project Covid-19 กลุ่มคนเปราะบาง

มอบระบบสื่อสารทางไกล ช่วยแพทย์พยาบาลปลอดภัยจากเชื้อโควิดในโรงพยาบาล 20 แห่ง ทั่วประเทศ

แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ คือผู้ที่ต้องรับศึกหนักที่สุดในช่วงวิกฤตการระบาดของโควิด-19 เพราะมีความเสี่ยงสูงจากการดูแลผู้ติดเชื้อ มีหลายกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องถูกกักตัว ทำให้จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดอยู่แล้ว ต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า เราทุกคนสามารถช่วยพวกเขาได้ ด้วยการร่วมสมทบทุนซื้อระบบสื่อสารทางไกล “ไข่ต้ม Hospital” เพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ทำหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย ด้วยการเว้นระยะห่างจากคนไข้ และลดการสัมผัสใกล้ชิด ในโรงพยาบาลเป้าหมาย 20 แห่ง ทั่วประเทศ

Duration ส่งมอบวันที่ 20 - 27 ก.ย. 2564 Area ทั่วประเทศ

Current donation amount

361,600 THB

Target

2,049,300 THB
ดำเนินการไปแล้ว 18%
จำนวนผู้บริจาค 415

สำเร็จแล้ว

Project updates

บ.โอโบดรอยด์ส่งมอบระบบสื่อสารทางไกลให้กับ 7 โรงพยาบาลแล้ว

1 December 2021

    จากโครงการเทใจสู้ภัยโควิด-19 ร่วมระดมทุนเพื่อจัดซื้อแท็บเล็ตพร้อมระบบสื่อสารทางไกลหรือระบบ Kaitomm Hospital เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่เกิดจากการที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องใกล้กับผู้ป่วยตลอดเวลา เป็นการใช้ Telemedicine เพื่อสื่อสารและตรวจอาการของคนไข้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปพบผู้ป่วยด้วยตัวเอง โดยจะจัดส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ดังนี้



1. โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จำนวน 4 เครื่อง

2. โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 3 เครื่อง

3. โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน จำนวน 3 เครื่อง

4. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จำนวน 6 เครื่อง

5. โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี จำนวน 3 เครื่อง

6. โรงพยาบาลหัวหิน จำนวน 3 เครื่อง

7. โรงพยาบาลบางเลน จำนวน 2 เครื่อง

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์

พญ.เฟื่องสิริ ต่อดำรงค์ ตำแหน่งแพทย์ประจำโรงพยาบาลหัวหิน

ระบบสื่อสารทางไกล Kaitomm Hospital ได้นำมาใช้งานในห้อง ER หรือ ICU เพื่อเป็น CCTV และตรวจอาการคนไข้ระหว่างที่คนไข้อยู่ภายในห้อง ทำให้แพทย์และพยาบาลทำงานสะดวกขึ้น ไม่ต้องเข้าไปในห้องคนไข้ทุกครั้งและส่อสารกับคนไข้สะดวกมากขึ้น

ผศ.ดร.นพ.สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ ตำแหน่งแพทย์ประจำโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

ระบบสื่อสารทางไกล Kaitomm Hospital ได้นำมาใช้งานในห้องพักคนไข้โควิด-19 เพื่อสื่อสารกับคนไข้ รวมถึงทำให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปในห้องสามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายนอกได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จึงไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปเสี่ยงกับการติดเชื้อ งานจึงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นพ.ทศพร โมระเสริฐ ตำแหน่งแพทย์ประจำโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ระบบสื่อสารทางไกล Kaitomm Hospital ได้นำมาใช้งานในห้องพักคนไข้โควิด-19 หรือวอร์ด ER เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ยังไม่คลี่คลาย จึงนำมาใช้งานเพื่อเป็น CCTV ภายในห้องคนไข้ สื่อสารกับคนไข้หรือสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ภายนอกห้องกับภายในห้อง แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จึงทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังไม่ต้องแลกข้อมูลติดต่อส่วนตัวกับคนไข้อีกด้วย
Read more »
See all project updates

แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ คือผู้ที่ต้องรับศึกหนักที่สุดในช่วงวิกฤตการระบาดของโควิด-19 เพราะมีความเสี่ยงสูงจากการดูแลผู้ติดเชื้อ มีหลายกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องถูกกักตัว ทำให้จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดอยู่แล้ว ต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า เราทุกคนสามารถช่วยพวกเขาได้ ด้วยการร่วมสมทบทุนซื้อระบบสื่อสารทางไกล “ไข่ต้ม Hospital” เพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ทำหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย ด้วยการเว้นระยะห่างจากคนไข้ และลดการสัมผัสใกล้ชิด ในโรงพยาบาลเป้าหมาย 20 แห่ง ทั่วประเทศ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง มีการแพร่กระจายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก หากยังไม่สามารถช่วยกันควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อได้ จำนวนผู้ป่วยสะสมจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนเกินศักยภาพของระบบสาธารณสุขของชาติที่จะรับมือดูแลได้



มีรายงานว่า

บุคคลากรทางการแพทย์ที่มีการติดเชื้อ หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อ ต้องรับการรักษาตัว หรือถูกกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน โดยเฉพาะพยาบาลมีจำนวนเฉลี่ยโรงพยาบาลละ 20-30 คน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีโรงพยาบาลที่ต้องกักตัวพยาบาล 17 แห่ง และโรงพยาบาลที่มีพยาบาลถูกกักตัวมากที่สุด มีจำนวนถึง 78 คน ทำให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งขาดแคลนกำลังคนมากยิ่งขึ้น สัดส่วนในการดูแลผู้ป่วย จากเดิมพยาบาล 1 คนต่อผู้ป่วย 20 เตียง ต้องเพิ่มเป็นพยาบาล 1 คนต่อผู้ป่วยในบางแห่งถึง 100 เตียง ข้อมูลอ้างอิงจากแพทยสภา วันที่ 29 เม.ย. 64




เพื่อเป็นการช่วยเหลือบุคลากรการแพทย์ ผู้ซึ่งเป็นทัพหน้า บริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้พัฒนานวัตกรรม “ระบบสื่อสารทางไกลไข่ต้ม Hospital” อุปกรณ์ที่จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ทำหน้าที่ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการเว้นระยะห่างจากผู้ป่วย และลดการสัมผัสใกล้ชิด เช่นการซักประวัติผู้ป่วยหรือติดต่อสื่อสารระหว่างรักษาตัว เป็น CCTV ในการมอนิเตอร์คนไข้ อีกทั้งยังช่วยเชื่อมต่อการทำงานและการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์ในแผนกต่างๆ ให้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับผู้ป่วยก็สามารถติดต่อบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่ายและสะดวกขึ้น




ที่ผ่านมาเราได้มีส่งต่อการ “ระบบสื่อสารทางไกลไข่ต้มHospital” และได้ถูกนำไปใช้งานในห้องฉุกเฉิน, ห้องแยกโรค, ห้อง/เต๊นท์ Negative, หอผู้ป่วยรวม, ห้องผ่าตัด, หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต (ICU), โรงพยาบาลสนาม ฯลฯ อยู่กว่า 80โรงพยาบาลทั่วประเทศ



ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

บริษัทโอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จะนำงบประมาณที่ได้ไปจัดซื้อระบบสื่อสารทางไกล “ไข่ต้มHospital” เพื่อจัดส่งให้กับโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลสนามที่มีความต้องการสูง 20 แห่งทั่วประเทศ โดยจัดสรรให้เฉลี่ยประมาณแห่งละ 5 เครื่อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและจำนวนเจ้าหน้าที่และคนไข้ของแต่ละโรงพยาบาล เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังรายชื่อในตารางต่อไปนี้ นอกจากนี้ทางบริษัทฯจะทำการติดตั้งระบบ พร้อมแนะนำวิธีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายชื่อโรงพยาบาลดังนี้ 



**หมายเหตุ จำนวนเครื่องต่อโรงพยาบาลอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการของแต่ละโรงพยาบาลและจำนวนเงินที่ระดมทุนได้ 



ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์



บริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์บริการและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) ได้ผลิตหุ่นยนต์และsoftware หลายชนิด เช่นหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย หุ่นยนต์เพื่อนผู้สูงอายุ หุ่นยนต์ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ เป็นต้น ในระหว่างสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 1 บริษัทได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CU-RoboCovid พัฒนาอุปกรณ์แท็บเล็ตพร้อมระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” และร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ส่งของ “ปิ่นโต” และดูแลระบบให้เสถียรและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมามีอุปกรณ์แท็บเล็ตที่อยู่ในการดูแล 1,057 เครื่องใน 132 โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ

ต่อมาในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 2 ทางบริษัทได้ศึกษาปัญหาและความต้องการของบุคคลากรการแพทย์เพื่อนำมาพัฒนาระบบสื่อสารทางไกล “ไข่ต้มHospital” ที่สามารถใช้งานได้สะดวกและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย สะดวก มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันระบบสื่อสารทางไกล "ไข่ต้มHospital" นี้ถูกนำไปใช้งานในห้องฉุกเฉิน, ห้องแยกโรค, ห้อง/เต๊นท์ Negative, หอผู้ป่วยรวม, ห้องผ่าตัด, หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต (ICU), โรงพยาบาลสนาม ฯลฯ โดยมีการใช้งานอุปกรณ์นี้ อยู่กว่า 80 โรงพยาบาลทั่วประเทศ



บ.โอโบดรอยด์ส่งมอบระบบสื่อสารทางไกลให้กับ 7 โรงพยาบาลแล้ว

1 December 2021

    จากโครงการเทใจสู้ภัยโควิด-19 ร่วมระดมทุนเพื่อจัดซื้อแท็บเล็ตพร้อมระบบสื่อสารทางไกลหรือระบบ Kaitomm Hospital เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่เกิดจากการที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องใกล้กับผู้ป่วยตลอดเวลา เป็นการใช้ Telemedicine เพื่อสื่อสารและตรวจอาการของคนไข้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปพบผู้ป่วยด้วยตัวเอง โดยจะจัดส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ดังนี้



1. โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จำนวน 4 เครื่อง

2. โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 3 เครื่อง

3. โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน จำนวน 3 เครื่อง

4. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จำนวน 6 เครื่อง

5. โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี จำนวน 3 เครื่อง

6. โรงพยาบาลหัวหิน จำนวน 3 เครื่อง

7. โรงพยาบาลบางเลน จำนวน 2 เครื่อง

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์

พญ.เฟื่องสิริ ต่อดำรงค์ ตำแหน่งแพทย์ประจำโรงพยาบาลหัวหิน

ระบบสื่อสารทางไกล Kaitomm Hospital ได้นำมาใช้งานในห้อง ER หรือ ICU เพื่อเป็น CCTV และตรวจอาการคนไข้ระหว่างที่คนไข้อยู่ภายในห้อง ทำให้แพทย์และพยาบาลทำงานสะดวกขึ้น ไม่ต้องเข้าไปในห้องคนไข้ทุกครั้งและส่อสารกับคนไข้สะดวกมากขึ้น

ผศ.ดร.นพ.สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ ตำแหน่งแพทย์ประจำโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

ระบบสื่อสารทางไกล Kaitomm Hospital ได้นำมาใช้งานในห้องพักคนไข้โควิด-19 เพื่อสื่อสารกับคนไข้ รวมถึงทำให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปในห้องสามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายนอกได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จึงไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปเสี่ยงกับการติดเชื้อ งานจึงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นพ.ทศพร โมระเสริฐ ตำแหน่งแพทย์ประจำโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ระบบสื่อสารทางไกล Kaitomm Hospital ได้นำมาใช้งานในห้องพักคนไข้โควิด-19 หรือวอร์ด ER เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ยังไม่คลี่คลาย จึงนำมาใช้งานเพื่อเป็น CCTV ภายในห้องคนไข้ สื่อสารกับคนไข้หรือสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ภายนอกห้องกับภายในห้อง แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จึงทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังไม่ต้องแลกข้อมูลติดต่อส่วนตัวกับคนไข้อีกด้วย

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าเครื่อง tablet พร้อมระบบ เครื่องละ 27,000 บาท 69 1,863,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
1,863,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
186,300.00

ยอดระดมทุน
2,049,300.00