cover_1

ครัวรักษ์อาหาร เสริมภูมิต้านทานชุมชนและกลุ่มเปราะบางสู้วิกฤติโควิด-19 (เฟส 2)

เงินบริจาคของคุณจะนำไปเป็นค่าประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหารให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-1910,000คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

2 ก.ค. 2564 - 31 ต.ค. 2564

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ชุมชน/หมู่บ้าน
4แห่ง

ครัวรักษ์อาหาร เป็นครัวชุมชนเพื่อชุมชนที่มูลนิธิฯส่งต่อวัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากระบบตลาด แต่ยังมีคุณภาพดีให้ชุมชนนำมาปรุงสุกและแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19

ชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต ชุมชนเหล่านี้มีพื้นที่อยูในจังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 4 ชุมชน มีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 10,000 คน แต่ละคนจะได้รับการสนับสนุนอาหารอย่างน้อย 1 มื้อต่อเดือนตลอดการดำเนินงานของโครงการ

ปัญหาสังคม

ความขาดแคลนอาหารช่วงวิกฤตโควิด-19 และปัญหาขยะอาหาร สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดระลอก 3 ที่ทำให้เกิดคลัสเตอร์ในพื้นที่ต่างๆช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มชุมชนเปราะบางหรือรายได้น้อย ที่ต้องกักตัวเนื่องจากสภาวะการระบาดในแต่ละรอบ และอยู่ในสถานะที่ยังไม่สามารถหารายได้เลี้ยงชีพและครอบครัวตามปกติได้ กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อความขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากการขาดรายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว ในอีกทางหนึ่งเราพบว่าร้อยละ 64 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อปีนั้นคือขยะอาหาร ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบไปด้วยอาหารส่วนเกินจำนวนมากที่ภาคธุรกิจไม่สามารถขายได้แล้วถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย และกลายเป็นขยะอาหารที่ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งที่จริงแล้วอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดีและสามารถบริโภคได้ เพียงแต่เป็นปริมาณส่วนเกินในระบบตลาดเท่านั้น ในขณะเดียวกันยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามาถเข้าถึงอาหารคุณภาพดีเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้เปราะบางที่กล่าวไปข้างต้น

วิธีการแก้ปัญหา

  1. โครงการครัวรักษ์อาหาร เป็นหนึ่งในโครงการของทางมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ที่ให้อาสาสมัครจากชุมชน และอาสาสมัครภายนอก มาร่วมกันปรุงอาหารจากอาหารส่วนเกินที่ได้รับบริจาคมาให้เป็นเมนูอาหารใหม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และถูกหลักอนามัย เพื่อส่งต่อให้กับคนในชุมชนที่ขาดแคลนอาหารตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ เพื่อประยุกต์ใช้อาหารส่วนเกินทุกชนิด ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของอาสาสมัคร ให้เป็นเมนูอาหารที่ชุมชนคุ้นเคย โดยนอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังคำนึงถึงรสชาติเพื่อเพิ่มความสุขให้กลุ่มผู้ที่ได้รับอาหารอีกด้วย ที่ผ่านมาครัวรักษ์อาหารได้ให้ความช่วยเหลือผู้เปราะบางในชุมชนต่างๆ ไปแล้วกว่า 35 ชุมชนในจ. กรุงเทพฯ ซึ่งครอบคลุมประชากรจำนวน 42,157 คน ด้วยปริมาณมื้ออาหารจำนวนเกือบ 1 ล้านมื้อ เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมลดปัญหาขยะอาหารจากอาหารส่วนเกิน โครงการครัวรักษ์อาหารของมูลินิธิฯ จึงเกิดขึ้น โดยการสร้างระบบการถ่ายโอนอาหารส่วนเกินซึ่งก็คือ “อาหารส่วนที่เกินจากความต้องการของตลาด” ไปยังกลุ่มผู้เปราะบางต่างๆ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของคนชุมชน ผ่านการวางแผนระบบการขนส่งอาหารจากกลุ่มผู้บริจาคซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตอาหารในระบบตลาดไปยังครัวชุมชนที่ตั้งอยู่ภายใน 6 ชุมชนรอบจังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำไปประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และท้ายที่สุดนำส่งมอบให้กับกลุ่มผู้รับอาหารในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้เท่าที่ควร

แผนการดำเนินงาน

  1. ระบบการทำงานของมูลนิธิในทุกๆวันโดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ ระบบการรับบริจาคอาหารส่วนเกินดังภาพข้างต้น ในส่วนของโครงการครัวรักษ์อาหารนั้นเป็นโครงการส่วนขยายจากระบบการทำงานข้างต้นโดยจะเป็นส่วนที่อยู่ก่อนการบริจาคอาหารให้แก่ชุมชนโดยตรง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง

  2. ครัวรักษ์อาหารดูแลกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ใน 4 พื้นที่ ภายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (และปริมณฑล) รวมประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือทั้งหมด 10,000 คน ต่อเดือน คนในชุมชมเหล่านี้ บางส่วนนอกจากจะมีรายได้น้อยแล้ว ยังมีผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แม่และเด็ก ผู้ที่ไม่มีงานทำซึ่งส่วนหนึ่งประกอบอาชีพด้านการบริการ เช่นพนักงานโรงแรม ร้านนวด และพนักงานรับจ้างทั่วไป หรือถึงแม้ว่าคนบางกลุ่มจะยังมีงานทำแต่ก็ถูกลดเงินเดือนลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือนปกติ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
การประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหารจำนวนเดือนละ 30,000 มื้อ จำนวน 3 เดือน รวมเป็น 120,000 มื้อ (ต้นทุน 6 บาทต่อมื้อ)

120,000มื้อ720,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด720,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)72,000.00
ยอดระดมทุน
792,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งแก้ไขปัญหาขยะอาหารและส่งเสริมความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหารในประเทศไทย เราดำเนินการรับอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) ที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ เช่น อาหารที่รูปลักษณ์ไม่สมบูรณ์หรือใกล้ถึงวันหมดอายุ จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร และโรงงานผลิตอาหาร ผ่านระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งขาดแคลนอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เราสามารถส่งต่ออาหารไปแล้วกว่า 50 ล้านมื้อ มีพันธมิตรมากกว่า 1,700 องค์กร สนับสนุนชุมชนมากกว่า 6,000 แห่ง และมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 300,000 ตัน ผ่านการลดขยะอาหารอย่างเป็นระบบ

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon