project อื่นๆ

โฮงเฮียนแม่น้ำของ สนามเรียนรู้นิเวศน์วัฒนธรรม

สร้างสนามการเรียนรู้คนลุ่มน้ำโขงเพื่อรักษาธรรมชาติ ศรัทธาความเท่าเทียมของมนุษย์ 

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ เชียงราย

ยอดบริจาคขณะนี้

7,209 บาท

เป้าหมาย

7,209 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 17

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความคืบหน้าโครงการโฮงเฮียนแม่น้ำของ สนามเรียนรู้นิเวศน์วัฒนธรรม

8 พฤศจิกายน 2016

โฮงเฮียนแม่น้ำของ สนามเรียนรู้นิเวศน์วัฒนธรรมได้มีแนวคิดการจัดการเรียน จัดเป็นรูปแบบ “สนามการเรียนรู้” (Field of learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning process) และพัฒนากระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างเสริมพื้นที่รูปธรรม (Substantial area) ภายใต้ปรัชญา เคารพธรรมชาติ ศรัทธาความเท่าเทียมของมนุษย์ (Respect for nature. Faith in humanity justice) โดยการนำองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น (Eco – Cultural Historical approach) มาของคนภายในและภายนอกร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกำหนดแนวทางเลือกนโยบายในการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ปรัชญาโฮงเฮียนแม่น้ำของ : “เคารพในธรรมชาติ ศรัทธาในความเท่าเทียมของมนุษย์” (Respect for nature. Faith in humanity justice)

การจัดทำห้องสมุดแม่น้ำของ

จัดทำให้เป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหา ข้อมูล ในรูปของเอกสาร และสื่อสารนิเทศ รวมถึงการให้บริการในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD DVD VCD (ภาพยนตร์ เพลง สารคดี ข่าว) งานศิลปะ เครื่องมือหาปลา ที่มีความเกี่ยวข้องกับอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอุษาคเนย์ ซึ่งจะมีการจัดเป็นระบบเพื่อให้ง่ายในการสืบค้น และสามารถนำมาใช้งานได้ โดยทำให้ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งการเรียนรู้ มีการเคลื่อนไหว และมีชีวิตโดยมีรูปแบบการดำเนินการเบื้องต้น มีรายละเอียด ดังนี้

