cover_1

ครัวรักษ์อาหาร เสริมภูมิต้านทานชุมชนหลังวิกฤติโควิด-19

ผู้สูงอายุ
ผู้ป่วย ผู้พิการ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนการประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหาร 3 เดือนให้กับกลุ่มคนตกงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง9,500คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

5 ม.ค. 2564 - 30 มิ.ย. 2564

พื้นที่ดำเนินโครงการ

6 พื้นที่ จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERGOOD HEALTH AND WELL-BEING

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้สูงอายุ
6พื้นที่
ผู้ป่วย
6พื้นที่
ผู้พิการ
6พื้นที่
กลุ่มคนตกงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
6พื้นที่

ครัวรักษ์อาหาร เป็นครัวชุมชนเพื่อชุมชนที่รับวัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากระบบตลาด แต่ยังมีคุณภาพดี สามารถรับประทานได้ แทนที่จะถูกนำไปทิ้ง

แต่นำมาปรุงสุกแล้วไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนตกงานที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 และกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำ ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 6 ชุมชน ซึ่งมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 9,500 คน แต่ละคนจะได้รับการสนับสนุนอาหารอย่างน้อย 1 มื้อต่อเดือนตลอดการดำเนินงานของโครงการ

ปัญหาสังคม

ความขาดแคลนอาหารหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 และปัญหาขยะอาหาร

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกนั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานของประชาชนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนผู้จัดว่าอยู่ในกลุ่มชุมชนที่เปราะบาง หรือรายได้ต่ำที่ยังไม่สามารถหารายได้เลี้ยงชีพ และครอบครัวตามปกติได้ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดแถลงภาวะสังคมไตรมาสแรกของปี 2563 มีการคาดการณ์ต่อสัญญาณของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการจ้างงานไว้ว่า แรงงานมีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 8.4 ล้านคน กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อความขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากการขาดรายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว แต่ในทางกลับกันกว่าร้อยละ 64 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อปีนั้นคือขยะอาหาร ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบไปด้วยอาหารส่วนเกินจำนวนมากที่ภาคธุรกิจไม่สามารถขายได้แล้วถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย และกลายเป็นขยะอาหารที่ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งที่จริงแล้วอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดีและสามารถบริโภคได้ เพียงแต่เป็นปริมาณส่วนเกินในระบบตลาดเท่านั้น ในขณะเดียวกันยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามาถเข้าถึงอาหารคุณภาพดีเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มผู้พิการ กลุ่มเด็กกำพร้า กลุ่มผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น

 

ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ด้านสังคม

  1. บรรเทา เยียวยา คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มเปราะบางในการเข้าถึงอาหารที่ดีถูกหลักโภชนาการอย่างเท่าเทียม
  2. การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารแก่กลุ่มผู้ขาดแคลน
  3. สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในสภาวะเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19

ด้านสิ่งแวดล้อม

  1. ลดปัญหาขยะอาหารในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารในประเทศไทย
  2. การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่มาจากอาหารส่วนเกิน

แนวการต่อยอดโครงการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการรักษ์อาหารไปได้อย่างต่อเนื่อง ทางมูลนิธิฯจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการรับและการบริจาคอาหาร รวมไปถึงการได้รับเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะชี้วัดการดำรงอยู่ของโครงการให้คงอยู่ต่อไป

แนวทางการต่อยอดโครงการในอนาคตนั้นจะเกิดเป็นรูปแบบการเปิดรับอาสาสมัครจากภาคองค์กรเอกชน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มาเรียนรู้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม ได้ทำความเข้าใจชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้เพื่อหาโอกาสขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับบริจาคสินค้าอาหารส่วนเกินมากขึ้น และการเปิดรับบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการมากขึ้นเพื่อร่วมกันเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน

ทั้งนี้ครัวรักษ์อาหารในแต่ละชุมชนจะมีจำนวนครั้งของการทำอาหารเพื่อมอบอาหาร 1 มื้อ/คน/ครั้งดังนี้

  1. ครัวรักษ์อาหารย่านนางเลิ้ง (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,500 คน) จำนวน 4 ครั้ง/เดือน
  2. ครัวรักษ์อาหารคอยรุดดีน (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,400 คน) จำนวน 4 ครั้ง/เดือน
  3. ครัวรักษ์อาหารมีนบุรี (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,400 คน) จำนวน 5 ครั้ง/เดือน
  4. ครัวรักษ์อาหารแพรกษา (ประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,400 คน) จำนวน 4 ครั้ง/เดือน
  5. ครัวรักษ์อาหารบางพลัด (ประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน) จำนวน 6 ครั้ง/เดือน
  6. ครัวรักษ์อาหารซอยพระเจน (ประชากรได้รับความช่วยเหลือ 800 คน) จำนวน 6 ครั้ง/เดือน

รวมทั้งสิ้น 45,000 มื้อ/เดือน

 

เรื่องราวของ 6 ชุมชน ที่ครัวรักษ์อาหารให้ความช่วยเหลือ

1. ครัวรักษ์อาหารย่านนางเลิ้ง

มี 497 ครัวเรือน ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,500 คน

ประกอบไปด้วย 3 ชุมชน คือ ชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน ชุมชนวัดโสมนัส และชุมชนจักรพรรดิพงษ์ “นางเลิ้ง เป็นย่านชุมชนที่เก่าแก่ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 497 หลังคาเรือน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ทำงานรับจ้าง มีกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุดในกรุงเทพฯ ซึ่งมีกลุ่มแกนนำชุมชนที่ขับเคลื่อนการทำงานจิตอาสาเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ครัวรักษ์อาหารนางเลิ้งเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฯ ที่มีวัตถุดิบให้พร้อมสำหรับการปรุงอาหาร และคนในชุมชนที่มีภูมิปัญญาการทำอาหาร ใช้งานวัฒนธรรมด้านอาหารเป็นเครื่องมือที่ชักชวนคนในชุมชน และผู้สูงอายุครูภูมิปัญญา มาร่วมกันทำอาหารใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ โดยการได้พบปะ และรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบที่ได้รับการบริจาคมาด้วยกัน ปัจจุบันครัวรักษ์อาหารนางเลิ้งได้ส่งต่ออาหารที่ชุมชนได้ปรุงขึ้นไปให้คนในชุมชนได้เดือนละ 1,500 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ แม่และเด็ก ผู้ที่ไม่มีงานทำที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนในชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ครัวรักษ์อาหารนางเลิ้งยังคงดำเนินการต่อไปให้สามารถกระจายอาหารได้ทั่วถึง และให้อาหารเป็นเครื่องมือในการรักษาภูมิปัญญาของชุมชนด้วย

คุณยายยิ้มเข้ารับอาหารสำหรับมื้อเย็น ย่านชุมชนนางเลิ้ง

2. ครัวรักษ์อาหารคอยรุดดีน

มี 135 หลังคาเรือน ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,400 คน

ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุดดีน เขตหนองจอก ได้รับการก่อตั้งเป็นชุมชนในปี 2537 โดยมีคณะกรรมการ 7 คน เป็นชุมชนชานเมืองมี 135 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีมัสยิดคอยรุดดีนเป็นมัสยิดประจำชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพรับจ้างและเกษตรกรรม จบชั้นประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่ำกว่า 5,000 บาท มีผู้ที่มีบ้านที่อยู่อาศัยของตนเอง 91 หลัง และเช่าที่ดินอยู่ 46 หลัง ในเรื่องการแจกอาหารในชุมชน โดยปกติแล้ว ชุมชนจะมีการทำอาหารแจกให้กับเด็กๆที่เรียนศาสนาทุกวันพฤหัสบดี การเข้าร่วมโครงการครัวรักษ์อาหารจะทำให้ชุมชนสามารถแจกอาหารให้กับผู้ใหญ่ในชุมชนได้ด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับชุมชน และชวนคนในชุมชนมาร่วมกันปรุงอาหาร และร่วมกันส่งเสริมลดการลดพลาสติก ให้ใช้ภาชนะจากครัวเรือนมาใส่อาหาร หรือใช้วัสดุจากธรรมชาติมาเป็นภาชนะ ครัวรักษ์อาหารชุมชนคอยรุสดีนจึงเป็นครัวรักษ์อาหารที่ส่งเสริมความสามัคคีทางศาสนาและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ปัจจุบันทางมูลนิธิฯ สามารถแจกจ่ายมื้ออาหารจากโครงการนี้ครอบคลุมแล้วถึง 1,400 คนต่อเดือน ซึ่งในจำนวนนี้มีประชาชนที่เป็น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ยากไร้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างมากโดยด่วนด้วย

