project เด็กและเยาวชน

แปลงดาดฟ้าเป็นสวนผัก

แปลงดาดฟ้าที่ว่างเปล่าบนมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เป็นสวนผักอินทรีย์เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและรายได้ที่ยั่งยืนให้กับมูลนิธิเด็กพิการ

ระยะเวลาโครงการ 2 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพ

ยอดบริจาคขณะนี้

40,300 บาท

เป้าหมาย

40,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 39

สำเร็จแล้ว

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ทำงานเพื่อดูแลเด็กพิการโดยเฉพาะเด็กพิการทางสมองมีความผิดปกติเนื่องจากสมองของเด็กได้รับอันตราย การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อในระหว่างที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด ทำให้สมองของเด็กเหล่านี้มีความผิดปกติในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ในระหว่างแรกเกิดจนถึง 7 ขวบจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูสมองของเด็กพิการให้เจริญเติบโตและพัฒนาให้มากที่สุด เพราะเมื่อพ้นวัย 7 ขวบแล้ว การฟื้นฟูและพัฒนาของสมองจะช้าลง
การฟื้นตัวและพัฒนาของสมองเด็กพิการนั้น นอกจากการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การกระตุ้นพัฒนาการ การทำกายภาพบำบัด ฯลฯ แล้ว อาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัยต่อสมองเด็กพิการโดยเฉพาะผักสด นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผักสดต่างๆ ที่มีขายกันในท้องตลาดส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนของสารเคมีฆ่าแมลง และสารเคมีเหล่านี้มีผลในการทำลายการทำงานของสมองเด็กพิการ
 
มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จึงอยากแปลงดาดฟ้าของมูลนิธิให้เป็นพื้นที่ปลูกผักด้วยเกษตรกรรมอินทรีย์ เพื่อเราจะได้ผลิตผักสดที่มีคุณค่าและปลอดภัยสำหรับเด็กพิการ พ่อแม่ ครอบครัวของเด็กพิการที่มารับบริการที่มูลนิธิสามารถนำผักที่ปลอดภัยเหล่านี้ไปปรุงอาหารให้กับเด็กของตนเองได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้พ่อแม่ ครอบครัวของเด็กพิการจะมีส่วนร่วมในการปลูกผักเพื่อเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งครอบครัวไปพร้อมๆ กัน
 
เรายังมองต่อไปอีกว่า โครงการสวนผักเพื่อเด็กพิการ จะใช้หลักการของกิจการเพื่อสังคมในการจัดการ คือ เราจะระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาในรูปของทุนหรือหุ้น และจะจัดจำหน่ายผักสดเหล่านี้ให้กับครอบครัวของเด็กพิการและชุมชนในราคาประหยัดเพื่อให้มีกำไรเล็กน้อยเพียงพอสำหรับการดำเนินงาน พร้อมยังทำให้ชุมชนรอบๆ ของเราที่มีทั้งผู้สูงอายุ เด็กปกติได้บริโภคผักปลอดภัย เราเชื่อว่า ภายหลังจากเกิดโครงการ เราจะสามารถเลี้ยงตัวโครงการได้ภายในเวลา 2 ปี

ประโยชน์ของโครงการ :

1. เพื่อผลิตผักที่มีคุณค่าและปลอดภัยสำหรับเด็กพิการ ครอบครัวของเด็กพิการ และชุมชน
2. เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำ กิจการเพื่อสังคมที่เกิดประโยชน์ต่อเด็กพิการ ชุมชน และพึ่งตนเองได้

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

1. การระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธา
2. การจัดทำแผนการตลาดเพื่อสังคม โดยให้สามารถเลี้ยงกิจการได้ภายใน 2 ปี
3. การเตรียมพื้นที่ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการปลูกผัก
4. การปลูกผัก การเก็บ และจำหน่าย
5. การทำกิจกรรมอื่นๆ ตามแผนกิจการเพื่อสังคม
6. การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายรายเดือน รายปี
7. การรายงานผลการดำเนินงานประจำปีให้ผู้สนับสนุนทุนรับทราบ
แผนการตลาดและการเงิน
1. สถานการณ์ทางการตลาด
ความตื่นตัวเรื่องผักอินทรีย์มีมากขึ้น ผู้บริโภคต้องการผักที่ปลอดภัยแม้ว่าราคาจะสูงกว่าผักปกติ ในกลุ่มพ่อแม่ ครอบครัวของเด็กพิการที่มารับบริการที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการก็มีความตื่นตัวเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
2. การวิเคราะห์โอกาส
  • จุดแข็ง ครอบครัวของเด็กพิการมารับบริการที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการอย่างต่อเนื่อง มีความผูกพันกับมูลนิธิฯ ยาวนาน นอกจากนี้มีเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิประมาณ 15 ราย
  • จุดอ่อน ครอบครัวที่มารับบริการต่อเนื่องมีไม่มากนัก ประมาณ 15-20 ครอบครัว ทำให้กำลังซื้อไม่มาก โอกาส รอบๆ มูลนิธิเป็นบ้านพัก ที่อยู่อาศัย อพาร์ทเม้นต์ จำนวนมากพอควร กระแสความตื่นตัวในเรื่องการบริโภคอาหารสุขภาพเพื่มสูงขึ้น วิกฤติ วิถีชีวิตของปัจจุบันนิยมกินอาหารนอกบ้าน หรืออาหารสำเร็จรูป
3. เป้าหมาย
  • ปีแรก มีรายได้จากการขายผักสัปดาห์ละ 2,000 บาท
  • ปีที่สอง มีรายได้จากการขายผักสัปดาห์ละ 4,000 บาท (ผักสด และอาหารแปรรูป)
4. กลยุทธทางการตลาด
  • ส่วนแบ่งการตลาด ครอบครัวเด็กพิการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จำนวน 30 ครอบครัว ชุมชนรอบๆ มูลนิธิ 
  • กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวเด็กพิการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ / ชุมชนรอบๆ มูลนิธิ ตำแหน่ง ผักอินทรีย์ ราคาประหยัด
5. แผนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์ในชุมชนรอบๆ มูลนิธิฯ
6. แผนการเงิน
โครงการต้องการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ระยะเวลา 2 ปี เป็นเงิน 500,000 บาท

สมาชิกภายในทีม :

มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

รายการราคา รวม (บาท)
1. โต๊ะวางแปลงผัก สูง 1 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 8 ตัว 20,000
2. แผงปลูกผัก , ดิน,ปุ๋ย,อุปกรณ์ปลูกผัก, เมล็ดพันธุ์20,000
3. ซุ้มปลูกผักยาว 4 เมตร จำนวน 2 ซุ้ม10,000
4. สแลมกันแดดพร้อมโครง20,000
5.ระบบน้ำ10,000
6.แปลงเพาะชำ10,000
7.ค่าดำเนินการ10,000
รวมทั้งสิ้น100,000