project โควิด-19 กลุ่มคนเปราะบาง

ครัวรักษ์อาหาร เสริมภูมิต้านทานชุมชนและกลุ่มเปราะบางสู้วิกฤติโควิด-19 (เฟส 2)

ครัวรักษ์อาหาร เป็นครัวชุมชนเพื่อชุมชนที่มูลนิธิฯส่งต่อวัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากระบบตลาด แต่ยังมีคุณภาพดีให้ชุมชนนำมาปรุงสุกและแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต ชุมชนเหล่านี้มีพื้นที่อยูในจังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 4 ชุมชน มีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 10,000 คน แต่ละคนจะได้รับการสนับสนุนอาหารอย่างน้อย 1 มื้อต่อเดือนตลอดการดำเนินงานของโครงการ

ระยะเวลาโครงการ 01 ส.ค. 2564 ถึง 30 พ.ย. 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร , แขวงคันนายาว เขตคันนายาว จังหวัดกรุงเทพมหานคร , แขวงจอมทอง เขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร , แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ยอดบริจาคขณะนี้

501,031 บาท

เป้าหมาย

792,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 63%
จำนวนผู้บริจาค 357

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

โครงการครัวรักษ์อาหารส่งมอบความช่วยเหลือแล้วกว่า 10,000 คน

16 ธันวาคม 2021

    ครัวรักษ์อาหารช่วยเหลือกลุ่มคนตกงานที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 และกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำ ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 4 ชุมชน ซึ่งมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 10,000 คน เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2564 ถึง 30 พ.ย. 2564

ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการครัวรักษ์อาหารเฟส 2 (แต่ละชุมชนจะมีจำนวนครั้งของการทำอาหารเพื่อมอบอาหาร 1 มื้อ/คน/ครั้ง) มีดังต่อไปนี้

1. ครัวรักษ์อาหารหลักสี่ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนท่าทราย
  • ชุมชน302
  • ชุมชน306
  • ชุมชน307

ตั้งอยู่ในเขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

2. ครัวรักษ์อาหารบางบอน (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนเกษตรบ้านนายผล
  • ชุมชนรางไผ่
  • ชุมชนวัดรางโพธิ์
  • ชุมชนสวนผัก

ตั้งอยู่ในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

3. ครัวรักษ์อาหารบางซื่อ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 4,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนตึกแดง1
  • ชุมชนตึกแดง2
  • ชุมชนตึกแดง3
  • ชุมชนบ้านมั่นคงกัลยาณมิตร
  • ชุมชนสีน้ำเงิน
  • ชุมชนร่วมใจพัฒนา

ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

4. ครัวรักษ์อาหารบางกอกน้อย (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนซอยบ้านช่างหล่อ
  • ชุมชนพรพิพัฒน์
  • ชุมชนสุดสาคร

ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

รวมทั้งสิ้น 18,000 - 20,000 มื้อ/เดือน

ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือ 4 ชุมชนในแต่ละเดือน


รวมทั้งสิ้นมูลนิธิฯได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้งหมด 4 ชุมชนนี้เป็นจำนวน 90,861 มื้อตลอดสี่เดือนที่ผ่านมา จากเป้าหมาย 75,154 มื้อ (4 เดือน)

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารหลักสี่

ภาพการทำอาหารภายในครัวเขตหลักสี่ ของชุมชนอยู่ดีมีสุขร่วมใจ ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ในเมนูผัดพริกหน่อไม้ดองใส่หมู เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีทั้งพี่น้องที่ตกงาน และกักตัว ได้รับประทานกันอย่างอิ่มอร่อย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างถ้วนหน้า

การแจกจ่ายอาหารพร้อมทานให้แก่คนในชุมชนเป็นการลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้คนในชุมชนได้มีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากได้อิ่มอร่อยกับอาหารที่ทางประธานชุมชนจัดหาให้ และได้ลดรายจ่ายจากค่าอาหารไป 1-2 มื้อ เพื่อที่แต่ละบ้านจะได้นำเงินส่วนนี้ไปจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากโรคระบาด เช่น หน้ากากอนามัย หรือ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ

ภาพการแจกจ่ายอาหารปรุงสุก ให้แก่คนภายในชุมชนเขตหลักสี่ เพื่อแบ่งเบาค่าครองชีพ โดยก่อนเข้ามารับอาหารจะต้องใส่หน้ากากอนามัยมาด้วยทุกครั้ง โดยอาหารที่นำไปแจกจ่ายจะมีปริมาณแจกเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละครั้ง อีกทั้งผู้รับสามารถรับอาหารไปเผื่อแผ่คนในครอบครัวที่ไม่สามารถมารับได้ด้วย อีกทั้งบรรดาอาสาสมัครส่วนใหญ่ของเขตหลักสี่จะเป็นผู้สูงอายุ

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางบอน

ภาพการแจกจ่าย อาหารปรุงสุกจากครัวรักษ์อาหารเขตบางบอน นำโดยคุณมานิด ลักษมัญ ที่หลังจากแปรรูปวัตถุดิบส่วนเกินที่ได้รับจากมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นเมนูใหม่ จากนั้นป้านิดและทีมอาสาสมัครในชุมชน จะไปจัดตั้งจุดแจกจ่ายอาหารตามจุดที่มีผู้เดือดร้อน และต้องการอาหารในเขตบางบอน ตามการสำรวจ โดยจากภาพผู้รับเป็นกลุ่มแรงงานที่รายได้น้อยไม่เพียงพอ จึงต้องการอาหารเพื่อลดรายจ่ายค่าอาหารเพื่อนำไปใช้จ่ายในด่านอื่นๆเช่น ค่าเช่าบ้าน

ภาพครัวรักษ์อาหารที่เขตบางบอน นำโดย คุณมานิด ลักษมัญ ที่เป็นหัวแรงหลักในการดำเนินงานครัวรักษ์อาหารทั้งประกอบอาหาร บรรจุอาหาร และแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนในชุมชนต่างๆ ซึ่งรวมถึงกลุ่มแรงงานที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในชุมชนอีกด้วย

ทางมูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสที่แนนซ์ ต้องขอขอบคุณบรรดาทีมงานที่สำคัญคือ จิตอาสาของเขตบางบอนทุกคน ป้านิด ตัวแทนจิตอาสา กล่าวว่า

“มันเหนื่อยนะ แต่ยังไหว เพราะมันมีคนที่รอความช่วยเหลืออยู่”

ป้านิดพูดด้วยน้ำเสียงจริงจังท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้น เนื่องจากการทำอาหารเพื่อช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อนเป็นสิ่งที่ทำให้ป้านิดยินดีที่จะทำ

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางซื่อ

ภาพของพี่รวยตัวแทนอาสาสมัครชุมชนเขตบางซื่อ พี่รวยจะเป็นทั้งผู้ประสานงานของบ้านมั่นคงกัลยณมิตร เขตบางซื่อ เป็นผู้ประกอบอาหาร เป็นผู้แจกจ่ายอาหารให้แก่ชุมชน เมื่อพี่รวยและทีมอาสาสมัครปรุงอาหารเรียบร้อยก็จะบรรจุใส่ภาชนะของทางมูลนิธิ เพื่อรอที่จะตักแจกจ่ายให้กับผู้คนในชุมชนพร้อมๆ กับวัตถุดิบส่วนเกิน และอาหารส่วนเกินพร้อมทานอื่นๆ ซึ่งจะมีทั้งเบเกอรี่จากห้างสรรพสินค้า ผัก ผลไม้ต่างๆ ที่เหลือจากปรุงอาหาร 

ภาพของเบเกอรี่ส่วนเกินที่ห้างสรรพสินค้าบริจาคให้แก่มูลนิธิฯ เพื่อส่งต่อให้อาสาสมัครชุมชนได้นำไปแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนพร้อมกับอาหารปรุงสุก โดยก่อนจะแจกจ่ายทีมอาสาสมัครจะคัดแยกเบเกอรี่เป็นแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้คนในชุมชนได้รับอย่างทั่วถึง

