Donations for the project will สร้างโรงเรียนต้นแบบการจัดการขยะ to โรงเรียนในพื้นที่สูง จ.เชียงราย2โรงเรียน
จังหวัดเชียงรายกำลังเผชิญกับวิกฤติปัญหาขยะที่รุนแรง โดยมีขยะสะสมสูงถึง 320,000 ตันต่อปี ซึ่งกว่า 60% ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กซึ่งต้องเผชิญกับโรคทางเดินหายใจจากการเผาขยะและมลพิษในอากาศ รวมถึงกระทบต่อการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการศึกษา
โครงการนี้มุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านการพัฒนาระบบจัดการขยะในโรงเรียน โดยจะติดตั้งอุปกรณ์แยกขยะ จัดกิจกรรมให้ความรู้และสร้างพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านรวมมิตร และโรงเรียนผาขวางวิทยา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย ให้แก่ กลุ่มแกนนำจำนวนโรงเรียนละ 30 คน ครอบคลุมผลประโยชน์ของนักเรียนกว่า 400 คน และสมาชิกในชุมชนใกล้เคียงกว่า 500 คน โครงการจะช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบทางสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนพัฒนาการด้านการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในระยะยาว
ปัญหาสังคม
ปัญหาขยะในจังหวัดเชียงรายเป็นวิกฤติที่เร่งด่วน จากปริมาณขยะสะสมที่สูงถึง 320,000 ตันต่อปี ซึ่งกว่า 60% ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง (อ้างอิงข้อมูลจาก ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กรมควบคุมมลพิษ ปี2566) ขยะเหล่านี้ไม่เพียงก่อให้เกิดปัญหาสุขอนามัยในชุมชน แต่ยังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก ๆ อีกด้วย
สุขภาพของเด็ก คือสิ่งสำคัญ
ขยะที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีจะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีน้ำขัง เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดโรคไข้เลือดออก โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคติดเชื้อจากสิ่งปนเปื้อนในดินและน้ำ เด็ก ๆ และชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาการเผาขยะในที่โล่ง ทำให้เกิดฝุ่นควันและสารพิษที่กระจายอยู่ในอากาศและเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กโดยตรง เด็กบางคนต้องขาดเรียนเพราะเจ็บป่วยจากมลพิษเหล่านี้ อีกทั้งฝุ่นควัน PM2.5 ที่เกิดจากการเผาขยะในพื้นที่สูงยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรังและโรคภูมิแพ้อีกด้วย เราจึงอยากร่วมมือกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อสุขภาพของเด็ก ๆ มากขึ้น
จากความรู้ สู่การลงมือทำ เพื่อโรงเรียนและชุมชนที่สะอาดและยั่งยืน
เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) ได้มีโอกาสจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ โรงเรียนบ้านรวมมิตรและโรงเรียนผาขวางวิทยา จังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของพื้นที่
กิจกรรมครั้งนี้จุดประกายให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องขยะที่ส่งผลกระทบต่อโลก เด็ก ๆ ต่างให้ความสนใจ ตั้งใจเรียนรู้ และพร้อมจะนำความรู้ไปลงมือทำ เพื่อพัฒนาโรงเรียนและชุมชนของตนให้สะอาดและยั่งยืนยิ่งขึ้น
ดูบรรยากาศกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ https://facebook.com/share/v/KyoiNXxptGiCujEt/)
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามในการจัดการปัญหาขยะโดยหน่วยงานท้องถิ่น แต่ด้วยข้อจำกัดด้านภูมิประเทศและระยะทาง ทำให้การจัดเก็บขยะในพื้นที่สูงยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ชุมชนหลายแห่งจำเป็นต้องกำจัดขยะด้วยการเผา ซึ่งสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและชุมชนโดยรอบ
เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและเป็นรูปธรรม โครงการจึงออกแบบกิจกรรม “ภาคขยาย” ที่เน้นเฉพาะด้านการจัดการขยะ โดยได้รับความร่วมมือจากเทศบาลตำบลแม่ยาว ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มาร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ภาพรวมให้กับนักเรียนและครูในโรงเรียน
และเพื่อเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงลึกมากยิ่งขึ้น เราจึงเชิญ “กลุ่มเยาวชนสิ่งแวดล้อม” จากภายนอกพื้นที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้เฉพาะทางเรื่องการแยกขยะ การใช้ถังขยะอย่างถูกต้อง การสร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ ตลอดจนการร่วมออกแบบกระบวนการจัดการขยะในโรงเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยเยาวชนจะทำงานร่วมกับนักเรียน ครู และเทศบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างระบบที่ยั่งยืนและเกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
รูปแบบกิจกรรม:
การจัดอบรมและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
1.1 การอบรมโดยเทศบาลแม่ยาว:
การอบรมนี้จัดเป็นหลักสูตร 2 ช่วง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสามารถติดตามผลได้จริง
ครั้งที่ 1 – ภาคเรียนที่ 1: อบรม 1 วัน
ครั้งที่ 2 – ภาคเรียนที่ 2: ติดตามผลหลังผ่านไป 6 เดือน
โดยใน กิจกรรมอบรมครั้งที่ 1 จะมุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ครอบคลุมหัวข้อดังนี้:
บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักการ 3Rs
กิจกรรม “นักสิ่งแวดล้อมน้อย ลองทำดู หนูทำได้” เพื่อวัดความเข้าใจการคัดแยกขยะ
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและบทเรียนที่ได้รับจากการบรรยาย
ฐานการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ
ฐานที่ 1: การทำกระดาษสาจากกระดาษเหลือใช้ในห้องเรียน
ฐานที่ 2: การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากขยะเปียกอินทรีย์ (EM)
ฐานที่ 3: การออกแบบฉลากและตกแต่งบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์จากขยะ พร้อมการทำสื่อประชาสัมพันธ์ (ฉลาก EM เป็นต้น)
1.2 การอบรมโดยกลุ่มเยาวชนแกนนำสิ่งแวดล้อม: มุ่งเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในการแยกขยะและการใช้งานถังขยะแต่ละประเภทให้กับนักเรียนแกนนำ ก่อนถ่ายทอดต่อให้เพื่อนนักเรียนทั้งโรงเรียน เพื่อยกระดับการจัดการขยะในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ และลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัดด้วยการเผาให้น้อยลง
2. จัดซื้อถังขยะ เพื่อแยกประเภท
เพื่อให้การเรียนรู้เรื่อง “การแยกขยะ” ขยายสู่การปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
โครงการนี้มีแผน จัดซื้อถังขยะใหม่กว่า 20 ใบ โดยออกแบบให้แยกตามประเภทของขยะที่พบในโรงเรียน เช่น
ถังขยะทั้งหมดจะถูกจัดวางใน 4 จุดสำคัญ ได้แก่ บริเวณส่วนกลาง 2 จุด โรงอาหาร และห้องน้ำ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และฝึกฝนการแยกขยะอย่างถูกวิธี นำไปสู่การรีไซเคิลหรือรียูสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมีถังขยะหลากหลายประเภทและในจำนวนที่เพียงพอ จะช่วยให้การจัดการขยะภายในโรงเรียนเป็นไปอย่างสะดวกและเป็นระบบมากขึ้น ทำให้สามารถคัดแยกขยะได้ตั้งแต่ต้นทาง ลดภาระในขั้นตอนการคัดแยกซ้ำ และช่วยให้สามารถส่งต่อขยะไปรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทุกถังจะติดป้ายกำกับที่ออกแบบมาให้เข้าใจง่าย โดยเน้นการใช้รูปภาพที่ชัดเจนและสีสันที่ช่วยในการจดจำ เหมาะกับการใช้งานในบริบทที่มีข้อจำกัดด้านภาษา เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงสามารถเข้าถึงเด็กเล็กและผู้ปกครองได้ด้วย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมในระยะยาว
3. การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ (แผนงานภาคต่อในอนาคต)
เนื่องจากโรงเรียนทั้งสองแห่งยังคงใช้การเผาเป็นปลายทางของการจัดการขยะ แม้จะมีการแยกขยะอย่างเหมาะสมแล้วก็ตาม โครงการจึงมีแผนต่อยอดโดยจัดอบรมการแปรรูปวัสดุรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปจำหน่ายได้ เพื่อให้ขยะถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
กิจกรรมนี้ยังช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ทำให้การแยกขยะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ และสร้างแรงจูงใจผ่านการลงมือทำและเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ มากกว่าการรีไซเคิลที่จบแค่ในกระบวนการภายในโรงเรียน
ระดมทุนเพื่ออบรมตัวแทนนักเรียนและชุมชนให้เข้าใจการจัดการขยะอย่างถูกวิธี โดยมุ่งเน้นการลดปริมาณขยะและใช้เตาเผาขยะชีวมวลที่ปล่อยก๊าซพิษน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักเรียนสร้างธนาคารขยะเพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้และปฏิบัติจริงในการรีไซเคิลและลดขยะในชุมชน โดยจัดอบรมโรงเรียนละ 40 คน
ระดมทุน
จัดตั้งกลุ่มแกนนำ - นักเรียนและบุคลากรโรงเรียน โรงเรียนละ 40 คน
จัดอบรมให้กลุ่มแกนนำ เรื่องการจัดการขยะอย่างถูกวิธี
จัดซื้อถังขยะแต่ละประเภท (ถังขยะรีไซเคิล ถังขยะอินทรีย์ ถังขยะทั่วไป) และติดตั้งจุดในพื้นที่ที่เหมาะสมและเข้าถึงง่าย พร้อมจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การทิ้งขยะ ณ จุดทิ้ง ประเภทของถังขยะจะแยกโดยคำนึงถึงการจัดการต่อปลายทางเช่น - ขยะทั่วไป - ขยะเปียก/เศษอาหาร - ขยะติดเชื้อ - ถุงพลาสติกสะอาด - กระป๋องอลูมิเนียม - ขวดแก้ว - ขวดพลาสติก แยกฝา - ลัง และกระดาษ - ขยะอันตราย - ขวดพลาสติก แยกฝา - ช้อน ส้อม ตะเกียบ ที่ทำความสะอาดแล้ว - ไม้เสียบลูกชิ้น - ฝาอลูมิเนียม หมายเหตุ ถังขยะบางประเภทมีมากกว่า 1 ถัง
ต่อยอดจากกิจกรรมฐาน: นำผลผลิตจากฐานเรียนรู้มาใช้จริงในโรงเรียน - ใช้ปุ๋ยหมักกับแปลงผักโรงเรียน - นำกระดาษสากลับมาใช้ในห้องเรียน - นำสื่อประชาสัมพันธ์ไปติดตั้งในพื้นที่จริง
ทำการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียนและชุมชน
ประเมินผลการดำเนินการ
Item | Quantity | Amount (THB) |
---|---|---|
ทีมวิทยากร (เทศบาลตำบลแม่ยาว) กิจกรรม 2 ครั้ง 1. อบรมเนื้อหา 1 วัน : ภาคเรียนที่ 1 2. ติดตามผล วัดผลการเปลี่ยนแปลง : ภาคเรียนที่ 2 4,800 บาท/โรงเรียน | 2โรงเรียน | 9,600.00 |
อุปกรณ์ฐานที่1 : ทำน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ ถังพลาสติกขนาด 100 ลิตรพร้อมฝา ราคา 250 x 3 ใบ = 750 บาท กากน้ำตาล (3 ลิตร/แกลลอน) ราคา 150 x 5 แกลลอน = 750 บาท หัวเชื้อ EM (1 ลิตร) ราคา 70 x 5 ลิตร = 350 บาท สติกเกอร์ฉลากติดขวด (2 ตร.ฟุต) ราคา 1,600 บาท ไม้คนสำหรับน้ำหมัก ราคา 50 x 5 อัน = 250 บาท 💛รวม = 3700 บาท /โรงเรียน *หลังอบรม อุปกรณ์จะมอบให้โรงเรียนทั้งหมด | 2โรงเรียน | 7,400.00 |
ฐานที่ 2: การทำกระดาษสาจากกระดาษรีไซเคิลในโรงเรียน ถังพลาสติกขนาด 40 ลิตร พร้อมฝา ราคา 150 x 3 ใบ = 450 บาท กรรไกรตัดกระดาษ ราคา 150 x 3 ชิ้น = 450 บาท โซดาไฟ (1 กิโลกรัม) ราคา 250 x 1 กก. = 250 บาท แม่พิมพ์จากมุ้งลวดกรอบอลูมิเนียม ราคา 500 x 3 แผ่น = 1,500 บาท ขันน้ำ ราคา 40 x 3 ใบ = 120 บาท กาวลากเท็ก ราคา 150 x 3 ขวด = 450 บาท สีผสมอาหาร ราคา 150 x 1 แพ็ค = 150 บาท 💛รวมค่าใช้จ่ายฐานที่ 2 = 3,370 บาท/โรงเรียน *หลังอบรม อุปกรณ์จะมอบให้โรงเรียนทั้งหมด | 2โรงเรียน | 6,740.00 |
ฐานที่ 3: การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ จอบพร้อมด้าม ราคา 300 x 3 ชุด = 900 บาท ตาข่ายพลาสติก (1 ม้วน) ราคา 1,000 x 1 ม้วน = 1,000 บาท บัวรดน้ำขนาด 10 ลิตร ราคา 150 x 3 ใบ = 450 บาท EM ชนิดผง (ซอง 250 กรัม) ราคา 50 x 10 ซอง = 500 บาท ปุ๋ยคอก (มูลวัว) ราคา 50 x 3 กระสอบ = 150 บาท อุปกรณ์ทำแปลง (ไม้ไผ่, ลวด, คีม, มีด) ราคา 900 x 1 ชุด = 900 บาท 💛รวมค่าใช้จ่ายฐานที่ 3 = 3,900 บาท/โรงเรียน *หลังอบรม อุปกรณ์จะมอบให้โรงเรียนทั้งหมด | 2โรงเรียน | 7,800.00 |
ค่าป้ายประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ - ป้ายติดตามจุดที่ติดตั้งถังขยะเพื่อให้ความรู้ก่อนทิ้งขยะ - ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ต่อคนในชุมชน | 2โรงเรียน | 10,000.00 |
ค่าถังขยะ แยกประเภท 20 ถัง x 588.50 บาท =11,770 บาท/โรงเรียน แบ่งเป็น - ขยะทั่วไป - ขยะเปียก/เศษอาหาร - ขยะติดเชื้อ - ถุงพลาสติกสะอาด - กระป๋องอลูมิเนียม - ขวดแก้ว - ขวดพลาสติก แยกฝา - ลัง และกระดาษ - ขยะอันตราย - ขวดพลาสติก แยกฝา - ช้อน ส้อม ตะเกียบ ที่ทำความสะอาดแล้ว - ไม้เสียบลูกชิ้น - ฝาอลูมิเนียม หมายเหตุ ถังขยะบางประเภทมีมากกว่า 1 ถัง | 2โรงเรียน | 23,540.00 |
ค่าขนส่งถังขยะ 2000 บาท/โรงเรียน | 2โรงเรียน | 4,000.00 |
ค่าเอกสารคู่มือประกอบการอบรม ชุดละ 80 บาท x 40 คน (นักเรียน 30 คน และ บุคลากรโรงเรียน 10 คน) = 3,200 บาท/โรงเรียน | 2โรงเรียน | 6,400.00 |
ค่าป้ายไวนิลโครงการ ป้ายละ 500 บาท | 2โรงเรียน | 1,000.00 |
Total Amount | 76,480.00 | |
Taejai support fee (10%) | 7,648.00 |
มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ เป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาระดับนานาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 และได้จดทะเบียนก่อตั้งในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า มูลนิธิ กู้ดเนเบอร์ซ (ประเทศไทย) เมื่อปี พ.ศ. 2558 ดำเนินการเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองเด็กและสนับสนุนการศึกษาในประเทศไทย ทำงานในเขตพื้นที่ดอยสูงจังหวัดเชียงรายมาตั้งแต่ปี 2558 โดยทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และเขต 3 มีเป้าหมายหลักในการช่วยเหลือและสร้างโอกาสให้กับเด็กชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ในขณะนี้มีโรงเรียนภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิ ทั้งหมด 14 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนใน จ.เชียงราย เขต 1 จำนวน 8 โรงเรียน และเขต 3 จำนวน 7 โรงเรียน กิจกรรมหลักของโครงการ การสนับสนุนการจัดการศึกษาแนวทางพหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน โดยรจัดสรรผู้ช่วยครูสองภาษาและพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยครูสองภาษา ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเหล่านี้สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ลดอุปสรรคทางภาษาและเสริมสร้างความเข้าใจในบทเรียน พัฒนาทักษะการสอนผู้ช่วยครู นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงอาคาร เช่น ห้องสมุด หอพัก และห้องน้ำให้ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ ทำให้นักเรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจในการเรียนรู้และพัฒนาอย่างเต็มที่ โครงการนี้จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้นักเรียนชาติพันธุ์ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น ประสบการณ์และผลงานขององค์กรผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการที่ผ่านมา จากการวัดผลผ่านแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีคะแนนการใช้ทักษะภาษาไทยดีขึ้นในแบบทดสอบหลังเรียน นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการ ครูในโรงเรียนและผู้ช่วยครู ต่างให้ความเห็นว่าหลังจากดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ทางโรงเรียนเห็นผลของพัฒนาการอย่างมีนัยสัมคัญ นักเรียนมีความสนใจและมาเข้าเรียนมากขึ้น มีความกล้าแสดงออกและกล้าสื่อสารมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครูและโรงเรียนมากขึ้น เมื่อเทียบกับนักเรียนที่ยังไม่เคยเรียนในห้องเรียนที่มีผู้ช่วยครูสองภาษา
View ProfileCollaborate to fundraise in support of this project
Create a fundraising page