project กลุ่มคนเปราะบาง

"ร้านผ้าสร้างสุข" กองทุนคนชายขอบ

ดึงอาสาสมัครในพื้นที่ให้ร่วมบริหารจัดการผ้ามือสองและจำหน่ายเพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ในพื้นที่ โดยการส่งเสริมให้อาสาสมัครร่วมดูแลผู้ยากไร้ด้วย 

Duration 4 เดือน Area สงขลา

Current donation amount

34,300 THB

Target

30,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 114%
จำนวนผู้บริจาค 7

สำเร็จแล้ว

Project updates

"ผ้าสร้างสุข" ออกรายการ แลต๊ะแลใต้ ทาง TPBS

15 January 2018

เปิดรับบริจาคเสื้อผ้า คัดแยก และนำออกจำหน่าย กระบวนการนี้ ถูกนำมาใช้ใน "ผ้าสร้างสุข" ที่สร้างโอกาสให้แก่เด็กและผู้ยากไร้

มารู้จักกับพวกเขามากขึ้นในรายการแลต๊ะแลใต้ ออกอากาศเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2561 ทางช่อง Thai PBS

ติดตามพวกเขาได้ที่ Facebook: ผ้าสร้างสุข
Read more »
See all project updates

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

ยังมีประชาชนกลุ่มคนชายขอบ หรือผู้ขาดโอกาสอีกมากที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น เด็กเรียนดีแต่ขาดทุน ผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล

ในขณะเดียวกัน ยังมีกลุ่มผู้มีจิตอาสาอีกมากที่ต้องการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้อื่นให้ดีขึ้น แต่กลุ่มนี้ก็ยังขาดโอกาส ช่องทางหรือทักษะที่เหมาะสม

การจะทำให้คนสองกลุ่มนี้ได้พบและช่วยเหลือกัน จำเป็นต้องมีกระบวนการสนับสนุนที่ดี 

ร้านผ้าสร้างสุข ต้องการเข้ามาตอบโจทย์นี้ โดยหวังว่าจะใช้กระบวนการบริหารจัดการผ้ามือสองก่อให้เกิดรายได้
การทำงานของเราจะเริ่มจากพัฒนาอาสาสมัครในพื้นที่ให้ร่วมกันบริหารจัดการผ้ามือสอง ตั้งแต่การรับบริจาค คัดเลือกและจำแนกผ้า ซ่อมแซม แปรรูป พร้อมทั้งจำหน่ายผ้ามือสองผ่านช่องทางต่าง ๆ  รายได้ที่เกิดขึ้นจะนำไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ในพื้นที่ และที่สำคัญเราต้องการส่งเสริมให้อาสาสมัครร่วมดูแลผู้ยากไร้ให้เข้าร่วมกับกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้ "ร้านผ้าสร้างสุข" เป็นองค์กรที่มั่นคง สามารถนำพลังของอาสาสมัครมาเป็นกำลังสำคัญต่อการดูแลผู้ยากไร้ได้อย่างยั่งยืน โดยแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนกลุ่มชายขอบ ประกอบด้วย

แนวทางแรก :   สนับสนุนทุนการศึกษารายปีแก่นักเรียนเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนการศึกษา
แนวทางที่สอง : ดูแลหรือประสานงานเพื่อช่วยเหลือผู้พิการหรือผู้สูงอายุ
แนวทางที่สาม : สนับสนุนการพัฒนาอาชีพแก่ครอบครัวยากจน
แต่การริเริ่มให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นต้องได้รับการสนับสนุนจากท่าน ทั้งในเรื่องกระบวนการบริหารผ้ามือสองจำนวนมาก การอบรมอาสาสมัครกลุ่มแรก ๆ รวมทั้งการเปิดร้าน
"ช่วยเรา เราจะช่วยให้กลุ่มคนชายขอบและผู้ยากไร้ ได้ลืมตาอ้าปากและเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองต่อไป" 

ประโยชน์ของโครงการ :

- ร่วมสร้างองค์กร (ร้านผ้าสร้างสุข) ให้เป็นที่พึ่งพาของผู้ยากไร้
- สร้างและพัฒนากระบวนการบริหารงานอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ และยั่งยืนไม่รู้จบ
- พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ยากไร้ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เป็นภาระของสังคม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร
- พัฒนาให้ "ร้านผ้าสร้างสุข" เป็นศูนย์รวมข่าวสารและกลุ่มคนอาสาสมัครในพื้นที่

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.  จัดตั้งคณะทำงาน (ที่ปรึกษา คณะกรรมการ) ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคประชาสังคม เอกชน องค์กรจิตอาสา และประชาชนทั่วไป ร่วมขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานของศูนย์
2.  ร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินงานทั้งในระสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
3.   รับสมัครอาสาสมัคร และจัดกระบวนการอบรมอาสาสมัคร ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการผ้ามือสอง และในส่วนกิจการเพื่อสังคม (ช่วยเหลือกลุ่มชายขอบ)
- การรับบริจาคและการขนย้ายผ้ามือสอง
- การคัดเลือก การกำหนดราคาผ้า
- การซ่อมแซม และการแปรรูปผ้ามือสองเป็นสินค้าอื่น เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้านวม ผ้าเช็ดเท้า เพื่อเพิ่มมูลค่า
- อาสาสมัครจำหน่ายผ้าประจำร้าน และการออกร้านผ้ามือสองสัญจร
- การคัดเลือกผู้ยากไร้เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
- การเยี่ยมเยียนและร่วมดูแลผู้ยากไร้โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร เช่น การพัฒนาความสะอาดที่พัก การดูแลสุขอนามัยของผู้ยากไร้  และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมสุขภาพชีวิตผู้ยากไร้
4.  เปิดระดมเสื้อผ้ามือสอง จัดจำแนกแยกประเภท ทำความสะอาดหรือซ่อมแซมเพื่อพร้อมจำหน่าย
5.  จัดจำหน่ายผ้ามือสองผ่านร้านผ้าสร้างสุข ทั้งในร้านหลัก และสาขาย่อยในชุมชนหรือในสถานศึกษา โดยอาสาสมัครมีส่วนร่วม
6.  ระดมรายได้เข้า “กองทุนผ้าสร้างสุข” และบริหารรายได้เพื่อใช้ช่วยเหลือประชาชนกลุ่มชายขอบที่ได้รับการคัดเลือก
7.  สนับสนุนทุนช่วยเหลือกลุ่มชายขอบ พร้อมติดตาม ช่วยเหลือ และประเมินผล
8.  สนับสนุนกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการพัฒนากิจกรรมจิตอาสาในพื้นที่
9.  ถอดบทเรียนการดำเนินงาน และประเมินผลโครงการ
10.   เผยแพร่การดำเนินงานผ่านสื่อมวลชนและสื่อสาธารณะ
ติดตามความก้าวหน้าโครงการได้ที่ facebook fanpage : ผ้าสร้างสุข

คำจำกัดความ

- กลุ่มชายขอบ หมาย ถึง ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ หรือบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น เด็กกำพร้า เด็กเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนการศึกษา ผู้พิการยากจน ครอบครัวยากจน

- ในพื้นที่ หมายถึง ในพื้นที่จังหวัดสงขลา

กลุ่มเป้าหมาย (ต่อปี)

1.  สนับสนุนหรือช่วยเหลือประชาชนกลุ่มชายขอบในพื้นที่ จำนวน 20 ราย

2. อาสาสมัครได้รับการพัฒนาและมีส่วนร่วม : นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป 200 คน

3. สนับสนุนการดำเนินงานด้านจิตอาสาแก่กลุ่มอาสาสมัคร จำนวน 10 กลุ่ม/กิจกรรม

สมาชิกภายในทีม :

คุณนิพนธ์ รัตนาคม  หัวหน้าสำนักงาน สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ สงขลา โทร. 0869608334 อีเมล์  nipon.rdh@gmail.com facebook : tum.nipon

คุณวัลภา ฐาน์กาญจน์ ผู้จัดการโครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ สงขลา โทร. 0817382203 อีเมล์ t.wallapa@gmail.com

คุณกมลทิพย์ อินทะโณ มูลนิธิชุมชนสงขลา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร. 0869554909  อีเมล์ cic.ska@gmail.com  

ภาคี :

โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มูลนิธิชุมชนสงขลา
มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้
ร้าน AD2 หาดใหญ่

 

ขอขอบคุณภาพจาก http://bargainbabe.com/

ความประทับใจจากเจ้าของโครงการ"ร้านผ้าสร้างสุข" กองทุนคนชายขอบ

3 March 2016

"ร้านผ้าสร้างสุข" กองทุนคนชายขอบ โดยคุณนิพนธ์ รัตนาคม การทำงานของเราจะเริ่มจากพัฒนาอาสาสมัครในพื้นที่ให้ร่วมกันบริหารจัดการผ้ามือสอง ตั้งแต่การรับบริจาค คัดเลือกและจำแนกผ้า ซ่อมแซม แปรรูป พร้อมทั้งจำหน่ายผ้ามือสองผ่านช่องทางต่าง ๆ รายได้ที่เกิดขึ้นจะนำไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ในพื้นที่ และที่สำคัญเราต้องการส่งเสริมให้อาสาสมัครร่วมดูแลผู้ยากไร้ให้เข้าร่วมกับกิจกรรมดังกล่าว เพื่อให้ "ร้านผ้าสร้างสุข" เป็นองค์กรที่มั่นคง สามารถนำพลังของอาสาสมัครมาเป็นกำลังสำคัญต่อการดูแลผู้ยากไร้ได้อย่างยั่งยืน โดยแนวทางการนำรายได้จากการจำหน่ายผ้าไปสนับสนุนให้ความช่วยเหลือประชาชนกลุ่มชายขอบ ประกอบด้วย
แนวทางแรก :   สนับสนุนทุนการศึกษารายปีแก่นักเรียนเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนการศึกษา
แนวทางที่สอง : ดูแลหรือประสานงานเพื่อช่วยเหลือผู้พิการหรือผู้สูงอายุ
แนวทางที่สาม : สนับสนุนการพัฒนาอาชีพแก่ครอบครัวยากจน
 
แต่การริเริ่มให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นต้องได้รับการสนับสนุนจากท่าน ทั้งในเรื่องกระบวนการบริหารผ้ามือสองจำนวนมาก การอบรมอาสาสมัครกลุ่มแรก ๆ รวมทั้งการเปิดร้าน
"ช่วยเรา เราจะช่วยให้กลุ่มคนชายขอบและผู้ยากไร้ ได้ลืมตาอ้าปากและเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองต่อไป" 
 
ความประทับใจ
"ขอขอบคุณผู้สนับสนุนและทีมงานเทใจทุกท่านที่ช่วยให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ และระดมทุนจนได้ครบตามเป้าหมาย เป็นกำลังใจให้กับคนทำงานอาสาตัวเล็ก ๆ ในพื้นที่อย่างมากครับ
ในขณะนี้ ทางโครงการได้เริ่มรับบริจาคผ้ามือสองแล้ว พร้อมทั้งเริ่มตกแต่งร้านเพื่อให้พร้อมเปิดดำเนินการในวันที่ 18 มีนาคมนี้ พร้อมทั้งจะเริ่มรับอาสาสมัครเข้ามารับการอบรมต่อไป
ทีมงานยังมีแนวคิดใหม่ ๆ เช่น การรับบริจาคเสื้อผ้านักเรียน เพื่อจำหน่ายในช่วงเปิดเทอม ลดภาระให้กับผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยอีกด้วยครับ
การสนับสนุนให้โครงการผ้าสร้างสุข กองทุนเพื่อคนขายขอบได้เริ่มต้นอย่างมั่นคงในครั้งนี้ จะช่วยให้เกิดความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เกิดกิจกรรมและกลุ่มอาสาสมัครใหม่ ๆ ต่อเนื่องไปไม่รู้จบครับ"
 
ขอบคุณเป็นอย่างสูง
 
นิพนธ์ รัตนาคม
โครงการผ้าสร้างสุข

ความคืบหน้าโครงการ "ร้านผ้าสร้างสุข" กองทุนคนชายขอบ

30 September 2016

หลังจากได้รับเงินสนับสนุนจากผู้มีอุปการะผ่านเวบเทใจดอทคอม โครงการผ้าสร้างสุขได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา ตั้งแต่การประชุมคณะทำงาน จัดหาพื้นที่สำหรับจัดเก็บผ้า รับสมัครอาสาสมัคร รับบริจาคผ้ามือสอง จัดอบรมอาสาสมัครและจัดกิจกรรมคัดแยกผ้ามือสอง จัดจำหน่ายผ้ามือสอง และการสนับสนุนกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ขอสรุปการดำเนินงานแยกเป็นแต่ละด้าน ดังนี้
 
ด้านการรับบริจาคเสื้อผ้ามือสอง
โครงการฯ ได้ประชาสัมพันธ์ขอรับบริจาคเสื้อผ้ามือสองอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งไวนิล และโซเชียลออนไลน์ จนได้รับเสื้อผ้าจากทั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลา และส่งผ่านบริการไปรษณีย์จากทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนทั้งในพื้นที่สงขลาและต่างจังหวัดร่วมเป็นจุดรับบริจาครวม 12 แห่ง ปริมาณเสื้อผ้าจำนวนมากทำให้โครงการฯ จัดหา (เช่า) อาคารพาณิชย์เพื่อเป็นโกดังในการรวบรวมและคัดแยกผ้า
ด้านการมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร
โครงการฯ ได้กำหนดให้มีอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมตลอดกระบวนการดำเนินงาน ตั้งแต่การร่วมเป็นจุดรับบริจาคเสื้อผ้า การอบรมอาสาสมัคร บริจาคผ้า ร่วมคัดแยกเสื้อผ้า จำหน่ายสินค้า รวมถึงการเยี่ยมชุมชน/ผู้ยากไร้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า อาสาสมัครชื่นชอบกิจกรรมคัดแยกผ้ามากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความสนุกและมีส่วนร่วมง่าย ไม่ต้องใช้ทักษะมาก นักศึกษาจะเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด โดยส่วนมากจะมาเป็นทีมเพื่อนในกลุ่มเดียวกัน ล่าสุด มีอาสาสมัครมาเข้าร่วมกระบวนการมากกว่า 100 คน
 
การจำหน่ายเสื้อผ้ามือสอง
โครงการฯ มีพื้นที่จำหน่ายผ้ามือสองใน 2 แห่ง ได้แก่ ตลาดไอ-สไตล์ ไนท์ มาร์เกต ใกล้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในทุกวันจันทร์และอังคาร และถนนคนเดินมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี นอกจากนี้ ยังได้รับการอนุเคราะห์พื้นที่ในตลาดซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้เข้าไปจำหน่ายสินค้าเป็นครั้งคราว โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ 1 คน และอาสาสมัครร่วมกันเป็นพนักงานขายประจำร้าน ยอดขายเฉลี่ยต่อครั้งประมาณ 1,000 บาท
 
 
ด้านการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ยากไร้
โครงการฯ มีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้หลากหลายรูปแบบ ประเภทของผ้าที่ได้รับการบริจาค มีหลากหลายประเภท รวมทั้งกระเป๋า รองเท้า ซึ่งอาสาสมัครจะจัดการคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามระบบที่วางไว้ โดยเสื้อผ้าบางส่วนจะนำไปจำหน่ายเพื่อหารายได้ ในขณะที่เสื้อผ้าแต่ละประเภทจะถูกนำไปส่งต่อให้กับกลุ่มคนที่เหมาะสม เช่น เสื้อผ้านักเรียนจะถูกนำไปมอบให้กับนักเรียนที่มีฐานะยากจน เสื้อผ้าผู้สูงอายุจะถูกนำไปมอบให้กับผู้ป่วยยากไร้สูงอายุที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน หรือเสื้อผ้าบางส่วนจะถูกคัดแยกไว้เพื่อใช้ในกรณีช่วยเหลือเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ
 
สำหรับการนำรายได้ไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ เช่น การมอบทุนการศึกษา รวม 9 ทุน การเยี่ยมครอบครัวผู้ที่มีความเดือดร้อน จำนวน 5 ครอบครัว และการช่วยเหลือทุนยังชีพแก่ครอบครัวเด็กทารกป่วย 1 ครอบครัว รวมแล้วใช้งบประมาณทั้งหมดราว 12,000 บาท คิดเป็น 15% ของรายได้รวมจากการจำหน่ายสินค้า
 
