project ผู้พิการและผู้ป่วย

Anyone Can Draw วาดชีวิตใหม่ให้คนพิการ

วันหนึ่งคุณอาจจะเซอร์ไพรส์ เมื่อได้รู้ว่าหนังสือการ์ตูนสนุกๆ ที่กำลังอ่านอยู่นั้นมาจากฝีมือของผู้พิการ เพราะโครงการ Anyone Can Draw เชื่อว่า "ใครๆ ก็วาดได้"  จึงใช้ทักษะและความชอบจัดคอร์สฝึกวาดการ์ตูนให้ผู้พิการ งานนี้นอกจากจะได้โชว์ของดีที่มีอยู่ในตัวแล้วยังสามารถทำเป็นอาชีพเลี้ยงตนเองได้อีกด้วย

Duration 6 เดือน Area เชียงใหม่

Current donation amount

21,900 THB

Target

30,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 73%
จำนวนผู้บริจาค 24

สำเร็จแล้ว

Project updates

กิจกรรมการอบรมของโครงการ Anyone Can Draw

14 January 2014

โครงการAnyone Can Draw วาดชีวิตใหม่ให้คนพิการ การอบรมเมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ผ่านไปอย่างราบรื่น มีผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ ที่สนใจการวาดรูป การ์ตูนหรืออนิเมชั่น หรือต้องการฝึกหัดการวาด อายุประมาณ19-28ปี ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมมากกว่า 30 คน โดยเจ้าของโครงการนางสาวภมิตา ปุรณะพรรค์ ได้กล่าวว่า "โครงการนี้จะสร้างความยั่งยืนด้วยการสร้างเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผ่านเว็บไซต์และเฟสบุ๊ค เพื่อเป็นการโชว์ผลงานของผู้พิการให้บุคคลภายนอกเห็นถึงศักยภาพของผู้พิการ และเป็นการสร้างโอกาสในการเสนองานผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ผู้พิการที่ไม่มีโอกาสได้ร่วมอบรมในครั้งนี้ได้เข้ามาอ่านเทคนิคการวาดการ์ตูน แลกเปลี่ยนข้อมูล และสร้างกำลังใจให้แก่ผู้พิการได้"

 

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2556 วันแรกของกิจกรรม 

 

คุณนิพล  ชัยนาดี (นักวาดการ์ตูนที่ประสบอุบัติเหตุร่างกายซีกซ้ายเคลื่อนไหวไม่ได้)
ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการบรรยายวิชาชีพ โดยหัวข้อในวันแรกได้กล่าวถึง การการนำเอาศิลปะไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสาธิตการวาดให้ชม
 
 

ผู้เข้าร่วมอบรมตั้งใจฟังวิทยากรสาธิตการวาดภาพบนกระดาน

 

ผู้เข้าร่วมอบรมทดลองวาดภาพบ้าง

 

ตัวอย่างห้องศิลปะเพื่อติดผลงานของผู้พิการที่เข้าร่วมอบรม

 

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2556 วันที่สองของกิจกรรม 

 

คุณนิพล  ชัยนาดี (นักวาดการ์ตูนที่ประสบอุบัติเหตุร่างกายซีกซ้ายเคลื่อนไหวไม่ได้)
ให้เกียรติ์มาเป็นวิทยากรในการบรรยายวิชาชีพในวันที่สอง โดยหัวข้อในวันที่สองได้กล่าวถึง การเข้าถึงการประกอบอาชีพด้านศิลปะ ค่าแรงและการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเปิดไฟล์ภาพและคลิปวีดีโอประกอบการบรรยาย
 
ภาพกิจกรรมวันที่สอง
 
ใครยังไม่ได้ส่งภาพวาดบ้าง!!
 
ภาพวาดบางส่วนจากผู้พิการที่เข้าร่วมอบรม
 
คุณศุกร์ ก่อนหน้าที่เข้าอบรม เป็นช่างวาดรูปและบูรณะวัด หลังเกิดอุบัติเหตุ ขาเสีย ทำให้ไม่สามารถกลับไปทำงานเดิมที่จำเป็นจะต้องมีร่างกายแข็งแรงในการปีนนั่งร้านเพื่อขึ้นไปวาดรูปบนกำแพงได้ คุณศุกร์แจ้งว่า การได้มาเข้าร่วมอบรม ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมในช่องทางการหางานวาดเพิ่ม เช่นก่อนหน้านี้ คุณศุกร์ยังไม่แน่ใจว่า นอกจากการวาดรูปให้กับทางวัดแล้ว จะยังสามารถรับงานอะไรเพิ่มเติมได้หรือไม่ ซึ่งทางโครงการก็ได้ทำการแนะนำช่องทาง ราคาวาด และดึงคุณศุกร์เป็นเครือข่ายกับทางโครงการ หากมีงานเข้าเพิ่มเติม จะทำการติดต่อคุณศุกร์กลับไปเพื่อมอบหมายงานให้
 
น้องมน อายุเพิ่งประมาณ 17 ปีเท่านั้น พิการช่วงล่างทางขา น้องมนเป็นคนหนุ่มทันสมัยรักข่าวสารและการเรียนรู้ ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเป็นดีเจ น้องมนบอกว่าชอบการแนะนำอบรมของโครงการมาก เพราะว่าไม่เพียงแต่แนะแนวการดำเนินการทำอาชีพดังปกติทั่วไป โครงการยังทำการให้กำลังใจและมีการติดต่อผู้พิการในโครงการอยู่เรื่อยๆ อีกด้วย น้องมนแจ้งว่าหากมีการอบรมครั้งหน้า จะขอเข้าร่วมอีกครั้งแน่นอน!!
 
แม้ว่ากิจกรรมนี้จะจบลงไปแล้ว แต่ทีมงาน Anyone Can Draw ยังมีกิจกรรมสำหรับผู้พิการ เพื่อนๆ ท่านใดสนใจ สามารถติดตารมความเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ที่ www.facebook.com/Anyonecandraw
Read more »
See all project updates

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

การสำรวจคนพิการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2550 พบว่า มีจำนวนคนพิการทั่วประเทศ 1.87 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของประชากรของประเทศ โดยคนพิการร้อยละ 64.8 เป็นผู้ว่างงาน เพราะคนในสังคมมักมองว่าคนพิการส่วนใหญ่ไม่สามารถทำงานได้ต้องอยู่ในฐานะผู้ที่ได้รับการสงเคราะห์เท่านั้น ส่วนคนพิการที่มีงานทำก็มักถูกกดค่าแรง ทั้งที่จริงแล้วหากคนพิการได้รับการฝึกอาชีพที่เหมาะสมก็สามารถหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้

การวาดการ์ตูนคอมิกส์นั้นไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก ไม่ต้องการเงินลงทุนเยอะ แต่เป็นอาชีพที่ใช้ทักษะ สามารถรับงานได้ทั่วโลก และยังทำงานที่บ้านได้อีกด้วย โครงการ Anyone Can Draw ที่มีสมาชิกเป็นนักวาดการ์ตูน แอนิเมเตอร์ และบล็อกเกอร์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จึงคิดจัดคอร์สอบรมทักษะการวาดการ์ตูนและแอนิเมชันให้คนพิการตามความถนัดมาตั้งแต่ปี 2554 เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาศักยภาพและฝึกอาชีพให้สามารถเลี้ยงตนเองได้

 

 

หลังจากผ่านการอบรมจนมีฝีมือวาดการ์ตูนไม่เป็นรองใครแล้วแต่คนพิการเหล่านั้นก็ยังพบปัญหาไม่มีผู้จ้างงาน ทางทีมงาน Anyone Can Draw จึงจะผลิตสื่อ เช่น แอนิเมชัน การ์ตูนคอมิกส์ เกมต่างๆ ที่ทำให้คนปกติและคนพิการเข้าใจกันมากขึ้น และในอนาคตจะสร้างสตูดิโอที่เป็นศูนย์กลางสำหรับผู้พิการภาคเหนือที่ต้องการเรียนการวาดการ์ตูน หรือต้องการหางานทางด้านการวาดภาพ

 

สถานที่ที่เคยเข้าไปดำเนินกิจกรรม
- โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
- ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จ.เชียงใหม่
- โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่

บรรยากาศขณะสอนน้องๆ วาดการ์ตูน

 

เรียนกันสนุกสนาน

 


ได้เวลาแสดงฝีมือของน้องๆ

 


หนุ่มๆ ขอโชว์บ้าง

 