ครัวรักษ์อาหารคอยรุดดีน นำร่องการงดใช้พลาสติกในการแจกจ่ายอาหารให้คนในชุมชน

3. ครัวรักษ์อาหารมีนบุรี

มี 2,000 ครัวเรือน ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,400 คน

ชุมชนในเขตมีนบุรีมีทั้งหมด 2,000 ครัวเรือนอยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 50 กิโลเมตร ระยะทางที่ห่างไกลทำให้การช่วยเหลือดูแลจากภาครัฐ หรือองค์กรต่างๆ ค่อนข้างยากลำบาก แต่ชุมชนก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาวัฒนธรรมทางศาสนาอิสลามอย่างเข้มแข็ง มีการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ดูแลชุมชนของตนเองด้วยกิจกรรมอาสาสมัครโดยการทำทีมกลุ่มจิตอาสาเพื่อนยุ้ย ที่จะคอยประสานงานขอรับการสนับสนุน สิ่งของ อุปกรณ์ และอาหาร เพื่อให้คนในชุมชนได้มีอาหาร เพียงพอ ในการร่วมกิจกรรมทางศาสนา เช่น การเรียนศาสนาทุกเย็นๆ กิจกรรมกีฬา และยังแบ่งปันให้กับชุมชนอื่นๆ การเข้าร่วมโครงการครัวรักษ์อาหารที่ทำอาหารแจกให้กับคนในชุมชนที่ตกงาน มีรายได้ไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุ และเด็ก ซึ่งปัจจุบันครัวรักษ์อาหารมีนบุรีได้ให้ความช่วยเหลือคนจำนวน 1,400 คนต่อเดือนในชุมชนเขตมีนบุรีให้มีอาหารที่เพียงพอมากขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวมากขึ้น

กลุ่มแม่ครัวอาสาร่วมกันทำอาหารที่ครัวรักษ์อาหารมีนบุรี

4. ครัวรักษ์อาหารแพรกษา

มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,400 คน

ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นชุมชนชานเมืองที่มีการย้ายถิ่นมาจากการไล่รื้อ แกนนำชุมชนจึงเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการที่อยู่อาศัยในเครือข่ายสลัมสี่ภาค นอกจากที่อยู่อาศัยที่เป็นเรื่องสำคัญแล้ว “อาหาร” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งสิ่งสำคัญกับทุกคนเช่นกัน แกนนำชุมชน จึงพยายามรวบรวมเงินบริจาคจากคนในชุมชนเพื่อจัดตั้งครัวชุมชน แม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพราะด้วยระยะทางที่ห่างไกล แต่ชุมชนก็ยังคงทำอาหารแจกให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด การที่มูลนิธิฯได้เข้าไปสนับสนุนวัตถุดิบสำหรับการทำครัวของชุมชนและจัดตั้งเป็นครัวรักษ์อาหาร ทำให้ชุมชนมีวัตถุดิบในการปรุงอาหารมากขึ้น และเป็นการลดค่าใช้จ่ายของคนในชุมชน การทำอาหารในหนึ่งเดือนจะสามารถแจกจ่ายได้ถึง 2,400 คน การแจกจ่ายอาหารนี้เป็นการแจกเพื่ออิ่มท้องสามารถอิ่มได้ทั้งครอบครัว ทางครัวที่ชุมชนแพรกษาเองยังอยากที่จะทำอาหารให้คนในชุมชนได้อิ่มท้องต่อไป เพราะคนในชุมชนก็ยังคงยากลำบาก และต้องการการสนับสนุนมากขึ้น

