cover_1
Recurring
+1

ช่วยชีวิตเต่าและตะพาบน้ำคืนสู่ธรรมชาติ

Donations for the project will ช่วยชีวิตเต่าที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ to เต่าบก เต่าน้ำ และเต่าทะเลที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆ500ตัว

Period of time

Mar 17, 2025 - Mar 31, 2027

Location

Nationwide in Thailand

SDG Goals

CLIMATE ACTIONLIFE BELOW WATERLIFE ON LAND

Beneficiary groups of the project

Animal
500ตัว

เต่าและตะพาบท้องถิ่นของไทย ได้แก่ เต่าบัว เต่านา เต่าหับ เต่าดำ เต่าเหลือง ตะพาบน้ำ รวมทั้งเต่าทะเล ที่มีอาการเจ็บป่วยจากการที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  ถูกคุกคามหรือบุกรุกจากการขยายพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ได้รับอันตราย หรือ ประสบอุบัติเหตุในหลายกรณี เช่น ถูกรถทับ  ถูกมนุษย์หรือสัตว์อื่นทำร้าย และเต่าที่พิการที่ไม่สามารถทำการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติได้ ทางมูลนิธิได้พบและรักษาเต่าและตะพาบหลายร้อยตัวต่อปี โดยเฉพาะเต่าที่ประสบอุบัติเหตุนั้นต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษานานกว่าจะหายเป็นปกติ ซึ่งต้องใช้เงินประมาณ 20,000 บาทต่อตัว นอกจากนี้ถ้าต้องร่วมกับการใช้วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เครื่องมือทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ จำนวนมากในการรักษา ทางมูลนิธิยังขาดแคลนและต้องการทุนในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

Social issues

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำพบว่า ในแต่ละปีจะมีเต่า ตะพาบน้ำ และเต่าทะเล ที่ไม่มีเจ้าของเข้ามารับการรักษาเป็นจำนวนหลายร้อยตัว โดยแต่ละตัวจะมีอาการแตกต่างกันไปขึ้นกับความเจ็บป่วย ระยะเวลาที่ป่วย หรือความรุนแรงของอุบัติเหตุ เต่าบางรายที่มีอาการหนักและจำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดในการรักษา จึงมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 5,000-20,000 บาท  โดยยังไม่รวมกับค่าอาหารอีกประมาณ 3,000 – 5,000 บาทต่อเดือน หลังจากที่สัตว์เหล่านี้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ ทางโครงการจะนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในพื้นอุทยานแห่งชาติ หรือ สถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชนเมืองที่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีอาหารในธรรมชาติเพียงพอและเหมาะสมเป็นแหล่งอาศัยของเต่าและตะพาบได้ เพื่อคืนชีวิตกลับคืนสู่ธรรมชาติ ให้สามารถดำรงชีวิตและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไปในอนาคตได้ และยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์เต่าไทยในประเทศไทยให้มีชีวิตยืนยาวมากขึ้น สามารถดำรงความสมดุลทางระบบนิเวศของเราให้ยั่งยืนต่อไป

Approaches to addressing issues

  1. 1. ในกรณีที่ได้รับการติดต่อจากบุคคลที่พบเจอเต่าประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยสัตวแพทย์จะอธิบายวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนที่จะนำเต่าเข้ามารับการรักษาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สำหรับในกรณีที่ได้รับการติดต่อหรือประสานงานเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ที่มีจำนวนมาก โครงการโดยมูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้าร่วมกับพันธมิตรจากหน่วยงานต่างๆ จะจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเต่าและนำเต่ามาดูแลอย่างเหมาะสม

  2. 2. เมื่อเต่าหรือตะพาบถูกส่งตัวเข้ามาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ สัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียดและให้การรักษาพยาบาลตามอาการ โดยส่วนใหญ่จะต้องทำแผล ให้ยา ถ่ายพยาธิ ป้อนอาหาร กายภาพบำบัด การผ่าตัด และบางตัวอาจจะต้องอาศัยเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดพิเศษต่างๆเพื่อใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรค เช่น x-ray , ultrasound , endoscopes , CT scan ร่วมด้วย

