project เด็กและเยาวชน กลุ่มคนเปราะบาง

“ครัวลูกเหรียง Catering” สร้างงานและรายได้เข้ากองทุนการศึกษาเด็กทุนลูกเหรียงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

โครงการครัวลูกเหรียง Catering เป็นการต่อยอดการทำงานของครัวลูกเหรียงให้กว้างและครอบคลุมความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น และจะสามารถรองรับการฝึกอาชีพของเด็ก ๆ กลุ่มเปราะบางที่ต้องการประกอบอาชีพเชฟ ให้สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว รวมทั้งระดมเงินทุนสำหรับกิจกรรมของลูกเหรียงในอนาคตได้ สุดท้ายเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติและเปี่ยมไปด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ระยะเวลาโครงการ 01 มิ.ย. 2564 ถึง 28 ก.พ. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: จ. ยะลา , จ. ปัตตานี , จ. นราธิวาส

ยอดบริจาคขณะนี้

535,815 บาท

เป้าหมาย

535,450 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 379

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

จัดกิจกรรมสอนประกอบอาหารและบริการจัดเลี้ยงในสามจังหวัดชายแดนใต้

23 มิถุนายน 2022

จากงบประมาณที่ได้รับสามารถนำไปจัดกิจกรรมได้ 2 กิจกรรม ต่อไปนี้

1. กิจกรรม สอนอาหารเด็กเยาวชน สตรี และกลุ่มเปราะบางที่สนใจเป็นเชฟชุมชน

เมื่อวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์จัดอบรมสำนักงานศึกษาธิการภาค 8 ผู้เข้าร่วม เด็กและเยาวชน สตรี และแม่เลี้ยงเดี่ยว จำนวน 43 คน เข้าร่วมการอบรมและฝึกปฏิบัติการประกอบอาหาร การบริการ การจัดโต๊ะ และการตกแต่งจานอาหาร จากครัวลูกเหรียง และปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญด้านอาหารท้องถิ่น และสร้างเด็กๆเยาวชน สตรีและกลุ่มเปราะบางสามารถสร้างอาชีพทางเลือกในการประกอบวิชาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้ โดยผู้เข้าร่วมได้เรียนการทำอาหารท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น เมนู หลังจากจบการอบรมผู้เข้าร่วมบ้างส่วนสามารถนำเมนูอาหารที่เรียนไปประกอบเป็นอาชีพ เช่น เปิดร้านขายน้ำ ทำขนมหวานขายตามตลาด เปิดร้านโรตี อยู่ประจำร้านอาหาร และอีกบ้างส่วนเป็นผู้ช่วยครัวลูกเหรียงในทุกครั้งที่มีการจัดงาน และมีผุ้มาใช้บริการซึ่งทั้งหมดทำให้ผู้เข้าร่วมมากกว่า 85 % มีรายได้จากการประกอบอาชีพดังกล่าวและที่สำคัญเป็นตัวชี้วัดในการตอบเป้าหมายโครงการว่าด้วยเรื่องเด็กเยาวชน สตรี และกลุ่มเปราะบางได้เรียนรู้การทำอาหารมีอาชีพและมีรายได้ สามารถดูแลตัวเองและคนในครอบครัวต่อไปได้


2. บริการจัดเลี้ยงอาหารนอก- ในสถานที่ รูปแบบ Chef’ table และ Catering

  • เมื่อวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2565 ในงาน Yala Stories ณ โรงแรมแมโทร จังหวัดยะลา ผู้เข้าร่วม 40 คน
  • วันที่ 7 มิถุนายน 2565 จัดงานเลี้ยงพบปะเครือข่าย Deepsouth Alumni Networking Diner โดย สถานฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผู้เข้าร่วม 50 คน