ปัญหาและอุปสรรค
1. โครงการฯ เพิ่มเริ่ม ยังขาดทุนทรัพย์ในการเปิดร้านประจำที่มีที่ตั้งถาวรได้ การเดินสายจำหน่ายในตลาดช่วงคํ่าทำให้ไม่มีลูกค้าประจำ และไม่เอื้อให้อาสาสมัครมาร่วมเป็นพนักงานขายอาสาเท่าที่ควร
2. เสื้อผ้าบางส่วนที่ได้รับบริจาคชำรุด ไม่สามารถจำหน่ายหรือไม่เหมาะต่อการนำไปใช้ต่อได้ ซึ่งโครงการฯ ยังไม่พร้อมต่อการนำผ้าดังกล่าวไปแปรรูป เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และทุนทรัพย์
3. โครงการฯ ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก ดังนั้น การทำงานช่วยเหลือสังคมต้องร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อลดความกังวลของชาวบ้านหรือชุมชน
 
แนวทางการดำเนินงานในอนาคต
โครงการฯ มีแผนจัดกิจกรรมหรือแคมเปญใหม่ ๆ เช่น
1. การส่งเสริมการใช้ถุงผ้าหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนและร้านค้าเข้าใจและรู้จักการใช้ถุงผ้าให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยโครงการฯ จะเป็นตัวกลางในการรับบริจาคและกระจายถุงผ้าไปยังผู้ค้า/ตลาด
2. ส่งเสริมให้ผู้ยากไร้รับเสื้อผ้าจากโครงการฯ ไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งทางโครงการจะขายส่งในราคาพิเศษสุด พร้อมทั้งสนับสนุนในเรื่องการวางแผนการขายในชุมชนด้วย
3. ขอรับบริจาคสินค้าประเภทพิเศษโดยเฉพาะมากขึ้น เช่น กระเป๋าเดินทาง รองเท้า หมวก เสื้อคลุม เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้บริจาคได้นำมาบริจาคอย่างต่อเนื่อง
4. ร่วมกับเครือข่ายจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เช่น การแปรรูปเสื้อผ้า เป็นกระเป๋าผ้า หรือผ้าเช็ดเท้า แก่ประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งส่งเสริมการแปรรูปผ้ามือสองให้เป็นสินค้าอื่น เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าม่าน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดเท้า เพื่อเพิ่มโอกาสการจำหน่ายและเพิ่มมูลค่า
6. มอบเสื้อผ้าเด็กและของเล่นเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี 2560
7. สร้างภาพลักษณ์ของโครงการและประชาสัมพันธ์ให้โครงการเป็นที่รู้จักมากขึ้น
 
คุณนิพนธ์ รัตนาคม  
หัวหน้าสำนักงาน สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร. 086-9608334 
 

"ผ้าสร้างสุข" ออกรายการ แลต๊ะแลใต้ ทาง TPBS

15 January 2018

เปิดรับบริจาคเสื้อผ้า คัดแยก และนำออกจำหน่าย กระบวนการนี้ ถูกนำมาใช้ใน "ผ้าสร้างสุข" ที่สร้างโอกาสให้แก่เด็กและผู้ยากไร้

มารู้จักกับพวกเขามากขึ้นในรายการแลต๊ะแลใต้ ออกอากาศเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2561 ทางช่อง Thai PBS

ติดตามพวกเขาได้ที่ Facebook: ผ้าสร้างสุข

Budget plan

 
รายการจำนวนราคารวม (บาท)
1. จัดประชุมคณะที่ปรึกษาและคณะทำงาน 3 ครั้ง -
2.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครอาสาสมัคร และรับบริจาคผ้ามือสอง20 ชุด5,000
3. จัดทำเอกสารคู่มือความรู้สำหรับอาสาสมัคร200 ชุด10,000

4. จัดกิจกรรมอบรมอาสาสมัคร (ค่าที่พัก ค่าวิทยากร ค่าอาหาร ฯลฯ)

- การรับบริจาคและการขนย้ายผ้ามือสอง
- การคัดเลือก การกำหนดราคาผ้า
- การซ่อมแซม และการแปรรูปผ้ามือสองเป็นสินค้าอื่น
- อาสาสมัครจำหน่ายผ้าประจำร้าน และการออกร้านผ้ามือสองสัญจร
2 รุ่น20,000
5.สนับสนุนค่าเดินทางอาสาสมัครสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคม 5,000
6. ประชุมติดตาม ประเมินผล หรือถอดบทเรียนการดำเนินงาน  5,000
7. เผยแพร่การดำเนินงานผ่านสื่อมวลชนและสื่อสาธารณะ -
8. อื่นๆ 5,000
รวมทั้งหมด 46,000
*หมายเหตุ ทางเทใจร่วมระดมทุนในจำนวน 30,000 บาท