  1. หนังสือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอุษาคเนย์ทั้งหมด(ที่รวบรวมได้) ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ ในทุกหมวดหมู่เนื้อหา เช่น หมวดนิทานพื้นบ้าน เรื่องเล่า ตำนาน และความเชื่อ หมวดสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ หมวดนิเวศสิ่งแวดล้อม หมวดศิลปวัฒนธรรม หมวดสารคดี ท่องเที่ยว หมวดบทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย เป็นต้น
  2. เอกสารทางวิชาการ ข้อมูล งานวิจัย แบบสำรวจอีไอเอ จะมีการเก็บรวบรวมทั้งจากส่วนราชการ เอกชน และอื่นๆ
  3. นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ ข่าว ที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง อาทิ นิตยสารแม่โขงโพสต์, วารสารแม่น้ำโขง, การตัดเก็บข่าวที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง โดยจัดเป็นหมวดหมู่ รวบรวมเย็บเป็นเล่ม เพื่อง่ายในการค้นหาและนำไปใช้งาน
  4. สื่อภาพและวีดีโอเทป ทั้งเสียงและภาพ เช่น แผนที่ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สารคดี ข่าว เพลง เกี่ยวกับแม่น้ำโขง ทั้งด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเสียงที่มีการบันทึกสัมภาษณ์ต่างๆ (ชาวบ้านในพื้นที่ และการเสวนา เป็นต้น) โดยจัดเป็นหมวดหมู่ และมีการบันทึกวันเวลาอย่างครบถ้วน (ส่วนนี้ อาจมีห้องแยก หรือตั้งจุดให้ผู้สนใจสามารถรับชม รับฟังได้โดยไม่รบกวนผู้อื่น)
  5. ผลงานศิลปะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง ทุกรูปแบบ ภาพวาด จิตรกรรม ประติมากรรม ของจริง หรือรวบรวมเป็นภาพ หนังสือ
  6. วัสดุอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันของคนลุ่มน้ำโขง อาทิ เครื่องมือหาปลา ที่ร่อนทอง เป็นต้น โดยเก็บทั้งของจริง ภาพถ่าย หรือ แบบจำลอง ซึ่งถ้าสามารถทำให้เห็นการทำงานได้ด้วยยิ่งดี เช่น การดักไซทำอย่างไร
  7. นิทรรศการ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) นิทรรศการถาวร เช่น แบบจำลองแม่น้ำโขงตลอดสาย จุดตั้งของสิ่งต่างๆ เช่น เขื่อน หรือแบบจำลองระบบนิเวศในเขตคอนผีหลง โดยทำเป็นแบบเห็นรูปทรงรอบด้าน ที่ทำให้ดูแล้วสามารถเข้าใจระบบนิเวศน์ในแม่น้ำโขงได้ เช่น หนอง หลง คก เป็นอย่างไร อาจจำลองการจับปลาตามระบบนิเวศต่างๆ ด้วย หรือจำลองการทำงานของเขื่อนว่ามีผลกระทบอย่างไร และ 2)นิทรรศการที่มีการจัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเป็นประจำ เช่น การจัดแสดงงานศิลปะ และอื่นๆ
  8. อินเตอร์เน็ต ควรมีอินเตอร์เน็ต หรือ Wifi เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากโลกออนไลน์ อย่างน้อย ๑ จุดเพื่อให้ผู้มาใช้บริการสามารถใช้งานได้จริง

เยาวชน 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง Mekong School

ภาพคณะภิกษุสามเณรจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมเชียงของ 25 ก.พ. 2559

บันทึกหนังสือเยี่ยมโฮงเฮียนแม่น้ำของ

วันนี้ข้าพเจ้า นางธิดารัตน์ ฮาประยูร หัวหน้าสายชั้นระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเชียงของ พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียนระดับปฐมวัย ได้มาศึกษาเรียนรู้ที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงและสิ่งมีชีวิต ธรรมชาติของแม่น้ำโขง ตลอดจนได้ปลูกจิตสำนึก ให้เด็กได้รู้จักการรักษ์ธรรมชาติ และการอนุรักษ์แม่น้ำโขง

ขอขอบพระคุณ ผู้อำนวยโฮงเฮียนแม่น้ำของ และคณะวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ให้ความรู้แก่เด็กปฐมวัยในวันนี้ และทางโรงเรียนยังคงจะสืบสานอนุรักษ์แม่น้ำโขงและปลูกจิตสำนึกให้เด็กรักบ้านเกิดของตนเองต่อไป

นางธิดารัตน์ ฮาประยูร หัวหน้าสายชั้นระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเชียงของ
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559

กระผมในนามของคณะอาจารย์ และนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รู้สึกขอบคุณและประทับใจในการดำเนินงานของโฮงเฮียนแม่น้ำของ ที่ได้ฝ่าฟันอุปสรรคมาตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาเกือบ 20 ปีในการอนุรักษ์แม่น้ำโขง แม่น้ำของ แม่น้ำล้านซ้างและอื่นๆรวม 7 ชื่อ ซึ่งเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศที่มีคุณูปการต่อประชาชนที่พำนักอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำสำคัญสายนี้ตั้งแต่จุดกำเนิดในที่ราบสูงธิเบตผ่านประเทศจีนจิ่งหง กวนเล่ย ผ่านพรมแดนของพม่าด้านขวาและลาวด้านซ้ายจนถึงเชียงแสน เชียงของและเวียงแก่น ราว42กิโลเมตรก่อนที่เข้าไปในดินแดนลาวจนกระทั่งเป็นพรมแดนลาว-ไทย สี่พันดอน ดอนพะเพ็ง กพช. ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาแม่น้ำโขงอย่างมากมี ”แก้มลิง” ที่สำคัญคือTonle sap หรือทะเลสาบเขมรในภาษาไทย โดยในช่วงหน้าฝนมีขนาดกว้างเพิ่มขึ้นมากและน้ำไหลเข้า Tonle sap ทางแม่น้ำ Barrac และในหน้าแล้งแม่น้ำ Barrac เปลี่ยนทางเดินไหลออก โดยในช่วงเปลี่ยนเส้นทางเดิน(ทิศทาง) ของน้ำจะฉลองกันในเทศกาลโอมตุ๊ก ราวเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สุดท้ายไปออกทะเลที่เวียดนามด้านใต้ ซึ่งเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์และเปราะบางซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากทำเลหนุนเข้ามาทางปากแม่น้ำในหน้าแล้ง เมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงไหลน้อยลง

จะเห็นได้ว่า แม่น้ำโขงเป็น”แม่”ที่เลียงดูประชาชนในลุ่มน้ำนี้ ทั้งในการบริโภคอุปโภค เกษตรกรรม คมนาคม จึงจำเป็นอยู่อยู่รอบปากแม่น้ำโขง จะต้องคำนึงคุณประโยชน์และกตัญญู แต่คุณของ”แม่”

กระผลจึงขอขอบคุณ ครูตี๋ (นิวัฒน์  ร้อยแล้ว) ที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่า ให้ทัศนะและแลกเปลี่ยนความรู้กับคณะอาจารย์และนักศึกษา ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานและการต่อสู้เพื่ออนุรักษ์แม่น้ำโขงในทัศนะของชาวเชียงของที่รักและห่วงแหนแดนเกิด เพื่อให้ยุวชนรุ่นลูกละหลานสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข ที่มีวิถีชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์แม่น้ำโขงในทุกๆด้าน ไม่ว่า นิเวศวิทยา สังคม-มานุษวิทยา และการบริหารแม่น้ำโขง เพื่อประโยชน์ร่วมกันของคนลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ที่ใช้แม่น้ำโขงร่วมกัน

ด้วยความเคารพ
ดร.นฤนิต หิญชีระนันต์
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศารสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11 มีนาคม 2559

We had the big pleasure to visit you and Learn a lot about the school and the life of the people here! Your approach and your work are so inspiring and in very little time helped us so much in understanding the situation here!

We will do our best to bring this information to Austria and our NGO networks there and also pass on to a broad public how important it is to protect the people’s live and culture and to pay respect to environment and especially the Mekhong! People must respect live and not sall it! Please go on doing your valuable work! We hope that we can come back one day and stay longer. Lots of love and respect. 

Ainshine From Austria NGO Sodwind 

Spend some very important hours with you that I consider to be some of the most Valuable in my life! Thank you for sharing from the heart&mind&for wonderful school of life you have. See you all and all the best, Joy.

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

แม่น้ำโขง....สายน้ำเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่หล่อเลี้ยงคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กว่า 100 กลุ่มชาติพันธุ์ หรือไม่ต่ำกว่า 100 ล้านคน

แม่น้ำโขง ....มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลาเป็นอันดับ ๓ ของโลก ด้วยความยาวและความหลากหลายของภูมินิเวศที่แตกต่างกันของแม่น้ำโขง 

แม่น้ำโขงให้กำเนิดอารยธรรมลุ่มน้ำโขง ที่เต็มเปืี่ยมไปด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในการดำรงชีวิตภายใต้ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

วันนี้...ดินแดนแถบนี้กลายเป็นเป้าหมายของกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจจนละเลยถึงความสำคัญของระบบนิเวศส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศของชุมชนที่อยู่อาศัยสองฝั่งแม่น้ำ 