ผู้ได้รับประโยชน์ เด็กเยาวชน สตรี และกลุ่มเปราะบาง
ครัวลูกเหรียงสามารถออกให้บริการจัดทำอาหารในรูปแบบเชฟเทเบิลนอกสถานที่ได้จากทรัพยากรและต้นทุนที่มีอยู่สืบเนื่องจากการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้เรื่องการทำอาหารให้กับเชฟชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเยาวชนสตรีและกลุ่มผู้มีความเปราะบางทำให้ศักยภาพในการจัดบริการในรูปแบบเชฟเทเบิลสามารถทำได้ในจำนวนครั้งที่มากขึ้นกับจำนวนคนที่มาทานเยอะขึ้น และสามารถเพิ่มรายได้จากช่วงที่ผ่านมาจนสามารถสร้างการรับรู้และมีสื่อให้ความสนใจมากขึ้นเนื่องจากเป็นประเด็นการทำงานที่ช่วยส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีงานมีอาชีพไปพร้อมกับการส่งเสริมให้กลุ่มลูกเหรียงได้มีโอกาสมีรายได้เข้ากองทุนการศึกษาและพึ่งพาตนเองในระยะยาวและสามารถสร้างรายได้กลับสู่ชุมชน


ความประทับใจของผู้ได้รับประโยชน์ 


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

โครงการครัวลูกเหรียง Catering เป็นการต่อยอดการทำงานของครัวลูกเหรียงให้กว้างและครอบคลุมความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น และจะสามารถรองรับการฝึกอาชีพของเด็ก ๆ กลุ่มเปราะบางที่ต้องการประกอบอาชีพเชฟ ให้สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว รวมทั้งระดมเงินทุนสำหรับกิจกรรมของลูกเหรียงในอนาคตได้ สุดท้ายเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติและเปี่ยมไปด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ครัวลูกเหรียงคืออะไร

จุดเริ่มต้นคือบ้านลูกเหรียงมีสมาชิกที่ชอบทำอาหาร เรียนรู้เมนูใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง บางคนก็เรียนทางด้านอาหารโดยตรง ที่บ้านลูกเหรียงจึงมีเมนูใหม่ๆเกิดขึ้น เรามีโอกาสได้ต้อนรับคณะที่มาเยี่ยมเยือนบ้านลูกเหรียงด้วยฝีมือของสมาชิกลูกเหรียงที่เป็นทีมแม่ครัวอย่างต่อเนื่อง มีหลายท่านแนะนำให้ลูกเหรียงทำอาหารขาย จนมาวันหนึ่งทางเทใจดอทคอมสนับสนุนให้ทีมครัวบ้านลูกเหรียงได้ไปเปิดโลกด้านอาหารด้วยการไปชิมอาหารจากเชฟต่าง ๆในร้านอาหาร2-3 แห่งในภาคเหนือและภาคกลาง จึงเป็นที่มาของแรงบันดาลใจในการกลับมารังสรรค์เมนูใหม่ๆจากวัตถุดิบในท้องถิ่น รวมทั้งรื้อฟื้นวัตถุดิบ รื้อฟื้นเมนูดั้งเดิมให้คนรุ่นใหม่ได้รับประทาน พร้อมกับได้เชิญชวนผู้คนมาร่วมรับประทานอาหารที่บ้านลูกเหรียง เพื่อให้คำแนะนำ ติชม ครัวลูกเหรียงเริ่มสะสมประสบการณ์ด้วยการระดมทุนผ่านอาหารในรูปแบบ Chef Table และเปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการไปร่วมเรียนรู้กับเชฟมิชลินสตาร์ เพื่อระดมทุนผ่านอาหารในพื้นที่และส่วนกลาง จึงทำให้สมาชิกซึ่งเป็นเชฟในครัวลูกเหรียงมีความมั่นใจ และภาคภูมิใจในการดำเนินกิจการของครัวลูกเหรียง คุณแม่ชมพู่ย้ำเสมอว่า “อยากให้ทุกคนใช้ศักยภาพของตัวเองในทางที่สร้างสรรค์ เราจะเติบโตได้อย่างมีคุณค่า ถ้าไม่ลืมรากเหง้าของตัวเอง โดยเฉพาะความงดงามของอาหารท้องถิ่นบ้านเรา เล่าเรื่องของเราผ่านอาหาร ถ้าเราคือสันติภาพ จานอาหารของเราก็สามารถเล่าเรื่องสันติภาพได้ดีที่สุด"

