เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนการประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหาร 3 เดือนให้กับกลุ่มคนตกงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง9,500คน
แต่นำมาปรุงสุกแล้วไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนตกงานที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 และกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำ ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 6 ชุมชน ซึ่งมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 9,500 คน แต่ละคนจะได้รับการสนับสนุนอาหารอย่างน้อย 1 มื้อต่อเดือนตลอดการดำเนินงานของโครงการ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกนั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานของประชาชนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนผู้จัดว่าอยู่ในกลุ่มชุมชนที่เปราะบาง หรือรายได้ต่ำที่ยังไม่สามารถหารายได้เลี้ยงชีพ และครอบครัวตามปกติได้ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดแถลงภาวะสังคมไตรมาสแรกของปี 2563 มีการคาดการณ์ต่อสัญญาณของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการจ้างงานไว้ว่า แรงงานมีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 8.4 ล้านคน กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อความขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากการขาดรายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว แต่ในทางกลับกันกว่าร้อยละ 64 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อปีนั้นคือขยะอาหาร ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบไปด้วยอาหารส่วนเกินจำนวนมากที่ภาคธุรกิจไม่สามารถขายได้แล้วถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย และกลายเป็นขยะอาหารที่ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งที่จริงแล้วอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดีและสามารถบริโภคได้ เพียงแต่เป็นปริมาณส่วนเกินในระบบตลาดเท่านั้น ในขณะเดียวกันยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามาถเข้าถึงอาหารคุณภาพดีเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มผู้พิการ กลุ่มเด็กกำพร้า กลุ่มผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น
ด้านสังคม
ด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการรักษ์อาหารไปได้อย่างต่อเนื่อง ทางมูลนิธิฯจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการรับและการบริจาคอาหาร รวมไปถึงการได้รับเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะชี้วัดการดำรงอยู่ของโครงการให้คงอยู่ต่อไป
แนวทางการต่อยอดโครงการในอนาคตนั้นจะเกิดเป็นรูปแบบการเปิดรับอาสาสมัครจากภาคองค์กรเอกชน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มาเรียนรู้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม ได้ทำความเข้าใจชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้เพื่อหาโอกาสขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับบริจาคสินค้าอาหารส่วนเกินมากขึ้น และการเปิดรับบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการมากขึ้นเพื่อร่วมกันเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน
ทั้งนี้ครัวรักษ์อาหารในแต่ละชุมชนจะมีจำนวนครั้งของการทำอาหารเพื่อมอบอาหาร 1 มื้อ/คน/ครั้งดังนี้
รวมทั้งสิ้น 45,000 มื้อ/เดือน
มี 497 ครัวเรือน ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,500 คน
ประกอบไปด้วย 3 ชุมชน คือ ชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน ชุมชนวัดโสมนัส และชุมชนจักรพรรดิพงษ์ “นางเลิ้ง เป็นย่านชุมชนที่เก่าแก่ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 497 หลังคาเรือน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ทำงานรับจ้าง มีกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุดในกรุงเทพฯ ซึ่งมีกลุ่มแกนนำชุมชนที่ขับเคลื่อนการทำงานจิตอาสาเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ครัวรักษ์อาหารนางเลิ้งเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฯ ที่มีวัตถุดิบให้พร้อมสำหรับการปรุงอาหาร และคนในชุมชนที่มีภูมิปัญญาการทำอาหาร ใช้งานวัฒนธรรมด้านอาหารเป็นเครื่องมือที่ชักชวนคนในชุมชน และผู้สูงอายุครูภูมิปัญญา มาร่วมกันทำอาหารใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ โดยการได้พบปะ และรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบที่ได้รับการบริจาคมาด้วยกัน ปัจจุบันครัวรักษ์อาหารนางเลิ้งได้ส่งต่ออาหารที่ชุมชนได้ปรุงขึ้นไปให้คนในชุมชนได้เดือนละ 1,500 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ แม่และเด็ก ผู้ที่ไม่มีงานทำที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนในชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ครัวรักษ์อาหารนางเลิ้งยังคงดำเนินการต่อไปให้สามารถกระจายอาหารได้ทั่วถึง และให้อาหารเป็นเครื่องมือในการรักษาภูมิปัญญาของชุมชนด้วย
คุณยายยิ้มเข้ารับอาหารสำหรับมื้อเย็น ย่านชุมชนนางเลิ้ง
มี 135 หลังคาเรือน ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,400 คน
ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุดดีน เขตหนองจอก ได้รับการก่อตั้งเป็นชุมชนในปี 2537 โดยมีคณะกรรมการ 7 คน เป็นชุมชนชานเมืองมี 135 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีมัสยิดคอยรุดดีนเป็นมัสยิดประจำชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพรับจ้างและเกษตรกรรม จบชั้นประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่ำกว่า 5,000 บาท มีผู้ที่มีบ้านที่อยู่อาศัยของตนเอง 91 หลัง และเช่าที่ดินอยู่ 46 หลัง ในเรื่องการแจกอาหารในชุมชน โดยปกติแล้ว ชุมชนจะมีการทำอาหารแจกให้กับเด็กๆที่เรียนศาสนาทุกวันพฤหัสบดี การเข้าร่วมโครงการครัวรักษ์อาหารจะทำให้ชุมชนสามารถแจกอาหารให้กับผู้ใหญ่ในชุมชนได้ด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับชุมชน และชวนคนในชุมชนมาร่วมกันปรุงอาหาร และร่วมกันส่งเสริมลดการลดพลาสติก ให้ใช้ภาชนะจากครัวเรือนมาใส่อาหาร หรือใช้วัสดุจากธรรมชาติมาเป็นภาชนะ ครัวรักษ์อาหารชุมชนคอยรุสดีนจึงเป็นครัวรักษ์อาหารที่ส่งเสริมความสามัคคีทางศาสนาและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ปัจจุบันทางมูลนิธิฯ สามารถแจกจ่ายมื้ออาหารจากโครงการนี้ครอบคลุมแล้วถึง 1,400 คนต่อเดือน ซึ่งในจำนวนนี้มีประชาชนที่เป็น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ยากไร้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากโดยด่วนด้วย
ครัวรักษ์อาหารคอยรุดดีน นำร่องการงดใช้พลาสติกในการแจกจ่ายอาหารให้คนในชุมชน
มี 2,000 ครัวเรือน ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,400 คน
ชุมชนในเขตมีนบุรีมีทั้งหมด 2,000 ครัวเรือนอยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 50 กิโลเมตร ระยะทางที่ห่างไกลทำให้การช่วยเหลือดูแลจากภาครัฐ หรือองค์กรต่างๆ ค่อนข้างยากลำบาก แต่ชุมชนก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาวัฒนธรรมทางศาสนาอิสลามอย่างเข้มแข็ง มีการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ดูแลชุมชนของตนเองด้วยกิจกรรมอาสาสมัครโดยการทำทีมกลุ่มจิตอาสาเพื่อนยุ้ย ที่จะคอยประสานงานขอรับการสนับสนุน สิ่งของ อุปกรณ์ และอาหาร เพื่อให้คนในชุมชนได้มีอาหาร เพียงพอ ในการร่วมกิจกรรมทางศาสนา เช่น การเรียนศาสนาทุกเย็นๆ กิจกรรมกีฬา และยังแบ่งปันให้กับชุมชนอื่นๆ การเข้าร่วมโครงการครัวรักษ์อาหารที่ทำอาหารแจกให้กับคนในชุมชนที่ตกงาน มีรายได้ไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุ และเด็ก ซึ่งปัจจุบันครัวรักษ์อาหารมีนบุรีได้ให้ความช่วยเหลือคนจำนวน 1,400 คนต่อเดือนในชุมชนเขตมีนบุรีให้มีอาหารที่เพียงพอมากขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวมากขึ้น
กลุ่มแม่ครัวอาสาร่วมกันทำอาหารที่ครัวรักษ์อาหารมีนบุรี
มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,400 คน
ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นชุมชนชานเมืองที่มีการย้ายถิ่นมาจากการไล่รื้อ แกนนำชุมชนจึงเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการที่อยู่อาศัยในเครือข่ายสลัมสี่ภาค นอกจากที่อยู่อาศัยที่เป็นเรื่องสำคัญแล้ว “อาหาร” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งสิ่งสำคัญกับทุกคนเช่นกัน แกนนำชุมชน จึงพยายามรวบรวมเงินบริจาคจากคนในชุมชนเพื่อจัดตั้งครัวชุมชน แม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพราะด้วยระยะทางที่ห่างไกล แต่ชุมชนก็ยังคงทำอาหารแจกให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด การที่มูลนิธิฯได้เข้าไปสนับสนุนวัตถุดิบสำหรับการทำครัวของชุมชนและจัดตั้งเป็นครัวรักษ์อาหาร ทำให้ชุมชนมีวัตถุดิบในการปรุงอาหารมากขึ้น และเป็นการลดค่าใช้จ่ายของคนในชุมชน การทำอาหารในหนึ่งเดือนจะสามารถแจกจ่ายได้ถึง 2,400 คน การแจกจ่ายอาหารนี้เป็นการแจกเพื่ออิ่มท้องสามารถอิ่มได้ทั้งครอบครัว ทางครัวที่ชุมชนแพรกษาเองยังอยากที่จะทำอาหารให้คนในชุมชนได้อิ่มท้องต่อไป เพราะคนในชุมชนก็ยังคงยากลำบาก และต้องการการสนับสนุนมากขึ้น
มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน
ตั้งอยู่ที่ชุมชนบ้านมั่นคงบางพลัด ลักษณะเป็นชุมชนแออัดที่มีการจัดการตัวเองในลักษณะเคหะชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งมีคณะกรรมการบริหารชุมชนที่ขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชน ครัวรักษ์อาหารบางพลัด คือโครงการที่ชุมชนได้ร่วมมือกับทางมูลนิธิฯ ชุมชนได้ใช้ “อาหาร”เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงคนในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และหน่วยงานภาครัฐ เข้ามามีส่วนร่วมให้การส่งต่ออาหารอย่างเป็นรูปธรรมให้กลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และผู้ได้รับผลกระทบหลังจากสถานการณ์โควิด 19 ให้มีอาหารเพียงพอเพื่อให้เกิดการลดรายจ่าย และเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของชุมชน ปัจจุบันครัวรักษ์อาหารบางพลัดกระจายอาหารให้กับคนในพื้นที่ 8 ชุมชนย่อยในเขตบางพลัดกว่า 2,000 คนต่อเดือน ชุมชนมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมแรงร่วมใจกระจายอาหารให้กับชุมชนมากที่สุด ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง
พี่วินมอร์ไซต์อาสานำอาหารจากครัวรักษ์อาหารบางพลัด ไปส่งต่อให้ชุมชนในพื้นที่ที่ไกลกว่าระยะการเดิน
สร้างระบบการถ่ายโอนอาหารส่วนเกินซึ่งก็คือ “อาหารส่วนที่เกินจากความต้องการของตลาด” ไปยังกลุ่มผู้เปราะบางต่างๆ
สร้างการมีส่วนร่วมของคนชุมชน ผ่านการวางแผนระบบการขนส่งอาหารจากกลุ่มผู้บริจาคซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตอาหารในระบบตลาดไปยังครัวชุมชนที่ตั้งอยู่ภายใน 6 ชุมชนรอบจังหวัดกรุงเทพฯ เพื่อนำไปประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ
นำส่งมอบให้กับกลุ่มผู้รับอาหารในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้เท่าที่ควร
ต่อยอดโครงการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเปิดรับอาสาสมัครจากภาคองค์กรเอกชน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มาเรียนรู้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม
ขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น
เปิดรับบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการมากขึ้นเพื่อร่วมกันเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน
ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ
ระบบการรับบริจาคอาหารส่วนเกินดังภาพข้างต้น ในส่วนของโครงการครัวรักษ์อาหารนั้นเป็นโครงการส่วนขยายจากระบบการทำงานข้างต้นโดยจะเป็นส่วนที่อยู่ก่อนการบริจาคอาหารให้แก่ชุมชนโดยตรง ซึ่งจะเกิดขึ้นอาทิตย์ละ 3-5 ครั้ง ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินงานของครัวรักษ์อาหาร จึงมีดังนี้ 2.1 ติดต่อหัวหน้าชุมชนที่เป็นผู้รับบริจาคอาหารจากทางมูลนิธิฯอยู่แล้ว และมีความเข้าใจเรื่องอาหารส่วนเกินเป็นอย่างดี เพื่อแนะนำให้เปิดครัวชุมชนเพื่อช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ 2.2 ตรวจสอบความพร้อมของชุมชนว่ามีสถานที่ และอุปกรณ์ในการจัดตั้งครัวชุมชนครบครันหรือไม่ หากมีความพร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางอาหารของมูลนิธิฯจะเข้าไปแนะนำการจัดตั้ง และความปลอดภัยให้กับชุมชน 2.3 ประสานงานกับทีมรถรับบริจาคอาหารส่วนเกินเพื่อนำวัตถุดิบส่วนหนึ่งมาส่งให้กับครัวในวันที่นัดหมายไว้ 2.4 รวบรวมอาสาสมัครทั้งภายในชุมชน และบุคคลภายนอกเพื่อจัดเตรียมการทำครัว 2.5 ประสานงานกับหัวหน้าชุมชนเพื่อจัดเตรียมจำนวนผู้รับอาหารที่มีความเดือนร้อน และจัดเตรียมด้านการสื่อสาร 2.6 เมื่อถึงวันนัดหมาย อาสาสมัครร่วมทำอาหารด้วยกัน 2.7 เมื่อทำอาหารเสร็จแล้วอาสาสมัครจึงลงพื้นที่นำไปแจกจ่ายให้กับชุมชน 2.8 อาสาสมัครกลับมาที่ครัวเพื่อช่วยกันจัดเก็บ ทำความสะอาดด้วยกัน
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
การประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหาร 3 เดือน (มื้อละ 6 บาท) ระยะเวลา 3 เดือน | 135,000มื้อ | 810,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 810,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 81,000.00 |
มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งแก้ไขปัญหาขยะอาหารและส่งเสริมความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหารในประเทศไทย เราดำเนินการรับอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) ที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ เช่น อาหารที่รูปลักษณ์ไม่สมบูรณ์หรือใกล้ถึงวันหมดอายุ จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร และโรงงานผลิตอาหาร ผ่านระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งขาดแคลนอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เราสามารถส่งต่ออาหารไปแล้วกว่า 50 ล้านมื้อ มีพันธมิตรมากกว่า 1,700 องค์กร สนับสนุนชุมชนมากกว่า 6,000 แห่ง และมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 300,000 ตัน ผ่านการลดขยะอาหารอย่างเป็นระบบ
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้