ประโยชน์ของโครงการ :

  • นำผู้พิการซึ่งพร้อมทำงาน และถือเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรการผลิตของประเทศกลับเข้าสู่ระบบการทำงานในเชิงเศรษฐกิจพัฒนาศักยภาพและสร้างทักษะสำหรับประกอบอาชีพให้แก่ผู้พิการผ่านเทคนิคการวาดพื้นฐานและการใช้คอมพิวเตอร์สร้างงานศิลปะ
  • เมื่อคนพิการสามารถพึ่งตนเองได้ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีวิถีชีวิตเป็นของตนเอง เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม
  • สร้างบุคลากรหน้าใหม่ที่มีคุณภาพเข้าสู่วงการสื่อและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • เปิดโอกาสให้ผู้พิการสร้างคุณค่าให้กับสังคม และลดความสูญเสียโอกาสของบุคคลในครอบครัวหรือสังคมที่จะต้องดูแลผู้พิการจน ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

 

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

  • จัดอบรมทักษะการวาดรูปการ์ตูนคอมิกส์พื้นฐานแก่ผู้พิการจำนวน 40 คน
  • จัดอบรมทักษะการวาดรูปการ์ตูนคอมิกส์ระดับกลางแก่ผู้พิการจำนวน 20 คน
  • สร้างสื่อที่ทำให้คนปกติและคนพิการเข้าใจกันมากขึ้น เช่น แอนิเมชั่น การ์ตูนคอมิกส์ เกมต่างๆ
  • ในอนาคตต้องการสร้างสตูดิโอที่เป็นศูนย์กลางสำหรับผู้พิการภาคเหนือที่ต้องการ เรียนการวาดการ์ตูน หรือต้องการหางานทางด้านการวาดภาพ รวมถึงสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้รับการจ้างงานมากขึ้น

 


phuphu นักวาดการ์ตูนและบล็อกเกอร์ ที่ร่วมเป็นวิทยากรของโครงการ

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวและผลงานเจ๋งๆ ของพวกเขาได้ที่

สมาชิกภายในทีม :

นางสาวกิตติอาภา ปุรณะพรรค์ ร่ำเรียนมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์แต่ชื่นชอบการวาดภาพจึงรวมตัวกับเพื่อนๆ เปิดสตูดิโอที่จังหวัดเชียงใหม่ เธอมองว่างานวาดการ์ตูน และงานแอนิเมชัน เป็นงานที่น่าสนใจสำหรับผู้พิการ เพราะสามารถทำได้แม้อยู่กับบ้าน และมีตลาดที่ใหญ่พอสมควร

นายสุริยา ธิขวัญ บัณฑิตคณะวิจิตรศิลป์ที่นอกจากจะหลงใหลงานศิลปะแล้วยังใส่ใจเรื่องของสังคม ไม่แพ้กัน มีโอกาสร่วมกิจกรรมกับกิตติอาภามาตั้งแต่สมัยเรียนและยังคงร่วมกันทำโครงการ ดีๆ ด้วยกันมาถึงปัจจุบัน

ภาคี :

ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน จ.เชียงใหม่, โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร จ.เชียงใหม่

ขอบคุณจากใจ...โครงการ Anyone can draw

7 November 2013

หลังจากการระดมเงินบริจาคสำเร็จแล้ว นางสาวกิตติอาภา ปุรณะพรรค์ เจ้าของโครงการ Anyone can draw ฝากข้อความถึงโครงการเทใจและผู้สนับสนุนทุกท่านด้วยค่ะ

 

   ทางโครงการ Anyone can draw เป็นโครงการเล็กๆ โครงการหนึ่ง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการฝึกสอนอาชีพให้แก่ผู้พิการ โดยเฉพาะอาชีพด้านศิลปะและด้านการวาดภาพ ซึ่งเป็นของถนัดของผู้ดำเนินโครงการ โดยเรามีเจคนาจะใช้ความเชียวชาญและถนัดในการทำงานของเราในการช่วยพัฒนาศักยภาพผู้พิการ โดยการฝึกสอนอาชีพด้านนี้ให้แก่ผู้พิการที่สนใจ และหลังจากฝึกอบรม เราก็ยังจะดำเนินการช่วยหางานให้แก่ผู้พิการในโครงการเพิ่มเติม นอกจากการฝึกอบรมอีกด้วย
 
   โครงการดำเนินงานมาได้ประมาณหนึ่งปี จึงได้รับการแนะนำให้รู้จักและเป็นพันธมิตรกับโครงการเทใจ ซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ที่ช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้กับโครงการเพื่อสังคมอื่นๆ แล้วยังช่วยในการระดมทุนเพื่อทำให้จัดโครงการได้ต่อเนื่อง ทางโครงการ Anyone can draw เอง ก็ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการเทใจ ให้ช่วยเป็นสื่อกลาง ในการเข้าถึงผู้ที่อยากมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ Anyone can draw และทางเรา สต๊าฟโครงการ และผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการ ต่างก็รู้สึกดีใจและมีกำลังใจอย่างยิ่ง เมื่อได้ทราบว่า ยังมีคนอีกมายมายที่สนใจ และอยากช่วยเหลือ เป็นกำลังให้กับโครงการเพื่อสังคมเล็กๆของเรา 
 
   ทางโครงการ Anyone can draw ขอกราบขอบพระคุณ ผู้สนับสนุนทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตและอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ และขอสัญญาว่าเราจะนำทุนทุกบาททุกสตางค์ที่ได้รับมาเพื่อใช้ในการจัดโครงการให้ดำเนินไปได้ยาวนานที่สุดเท่าที่ผู้จัดทำโครงการเราจะยังทำไหว และขอให้ผลบุญนี้นำพาความเจริญในชีวิตให้แก่ผู้สนับสนุนทุกท่านค่ะ
 
   ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยใจจริงค่ะ
 
         นางสาวกิตติอาภา ปุรณะพรรค์
โครงการ Anyone can draw

กำหนดการพัฒนาศักยภาพและสร้างอาชีพให้แก่ผู้พิการนั่ง Wheel chair วันที่ 19-20 พ.ย. 56

8 November 2013

เจ้าของโครงการ Anyone can draw นางสาวกิตติอาภา ปุรณะพรรค์ พร้อมทั้งทีมงานได้จัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างอาชีพสำหรับผู้พิการประเภทนั่ง wheel chair จำนวน  20 - 30 คน   โดยคุณนิพล  ชัยนาดี นักวาดการ์ตูนที่ประสบอุบัติเหตุร่างกายซีกซ้ายเคลื่อนไหวไม่ได้จะมาเป็นวิทยากรในครั้งนี้

 

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 

หัวข้อในการสัมมนา : การนำเอาศิลปะไปใช้ในชีวิต

เวลารายละเอียดกิจกรรม
13.00-13.10 น.แนะนำตัวผู้ดำเนินกิจกรรม และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำตัวเอง เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกัน     (10 นาที)
13.10-13.30 น.
นำเข้าสู่กิจกรรมปรับละลายพฤติกรรมและเกมนันทนาการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน สร้างความคุ้นเคย  และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  โดยใช้กิจกรรม “ทายซิ...ฉันคือใคร” มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
“ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวาดภาพตนเองลงในกรอบ  และเขียนบรรยายลักษณะของตนไว้ทางด้านขวาของภาพ  เพื่อให้เพื่อนบอกได้ถูกว่าท่านคือใคร ให้เวลา 5 นาที  จากนั้นผู้ดำเนินกิจกรรมหยิบภาพขึ้นมาทีละภาพ  และอ่านที่ทุกท่านเขียนบรรยายลักษณะของตนไว้  แล้วให้เพื่อน ๆ ทายว่า  ฉันคือใคร........... ถ้าหากภาพไหนที่เพื่อนทายไม่ถูกก็จะให้เจ้าของภาพออกมาอยู่กลางวง  แล้วให้เพื่อน ๆ  สัมภาษณ์เพิ่มเติม จากนั้นให้ทุกคนช่วยกันบอกถึงประโยชน์และข้อคิดที่ได้จากกิจกรรมนี้     (20 นาที)
13.30– 13.35 น.ผู้ดำเนินกิจกรรมเกริ่นนำ จากนั้นกล่าวเชิญวิทยากรมาบรรยาย     (5 นาที)
13.35– 14.05 น.วิทยากรบรรยาย  หัวข้อ “การนำเอาศิลปะไปใช้ในชีวิต”     (30 นาที)
14.05– 14.20 น.พักรับประทานอาหารว่าง      (15 นาที)
14.20– 14.50 น.กิจกรรม  workshop ผู้เข้ารับการอบรมได้รับแจกกระดาษ แล้วจึงทำกิจกรรมตามที่วิทยากรอธิบาย (30 นาที)
14.50– 15.00 น.กล่าวสรุปโดยรวม สิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับในวันนี้     (10 นาที)

 

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 

หัวข้อในการสัมมนา : แนะแนวหนทางการเข้าสู่การทำงานด้านศิลปะ การ์ตูน อนิเมชั่น

เวลารายละเอียดกิจกรรม
13.00– 13.20 น.
ผู้ดำเนินกิจกรรมกล่าวทักทาย แล้วจัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั่งเป็นวงกลม  เล่นเกม  “เซียมซีกล้าหาญ”  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 “ผู้ดำเนินกิจกรรมส่งกระป๋องพลาสติกซึ่งข้างในจะมีเซียมซีพร้อมหมายเลขติดอยู่ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากนั้นก็เปิดเพลงแล้วให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งกระป๋องพลาสติกให้กับคนต่อไปเรื่อย ๆ  พร้อมกับเขย่ากระป๋องก่อนส่ง เมื่อเพลงหยุด กระป๋องพลาสติกอยู่กับใคร ให้คนนั้นจับเซียมซีออกมาหนึ่งเบอร์ เมื่อได้แล้วให้ไปหาใบทำนายโชคชะตา ซึ่งใบทำนายโชคชะตา ผู้ดำเนินกิจกรรมจะเขียนให้แสดงพฤติกรรมบางอย่าง  เช่น  ให้ท่านทำหน้าตาให้ตลกที่สุด  ให้ทำหน้าตาที่สวยที่สุด ให้ร้องเพลง  หรือให้เต้นท่าทางอะไรก็ได้  ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องทำตามใบเซียมซี”     (20 นาที)

13.20– 13.25 น.

ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดู MV Animation “คนไทยรักกัน”   (5 นาที)
13.25 – 13.35 น.จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยกันอภิปรายถึงตัวละครแต่ละตัวว่าเป็นอย่างไร และ Animation นี้ต้องการสื่อถึงอะไร     (10นาที)
13.35 – 14.05 น.วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “แนะแนวหนทางการเข้าสู่การทำงานด้านศิลปะ การ์ตูน อนิเมชั่น”   (30 นาที)
14.05 – 14.20 น.พักรับประทานอาหารว่าง      (15 นาที)
14.20 – 14.50 น.วิทยากรบรรยายหัวข้อ “แนะแนวหนทางการเข้าสู่การทำงานด้านศิลปะ การ์ตูน อนิเมชั่น” ต่อ และจัดทำ work shop  (30นาที)
14.50 – 15.00 น. กล่าวสรุปโดยรวม สิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับในวันนี้     (10 นาที)

หลังจากกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว ทางเจ้าของโครงการ Anyone can draw และทีมงานจะนำภาพการกิจกรรมครั้งนี้มาให้ได้ชมกันค่ะ : )

กิจกรรมการอบรมของโครงการ Anyone Can Draw

14 January 2014

โครงการAnyone Can Draw วาดชีวิตใหม่ให้คนพิการ การอบรมเมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ผ่านไปอย่างราบรื่น มีผู้พิการในจังหวัดเชียงใหม่ ที่สนใจการวาดรูป การ์ตูนหรืออนิเมชั่น หรือต้องการฝึกหัดการวาด อายุประมาณ19-28ปี ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมมากกว่า 30 คน โดยเจ้าของโครงการนางสาวภมิตา ปุรณะพรรค์ ได้กล่าวว่า "โครงการนี้จะสร้างความยั่งยืนด้วยการสร้างเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผ่านเว็บไซต์และเฟสบุ๊ค เพื่อเป็นการโชว์ผลงานของผู้พิการให้บุคคลภายนอกเห็นถึงศักยภาพของผู้พิการ และเป็นการสร้างโอกาสในการเสนองานผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ผู้พิการที่ไม่มีโอกาสได้ร่วมอบรมในครั้งนี้ได้เข้ามาอ่านเทคนิคการวาดการ์ตูน แลกเปลี่ยนข้อมูล และสร้างกำลังใจให้แก่ผู้พิการได้"

 

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2556 วันแรกของกิจกรรม 

 

คุณนิพล  ชัยนาดี (นักวาดการ์ตูนที่ประสบอุบัติเหตุร่างกายซีกซ้ายเคลื่อนไหวไม่ได้)
ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการบรรยายวิชาชีพ โดยหัวข้อในวันแรกได้กล่าวถึง การการนำเอาศิลปะไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสาธิตการวาดให้ชม
 
 

ผู้เข้าร่วมอบรมตั้งใจฟังวิทยากรสาธิตการวาดภาพบนกระดาน

 

ผู้เข้าร่วมอบรมทดลองวาดภาพบ้าง

 

ตัวอย่างห้องศิลปะเพื่อติดผลงานของผู้พิการที่เข้าร่วมอบรม

 

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2556 วันที่สองของกิจกรรม 

 

คุณนิพล  ชัยนาดี (นักวาดการ์ตูนที่ประสบอุบัติเหตุร่างกายซีกซ้ายเคลื่อนไหวไม่ได้)
ให้เกียรติ์มาเป็นวิทยากรในการบรรยายวิชาชีพในวันที่สอง โดยหัวข้อในวันที่สองได้กล่าวถึง การเข้าถึงการประกอบอาชีพด้านศิลปะ ค่าแรงและการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเปิดไฟล์ภาพและคลิปวีดีโอประกอบการบรรยาย
 
ภาพกิจกรรมวันที่สอง
 
ใครยังไม่ได้ส่งภาพวาดบ้าง!!
 
ภาพวาดบางส่วนจากผู้พิการที่เข้าร่วมอบรม
 
คุณศุกร์ ก่อนหน้าที่เข้าอบรม เป็นช่างวาดรูปและบูรณะวัด หลังเกิดอุบัติเหตุ ขาเสีย ทำให้ไม่สามารถกลับไปทำงานเดิมที่จำเป็นจะต้องมีร่างกายแข็งแรงในการปีนนั่งร้านเพื่อขึ้นไปวาดรูปบนกำแพงได้ คุณศุกร์แจ้งว่า การได้มาเข้าร่วมอบรม ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมในช่องทางการหางานวาดเพิ่ม เช่นก่อนหน้านี้ คุณศุกร์ยังไม่แน่ใจว่า นอกจากการวาดรูปให้กับทางวัดแล้ว จะยังสามารถรับงานอะไรเพิ่มเติมได้หรือไม่ ซึ่งทางโครงการก็ได้ทำการแนะนำช่องทาง ราคาวาด และดึงคุณศุกร์เป็นเครือข่ายกับทางโครงการ หากมีงานเข้าเพิ่มเติม จะทำการติดต่อคุณศุกร์กลับไปเพื่อมอบหมายงานให้
 
น้องมน อายุเพิ่งประมาณ 17 ปีเท่านั้น พิการช่วงล่างทางขา น้องมนเป็นคนหนุ่มทันสมัยรักข่าวสารและการเรียนรู้ ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเป็นดีเจ น้องมนบอกว่าชอบการแนะนำอบรมของโครงการมาก เพราะว่าไม่เพียงแต่แนะแนวการดำเนินการทำอาชีพดังปกติทั่วไป โครงการยังทำการให้กำลังใจและมีการติดต่อผู้พิการในโครงการอยู่เรื่อยๆ อีกด้วย น้องมนแจ้งว่าหากมีการอบรมครั้งหน้า จะขอเข้าร่วมอีกครั้งแน่นอน!!
 
แม้ว่ากิจกรรมนี้จะจบลงไปแล้ว แต่ทีมงาน Anyone Can Draw ยังมีกิจกรรมสำหรับผู้พิการ เพื่อนๆ ท่านใดสนใจ สามารถติดตารมความเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ที่ www.facebook.com/Anyonecandraw

Budget plan

รายการราคา (บาท)
ตระเวนจัดกิจกรรมอบรม20,000
สร้างสื่อที่ทำให้คนปกติและคนพิการเข้าใจกันมากขึ้น เช่น แอนิเมชั่น การ์ตูนคอมิกส์ เกมต่างๆ10,000
ราคารวม (บาท)30,000