่าๆ กัน ซึ่งทำให้พี่น้องมอแกนจะสามารถใช้ชีวิตผ่านช่วงมรสุมนี้ไปได้

มอแกนเกาะสุรินทร์ฝากขอบคุณทุกผู้บริจาคทุกท่านที่มาช่วยให้ผ่านช่วงมรสุมไปได้

วันนี้เราเห็นแววตาแห่งความสุขที่มีบ้านใหม่ไว้หลบแดด หลบพายุจากฝีมือทหาร มีอาหารเป็นเสบียงในยามปิดเกาะที่ไม่สามารถทำงานได้

ขอบคุณน้ำใจของทุกท่าน

หมายเหตุ 

ชาวมอแกนเนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยาน จึงไม่สามารถประกอบอาชีพประมงเพื่อการค้าได้ ส่วนใหญ่จึงมีอาชีพรับจ้าง โดยทำงานที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ขับเรือนำเที่ยว ขณะที่เด็กและผู้หญิงขายของที่ระลึก ซึ่งงานเหล่านี้จะสามารถทำได้ในช่วงเปิดเกาะที่มีนักท่องเที่ยวมาเท่านั้น นั่นก็คือ ระหว่าง กลางพฤศจิกายนถึงกลางเมษายนของทุกปี 

เราขอนำภาพมาฝากทุกท่านกัน

บรรยายภาพ : รับมอบข้าวสาร อาหารแห้ง

บรรยายภาพ : ลงชื่อรับมอบของ

บรรยายภาพ : ระหว่างรอก็ร้องรำทำเพลงฉบับมอแกน 

บรรยายภาพ : ตัวแทนช่วยกันนำไข่ใส่ถุงให้แต่ละบ้าน 

บรรยายภาพ : พี่น้องช่วยกันแบกข้าวกลับบ้านไปเป็นเสบียง


Budget plan

ตารางที่ 1 : อัพเดทงบประมาณในการระดมทุนปัจจุบัน

โดยงบประมาณนี้ได้ทำการมัดจำเบื้องต้นแล้ว

รายการจำนวน/ครัวจำนวนรวมราคา/หน่วยราคารวม
1.ข้าวสาร 3 กระสอบ243950230,850
2.มีด1 เล่ม/ครัว61
23014,030
3.ครก1 ลูก/ครัว6138023,180
4.หัวหอมแดง1ก.ก.100353,500
5.กะปิ2ก.ก.165508,250
6.กระเทียม2.2ก.ก.200408,000
7.พริกแห้ง2ก.ก.20011022,000
8.เกลือ10 ถุง81021,620
9.น้ำมันพืช3 ขวด243307,290
10. น้ำตาล2 ก.ก.162254,050
11.ค่าขนส่งทางรถแลเรือ


25,000
12.ค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจ 


38,642
รวม

386,412


ตารางที่ 2 : งบประมาณในการระดมทุนช่วงขึ้นโครงการระยะแรก โดยใช้วิธีสืบราคาทาง online

รายการราคา (บาท)หน่วยรวมเป็นเงิน (บาท)
1.ข้าวสารสำหรับ 81 ครัวเรือนๆละ 3 กระสอบ1500 243364,500
2.ค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจโดยประมาณ

36,450
รวม

405,000