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางกอกน้อย

ป้าตุ๊ก ตัวแทนจิตอาสา ของครัวรักษ์อาหารเขตบางกอกน้อย ผู้ทำหน้าที่แจกจ่ายอาหารให้กับผู้เดือดร้อน ป้าตุ๊กยังเป็นอาสาสมัครพัฒนาชุมชน ของกระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ จึงทำให้ป้าตุ๊กทราบถึงความเดือดร้อนภายในพื้นที่เป็นอย่างดี “ขอขอบคุณทีมงานมูลนิธิฯ และผู้บริจาคทุกท่านที่ได้ช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขอให้ชีวิตมีความสุข ความเจริญ เจริญยิ่งๆขึ้นไป”



อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ครัวรักษ์อาหาร เป็นครัวชุมชนเพื่อชุมชนที่มูลนิธิฯส่งต่อวัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากระบบตลาด แต่ยังมีคุณภาพดีให้ชุมชนนำมาปรุงสุกและแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต ชุมชนเหล่านี้มีพื้นที่อยูในจังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 4 ชุมชน มีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 10,000 คน แต่ละคนจะได้รับการสนับสนุนอาหารอย่างน้อย 1 มื้อต่อเดือนตลอดการดำเนินงานของโครงการ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ความขาดแคลนอาหารช่วงวิกฤตโควิด-19 และปัญหาขยะอาหาร

สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดระลอก 3 ที่ทำให้เกิดคลัสเตอร์ในพื้นที่ต่างๆช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มชุมชนเปราะบางหรือรายได้น้อย ที่ต้องกักตัวเนื่องจากสภาวะการระบาดในแต่ละรอบ และอยู่ในสถานะที่ยังไม่สามารถหารายได้เลี้ยงชีพและครอบครัวตามปกติได้ กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อความขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากการขาดรายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว ในอีกทางหนึ่งเราพบว่าร้อยละ 64 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อปีนั้นคือขยะอาหาร ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบไปด้วยอาหารส่วนเกินจำนวนมากที่ภาคธุรกิจไม่สามารถขายได้แล้วถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย และกลายเป็นขยะอาหารที่ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งที่จริงแล้วอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดีและสามารถบริโภคได้ เพียงแต่เป็นปริมาณส่วนเกินในระบบตลาดเท่านั้น ในขณะเดียวกันยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามาถเข้าถึงอาหารคุณภาพดีเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้เปราะบางที่กล่าวไปข้างต้น    

แนวทางการแก้ไข

โครงการครัวรักษ์อาหาร เป็นหนึ่งในโครงการของทางมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ที่ให้อาสาสมัครจากชุมชน และอาสาสมัครภายนอก มาร่วมกันปรุงอาหารจากอาหารส่วนเกินที่ได้รับบริจาคมาให้เป็นเมนูอาหารใหม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และถูกหลักอนามัย เพื่อส่งต่อให้กับคนในชุมชนที่ขาดแคลนอาหารตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ เพื่อประยุกต์ใช้อาหารส่วนเกินทุกชนิด ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของอาสาสมัคร ให้เป็นเมนูอาหารที่ชุมชนคุ้นเคย โดยนอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังคำนึงถึงรสชาติเพื่อเพิ่มความสุขให้กลุ่มผู้ที่ได้รับอาหารอีกด้วย


ที่ผ่านมาครัวรักษ์อาหารได้ให้ความช่วยเหลือผู้เปราะบางในชุมชนต่างๆ ไปแล้วกว่า 35 ชุมชนในจ. กรุงเทพฯ ซึ่งครอบคลุมประชากรจำนวน 42,157 คน ด้วยปริมาณมื้ออาหารจำนวนเกือบ 1 ล้านมื้อ

เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมลดปัญหาขยะอาหารจากอาหารส่วนเกิน โครงการครัวรักษ์อาหารของมูลินิธิฯ จึงเกิดขึ้น โดยการสร้างระบบการถ่ายโอนอาหารส่วนเกินซึ่งก็คือ “อาหารส่วนที่เกินจากความต้องการของตลาด” ไปยังกลุ่มผู้เปราะบางต่างๆ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของคนชุมชน ผ่านการวางแผนระบบการขนส่งอาหารจากกลุ่มผู้บริจาคซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตอาหารในระบบตลาดไปยังครัวชุมชนที่ตั้งอยู่ภายใน 6 ชุมชนรอบจังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำไปประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และท้ายที่สุดนำส่งมอบให้กับกลุ่มผู้รับอาหารในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้เท่าที่ควร

ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ด้านสังคม

  1. บรรเทา เยียวยา คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มเปราะบางในการเข้าถึงอาหารที่ดีถูกหลักโภชนาการอย่างเท่าเทียม
  2. การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารแก่กลุ่มผู้ขาดแคลน
  3. สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในสภาวะเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19

ด้านสิ่งแวดล้อม

  1. ลดปัญหาขยะอาหารในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารในประเทศไทย
  2. การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่มาจากอาหารส่วนเกิน

แนวการต่อยอดโครงการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการรักษ์อาหารไปได้อย่างต่อเนื่อง ทางมูลนิธิฯจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการรับและการบริจาคอาหาร รวมไปถึงการได้รับเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนต่างๆซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะชี้วัดการดำรงอยู่ของโครงการให้คงอยู่ต่อไป

แนวทางการต่อยอดโครงการในอนาคตนั้นจะเกิดเป็นรูปแบบการเปิดรับอาสาสมัครจากภาคองค์กรเอกชน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มาเรียนรู้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม ได้ทำความเข้าใจชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้เพื่อหาโอกาสขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับบริจาคสินค้าอาหารส่วนเกินมากขึ้น และการเปิดรับบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการมากขึ้นเพื่อร่วมกันเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

ระบบการทำงานของมูลนิธิในทุกๆวันโดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ
  2. ระบบการรับบริจาคอาหารส่วนเกินดังภาพข้างต้น ในส่วนของโครงการครัวรักษ์อาหารนั้นเป็นโครงการส่วนขยายจากระบบการทำงานข้างต้นโดยจะเป็นส่วนที่อยู่ก่อนการบริจาคอาหารให้แก่ชุมชนโดยตรง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง

ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินงานของครัวรักษ์อาหารจึงมีดังนี้

  1. ติดต่อหัวหน้าชุมชนที่เป็นผู้รับบริจาคอาหารจากทางมูลนิธิฯอยู่แล้ว และมีความเข้าใจเรื่องอาหารส่วนเกินเป็นอย่างดี เพื่อแนะนำให้เปิดครัวชุมชนเพื่อช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่
  2. ตรวจสอบความพร้อมของชุมชนว่ามีสถานที่ และอุปกรณ์ในการจัดตั้งครัวชุมชนครบครันหรือไม่ หากมีความพร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางอาหารของมูลนิธิฯจะเข้าไปแนะนำการจัดตั้ง และความปลอดภัยให้กับชุมชน
  3. ประสานงานกับทีมรถรับบริจาคอาหารส่วนเกินเพื่อนำวัตถุดิบส่วนหนึ่งมาส่งให้กับครัวในวันที่นัดหมายไว้
  4. รวบรวมอาสาสมัครทั้งภายในชุมชน และบุคคลภายนอกเพื่อจัดเตรียมการทำครัว
  5. ประสานงานกับหัวหน้าชุมชนเพื่อจัดเตรียมจำนวนผู้รับอาหารที่มีความเดือนร้อน และจัดเตรียมด้านการสื่อสาร
  6. เมื่อถึงวันนัดหมาย อาสาสมัครร่วมทำอาหารด้วยกัน
  7. เมื่อทำอาหารเสร็จแล้วอาสาสมัครจึงลงพื้นที่นำไปแจกจ่ายให้กับชุมชน
  8. อาสาสมัครกลับมาที่ครัวเพื่อช่วยกันจัดเก็บ ทำความสะอาดด้วยกัน

ครัวรักษ์อาหารดูแลกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ใน 4 พื้นที่ ภายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (และปริมณฑล) รวมประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือทั้งหมด 10,000 คน ต่อเดือน คนในชุมชมเหล่านี้ บางส่วนนอกจากจะมีรายได้น้อยแล้ว ยังมีผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แม่และเด็ก ผู้ที่ไม่มีงานทำซึ่งส่วนหนึ่งประกอบอาชีพด้านการบริการ เช่นพนักงานโรงแรม ร้านนวด และพนักงานรับจ้างทั่วไป หรือถึงแม้ว่าคนบางกลุ่มจะยังมีงานทำแต่ก็ถูกลดเงินเดือนลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือนปกติ

มูลนิธิฯจึงต้องการเข้าไปสนับสนุนการทำครัวของชุมชนและจัดตั้งเป็นครัวรักษ์อาหาร ทำให้ชุมชนมีวัตถุดิบในการปรุงอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในตรัวเรือนของคนในชุมชน ชุมชนมีโอกาสได้ใช้ “อาหาร”เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงคนในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และหน่วยงานเข้าด้วยกัน กลุ่มอาสาในชุมชนส่วนใหญ่มีภูมิปัญญาและทักษะการทำอาหาร ครัวรักษ์อาหารเปิดโอกาสให้ใช้งานวัฒนธรรมด้านอาหารเป็นเครื่องมือที่ชักชวนคนในชุมชน และผู้สูงอายุครูภูมิปัญญา มาร่วมกันทำอาหารใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ โดยการได้พบปะ และรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบที่ได้รับการบริจาคมาด้วยกัน

สร้างการมีส่วนร่วมให้การส่งต่ออาหารอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีอาหารเพียงพอเพื่อให้เกิดการลดรายจ่าย เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของชุมชน และให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง


ครัวรักษ์อาหารในแต่ละชุมชนจะมีจำนวนครั้งของการทำอาหารเพื่อมอบอาหาร 1 มื้อ/คน/ครั้งดังนี้
1. ครัวรักษ์อาหารหลักสี่ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) ประกอบด้วย ชุมชนท่าทราย ชุมชน302 ชุมชน306 ชุมชน307 ตั้งอยู่ในเขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 
2. ครัวรักษ์อาหารบางบอน (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) ประกอบด้วย ชุมชนชุมชนเกษตรบ้านนายผล ชุมชนรางไผ่ ชุมชนวัดรางโพธิ์ ชุมชนสวนผัก ตั้งอยู่ในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร   
3. ครัวรักษ์อาหารบางซื่อ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 4,000 คน) ปรกอบด้วย ชุมชนชุมชนตึกแดง1 ชุมชนตึกแดง2 ชุมชนตึกแดง3 ชุมชนบ้านมั่นคงกัลยาณมิตร ชุมชนสีน้ำเงิน ชุมชนร่วมใจพัฒนา ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 
4. ครัวรักษ์อาหารบางกอกน้อย (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) ประกอบด้วย ชุมชนชุมชนซอยบ้านช่างหล่อ ชุมชนพรพิพัฒน์ ชุมชนสุดสาคร ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

รวมทั้งสิ้น 10,000 คน หรือ 30,000 มื้อ/เดือน


เจ้าของโครงการ

ดำเนินโครงการโดยมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป้นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะอาหาร และสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหารภายในประเทศไทยโดยการใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้าไปรับอาหารส่วนเกิน (อาหารไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว เช่นอาหารหน้าตาไม่สวย หรือใกล้ถึงวันหมดอายุ) จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนรายได้ต่ำที่มีข้อจำกัดในการได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอในแต่ละวัน


ร่วมกับกลุ่มเครือข่ายจิตอาสาในชุมชน และภาคีผู้บริจาคอาหารมากว่า 200 ที่ ยกตัวอย่างเช่น Lotus, Tops Supermarket, Central Food Hall, BigC, โรงแรมในเครือ Hilton, โรงแรมในเครือ Marriott, โรงงานผลิตอาหาร, และผู้ประกอบการด้านอาหารอีกมากมาย