ต่อยอดสู่ครัวลูกเหรียง Catering

ครัวลูกเหรียงได้มุ่งมั่นการทำอาหารพร้อมกับพัฒนาฝีมือเชฟท้องถิ่น ที่เป็นน้องๆในพื้นที่ ให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปในระดับหนึ่ง จากการฝึกฝนและเปิด Chef’s Table อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทีมเชฟมีการเติบโต ทั้งจำนวนเชฟที่เข้ามาร่วมทีม ทักษะฝีมือ และความเร็วในการทำงาน ด้วยศักยภาพที่เพิ่มขึ้นนี้ ประกอบกับการสำรวจความต้องการของตลาด พบว่า มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้มีโอกาสชิมอาหารซึ่งปรุงโดยครัวลูกเหรียง มีความต้องการที่จะให้จัดเลี้ยงในการสัมมนาและการประชุมต่าง ๆ จากทั้ง 2 ปัจจัยนี้กลุ่มลูกเหรียง จึงมีความตั้งใจขยายการให้บริการเรื่องอาหาร จากเดิมเน้นการทำอาหารในรูปแบบ Chef’s Table และจัดเลี้ยงในครัวลูกเหรียง เพิ่มเรื่องการให้บริการอาหารว่างและอาหารสำหรับหน่วยงานต่าง ๆทั้งในและนอกสถานที่ รวมทั้งการดำเนินด้านอาหารสำหรับกิจกรรมของลูกเหรียงเองด้วย

ครัวลูกเหรียง Catering จึงเกิดขึ้นจากความต้องการขยายงานการให้บริการอาหารออกไปนอกสถานที่ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าด้านการบริการอาหาร และเป็นการต่อยอดการทำงานของครัวลูกเหรียงให้กว้างและครอบคลุมความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น และจะช่วยให้สามารถรองรับเด็ก ๆ กลุ่มเปราะบางที่ต้องการประกอบอาชีพเชฟ ให้ได้รับการอบรมและฝึกปฏิบัติจากครัวลูกเหรียงให้สามารถประกอบวิชาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว รวมทั้งระดมเงินทุนสำหรับกิจกรรมของลูกเหรียงในอนาคตได้ สุดท้ายเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติและเปี่ยมไปด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เนื่องจากเดิมที่ไม่มีความพร้อมด้านการบริการ อุปกรณ์ เต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ใส่อาหาร จึงต้องการระดมทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อสามารถดำเนินธุรกิจ Catering ได้

บริการของครัวลูกเหรียง

1. บริการอาหารที่ครัวลูกเหรียง และให้บริการจัดเลี้ยงอาหารนอกสถานที่อย่างเต็มรูปแบบ

2. Menu Set Box & Snack Box

3. วิทยากรสอนด้านอาหารสำหรับเด็กเยาวชนที่สนใจเป็นเชฟ

4. เพื่อสร้างอาชีพและทางเลือกสำหรับเด็กเยาวชน และกลุ่มด้อยโอกาสให้เป็นเชฟท้องถิ่น


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ


  1. สำรวจอุปกรณ์วัสดุที่ต้องการ สำหรับการดำเนินการ Catering
  2. จัดเตรียมเมนูอาหาร และ เมนูอาหารว่าง
  3. จัดหาวิทยากรด้านอาหารเพื่อให้ความรู้กับเยาวชนบ้านลูกเหรียงที่สนใจเป็นเชฟ
  4. ระดมทุนผ่านทางเทใจ เพื่อนำเงินทุนไปจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ
  5. ส่งเสริมและสร้างอาชีพทางเลือกให้เด็กเเละเยาวชนกลุ่มด้อยโอกาสให้เป็นเชฟ หรือผู้จัดการด้านอาหารด้วยการปฏิบัติงานจริง