เรารู้ว่าน้ำมือของมนุษย์ ทำให้โลกร้อนขึ้น จนเกิดภาวะน้ำแล้งสลับน้ำท่วม

เราจึงอยากชวนทุกคนมาร่วมสร้าง “โฮงเฮียนแม่น้ำของ” เพื่อเป็นแหล่งความรู้ ที่จะขับเคลื่อนการเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนา ทั้งระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเป็นกลไกที่ศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนา  รวมถึงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในลุ่มน้ำโขงต่อไปในอนาคต 

โฮงเฮียนแม่น้ำโขงมีแนวคิดการจัดการเรียน จัดเป็นรูปแบบ “สนามการเรียนรู้” (Field of learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning process) และพัฒนากระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างเสริมพื้นที่รูปธรรม (Substantial area) ภายใต้ปรัชญา เคารพธรรมชาติ ศรัทธาความเท่าเทียมของมนุษย์ (Respect for nature. Faith in humanity justice) โดยการนำองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น (Eco – Cultural Historical approach)  มาเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของคนภายในและภายนอกร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกำหนดแนวทางเลือกนโยบายในการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ปรัชญา   “เคารพในธรรมชาติ ศรัทธาในความเท่าเทียมของมนุษย์” (Respect for nature. Faith in humanity justice) 

เรามีเป้าหมายในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภายในของชุมชนในลุ่มน้ำโขง เป็นสถาบันองค์ความรู้ท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ท้องถิ่นและกระบวนการทำงานในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  รวมถึงเป็นสถาบันที่เสริมสร้างการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันของชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนเกิดกระบวนเรียนรู้ร่วมกันเป็นเครือข่ายการทำงาน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง 

ประโยชน์ของโครงการ :

1.  เพื่อเผยแพร่กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “โฮงเฮียนแม่น้ำของ”

2.  เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ของสถาบันการศึกษาและองค์กรภาคีเครือข่าย

3.  เพื่อระดมทุนจัดสร้างห้องสมุดแม่น้ำโขง สู่สนามการเรียนรู้นิเวศน์วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  การเผยแพร่แนวทางการดำเนินการหลักสูตรท้องถิ่น “โฮงเฮียนแม่น้ำของ”

2.  การเผยแพร่องค์ความรู้ประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงจากองค์กรภาคีเครือข่าย

 

3.  การระดมทุนจัดสร้างห้องสมุดแม่น้ำโขง

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

1.นิทรรศการความรู้

1.1กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “นิเวศน์วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง”

1.2 จัดแสดงผลงานทางวิชาการ กลุ่มรักษ์เชียงของและองค์กรเครือข่ายฯ

1.3นิทรรศการภาพถ่าย โปสเตอร์ ภาพวาด สารคดี หนังสั้น

2.เสวนา”สถานการณ์การพัฒนาลุ่มน้ำ”สมาคมนักข่าวสิ่งแวดล้อม

3.เวทีเสวนา “หลักสูตรท้องถิ่น นิเวศน์วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงกับสังคมไทย”

4.ล่องน้ำโขงสู่สนามการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ

5.งานแสดง  บทกวี-ดนตรี  ตำนานสายน้ำโขง

สมาชิกภายในทีม :

สมเกียรติ  เขื่อนเชียงสา เบอร์โทร. 089-9557890    อีเมลล์ : mekonglover@hotmail.com

นายจีระศักดิ์  อินทะยศ เบอร์โทร. 081-5318203

นายเกรียงไกร  แจ้งสว่าง เบอร์โทร. 086-1809464    อีเมลล์ : kkmeakong@hotmail.com

ภาคี :