5. ครัวรักษ์อาหารบางพลัด

มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 2,000 คน

ตั้งอยู่ที่ชุมชนบ้านมั่นคงบางพลัด ลักษณะเป็นชุมชนแออัดที่มีการจัดการตัวเองในลักษณะเคหะชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งมีคณะกรรมการบริหารชุมชนที่ขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชน ครัวรักษ์อาหารบางพลัด คือโครงการที่ชุมชนได้ร่วมมือกับทางมูลนิธิฯ ชุมชนได้ใช้ “อาหาร”เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงคนในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และหน่วยงานภาครัฐ เข้ามามีส่วนร่วมให้การส่งต่ออาหารอย่างเป็นรูปธรรมให้กลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และผู้ได้รับผลกระทบหลังจากสถานการณ์โควิด 19 ให้มีอาหารเพียงพอเพื่อให้เกิดการลดรายจ่าย และเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของชุมชน ปัจจุบันครัวรักษ์อาหารบางพลัดกระจายอาหารให้กับคนในพื้นที่ 8 ชุมชนย่อยในเขตบางพลัดกว่า 2,000 คนต่อเดือน ชุมชนมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมแรงร่วมใจกระจายอาหารให้กับชุมชนมากที่สุด ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง

พี่วินมอร์ไซต์อาสานำอาหารจากครัวรักษ์อาหารบางพลัด ไปส่งต่อให้ชุมชนในพื้นที่ที่ไกลกว่าระยะการเดิน

6. ครัวรักษ์อาหารซอยพระเจน

มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 800 คน
 
ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ บริเวณเขตลุมพินี ประชาชนในชุมชนซอยพระเจนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการบริการ เช่นพนักงานโรงแรม ร้านนวด และพนักงานรับจ้างทั่วไป หลังจากสถานการณ์การะระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนในชุมชนกว่า 50% ตกงาน และถึงแม้ว่าจะยังมีงานทำก็ถูกลดเงินเดือนลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือนปกติ ซึ่งทำให้ชีวิตของผู้คนในชุมชนไม่มีมั่นคง เนื่องจากหลายๆครอบครัวอาศัยอยู่ในบ้านเช่า หรือห้องพักเช่าไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง การมีครัวรักษ์อาหารเข้าไปให้ช่วยเหลือนั้น จะเป็นการบรรเทาชุมชนโดยการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารซึ่งในแต่ละเดือนครัวรักษ์อาหารสามารถแจกจ่ายอาหารช่วยเหลือคนในชุมชนถึง 800 คน

 

ภาคี

  • ภาคีผู้บริจาคอาหารมากว่า 50 ที่ ยกตัวอย่างเช่น Tesco Lotus, Tops Supermarket, Central Food Hall, Big C, โรงแรมในเครือ Hilton, โรงแรมในเครือ Mariott, และผู้ประกอบการด้านอาหารอีกมากมาย
  • กลุ่มเครือข่ายจิตอาสาในชุมชน เช่น กลุ่มจิตอาสาเพื่อนยุ้ยจากชุมชนมีนบุรี เป็นต้น

วิธีการแก้ปัญหา

  1. สร้างระบบการถ่ายโอนอาหารส่วนเกินซึ่งก็คือ “อาหารส่วนที่เกินจากความต้องการของตลาด” ไปยังกลุ่มผู้เปราะบางต่างๆ