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

ดำเนินโครงการโดยกลุ่มบ้านลูกเหรียง

เริ่มต้นจาก คุณวรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ หรือคุณแม่ชมพู่ ผู้เป็นคนก่อตั้งบ้านลูกเหรียง คุณแม่ชมพู่สูญเสียพี่ชาย 3 คน และพี่สาว 1 คนจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2553 ท่านกลางการสูญเสียและความรับผิดชอบที่ต้องดูแลหลานที่กำพร้าอีก 14 ชีวิต คุณแม่ชมพู่ได้ทำงานช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงอีกมากมาย จนก่อตั้งเป็นบ้านลูกเหรียง เริ่มจากทนเห็นเด็กที่ไม่ได้ทานอาหาร ไม่ได้ไปเรียนหนังสือและต้องอยู่ตามลำดัง จึงเป็นที่มาของใช้บ้านเช่าเปลี่ยนเป็นสถานที่ดูแลเด็กๆ หลายเรื่องราวที่ลูกเหรียงประสบพบเจอ โจทย์ชีวิตที่ยากกว่าคนอื่น ๆ ถูกปรับมาเป็นการทำงาน สร้างโมเดลและหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา แทนการย่ำอยู่กับที่ คุณแม่ชมพู่ได้อุทิศตัวเองในการทำงานเยียวยาและพัฒนาเด็กและสตรี เพื่อให้ได้รับการเยียวยาจนเข้มแข็ง ได้รับการศึกษาต่อจนสามารถมีงานทำ และพัฒนามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างเข้าอก เข้าใจ โดยไม่เคยทำงานในวิชาชีพอื่น นอกจากการขับเคลื่อนงานในนามกลุ่มลูกเหรียงจนถึงปัจจุบัน


“ครัวลูกเหรียง” เป็นครัวที่บริการอาหาร เมนูที่พัฒนาจากวัตถุดิบจากชุมชนทั้งหมด ซึ่งเป็นเชฟชุมชนมาจากน้องๆที่บ้านลูกเหรียง และพัฒนาฝีมือจากผู้สอนในท้องถิ่น รวมทั้งโอกาสในการเข้าร่วมกับเชฟในการประกวดเวทีต่าง ๆรวมทั้งการมีโอกาสได้เรียนรู้ ฝึกงานกับร้านที่สนับสนุน เช่นสำรับสำหรับไทยให้ความกรุณาสอนและเรียนรู้ ทีมครัวลูกเหรียง ประกอบด้วยทีมเชฟน้องๆจำนวน 7 คน และแม่เลี้ยงเดี่ยวในโครงการ จำนวน 5 คน ให้บริการประกอบอาหารและอาหารว่างทั้งในและนอกสถานที่


นอกจากนี้โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจาก 

  • มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
  • พี่ๆหลักสูตร abc
  • ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในพื้นที่ชายแดนใต้ (ศปดส.)



#ครัวลูกเหรียง #กลุ่มลูกเหรียง

จัดกิจกรรมสอนประกอบอาหารและบริการจัดเลี้ยงในสามจังหวัดชายแดนใต้

23 มิถุนายน 2022

จากงบประมาณที่ได้รับสามารถนำไปจัดกิจกรรมได้ 2 กิจกรรม ต่อไปนี้

1. กิจกรรม สอนอาหารเด็กเยาวชน สตรี และกลุ่มเปราะบางที่สนใจเป็นเชฟชุมชน

เมื่อวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์จัดอบรมสำนักงานศึกษาธิการภาค 8 ผู้เข้าร่วม เด็กและเยาวชน สตรี และแม่เลี้ยงเดี่ยว จำนวน 43 คน เข้าร่วมการอบรมและฝึกปฏิบัติการประกอบอาหาร การบริการ การจัดโต๊ะ และการตกแต่งจานอาหาร จากครัวลูกเหรียง และปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญด้านอาหารท้องถิ่น และสร้างเด็กๆเยาวชน สตรีและกลุ่มเปราะบางสามารถสร้างอาชีพทางเลือกในการประกอบวิชาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้ โดยผู้เข้าร่วมได้เรียนการทำอาหารท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น เมนู หลังจากจบการอบรมผู้เข้าร่วมบ้างส่วนสามารถนำเมนูอาหารที่เรียนไปประกอบเป็นอาชีพ เช่น เปิดร้านขายน้ำ ทำขนมหวานขายตามตลาด เปิดร้านโรตี อยู่ประจำร้านอาหาร และอีกบ้างส่วนเป็นผู้ช่วยครัวลูกเหรียงในทุกครั้งที่มีการจัดงาน และมีผุ้มาใช้บริการซึ่งทั้งหมดทำให้ผู้เข้าร่วมมากกว่า 85 % มีรายได้จากการประกอบอาชีพดังกล่าวและที่สำคัญเป็นตัวชี้วัดในการตอบเป้าหมายโครงการว่าด้วยเรื่องเด็กเยาวชน สตรี และกลุ่มเปราะบางได้เรียนรู้การทำอาหารมีอาชีพและมีรายได้ สามารถดูแลตัวเองและคนในครอบครัวต่อไปได้