กลุ่มรักษ์เชียงของ:เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา

260 ม.1 ต.เวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย 57140

ความคืบหน้าโครงการโฮงเฮียนแม่น้ำของ สนามเรียนรู้นิเวศน์วัฒนธรรม

8 พฤศจิกายน 2016

โฮงเฮียนแม่น้ำของ สนามเรียนรู้นิเวศน์วัฒนธรรมได้มีแนวคิดการจัดการเรียน จัดเป็นรูปแบบ “สนามการเรียนรู้” (Field of learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning process) และพัฒนากระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างเสริมพื้นที่รูปธรรม (Substantial area) ภายใต้ปรัชญา เคารพธรรมชาติ ศรัทธาความเท่าเทียมของมนุษย์ (Respect for nature. Faith in humanity justice) โดยการนำองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น (Eco – Cultural Historical approach) มาของคนภายในและภายนอกร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกำหนดแนวทางเลือกนโยบายในการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ปรัชญาโฮงเฮียนแม่น้ำของ : “เคารพในธรรมชาติ ศรัทธาในความเท่าเทียมของมนุษย์” (Respect for nature. Faith in humanity justice)

การจัดทำห้องสมุดแม่น้ำของ

จัดทำให้เป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหา ข้อมูล ในรูปของเอกสาร และสื่อสารนิเทศ รวมถึงการให้บริการในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD DVD VCD (ภาพยนตร์ เพลง สารคดี ข่าว) งานศิลปะ เครื่องมือหาปลา ที่มีความเกี่ยวข้องกับอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอุษาคเนย์ ซึ่งจะมีการจัดเป็นระบบเพื่อให้ง่ายในการสืบค้น และสามารถนำมาใช้งานได้ โดยทำให้ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งการเรียนรู้ มีการเคลื่อนไหว และมีชีวิตโดยมีรูปแบบการดำเนินการเบื้องต้น มีรายละเอียด ดังนี้

  1. หนังสือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอุษาคเนย์ทั้งหมด(ที่รวบรวมได้) ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ ในทุกหมวดหมู่เนื้อหา เช่น หมวดนิทานพื้นบ้าน เรื่องเล่า ตำนาน และความเชื่อ หมวดสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ หมวดนิเวศสิ่งแวดล้อม หมวดศิลปวัฒนธรรม หมวดสารคดี ท่องเที่ยว หมวดบทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย เป็นต้น
  2. เอกสารทางวิชาการ ข้อมูล งานวิจัย แบบสำรวจอีไอเอ จะมีการเก็บรวบรวมทั้งจากส่วนราชการ เอกชน และอื่นๆ
  3. นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ ข่าว ที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง อาทิ นิตยสารแม่โขงโพสต์, วารสารแม่น้ำโขง, การตัดเก็บข่าวที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขง โดยจัดเป็นหมวดหมู่ รวบรวมเย็บเป็นเล่ม เพื่อง่ายในการค้นหาและนำไปใช้งาน
  4. สื่อภาพและวีดีโอเทป ทั้งเสียงและภาพ เช่น แผนที่ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สารคดี ข่าว เพลง เกี่ยวกับแม่น้ำโขง ทั้งด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเสียงที่มีการบันทึกสัมภาษณ์ต่างๆ (ชาวบ้านในพื้นที่ และการเสวนา เป็นต้น) โดยจัดเป็นหมวดหมู่ และมีการบันทึกวันเวลาอย่างครบถ้วน (ส่วนนี้ อาจมีห้องแยก หรือตั้งจุดให้ผู้สนใจสามารถรับชม รับฟังได้โดยไม่รบกวนผู้อื่น)
  5. ผลงานศิลปะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขง ทุกรูปแบบ ภาพวาด จิตรกรรม ประติมากรรม ของจริง หรือรวบรวมเป็นภาพ หนังสือ
  6. วัสดุอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันของคนลุ่มน้ำโขง อาทิ เครื่องมือหาปลา ที่ร่อนทอง เป็นต้น โดยเก็บทั้งของจริง ภาพถ่าย หรือ แบบจำลอง ซึ่งถ้าสามารถทำให้เห็นการทำงานได้ด้วยยิ่งดี เช่น การดักไซทำอย่างไร
  7. นิทรรศการ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) นิทรรศการถาวร เช่น แบบจำลองแม่น้ำโขงตลอดสาย จุดตั้งของสิ่งต่างๆ เช่น เขื่อน หรือแบบจำลองระบบนิเวศในเขตคอนผีหลง โดยทำเป็นแบบเห็นรูปทรงรอบด้าน ที่ทำให้ดูแล้วสามารถเข้าใจระบบนิเวศน์ในแม่น้ำโขงได้ เช่น หนอง หลง คก เป็นอย่างไร อาจจำลองการจับปลาตามระบบนิเวศต่างๆ ด้วย หรือจำลองการทำงานของเขื่อนว่ามีผลกระทบอย่างไร และ 2)นิทรรศการที่มีการจัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเป็นประจำ เช่น การจัดแสดงงานศิลปะ และอื่นๆ
  8. อินเตอร์เน็ต ควรมีอินเตอร์เน็ต หรือ Wifi เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากโลกออนไลน์ อย่างน้อย ๑ จุดเพื่อให้ผู้มาใช้บริการสามารถใช้งานได้จริง

