cover_1

ครัวรักษ์อาหาร เสริมภูมิต้านทานชุมชนและกลุ่มเปราะบางสู้วิกฤติโควิด-19 (เฟส 2)

เงินบริจาคของคุณจะนำไปเป็นค่าประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหารให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-1910,000คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
16 ธ.ค. 2564

อัปเดตโครงการโครงการครัวรักษ์อาหารส่งมอบความช่วยเหลือแล้วกว่า 10,000 คน

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

16 ธ.ค. 2564 - 16 ธ.ค. 2564

    ครัวรักษ์อาหารช่วยเหลือกลุ่มคนตกงานที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 และกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำ ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 4 ชุมชน ซึ่งมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 10,000 คน เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2564 ถึง 30 พ.ย. 2564

ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการครัวรักษ์อาหารเฟส 2 (แต่ละชุมชนจะมีจำนวนครั้งของการทำอาหารเพื่อมอบอาหาร 1 มื้อ/คน/ครั้ง) มีดังต่อไปนี้

1. ครัวรักษ์อาหารหลักสี่ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนท่าทราย
  • ชุมชน302
  • ชุมชน306
  • ชุมชน307

ตั้งอยู่ในเขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

2. ครัวรักษ์อาหารบางบอน (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนเกษตรบ้านนายผล
  • ชุมชนรางไผ่
  • ชุมชนวัดรางโพธิ์
  • ชุมชนสวนผัก

ตั้งอยู่ในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

3. ครัวรักษ์อาหารบางซื่อ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 4,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนตึกแดง1
  • ชุมชนตึกแดง2
  • ชุมชนตึกแดง3
  • ชุมชนบ้านมั่นคงกัลยาณมิตร
  • ชุมชนสีน้ำเงิน
  • ชุมชนร่วมใจพัฒนา

ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

4. ครัวรักษ์อาหารบางกอกน้อย (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนซอยบ้านช่างหล่อ
  • ชุมชนพรพิพัฒน์
  • ชุมชนสุดสาคร

ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

รวมทั้งสิ้น 18,000 - 20,000 มื้อ/เดือน

ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือ 4 ชุมชนในแต่ละเดือน


รวมทั้งสิ้นมูลนิธิฯได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้งหมด 4 ชุมชนนี้เป็นจำนวน 90,861 มื้อตลอดสี่เดือนที่ผ่านมา จากเป้าหมาย 75,154 มื้อ (4 เดือน)

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารหลักสี่

ภาพการทำอาหารภายในครัวเขตหลักสี่ ของชุมชนอยู่ดีมีสุขร่วมใจ ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ในเมนูผัดพริกหน่อไม้ดองใส่หมู เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีทั้งพี่น้องที่ตกงาน และกักตัว ได้รับประทานกันอย่างอิ่มอร่อย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างถ้วนหน้า

การแจกจ่ายอาหารพร้อมทานให้แก่คนในชุมชนเป็นการลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้คนในชุมชนได้มีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากได้อิ่มอร่อยกับอาหารที่ทางประธานชุมชนจัดหาให้ และได้ลดรายจ่ายจากค่าอาหารไป 1-2 มื้อ เพื่อที่แต่ละบ้านจะได้นำเงินส่วนนี้ไปจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากโรคระบาด เช่น หน้ากากอนามัย หรือ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ

การแจกจ่ายอาหารปรุงสุก ให้แก่คนภายในชุมชนเขตหลักสี่ เพื่อแบ่งเบาค่าครองชีพ โดยก่อนเข้ามารับอาหารจะต้องใส่หน้ากากอนามัยมาด้วยทุกครั้ง โดยอาหารที่นำไปแจกจ่ายจะมีปริมาณแจกเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละครั้ง อีกทั้งผู้รับสามารถรับอาหารไปเผื่อแผ่คนในครอบครัวที่ไม่สามารถมารับได้ด้วย อีกทั้งบรรดาอาสาสมัครส่วนใหญ่ของเขตหลักสี่จะเป็นผู้สูงอายุ