โครงการครัวรักษ์อาหารส่งมอบความช่วยเหลือแล้วกว่า 10,000 คน

16 ธันวาคม 2021

    ครัวรักษ์อาหารช่วยเหลือกลุ่มคนตกงานที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 และกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำ ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 4 ชุมชน ซึ่งมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 10,000 คน เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2564 ถึง 30 พ.ย. 2564

ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการครัวรักษ์อาหารเฟส 2 (แต่ละชุมชนจะมีจำนวนครั้งของการทำอาหารเพื่อมอบอาหาร 1 มื้อ/คน/ครั้ง) มีดังต่อไปนี้

1. ครัวรักษ์อาหารหลักสี่ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนท่าทราย
  • ชุมชน302
  • ชุมชน306
  • ชุมชน307

ตั้งอยู่ในเขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

2. ครัวรักษ์อาหารบางบอน (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนเกษตรบ้านนายผล
  • ชุมชนรางไผ่
  • ชุมชนวัดรางโพธิ์
  • ชุมชนสวนผัก

ตั้งอยู่ในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

3. ครัวรักษ์อาหารบางซื่อ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 4,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนตึกแดง1
  • ชุมชนตึกแดง2
  • ชุมชนตึกแดง3
  • ชุมชนบ้านมั่นคงกัลยาณมิตร
  • ชุมชนสีน้ำเงิน
  • ชุมชนร่วมใจพัฒนา

ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

4. ครัวรักษ์อาหารบางกอกน้อย (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน

  • ชุมชนชุมชนซอยบ้านช่างหล่อ
  • ชุมชนพรพิพัฒน์
  • ชุมชนสุดสาคร

ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

รวมทั้งสิ้น 18,000 - 20,000 มื้อ/เดือน

ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือ 4 ชุมชนในแต่ละเดือน


รวมทั้งสิ้นมูลนิธิฯได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้งหมด 4 ชุมชนนี้เป็นจำนวน 90,861 มื้อตลอดสี่เดือนที่ผ่านมา จากเป้าหมาย 75,154 มื้อ (4 เดือน)

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารหลักสี่

ภาพการทำอาหารภายในครัวเขตหลักสี่ ของชุมชนอยู่ดีมีสุขร่วมใจ ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ในเมนูผัดพริกหน่อไม้ดองใส่หมู เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีทั้งพี่น้องที่ตกงาน และกักตัว ได้รับประทานกันอย่างอิ่มอร่อย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างถ้วนหน้า

การแจกจ่ายอาหารพร้อมทานให้แก่คนในชุมชนเป็นการลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้คนในชุมชนได้มีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากได้อิ่มอร่อยกับอาหารที่ทางประธานชุมชนจัดหาให้ และได้ลดรายจ่ายจากค่าอาหารไป 1-2 มื้อ เพื่อที่แต่ละบ้านจะได้นำเงินส่วนนี้ไปจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากโรคระบาด เช่น หน้ากากอนามัย หรือ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ

ภาพการแจกจ่ายอาหารปรุงสุก ให้แก่คนภายในชุมชนเขตหลักสี่ เพื่อแบ่งเบาค่าครองชีพ โดยก่อนเข้ามารับอาหารจะต้องใส่หน้ากากอนามัยมาด้วยทุกครั้ง โดยอาหารที่นำไปแจกจ่ายจะมีปริมาณแจกเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละครั้ง อีกทั้งผู้รับสามารถรับอาหารไปเผื่อแผ่คนในครอบครัวที่ไม่สามารถมารับได้ด้วย อีกทั้งบรรดาอาสาสมัครส่วนใหญ่ของเขตหลักสี่จะเป็นผู้สูงอายุ

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางบอน

ภาพการแจกจ่าย อาหารปรุงสุกจากครัวรักษ์อาหารเขตบางบอน นำโดยคุณมานิด ลักษมัญ ที่หลังจากแปรรูปวัตถุดิบส่วนเกินที่ได้รับจากมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นเมนูใหม่ จากนั้นป้านิดและทีมอาสาสมัครในชุมชน จะไปจัดตั้งจุดแจกจ่ายอาหารตามจุดที่มีผู้เดือดร้อน และต้องการอาหารในเขตบางบอน ตามการสำรวจ โดยจากภาพผู้รับเป็นกลุ่มแรงงานที่รายได้น้อยไม่เพียงพอ จึงต้องการอาหารเพื่อลดรายจ่ายค่าอาหารเพื่อนำไปใช้จ่ายในด่านอื่นๆเช่น ค่าเช่าบ้าน

ภาพครัวรักษ์อาหารที่เขตบางบอน นำโดย คุณมานิด ลักษมัญ ที่เป็นหัวแรงหลักในการดำเนินงานครัวรักษ์อาหารทั้งประกอบอาหาร บรรจุอาหาร และแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนในชุมชนต่างๆ ซึ่งรวมถึงกลุ่มแรงงานที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในชุมชนอีกด้วย

ทางมูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสที่แนนซ์ ต้องขอขอบคุณบรรดาทีมงานที่สำคัญคือ จิตอาสาของเขตบางบอนทุกคน ป้านิด ตัวแทนจิตอาสา กล่าวว่า

“มันเหนื่อยนะ แต่ยังไหว เพราะมันมีคนที่รอความช่วยเหลืออยู่”

ป้านิดพูดด้วยน้ำเสียงจริงจังท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้น เนื่องจากการทำอาหารเพื่อช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อนเป็นสิ่งที่ทำให้ป้านิดยินดีที่จะทำ

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางซื่อ

ภาพของพี่รวยตัวแทนอาสาสมัครชุมชนเขตบางซื่อ พี่รวยจะเป็นทั้งผู้ประสานงานของบ้านมั่นคงกัลยณมิตร เขตบางซื่อ เป็นผู้ประกอบอาหาร เป็นผู้แจกจ่ายอาหารให้แก่ชุมชน เมื่อพี่รวยและทีมอาสาสมัครปรุงอาหารเรียบร้อยก็จะบรรจุใส่ภาชนะของทางมูลนิธิ เพื่อรอที่จะตักแจกจ่ายให้กับผู้คนในชุมชนพร้อมๆ กับวัตถุดิบส่วนเกิน และอาหารส่วนเกินพร้อมทานอื่นๆ ซึ่งจะมีทั้งเบเกอรี่จากห้างสรรพสินค้า ผัก ผลไม้ต่างๆ ที่เหลือจากปรุงอาหาร 

ภาพของเบเกอรี่ส่วนเกินที่ห้างสรรพสินค้าบริจาคให้แก่มูลนิธิฯ เพื่อส่งต่อให้อาสาสมัครชุมชนได้นำไปแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนพร้อมกับอาหารปรุงสุก โดยก่อนจะแจกจ่ายทีมอาสาสมัครจะคัดแยกเบเกอรี่เป็นแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้คนในชุมชนได้รับอย่างทั่วถึง

เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์: ครัวรักษ์อาหารบางกอกน้อย

ป้าตุ๊ก ตัวแทนจิตอาสา ของครัวรักษ์อาหารเขตบางกอกน้อย ผู้ทำหน้าที่แจกจ่ายอาหารให้กับผู้เดือดร้อน ป้าตุ๊กยังเป็นอาสาสมัครพัฒนาชุมชน ของกระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ จึงทำให้ป้าตุ๊กทราบถึงความเดือดร้อนภายในพื้นที่เป็นอย่างดี “ขอขอบคุณทีมงานมูลนิธิฯ และผู้บริจาคทุกท่านที่ได้ช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขอให้ชีวิตมีความสุข ความเจริญ เจริญยิ่งๆขึ้นไป”



แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 การประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหารจำนวนเดือนละ 30,000 มื้อ จำนวน 3 เดือน รวมเป็น 120,000 มื้อ (ต้นทุน 6 บาทต่อมื้อ) 120,000 มื้อ 720,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
720,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
72,000.00

ยอดระดมทุน
792,000.00