เยาวชน 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง Mekong School

ภาพคณะภิกษุสามเณรจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมเชียงของ 25 ก.พ. 2559

บันทึกหนังสือเยี่ยมโฮงเฮียนแม่น้ำของ

วันนี้ข้าพเจ้า นางธิดารัตน์ ฮาประยูร หัวหน้าสายชั้นระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเชียงของ พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียนระดับปฐมวัย ได้มาศึกษาเรียนรู้ที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงและสิ่งมีชีวิต ธรรมชาติของแม่น้ำโขง ตลอดจนได้ปลูกจิตสำนึก ให้เด็กได้รู้จักการรักษ์ธรรมชาติ และการอนุรักษ์แม่น้ำโขง

ขอขอบพระคุณ ผู้อำนวยโฮงเฮียนแม่น้ำของ และคณะวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ให้ความรู้แก่เด็กปฐมวัยในวันนี้ และทางโรงเรียนยังคงจะสืบสานอนุรักษ์แม่น้ำโขงและปลูกจิตสำนึกให้เด็กรักบ้านเกิดของตนเองต่อไป

นางธิดารัตน์ ฮาประยูร หัวหน้าสายชั้นระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเชียงของ
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559

กระผมในนามของคณะอาจารย์ และนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รู้สึกขอบคุณและประทับใจในการดำเนินงานของโฮงเฮียนแม่น้ำของ ที่ได้ฝ่าฟันอุปสรรคมาตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาเกือบ 20 ปีในการอนุรักษ์แม่น้ำโขง แม่น้ำของ แม่น้ำล้านซ้างและอื่นๆรวม 7 ชื่อ ซึ่งเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศที่มีคุณูปการต่อประชาชนที่พำนักอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำสำคัญสายนี้ตั้งแต่จุดกำเนิดในที่ราบสูงธิเบตผ่านประเทศจีนจิ่งหง กวนเล่ย ผ่านพรมแดนของพม่าด้านขวาและลาวด้านซ้ายจนถึงเชียงแสน เชียงของและเวียงแก่น ราว42กิโลเมตรก่อนที่เข้าไปในดินแดนลาวจนกระทั่งเป็นพรมแดนลาว-ไทย สี่พันดอน ดอนพะเพ็ง กพช. ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาแม่น้ำโขงอย่างมากมี ”แก้มลิง” ที่สำคัญคือTonle sap หรือทะเลสาบเขมรในภาษาไทย โดยในช่วงหน้าฝนมีขนาดกว้างเพิ่มขึ้นมากและน้ำไหลเข้า Tonle sap ทางแม่น้ำ Barrac และในหน้าแล้งแม่น้ำ Barrac เปลี่ยนทางเดินไหลออก โดยในช่วงเปลี่ยนเส้นทางเดิน(ทิศทาง) ของน้ำจะฉลองกันในเทศกาลโอมตุ๊ก ราวเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สุดท้ายไปออกทะเลที่เวียดนามด้านใต้ ซึ่งเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์และเปราะบางซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากทำเลหนุนเข้ามาทางปากแม่น้ำในหน้าแล้ง เมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงไหลน้อยลง

