project เด็กและเยาวชน

เครื่องช่วยยกตัวเพื่อเด็กพิการ

เครื่องช่วยยกตัวสำหรับเด็กพิการที่มีน้ำหนักมาก เพราะน้องเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวด้วยตัวเองได้ หากมีเครื่องช่วยยกได้ก็เป็นเรื่องดี    

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ทุกจังหวัด

ยอดบริจาคขณะนี้

109,558 บาท

เป้าหมาย

88,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 124%
จำนวนผู้บริจาค 75

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความคืบหน้าโครงการเครื่องช่วยยกตัวเพื่อเด็กพิการ

29 พฤศจิกายน 2016

มูลนิธิกล้ามเนื้ออ่อนแรง รับผิดชอบโครงการเครื่องช่วยยกตัวเพื่อเด็กพิการ ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากผู้มีอุปการะผ่านเวบเทใจดอทคอมทั้งสิ้น 99,403 บาท มูลนิธิเริ่มดำเนินการโครงการเครื่องช่วยยกตัวสำหรับเด็กพิการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ดังนี้

  1. การประชุมคณะทำงาน ระหว่าง คุณรณกร ทิชินบรรณกร (รองประธานมูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง) ผศ.พญ.อรณี แสนมณีชัย (แพทย์) อ.นิสาศรี เสริมพล (นักกายภาพบำบัด) คุณคำรณ มะนาวหวาน (ผู้ผลิตเครื่องช่วยยก) และอ.กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ (Co-founder Fablab) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2559 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นที่ผลิตเครื่องช่วยยกนี้ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเครื่องช่วยยกให้ดีขึ้น ทั้งคุณภาพและระยะเวลาการใช้งานที่ประชุมเห็นด้วยกับการใช้วัสดุที่ดีกว่าเดิมแม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น และพยายามจะพัฒนาให้เครื่องช่วยยกมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายและใช้งาน จากเดิมเครื่องช่วยยกตัวระบบ manual มีราคา 8,000 บาท แต่เนื่องจากมีการปรับปรุงเครื่องช่วยยกให้มีระบบที่ดีขึ้น ราคาเครื่องช่วยยกตัวระบบ manual จึงปรับ ราคาเป็น 15,000 บาท จึงทำให้ เครื่องช่วยยกตัวระบบ manual ที่มีราคา 8,000 บาท นั้นเลิกผลิตไป สรุป ณ ปัจจุบันราคาเครื่องช่วยยกจึงอยู่ที่ 15,000 บาท เพราะฉะนั้น สำหรับครอบครัวของเด็กพิการ ที่มีความประสงค์ต้องการเครื่องช่วยยกตัวแต่มีความจำกัดทางเศรษสถานะของครอบครัว ทางมูลนิธิมีการประเมินโดยทีมแพทย์ด้ายกาย จิตใจ และนักสังคมประเมินด้านสังคม เศรษฐสถานะของครอบครัว ด้วยการสัมภาษณ์ ติดตามเยี่ยมบ้าน ซึ่งแบ่งการสนับสนุน 2 แนวทาง ดังนี้
    - แบบทางมูลนิธิสนับสนุนค่าเครื่องช่วยยกตัวในราคาเต็มราคา 15,000 บาท เนื่องจากครอบครัวไม่สามารถชำระค่าเครื่องยกตัวได้ ซึ่งจะผ่านการประเมินจากทีมสหสาขาวิชาชีพ
    - แบบร่วมจ่ายระหว่างมูลนิธิเเละครอบครัวคือการชำระค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ทางครอบครัวสามารถร่วมจ่ายได้ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ตามแต่ไม่เกิน 7000 บาท ส่วนที่เหลือทางมูลนิธิช่วยสนับสนุนทั้งหมด (8,000 บาทและมากกว่า)
  2. ประชาสัมพันธ์เรื่องเครื่องช่วยยกตัวสำหรับเด็กพิการ ในงาน การพบปะระหว่างทีมสหสาขาวิชาการ และสานสัมพันธ์กลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรม (ดูเชน) “อยู่ร่วมในสังคม อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ ห้องประชุมประสงค์ ตู้จินดา ตึกอานันทมหิดล ชั้น 10 โรงพยาบาลศิริราช ในงานนี้มีการนำเสนอการปรับสภาพแวดล้อม การใช้อุปกรณ์ช่วยการเคลื่อนไหวและการปรับที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับการดำเนินชีวิต โดยมีผู้ป่วยหลายรายที่สนใจและน่าจะได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยยก
  3. ทีมงานที่ปรึกษาทางการแพทย์ได้ดำเนินกระบวนการประเมินเด็กโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีความ ต้องการ และมีความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยยก เป็นจำนวน 10 คน ซึ่งกระบวนการประเมินประกอบไปด้วย ระยะโรคที่ผู้ป่วยเป็น ความรุนแรงของอาการอ่อนแรง ผู้ดูแล ลักษณะบ้าน และกิจวัตรประจำวัน โดยจะมีการไปเยี่ยมบ้านตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา เพื่อดูถึงความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องช่วยยกเนื่องจากเครื่องช่วยยกนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมาก 
  4. วัดตัวผู้ป่วยที่จะใช้เครื่องช่วยยกเพื่อผลิตเครื่อง ซึ่งขณะนี้มี ครอบครัวเด็กพิการที่สามารถร่วมจ่ายกับทางมูลนิธิจำนวน 3 ราย และครอบครัวเด็กพิการที่ไม่สามารถจ่ายได้ เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจ ทางมูลนิธิสนับสนุนทั้งหมด จำนวน 1 ราย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินกระบวนการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจำนวน 6 ราย
  5. รอส่งมอบเครื่องช่วยยกตัวสำหรับเด็กพิการ 4 ราย ในเดือนธันวาคม 2559

น้องๆ มาดูเครื่องยกตัวอันใหม่

สาธิตเครื่องช่วยยกตัว

น้องๆ ทดลองเครื่องช่วยยกตัว

ทางมูลนิธิขอขอบคุณผู้ร่วมบริจาคในโครงกสรนี้เป็นอย่างยิ่ง และ จะรายงานความคืบหน้าเป็นระยะจนกว่าโครงการจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ

ประเทศไทยมีเด็กเล็กมากกว่า 1,000 รายที่ป่วยเป็น "โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง" เด็กเหล่านี้เกิดมามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์จนเติบโตดีในวัยเด็ก พูดได้ เดินได้ วิ่งได้ จนวันหนึ่งพวกเขาจะค่อยๆ สูญเสียการควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อของพวกเขาจะเริ่มใช้งานไม่ได้ เริ่มจากกล้ามเนื้อขา แขน และกล้ามเนื้อหายใจ

แม้เด็กที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีสมองที่ทำงานปกติ แต่การสื่อสารระหว่างสมองไปยังกล้ามเนื้อของพวกเขานั้นบกพร่อง ทำให้เดินไม่ได้ ขยับแขนได้น้อยลง ส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ได้ตามปกติ

F)E)ND) คือ มูลนิธิการกุศลของไทยที่ก่อตั้งเพื่อต่อสู้กับโรคร้าย! เราอยากเป็นหนึ่งในความหวังและกำลังใจให้แก่ครอบครัวและเด็กที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยสมาชิกของเราประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยว ศิลปิน และคนในครอบครัวของเด็กที่เผชิญกับโรคนี้

วันนี้เราพบว่า เครื่องมือที่สำคัญของครอบครัวในการดูแลเด็กกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ เครื่องช่วยยก เพราะเครื่องช่วยเคลื่อนย้ายตัวน้องๆที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ จำเป็นต้องมีคนช่วยยกตัว

พ่อ-แม่ของน้องๆ จะต้องยกตัวน้องๆอย่างเป็นประจำทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง บางคนเริ่มมีอาการเจ็บหลัง บางคนได้รับผลกระทบ เช่นหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือแตก

เราจึงอยากชวนคนใจดีทุกท่านมาช่วยมูลนิธิเพื่อเด็กกล้ามเนื้ออ่อนแรง(FEND)จัดซื้อเครื่องยกตัวจำนวน 10 เครื่องที่จะช่วยให้น้องๆได้ย้ายตัวจากเตียงขึ้นมานั่ง ย้ายเข้าห้องน้ำ ส่งเสริมให้น้องๆได้มีกิจวัตรประจำวันมากขึ้น “เครื่องช่วยยกมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อเด็กพิการที่มีน้ำหนักมาก เพราะน้องเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวด้วยตัวเองได้ ดังนั้นหากมีเครื่องมือที่ช่วยยกได้ก็เป็นเรื่องดี” กล่าวโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้

มาร่วมทำบุญกับเรากันค่ะ

ประโยชน์ของโครงการ

  • ช่วยให้เด็กพิการจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้อย่างปลอดภัย
  • ช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ในการดูแลได้

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ

ดัดแปลงและปรับให้เข้ากับเด็กแต่ละคน โดยซื้อเครื่องจากมูลนิธิวิถีชีวิตอิสระคนพิการ ราคาเครื่องละ 8,000 บาท จำนวน 10 เครื่อง

สมาชิกภายในทีม

รณกร ทิชินบรรณกร

อรณี แสนมณีชัย

นิสาศรี เสริมพล

John Lanaghan

ภาคี

มูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

Facebook www.facebook.com/fendfoundation

ความคืบหน้าโครงการเครื่องช่วยยกตัวเพื่อเด็กพิการ

29 พฤศจิกายน 2016

มูลนิธิกล้ามเนื้ออ่อนแรง รับผิดชอบโครงการเครื่องช่วยยกตัวเพื่อเด็กพิการ ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากผู้มีอุปการะผ่านเวบเทใจดอทคอมทั้งสิ้น 99,403 บาท มูลนิธิเริ่มดำเนินการโครงการเครื่องช่วยยกตัวสำหรับเด็กพิการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ดังนี้

  1. การประชุมคณะทำงาน ระหว่าง คุณรณกร ทิชินบรรณกร (รองประธานมูลนิธิโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง) ผศ.พญ.อรณี แสนมณีชัย (แพทย์) อ.นิสาศรี เสริมพล (นักกายภาพบำบัด) คุณคำรณ มะนาวหวาน (ผู้ผลิตเครื่องช่วยยก) และอ.กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ (Co-founder Fablab) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2559 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นที่ผลิตเครื่องช่วยยกนี้ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเครื่องช่วยยกให้ดีขึ้น ทั้งคุณภาพและระยะเวลาการใช้งานที่ประชุมเห็นด้วยกับการใช้วัสดุที่ดีกว่าเดิมแม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น และพยายามจะพัฒนาให้เครื่องช่วยยกมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายและใช้งาน จากเดิมเครื่องช่วยยกตัวระบบ manual มีราคา 8,000 บาท แต่เนื่องจากมีการปรับปรุงเครื่องช่วยยกให้มีระบบที่ดีขึ้น ราคาเครื่องช่วยยกตัวระบบ manual จึงปรับ ราคาเป็น 15,000 บาท จึงทำให้ เครื่องช่วยยกตัวระบบ manual ที่มีราคา 8,000 บาท นั้นเลิกผลิตไป สรุป ณ ปัจจุบันราคาเครื่องช่วยยกจึงอยู่ที่ 15,000 บาท เพราะฉะนั้น สำหรับครอบครัวของเด็กพิการ ที่มีความประสงค์ต้องการเครื่องช่วยยกตัวแต่มีความจำกัดทางเศรษสถานะของครอบครัว ทางมูลนิธิมีการประเมินโดยทีมแพทย์ด้ายกาย จิตใจ และนักสังคมประเมินด้านสังคม เศรษฐสถานะของครอบครัว ด้วยการสัมภาษณ์ ติดตามเยี่ยมบ้าน ซึ่งแบ่งการสนับสนุน 2 แนวทาง ดังนี้
    - แบบทางมูลนิธิสนับสนุนค่าเครื่องช่วยยกตัวในราคาเต็มราคา 15,000 บาท เนื่องจากครอบครัวไม่สามารถชำระค่าเครื่องยกตัวได้ ซึ่งจะผ่านการประเมินจากทีมสหสาขาวิชาชีพ
    - แบบร่วมจ่ายระหว่างมูลนิธิเเละครอบครัวคือการชำระค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ทางครอบครัวสามารถร่วมจ่ายได้ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ตามแต่ไม่เกิน 7000 บาท ส่วนที่เหลือทางมูลนิธิช่วยสนับสนุนทั้งหมด (8,000 บาทและมากกว่า)
  2. ประชาสัมพันธ์เรื่องเครื่องช่วยยกตัวสำหรับเด็กพิการ ในงาน การพบปะระหว่างทีมสหสาขาวิชาการ และสานสัมพันธ์กลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมพันธุกรรม (ดูเชน) “อยู่ร่วมในสังคม อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ ห้องประชุมประสงค์ ตู้จินดา ตึกอานันทมหิดล ชั้น 10 โรงพยาบาลศิริราช ในงานนี้มีการนำเสนอการปรับสภาพแวดล้อม การใช้อุปกรณ์ช่วยการเคลื่อนไหวและการปรับที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับการดำเนินชีวิต โดยมีผู้ป่วยหลายรายที่สนใจและน่าจะได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยยก
  3. ทีมงานที่ปรึกษาทางการแพทย์ได้ดำเนินกระบวนการประเมินเด็กโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีความ ต้องการ และมีความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยยก เป็นจำนวน 10 คน ซึ่งกระบวนการประเมินประกอบไปด้วย ระยะโรคที่ผู้ป่วยเป็น ความรุนแรงของอาการอ่อนแรง ผู้ดูแล ลักษณะบ้าน และกิจวัตรประจำวัน โดยจะมีการไปเยี่ยมบ้านตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา เพื่อดูถึงความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องช่วยยกเนื่องจากเครื่องช่วยยกนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมาก 
  4. วัดตัวผู้ป่วยที่จะใช้เครื่องช่วยยกเพื่อผลิตเครื่อง ซึ่งขณะนี้มี ครอบครัวเด็กพิการที่สามารถร่วมจ่ายกับทางมูลนิธิจำนวน 3 ราย และครอบครัวเด็กพิการที่ไม่สามารถจ่ายได้ เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจ ทางมูลนิธิสนับสนุนทั้งหมด จำนวน 1 ราย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินกระบวนการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจำนวน 6 ราย
  5. รอส่งมอบเครื่องช่วยยกตัวสำหรับเด็กพิการ 4 ราย ในเดือนธันวาคม 2559

น้องๆ มาดูเครื่องยกตัวอันใหม่

สาธิตเครื่องช่วยยกตัว

น้องๆ ทดลองเครื่องช่วยยกตัว

ทางมูลนิธิขอขอบคุณผู้ร่วมบริจาคในโครงกสรนี้เป็นอย่างยิ่ง และ จะรายงานความคืบหน้าเป็นระยะจนกว่าโครงการจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์

แผนการใช้เงิน

รายการบาท
เครื่องช่วยยกตัว  10 เครื่องๆละ 8,000 บาท80,000
ค่าดำเนินการเทใจดอทคอม8,000
รวม88,000