  2. สร้างการมีส่วนร่วมของคนชุมชน ผ่านการวางแผนระบบการขนส่งอาหารจากกลุ่มผู้บริจาคซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตอาหารในระบบตลาดไปยังครัวชุมชนที่ตั้งอยู่ภายใน 6 ชุมชนรอบจังหวัดกรุงเทพฯ เพื่อนำไปประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ

  3. นำส่งมอบให้กับกลุ่มผู้รับอาหารในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้เท่าที่ควร

  4. ต่อยอดโครงการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเปิดรับอาสาสมัครจากภาคองค์กรเอกชน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มาเรียนรู้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม

  5. ขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น

  6. เปิดรับบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการมากขึ้นเพื่อร่วมกันเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน

แผนการดำเนินงาน

  1. ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ

  2. ระบบการรับบริจาคอาหารส่วนเกินดังภาพข้างต้น ในส่วนของโครงการครัวรักษ์อาหารนั้นเป็นโครงการส่วนขยายจากระบบการทำงานข้างต้นโดยจะเป็นส่วนที่อยู่ก่อนการบริจาคอาหารให้แก่ชุมชนโดยตรง ซึ่งจะเกิดขึ้นอาทิตย์ละ 3-5 ครั้ง ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินงานของครัวรักษ์อาหาร จึงมีดังนี้ 2.1 ติดต่อหัวหน้าชุมชนที่เป็นผู้รับบริจาคอาหารจากทางมูลนิธิฯอยู่แล้ว และมีความเข้าใจเรื่องอาหารส่วนเกินเป็นอย่างดี เพื่อแนะนำให้เปิดครัวชุมชนเพื่อช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ 2.2 ตรวจสอบความพร้อมของชุมชนว่ามีสถานที่ และอุปกรณ์ในการจัดตั้งครัวชุมชนครบครันหรือไม่ หากมีความพร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางอาหารของมูลนิธิฯจะเข้าไปแนะนำการจัดตั้ง และความปลอดภัยให้กับชุมชน 2.3 ประสานงานกับทีมรถรับบริจาคอาหารส่วนเกินเพื่อนำวัตถุดิบส่วนหนึ่งมาส่งให้กับครัวในวันที่นัดหมายไว้ 2.4 รวบรวมอาสาสมัครทั้งภายในชุมชน และบุคคลภายนอกเพื่อจัดเตรียมการทำครัว 2.5 ประสานงานกับหัวหน้าชุมชนเพื่อจัดเตรียมจำนวนผู้รับอาหารที่มีความเดือนร้อน และจัดเตรียมด้านการสื่อสาร 2.6 เมื่อถึงวันนัดหมาย อาสาสมัครร่วมทำอาหารด้วยกัน 2.7 เมื่อทำอาหารเสร็จแล้วอาสาสมัครจึงลงพื้นที่นำไปแจกจ่ายให้กับชุมชน 2.8 อาสาสมัครกลับมาที่ครัวเพื่อช่วยกันจัดเก็บ ทำความสะอาดด้วยกัน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
การประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหาร 3 เดือน

(มื้อละ 6 บาท) ระยะเวลา 3 เดือน

135,000มื้อ810,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด810,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)81,000.00
ยอดระดมทุน
891,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะอาหารและสร้างความเทียมในการเข้าถึงอาหารภายในประเทศไทย โดยการใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้าไปรับอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) อาหารไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว เช่นอาหารหน้าตาไม่สวย หรือใกล้ถึงวันควรบริโภค จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนรายได้น้อยซึ่ง ซึ่งมีข้อจำกัดในการได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอในแต่ละวันตั้งแต่ปี 2017 ถึงปัจจุบัน เราส่งต่อมื้ออาหารมากกว่า 34.9 ล้านมื้อ (เทียบเท่ากับอาหารส่วนเกินที่ได้รับการช่วยเหลือ 8.31 ล้านกิโลกรัม) ช่วยเหลือชุมชนมากกว่า 3,600 แห่ง และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 21 ล้านกิโกกรับคาร์บอน

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon