project เด็กและเยาวชน

ที่นี่...มีเด็กหาย

เมื่อเด็กหายไม่อยู่ในความทรงจำนั่นอาจหมายรวมถึงการไม่อยู่ในความใส่ใจที่จะติดตามหา ป้ายขนาดใหญ่ ประกาศตามหาตัวเด็กชายวัย 5 ขวบ เป็นสัญลักษณ์ ณ จุดยุทธศาสตร์ใจกลางสนามบินขอนแก่น เพื่อย้ำเตือนว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย”

Duration กรกฏาคม 2560 – มกราคม 2561 Area จังหวัดขอนแก่น

Current donation amount

340,950 THB

Target

340,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 73

สำเร็จแล้ว

Project updates

ติดตั้งป้ายประกาศหาเด็กหาย 36 ป้าย

10 December 2017

เมื่อเด็กที่หายไปนาน ไม่อยู่ในความทรงจำ นั่นอาจหมายถึงการไม่อยู่ในความใส่ใจของกระบวนการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามหา  

ป้ายประกาศตามหาเด็กชายวัย 5 ขวบ ที่หายออกจากบ้านไปนานร่วมปี จึงปักขึ้นใจกลางเมืองของจังหวัดที่เด็กคนนั้นหายไป เพื่อประกาศให้สังคมและผู้มีหน้าที่ ยังจดจำได้ว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย” 

แรกเริ่มเดิมที แคมเปญ “ที่นี่...มีเด็กหาย” ตั้งใจจะทำป้ายตามหาเด็กหายขนาดใหญ่ ที่สนามบินขอนแก่น จุดยุทธศาสตร์หลักของจังหวัดที่ผู้หลักผู้ใหญ่จะได้มองเห็นและจำได้ว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย” แต่ด้วยระยะเวลาของการระดมทุนนานหลายเดือน ทำให้ป้ายโฆษณาดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเด่นที่สุดในสนามบิน ได้ถูกซื้อโฆษณาไปในระหว่างที่โครงการกำลังระดมทุนอยู่ นี่เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ทีมงานต้องลงไปเซอร์เวย์พื้นที่อีกรอบ และเลือกที่จะทำป้ายเพิ่มขึ้น และกระจายตัวในหลายพื้นที่ รวมทั้งการติดตั้งบิลบอร์ดถาวรในพื้นที่อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น จุดที่เด็กหายตัวไปด้วย 

จากแคมเปญ เริ่มต้นเพียง 1 ป้าย ถูกขยายเป็น 36 ป้าย เพื่อปักหมุดหมาย ว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย”


1.ป้ายติดเสาไฟฟ้า ขนาด 120x80ซม. จำนวน 30 ป้าย ติดตั้งทั่วตัวเมืองขอนแก่นในถนนสายหลัก ระยะเวลา 3 เดือน


2.ป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ขนาด 12x12 เมตร ตั้งอยู่ที่ริมถนนเดียวกับสถานีขนส่งและศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ระยะเวลา 3 เดือน


3.ป้ายบิลบอร์ด ขนาด 3x6เมตร (ขึ้นโครงป้ายใหม่) บริเวณตัวอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น จุดที่เด็กหายตัวไป จำนวน 3 ป้าย ระยะเวลา 1 ปี โดยหลังจาก 1 ปี หรือเมื่อป้ายชำรุดมูลนิธิกระจกเงา จะทำการปรับปรุงป้ายโดยตลอดจนกว่าจะพบตัวเด็ก



4.จอแอลอีดี บริเวณแยกสามเหลี่ยม กลางเมืองขอนแก่น ระยะเวลา 3 เดือน

5.จอแอลอีดี บริเวณแยกรื่นรมย์ กลางเมืองขอนแก่น ระยะเวลา 3 เดือน


ปัจจุบันป้ายทั้งหมดได้รับการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของภาคประชาสังคม ในการย้ำเตือนว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย” และป้ายนี้จะได้ทำหน้าที่หาเบาะแสสำคัญ ร่วมถึงสร้างความตระหนักของสังคมต่อปัญหาเด็กหาย...


ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกัน”เทใจ”เพื่อตามหาเด็กหายครับ

Read more »
See all project updates

ปัญหาเด็กหายเกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาสาธารณะที่ควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัญหาสังคมอื่น และในทุก ๆ 24 ชั่วโมง จะมีเด็กไม่น้อยกว่า 2 คนหายออกจากบ้าน ใน 1 เดือนจึงมีเด็กมากกว่า 50 คนที่ครอบครัวกำลังติดตามหา

การหายตัวไปของเด็กในปัจจุบัน โดยเฉพาะการถูกลักพาตัว คนร้ายมักนำเด็กไปเพื่อกระทำทางเพศ การนำไปแสวงหาประโยชน์ทั้งทางเพศและแรงงาน ตลอดจนในระยะหลังคนร้ายมีแนวโน้มในการฆาตกรรมเด็กหลังจากกระทำทางเพศแล้วเพื่อฆ่าปิดปาก ดังนั้น เด็กที่ถูกลักพาตัว จึงตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตราย


เด็กชายธวรรชน์ แก้วตา หรือน้องอั้ม อายุ 5 ปี หายตัวไปอย่างลึกลับภายในหมู่บ้านหัวขัว ตำบลเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า 1 ปีเศษ ที่ยังไม่ทราบเบาะแสการหายตัวไปของน้องอั้ม ครอบครัวของน้องอั้มที่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป หาเช้ากินค่ำ ไม่มีมูลค่าทางสังคมเพียงพอที่หน่วยงานภาครัฐจะทุ่มเทสรรพกำลังในการติดตามหาตัวเด็กชายคนนี้

เด็กหายคล้ายเพียงปุยนุ่น เรื่องราวของเขาแผ่วเบามากในพื้นที่ เมื่อไม่เด่นไม่ดัง ก็ยากที่ใครจะหันหลังมามอง เชื่อว่าถึงตอนนี้น้อยคนที่จะจำได้ว่าเด็กชายคนนี้หายตัวไปในพื้นที่

ด้วยที่ว่าครอบครัวน้องอั้มเป็นชาวบ้านธรรมดา ความใส่ใจในการในการติดตามหาตัวจึงไม่ต่อเนื่อง และเงียบหายไปในที่สุด การสร้างสัญลักษณ์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคนในสังคม ยังมองเห็นและจำจดว่าเด็กหายคนนี้ยังไม่พบตัว จึงนับว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง


ป้ายเด็กหายขนาดใหญ่ ภาพประกาศเต็มตัวของน้องอั้ม จะตั้งตระหง่านอยู่ที่ทางออกอาคารผู้โดยสารขาเข้าของท่าอากาศยานขอนแก่น ซึ่งนับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ผู้หลักผู้ใหญ่ จะใช้เป็นทางผ่านเมื่อเดินทาง พวกเขาจะเห็นน้องอั้ม ยืนขอความช่วยเหลืออยู่ที่นั่น และเป็นการปักหมุดย้ำเตือนให้สังคมได้รู้ว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย”

นอกจากนี้ มูลนิธิกระจกเงาในฐานะหน่วยงานรับแจ้งเหตุคนหาย มีข้อเรียนเสนอแนะต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้

1.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรยกระดับศูนย์บริหารจัดการคนหายและศพนิรนาม ให้มีโครงสร้างและผู้ปฏิบัติงานประจำ ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลคนหาย วิเคราะห์ ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ และติดตามคนหาย ในลักษณะกองบังคับการ ที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั่วประเทศ

2.พัฒนาระบบการรับแจ้งเหตุคนหาย ให้มีฐานข้อมูลออนไลน์ได้ทั่วประเทศ เพื่อให้การรับแจ้งเหตุและรวบรวมข้อมูล ทำได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการสืบค้นข้อมูล และช่วยเหลือคนหายได้อย่างทันท่วงที

3.สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มีทัศนคติที่ดีต่อการบริหารจัดการคนหายในแต่ละประเภท โดยเฉพาะกลุ่มเด็กหายที่สมัครใจหนีออกจากบ้าน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในคนหายทุกประเภท เนื่องจากหลายกรณีพบว่า เด็กสมัครใจหนีออกจากบ้าน ถูกกระทำความรุนแรงหรือถูกก่ออาชญากรรมภายหลังหายออกจากบ้าน ซึ่งการช่วยเหลือติดตามอย่างทันท่วงที จะเป็นการลดปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ

4.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรออกหนังสือเวียนย้ำกับทุกสถานีตำรวจและประชาสัมพันธ์ต่อสังคม ว่า ปัจจุบันสามารถแจ้งความคนหายได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้หายครบ 24 ชม. 

5.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรจัดให้มีการทบทวน และอบรมความรู้ในการสืบสวนติดตามคนหายประเภทต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสร้างความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ปัจจุบันของปัญหาคนหาย สำหรับการทำงานช่วยเหลือและป้องกันต่อไป 

ประโยชน์ของโครงการ

เด็กหายไม่ใช่แค่ลูกคนอื่น แต่เป็นเด็กของสังคมที่ต้องช่วยกันติดตามหา ป้ายตามหาเด็กหายที่สนามบิน จะสร้างพื้นที่ให้คนในสังคมได้ช่วยกันติดตามหาเด็กที่หายออกจากบ้านไปนาน และไม่มีที่ยืนในสื่อสาธารณะ และทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักต่อปัญหาเด็กหาย

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ

จัดทำ บิลบอร์ดถาวรเป็นประกาศติดตามหาเด็กหาย ขนาด 3X8 เมตรบริเวณทางเดินผู้โดยสารขาเข้าในท่าอากาศยานขอนแก่น โดยตั้งเป้าซื้อพื้นที่ป้ายเป็นระยะเวลาในช่วงไฮซีซั่นเป็นระยะเวลา 3 เดือน ( พฤศจิกายน 2560-มกราคม 2561)

สมาชิกในทีม

ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา
www.facebook.com/thaimissing

วางแผนตามหาเด็กหาย ที่ขอนแก่น

24 October 2017

เมื่อเด็กหายไม่อยู่ในความทรงจำนั่นอาจหมายรวมถึงการไม่อยู่ในความใส่ใจที่จะติดตามหา

ป้ายขนาดใหญ่ ประกาศตามหาตัวเด็กชายวัย 5 ขวบ เป็นสัญลักษณ์ ณ จุดยุทธศาสตร์ จากเดิมที่โครงการจะทำป้ายตามหาเด็กหายในสนามบินขอนแก่น  แต่เมื่อเช็คสถานะล่าสุดพบว่าป้ายในพื้นที่ดังกล่าวไม่ว่างแล้ว แต่งานเราต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้ทุกคนมาช่วยกันตามเด็กหายคนนี้ และ คนอื่นๆ  โดยที่ประชุมสรุปว่า งบประมาณที่ได้รับจะดำเนินการได้ทั้งหมด 5 จุด

1.ป้ายเสาไฟ ขนาด 120x80 ซม. จำนวน 30 ป้าย ทั่วเมืองขอนแก่นในถนนสายหลัก ระยะเวลา 3 เดือน 


2.ป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ใจกลางเมือง ขนาด 12x12เมตร  ระยะเวลาจำนวน 3 เดือน


3.ป้ายประกาศบิลบอร์ดขนาด 3x6เมตร (ขึ้นโครงสร้างป้ายใหม่) จำนวน 3 ป้าย เยื้อนๆ หน้าโรงพัก และทางเข้าออกเมืองทั้งสองด้านในพื้นที่อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น (พื้นที่ที่เด็กหาย) ระยะเวลาประมาณ 1 ปี 


4.จอแอลอีดี แยกสามเหลี่ยม กลางเมืองขอนแก่น 

5.จอแอลอีดี แยกรื่นรมย์ กลางเมืองขอนแก่น

โดยจะเริ่มดำเนินการภายในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ทีมงานจะนำรายงานความคืบหน้ามาให้ทราบอีกครั้ง และต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการตามหาเด็กหายครั้งนี้