จะเห็นได้ว่า แม่น้ำโขงเป็น”แม่”ที่เลียงดูประชาชนในลุ่มน้ำนี้ ทั้งในการบริโภคอุปโภค เกษตรกรรม คมนาคม จึงจำเป็นอยู่อยู่รอบปากแม่น้ำโขง จะต้องคำนึงคุณประโยชน์และกตัญญู แต่คุณของ”แม่”

กระผลจึงขอขอบคุณ ครูตี๋ (นิวัฒน์  ร้อยแล้ว) ที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่า ให้ทัศนะและแลกเปลี่ยนความรู้กับคณะอาจารย์และนักศึกษา ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานและการต่อสู้เพื่ออนุรักษ์แม่น้ำโขงในทัศนะของชาวเชียงของที่รักและห่วงแหนแดนเกิด เพื่อให้ยุวชนรุ่นลูกละหลานสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข ที่มีวิถีชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์แม่น้ำโขงในทุกๆด้าน ไม่ว่า นิเวศวิทยา สังคม-มานุษวิทยา และการบริหารแม่น้ำโขง เพื่อประโยชน์ร่วมกันของคนลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ที่ใช้แม่น้ำโขงร่วมกัน

ด้วยความเคารพ
ดร.นฤนิต หิญชีระนันต์
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศารสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11 มีนาคม 2559

We had the big pleasure to visit you and Learn a lot about the school and the life of the people here! Your approach and your work are so inspiring and in very little time helped us so much in understanding the situation here!

We will do our best to bring this information to Austria and our NGO networks there and also pass on to a broad public how important it is to protect the people’s live and culture and to pay respect to environment and especially the Mekhong! People must respect live and not sall it! Please go on doing your valuable work! We hope that we can come back one day and stay longer. Lots of love and respect. 

Ainshine From Austria NGO Sodwind 

Spend some very important hours with you that I consider to be some of the most Valuable in my life! Thank you for sharing from the heart&mind&for wonderful school of life you have. See you all and all the best, Joy.

แผนการใช้เงิน

 

ลำดับ

รายการ

ค่าใช้จ่าย(บาท)

หมายเหตุ

จัดพิมพ์สื่อนิทรรศการ

50,000

 

วัสดุอุปกรณ์/จัดเตรียมสถานที่

50,000

 

 

รวมค่าใช้จ่าย

100,000

 

 

 

ลำดับ

รายการ

ค่าใช้จ่าย(บาท)

หมายเหตุ

1

ทำตัวอักษรท้องถิ่นเช่น เปลี่ยนจากก.ไก่ เป็นก.ไก(ไกคือสาหร่ายท้องถิ่น) หรือค.ควาย เป็นค.คก

 

20,000

 

2

ทำหนังสือระบบนิเวศในแม่น้ำโขง

 

20,000

 

 

จัดทำโปสเตอรให้ความรู้เกี่ยวกับลุ่มน้ำโขง 

 

5,000

 

 

จัดซื้อหนังสือแบบเรียนสำหรับเด็กในชุมชุน

30,000

 

 

ค่าดำเนินการเทใจ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน บัตรเครดิต ค่าไปรษรณีย์ในการส่งใบเสร็จ

10%

 

 

รวมค่าใช้จ่าย

83,350

 

เทใจขอสนับสนุนบางส่วน เช่น ทำหนังสือระบบนิเวศในแม่น้ำโขง