2. บริการจัดเลี้ยงอาหารนอก- ในสถานที่ รูปแบบ Chef’ table และ Catering

  • เมื่อวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2565 ในงาน Yala Stories ณ โรงแรมแมโทร จังหวัดยะลา ผู้เข้าร่วม 40 คน
  • วันที่ 7 มิถุนายน 2565 จัดงานเลี้ยงพบปะเครือข่าย Deepsouth Alumni Networking Diner โดย สถานฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผู้เข้าร่วม 50 คน

ผู้ได้รับประโยชน์ เด็กเยาวชน สตรี และกลุ่มเปราะบาง
ครัวลูกเหรียงสามารถออกให้บริการจัดทำอาหารในรูปแบบเชฟเทเบิลนอกสถานที่ได้จากทรัพยากรและต้นทุนที่มีอยู่สืบเนื่องจากการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้เรื่องการทำอาหารให้กับเชฟชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเยาวชนสตรีและกลุ่มผู้มีความเปราะบางทำให้ศักยภาพในการจัดบริการในรูปแบบเชฟเทเบิลสามารถทำได้ในจำนวนครั้งที่มากขึ้นกับจำนวนคนที่มาทานเยอะขึ้น และสามารถเพิ่มรายได้จากช่วงที่ผ่านมาจนสามารถสร้างการรับรู้และมีสื่อให้ความสนใจมากขึ้นเนื่องจากเป็นประเด็นการทำงานที่ช่วยส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีงานมีอาชีพไปพร้อมกับการส่งเสริมให้กลุ่มลูกเหรียงได้มีโอกาสมีรายได้เข้ากองทุนการศึกษาและพึ่งพาตนเองในระยะยาวและสามารถสร้างรายได้กลับสู่ชุมชน


ความประทับใจของผู้ได้รับประโยชน์ 


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ


แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 อุปกรณ์สำหรับจัดไลน์บุฟเฟ่ต์ ได้แก่ Chafing Dish ถาดอุ่นอาหาร 10 ชุด , Beverage Dispenser เครื่องจ่ายน้ำหวาน 3 ชุด ทัพพี, ช้อนตักอาหาร, เจลจุดอุ่นอาหาร, ตะเกียงจุดเจลแอลกอฮอล์ 10 ชุด 28,090.00
2 อุปกรณ์ครัวนอกสถานที่ เตาแก๊สหัวเร่ง และหม้อ กระทะ ตะหลิว 1 ชุด 17,200.00
3 ชุดช้อน ส้อม มีด ช้อนเล็ก ช้อนกลาง ชุดละ 1499 บ. (1 ชุด มี 6 Set ) 17 ชุด 25,483.00
4 ชุดถาดอาหารว่างพร้อมแก้ว 100 ชุด 11,000.00
5 จาน ชาม และถ้วย 500 ใบ 38,000.00
6 โต๊ะกลมจัดเลี้ยงและเก้าอี้ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเก้าอี้ (แต่ละชุดประกอบด้วยโต๊ะและเก้าอี้ 7 ตัว / ชุด) 10 ชุด 117,000.00
7 โต๊ะพับแบบยาวสำหรับวางอาหารและเตรียมอาหาร 10 ตัว 30,000.00
8 เต็นท์สีขาว ขนาด กว้าง 5 ม. ยาว 12 ม. เสาขาสูง 2.5 ม. 5 หลัง 150,000.00
9 ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ 10,000 บ. 7 เดือน 70,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
486,773.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
48,677.30

ยอดระดมทุน
535,450.30