  3. 3. เต่าที่เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุมาแต่ละรายนั้น จะมีระยะเวลาในการรักษาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอาการและความเสียหายของร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนของกระดอง การรักษาจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือน จนถึง 1 ปี โดยจะมีสัตวแพทย์ที่มีความชำนาญดูแลเต่าจนกว่าจะหายเป็นปกติ ก่อนที่จะนำไปฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมกลับสู่ธรรมชาติต่อไป

  4. 4. สำหรับเต่าที่ไม่สามารถปล่อยกลับสู่ธรรมชาติได้ เช่น เต่าที่โดนรถทับในตำแหน่งสำคัญทำให้เกิดความพิการ หรือโดนตัดบริเวณใบหน้าและดวงตา ส่งผลให้หากินเองในธรรมชาติไม่ได้ ทางโครงการจะต้องให้การดูแลไปตลอดชีวิต ส่วนเต่าที่เป็นสายพันธุ์ต่างถิ่นซึ่งไม่สามารถนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติได้ ก็จะพิจารณาให้การดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น การนำไปปล่อยที่เดิมที่ได้ทำความสะอาดแล้วหรือปล่อยในที่ที่ไม่สามารถหลุดออกไปสู่ธรรมชาติได้ เป็นต้น

  5. 5. เมื่อรักษาเต่า ตะพาบน้ำ และเต่าทะเล จนหายแล้วทางโครงการร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ จะนำสัตว์ที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง ไปปล่อยในธรรมชาติ โดยจะมีการสำรวจพื้นที่เหมาะสมล่วงหน้า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลชุมชน ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ หรือเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่มีอาหารเพียงพอกับสัตว์ และได้รับการอนุญาตให้นำไปปล่อยเพื่อป้องกันมิให้ได้รับอันตรายอีก

Operational Plan

  1. สำรวจและประสานงานนำเต่าที่ต้องการความช่วยช่วยเหลือจากสถานที่ต่างๆ เข้าสู่โครงการ

  2. โครงการประเมินพื้นที่และการการปฏิบัติงานและดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือเต่าในสถานที่ต่างๆ

  3. ดูแลรักษาการบาดเจ็บและสุขภาพเต่าทุกตัวโดยสัตวแพทย์เฉพาะทาง

  4. ดูแลจัดการเต่าที่ไม่ใช่สายพันธุ์ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

  5. ปล่อยเต่าที่พร้อมกลับสู่ธรรมชาตินพื้นที่ที่เหมาะสม

Budget Plan

ItemQuantityAmount (THB)
การช่วยหลือเต่าจากสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ 6 กิจกรรม ๆละ 90,000 บาท

- การเตรียมและการดูแลสภาพแหล่งน้ํา - ค่าคนงาน - ค่าสนับสนุนสถานที่ - ค่าสวัสดิการต่างๆ - การประชาสัมพันธ์และการจัดการ - ค่าเคลื่อนย้ายและขนส่ง - ค่าวัสดุอุปกรณ์ - ค่ายาและอุปกรณ์การแพทย์ ประมาณ 2 ครั้ง/ปี จำนวน 3 ปี

6กิจกรรม540,000.00
การรักษาการบาดเจ็บและดูแลสุขภาพ เฉลี่ยตัวละ 5,000-20,000 บาท

- ค่ารักษาอาการต่างๆ - ค่ายาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ - ค่ารักษาโดยเทคนิคพิเศษ (ถ้ามี) - ค่าอาหารหลักและอาหารเสริม - ค่าจัดการดูแลสถานที่เลี้ยงดู - ค่าดูแลกรณีพิการ ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เองหรือไม่สามารถปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ - ค่าขนส่งและเคลื่อนย้าย

500ตัว2,500,000.00
กิจกรรมปล่อยเต่าและตะพาบสู่ธรรมชาติ ครั้งละ 60,000 ต่อปี

- ค่าอุปกรณ์และพาหนะในการเคลื่อนย้าย - การดำเนินการกิจกรรมปล่อยเต่าสู่ธรรมชาติ - ค่าสนับสนุนพื้นที่ในการปล่อยเต่า - การดำเนินการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

3ครั้ง180,000.00
Total Amount3,220,000.00
Taejai support fee (10%)322,000.00
Total amount raised
3,542,000.00

Project manager

มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า เป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งเพื่อทำงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก สัตว์ป่าคุ้มคลอง และสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก โดยได้เนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ ด้านการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับประชาชนทั่วไป และการจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์  และโครงการ "กองทุกรักษาเต่าบาดเจ็บ"  เป็นหนึ่งในโครงการของมูลนิธิที่จัดทำขึ้นเพื่อระดมทุนไปใช้ในการช่วยเหลือและเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหารเต่าและตะพาบไทยในธรรมชาติ ทั้งเต่าบก เต่าน้ำ และเต่าทะเล ที่เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ โดยไม่มีเจ้าของดูแล ถูกเก็บหรือบริจาคมา ให้กลับมามีสุขภาพที่ดี หายจากความเจ็บป่วย และได้รับการปล่อยกลับไปสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง         จากการทำงานที่ผ่านมาพบว่าเต่าที่เข้ามาในโครงการส่วนใหญ่เป็นเต่าบัว เต่านา เต่าหับ เต่าดำ เต่าเหลือง ตะพาบน้ำ รวมทั้งเต่าทะเล ที่มีอาการเจ็บป่วยจากการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ถูกคุกคามบุกรุกจากการขยายพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ได้รับอันตราย หรือ ประสบอุบัติเหตุในหลายกรณี เช่น ถูกรถทับ ติดเบ็ดหรืออุปกรณ์ประมงต่างๆ โดนมนุษย์หรือสัตว์อื่นทำร้าย และเต่าที่พิการไม่สามารถทำการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติได้ ส่วนเต่าทะเลที่เข้ามารักษาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ส่วนหนึ่งเป็นเต่าธรรมชาติที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเต่าที่ลักลอบเลี้ยงมาแบบผิดวิธีแล้วนำมาบริจาค รวมถึงเต่าทะเลเกยตื้นที่กินขยะทะเลต่างๆ พวกพลาสติก เหรียญ สิ่งแปลกปลอม เต่าและตะพาบส่วนใหญ่จะเป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ ที่มีผู้ใจบุญพบเห็นแล้วช่วยเก็บมาเพื่อส่งให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง โดยสัตวแพทย์เฉพาะทางของศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำที่มีความชำนาญในการรักษาเต่า แต่เนื่องจากผู้ที่นำมาส่งอาจมีทุนทรัพย์น้อยหรือไม่สะดวกในการจ่ายค่ารักษา จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยชีวิตสัตว์น้ำ โดยเปิดเป็นกองทุนรับบริจาคจากผู้ใจบุญที่ให้ความเมตตากับเต่าป่วยและพิการ แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนเต่าที่เข้ามารักษาในโครงการ เนื่องจากการรักษาเต่าแต่ละตัว โดยเฉพาะเต่าที่ประสบอุบัติเหตุนั้นต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษานานกว่าจะหายเป็นปกติ ร่วมกับการใช้วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เครื่องมือทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ จำนวนมากในการรักษา ซึ่งทางโครงการยังขาดแคลนและต้องการทุนในการจัดซื้ออย่างต่อเนื่อง       จากข้อมูลของศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำพบว่า ในแต่ละปีจะมีเต่า ตะพาบน้ำ และเต่าทะเล ที่ไม่มีเจ้าของเข้ามารับการรักษาเป็นจำนวนประมาณ 300-500 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีอาการแตกต่างกันไปขึ้นกับความเจ็บป่วย ระยะเวลาที่ป่วย หรือความรุนแรงของอุบัติเหตุที่ประสบมา เต่าบางรายที่มีอาการหนักและจำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดในการรักษา จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 5,000-20,000 บาท โดยยังไม่รวมกับค่าอาหารอีกประมาณ 3,000 – 5,000 บาทต่อเดือน หลังจากที่สัตว์เหล่านี้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ ทางโครงการจะนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ตามอุทยานแห่งชาติ หรือ สถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชนเมือง มีอาหารในธรรมชาติเพียงพอและเหมาะสม และเป็นแหล่งอาศัยท้องถิ่นของเต่าและตะพาบชนิดนั้นๆ เพื่อคืนชีวิตกลับคืนสู่ธรรมชาติ ให้สามารถดำรงชีวิตและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไปในอนาคตได้ และยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์เต่าไทยในประเทศไทยให้มีชีวิตเเละจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น

View Profile

Create a fundraising page

Collaborate to fundraise in support of this project

Create a fundraising page
icon