ติดตั้งป้ายประกาศหาเด็กหาย 36 ป้าย

10 December 2017

เมื่อเด็กที่หายไปนาน ไม่อยู่ในความทรงจำ นั่นอาจหมายถึงการไม่อยู่ในความใส่ใจของกระบวนการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามหา  

ป้ายประกาศตามหาเด็กชายวัย 5 ขวบ ที่หายออกจากบ้านไปนานร่วมปี จึงปักขึ้นใจกลางเมืองของจังหวัดที่เด็กคนนั้นหายไป เพื่อประกาศให้สังคมและผู้มีหน้าที่ ยังจดจำได้ว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย” 

แรกเริ่มเดิมที แคมเปญ “ที่นี่...มีเด็กหาย” ตั้งใจจะทำป้ายตามหาเด็กหายขนาดใหญ่ ที่สนามบินขอนแก่น จุดยุทธศาสตร์หลักของจังหวัดที่ผู้หลักผู้ใหญ่จะได้มองเห็นและจำได้ว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย” แต่ด้วยระยะเวลาของการระดมทุนนานหลายเดือน ทำให้ป้ายโฆษณาดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเด่นที่สุดในสนามบิน ได้ถูกซื้อโฆษณาไปในระหว่างที่โครงการกำลังระดมทุนอยู่ นี่เป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ทีมงานต้องลงไปเซอร์เวย์พื้นที่อีกรอบ และเลือกที่จะทำป้ายเพิ่มขึ้น และกระจายตัวในหลายพื้นที่ รวมทั้งการติดตั้งบิลบอร์ดถาวรในพื้นที่อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น จุดที่เด็กหายตัวไปด้วย 

จากแคมเปญ เริ่มต้นเพียง 1 ป้าย ถูกขยายเป็น 36 ป้าย เพื่อปักหมุดหมาย ว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย”


1.ป้ายติดเสาไฟฟ้า ขนาด 120x80ซม. จำนวน 30 ป้าย ติดตั้งทั่วตัวเมืองขอนแก่นในถนนสายหลัก ระยะเวลา 3 เดือน


2.ป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ขนาด 12x12 เมตร ตั้งอยู่ที่ริมถนนเดียวกับสถานีขนส่งและศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ระยะเวลา 3 เดือน


3.ป้ายบิลบอร์ด ขนาด 3x6เมตร (ขึ้นโครงป้ายใหม่) บริเวณตัวอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น จุดที่เด็กหายตัวไป จำนวน 3 ป้าย ระยะเวลา 1 ปี โดยหลังจาก 1 ปี หรือเมื่อป้ายชำรุดมูลนิธิกระจกเงา จะทำการปรับปรุงป้ายโดยตลอดจนกว่าจะพบตัวเด็ก



4.จอแอลอีดี บริเวณแยกสามเหลี่ยม กลางเมืองขอนแก่น ระยะเวลา 3 เดือน

5.จอแอลอีดี บริเวณแยกรื่นรมย์ กลางเมืองขอนแก่น ระยะเวลา 3 เดือน


ปัจจุบันป้ายทั้งหมดได้รับการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของภาคประชาสังคม ในการย้ำเตือนว่า “ที่นี่...มีเด็กหาย” และป้ายนี้จะได้ทำหน้าที่หาเบาะแสสำคัญ ร่วมถึงสร้างความตระหนักของสังคมต่อปัญหาเด็กหาย...


ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกัน”เทใจ”เพื่อตามหาเด็กหายครับ

Budget plan


รายละเอียดจำนวนเงิน (บาท)
1. ค่าออกแบบ จัดทำป้าย85,000
2. เช่าพื้นที่แบบขอความอนุเคราะห์ราคาพิเศษ กับบริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน)
    เดือนละ 90,000 บาท จำนวน 3 เดือน
270,000
3. ค่าธรรมเนียมเทใจ 10%35,500
งบประมาณทั้งสิ้น390,500