เงินบริจาคของคุณจะส่งต่อมื้ออาหารคุณภาพดีถูกหลักโภชนาการให้กับชุมชนเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน144ชุมชน
ภารกิจส่งต่อมื้ออาหารคุณภาพดีถูกหลักโภชนาการจำนวน 1 ล้านมื้อระหว่างมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ และบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้แก่ 144 ชุมชนเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กทม. ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมไปถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนซึ่งชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต ในโครงการนี้แต่ละชุมชนจะได้รับอาหาร 900-1,000 มื้อ/เดือน เป็นเวลา 7 เดือน
ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ UNFAO ได้ระบุไว้ว่า มีอาหารจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของโลกถูกทิ้งลงหลุมฝังกลบทั้งที่ยังกินได้ในทุก ๆ ปีซึ่งหากคิดตามปริมาณน้ำหนักนั้นจะมีปริมาณมากถึง 1,300 ล้านตัน/ปี โดยขยะอาหารเหล่านี้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 3,300 ล้านตัน/ปีซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ในขณะที่ยังมีผู้ขาดแคลนอาหารที่รอคอยความช่วยเหลืออยู่อีกถึง 815 ล้านคนทั่วโลก
ในส่วนของประเทศไทย ปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีโดยข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (สวพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยกว่า 26.77 ล้านตัน/ปีในจำนวนนี้มีขยะอาหารปนเปื้อนมากถึง 64% มากไปกว่านั้นประเทศไทยยังมีความสามารถในการกำจัดขยะไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงจากการที่ขยะอาหารปนเปื้อนลงสู่ดิน แหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดินอันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรค อีกทั้งยังผลิตก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากการขนส่งภาคพื้นดินและการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ซึ่งถือเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรงในปัจจุบัน
อีกด้านหนึ่งสัดส่วนผู้ขาดแคลนอาหารและขาดสารอาหารในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มจาก 8.6% ในปีพ.ศ. 2559 เป็น 9.3% ในปี พ.ศ.2561 ซึ่งหากคิดเป็นจำนวนประชากรจะมีจำนวนมากถึง 6.475 ล้านคนทั่วประเทศที่ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมกลุ่มต่างๆ เช่น เด็กด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้อพยพ คนไร้บ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ลี้ภัย และผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนในประเทศไทยอีกจำนวนมากถึง 6.89 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งประเทศ โดยตัวเลขดังกล่าวนี้นับรวมผู้สูงอายุ อพยพเข้ามาในประเทศไทย คนพิการที่ไม่มีงานทำที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนไปด้วย ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เดิมทีมีภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะขาดแคลนอาหารในการดำรงชีวิตในระยะยาวอยู่แล้ว เนื่องจากไม่มีช่องทางในการสร้างรายได้ที่แน่นอนในขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาหลายๆด้านในชีวิต และในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยซบเซาอย่างรุนแรง ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมกลุ่มคนเหล่านี้ให้มีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนอาหารเพิ่มสูงขึ้นไปอีก
ตั้งแต่การก่อตั้งในปี 2016 ตลอดมามูลนิธิฯได้ส่งมอบอาหารให้แก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่สาขา (ที่มีอยู่) ตามชุมชนรวมถึงสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ มากกว่า 500 แห่ง ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 กลุ่มเปราะบางเหล่านี้ล้วนแต่มีความเป็นอยู่ที่ลำบาก ผู้รับบริจาคอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารและไม่สามารถเข้าถึงคุณภาพดีได้ บางส่วนนอกจากจะมีรายได้น้อยแล้ว ยังมีผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แม่และเด็ก แรงงานข้ามชาติ ภายหลังการระบาดของโควิด กลุ่มเปราะบางยิ่งมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผู้ที่ไม่มีงานทำและผู้ที่ถูกลดเงินเดือน ซึ่งส่วนหนึ่งประกอบอาชีพด้านการบริการ เช่นพนักงานโรงแรม ร้านนวด และพนักงานรับจ้างทั่วไป
สาขามูลนิธิฯ ในปัจจบันประกอบด้วย
1. SOS สาขากรุงเทพ (HQ) จัดตั้งในปี 2016
o ผู้ได้รับผลประโยชน์คลอบคลุมจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล
2. SOS สาขาภูเก็ต จัดตั้งในปี 2019
o ผู้ได้รับผลประโยชน์คลอบคลุมจังหวัดภูเก็ต
3. SOS สาขาหัวหิน จัดตั้งในปี 2020
o ผู้ได้รับผลประโยชน์คลอบคลุมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี
4. SOS สาขาเชียงใหม่ กำลังจัดตั้ง (2021)
o ผู้ได้รับผลประโยชน์คลอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่
นอกจากนี้เรายังมีภาคีเครือข่าย เช่น ทหารกองทัพบก ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มจิตอาสาต่างๆ ที่ช่วยส่งมอบอาหารสู่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และพื้นที่ในเขตชายแดน เช่นจังหวัด แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี นราธิวาส เป็นต้น
ในพื้นที่สาขาของมูลนิธิฯ นอกจากกรุงเทพ (HQ) ที่ปฏิบัติการ 7 วันต่อสัปดาห์แล้ว สาขาภูเก็ตและหัวหินปฏิบัติการ 5 วันต่อสัปดาห์เนื่องจากมีบุคลากรน้อยกว่า ระบบการทำงานของมูลนิธิในทุกสาขามีลักษณะเหมือนกัน และพนักงานทุกคนที่ต้องสัมผัสอาหารจะได้รับการเทรนจากผู้เชี่ยวชาญ ในวันๆหนึ่งโครงการรักษ์อาหารจะเป็นปฏิบัติการหลัก
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มูลนิธิจึงได้ดำเนินการกอบกู้อาหารส่วนเกินไปพร้อมกับการให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนอาหารในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี โครงการทั้งหมดของมูลนิธิฯถูกพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพอยู่เสมอ ตั้งแต่ด้านการจัดระบบผู้บริจาค การปฏิบัติการเข้ารับอาหาร การจัดระบบผู้รับ และการเก็บจัดสรรข้อมูล ตั้งแต่ก่อตั้ง มูลนิธิให้ความสำคัญโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 โครงการหลักได้แก่
“โครงการรักษ์อาหาร” ซึ่งระบบโลจิสติกส์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก รถบรรทุกที่ใช้จำเป็นต้องติดตั้งตู้เย็นเพื่อคงสภาพของอาหารให้ปลอดภัยจนกว่าจะถึงมือผู้รับในแต่ละวัน รวมถึงการวางแผนเส้นทางเข้ารับอาหารจากผู้บริจาคประจำวันและการจัดการของบริจาคที่มีปริมาณมาก กระทั่งส่งต่อให้ผู้รับอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงการใช้พลังงานน้ำมัน ปริมาณอาหารและความต้องการของผู้รับ
“โครงการครัวรักษ์อาหาร” ซึ่งเป็นอีกโครงการที่สำคัญที่สร้างระบบการถ่ายโอนอาหารส่วนเกิน ไปยังกลุ่มผู้เปราะบาง พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของคนชุมชนผ่านครัวชุมชน วัตถุดิบอาหารจะถูกกระจายสู่ครัวชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำไปประกอบอาหารปรุงสุกที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และท้ายที่สุดนำส่งมอบให้กับกลุ่มผู้รับอาหารในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้เท่าที่ควร
“โครงการรักษ์อาหารเพื่อชุมชนห่างไกล” ด้วยความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายกลุ่มอาสากู้ภัยและทหาร ทำให้อาหารถูกส่งต่อไปถึงผู้ขาดแคลนที่อาศัยอยู่ในชุมชนตามแนวชายแดนของประเทศ และพื้นที่ห่างไกลยากแก่การเข้าถึงเช่นในป่า และบนดอยสูง
นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการอาหารส่วนเกินอย่างง่าย ๆ ได้ที่บ้าน และจัดงานอีเวนท์ต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างการตระหนักรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปอีกด้วย
จัดการวางแผนเส้นทางตามข้อมูลผู้บริจาคและชุมชนผู้รับ
เข้ารับอาหารตามจุดต่าง และส่งต่อให้ชุมชนในวันเดียวกัน โดยยึดถือความปลอดภัยในการบริโภคเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด
ถ้าได้รับอาหารที่เก็บได้นานเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ข้าวสาร น้ำผลไม้ ซีเรียล อาหารสามารถถูกจัดสรรเพื่อแบ่งให้ภาคีเครือข่ายส่งมอบสู่พื้นที่ห่างไกล
ถ้ามีวัตถุดิบอาหารจำนวนมาก สามารถนำส่งต่อให้ครัวชุมชนเพื่อนำไปทำเป็นอาหารปรุงสุกแจกจ่ายให้กลุ่มเปราะบางในชุมชน
พัฒนาระบบผู้บริจาค และภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง และเป็นที่ไว้วางใจ
พัฒนาระบบผู้รับอยู่เสมอ ให้ข้อมูลแม่นยำ ถูกต้อง และเข้าถึงกลุ่มผู้ที่ต้องการอย่างแท้จริง
พัฒนาและอัพเดทการจัดเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
เทรนพนักงานและสอบถามหารือเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติการ และข้อแนะนำอยู่เสมอ
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
การส่งต่อมื้ออาหารให้ 144 ชุมชน จำนวนเดือนละ 900-1,000 มื้อต่อเดือน (ต้นทุน 5 บาทต่อมื้อ) | 1,000,000มื้อ | 5,000,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 5,000,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (5%) | 250,000.00 |
มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะอาหารและสร้างความเทียมในการเข้าถึงอาหารภายในประเทศไทย โดยการใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้าไปรับอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) อาหารไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว เช่นอาหารหน้าตาไม่สวย หรือใกล้ถึงวันควรบริโภค จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนรายได้น้อยซึ่ง ซึ่งมีข้อจำกัดในการได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอในแต่ละวันตั้งแต่ปี 2017 ถึงปัจจุบัน เราส่งต่อมื้ออาหารมากกว่า 34.9 ล้านมื้อ (เทียบเท่ากับอาหารส่วนเกินที่ได้รับการช่วยเหลือ 8.31 ล้านกิโลกรัม) ช่วยเหลือชุมชนมากกว่า 3,600 แห่ง และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 21 ล้านกิโกกรับคาร์บอน
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้