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางบอน

ภาพการแจกจ่าย อาหารปรุงสุกจากครัวรักษ์อาหารเขตบางบอน นำโดยคุณมานิด ลักษมัญ ที่หลังจากแปรรูปวัตถุดิบส่วนเกินที่ได้รับจากมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นเมนูใหม่ จากนั้นป้านิดและทีมอาสาสมัครในชุมชน จะไปจัดตั้งจุดแจกจ่ายอาหารตามจุดที่มีผู้เดือดร้อน และต้องการอาหารในเขตบางบอน ตามการสำรวจ โดยจากภาพผู้รับเป็นกลุ่มแรงงานที่รายได้น้อยไม่เพียงพอ จึงต้องการอาหารเพื่อลดรายจ่ายค่าอาหารเพื่อนำไปใช้จ่ายในด่านอื่นๆเช่น ค่าเช่าบ้าน

ครัวรักษ์อาหารที่เขตบางบอน นำโดย คุณมานิด ลักษมัญ ที่เป็นหัวแรงหลักในการดำเนินงานครัวรักษ์อาหารทั้งประกอบอาหาร บรรจุอาหาร และแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนในชุมชนต่างๆ ซึ่งรวมถึงกลุ่มแรงงานที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในชุมชนอีกด้วย

ทางมูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสที่แนนซ์ ต้องขอขอบคุณบรรดาทีมงานที่สำคัญคือ จิตอาสาของเขตบางบอนทุกคน

ป้านิด ตัวแทนจิตอาสา กล่าวว่า “มันเหนื่อยนะ แต่ยังไหว เพราะมันมีคนที่รอความช่วยเหลืออยู่”

ป้านิดพูดด้วยน้ำเสียงจริงจังท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้น เนื่องจากการทำอาหารเพื่อช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อนเป็นสิ่งที่ทำให้ป้านิดยินดีที่จะทำ

 

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางซื่อ

พี่รวยตัวแทนอาสาสมัครชุมชนเขตบางซื่อ พี่รวยจะเป็นทั้งผู้ประสานงานของบ้านมั่นคงกัลยณมิตร เขตบางซื่อ เป็นผู้ประกอบอาหาร เป็นผู้แจกจ่ายอาหารให้แก่ชุมชน เมื่อพี่รวยและทีมอาสาสมัครปรุงอาหารเรียบร้อยก็จะบรรจุใส่ภาชนะของทางมูลนิธิ เพื่อรอที่จะตักแจกจ่ายให้กับผู้คนในชุมชนพร้อมๆ กับวัตถุดิบส่วนเกิน และอาหารส่วนเกินพร้อมทานอื่นๆ ซึ่งจะมีทั้งเบเกอรี่จากห้างสรรพสินค้า ผัก ผลไม้ต่างๆ ที่เหลือจากปรุงอาหาร 

ภาพของเบเกอรี่ส่วนเกินที่ห้างสรรพสินค้าบริจาคให้แก่มูลนิธิฯ เพื่อส่งต่อให้อาสาสมัครชุมชนได้นำไปแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนพร้อมกับอาหารปรุงสุก โดยก่อนจะแจกจ่ายทีมอาสาสมัครจะคัดแยกเบเกอรี่เป็นแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้คนในชุมชนได้รับอย่างทั่วถึง

 

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางกอกน้อย

ป้าตุ๊ก ตัวแทนจิตอาสา ของครัวรักษ์อาหารเขตบางกอกน้อย ผู้ทำหน้าที่แจกจ่ายอาหารให้กับผู้เดือดร้อน ป้าตุ๊กยังเป็นอาสาสมัครพัฒนาชุมชน ของกระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ จึงทำให้ป้าตุ๊กทราบถึงความเดือดร้อนภายในพื้นที่เป็นอย่างดี “ขอขอบคุณทีมงานมูลนิธิฯ และผู้บริจาคทุกท่านที่ได้ช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขอให้ชีวิตมีความสุข ความเจริญ เจริญยิ่งๆขึ้นไป”