logo

มูลนิธิอิสรชน

กรุงเทพมหานคร
เข้าร่วมกับเทใจ2556

โครงการที่เปิดรับบริจาค

เกี่ยวกับองค์กร

มูลนิธิอิสรชน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย โดยเริ่มทำงานในรูปแบบของอาสาสมัครมาตั้งแต่ปี 2539 และเมื่อถึงปี 2548 ได้ก่อตั้งเป็น “สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน” หรือ VACA. จวบจนปี2554 ได้พัฒนามาเป็น “มูลนิธิอิสรชน” มูลนิธิอิสรชนได้รับอนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิอิสรชนในวันที่ 18 ตุลาคม 2554 การทำงานอย่างต่อเนื่องในตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาในนาม “อิสรชน” เพื่อสร้างความเท่ากันในสังคม เน้นการทำงานกับตัวบุคคล มุ่งเข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจและฟื้นฟูสภาพครอบครัว ชุมชน สังคม รอบข้างไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้กิจกรรมการพูดคุย การเยี่ยมบ้าน เยี่ยมครอบครัว ชุมชน ของ ผู้ที่อยู่ในที่สาธารณะ คนไร้บ้าน คนไร้ที่พึ่ง เพื่อค้นหาคำตอบที่แท้จริงเพื่อนำมาวางแผนปรับกระบวนการในการทำงาน ในรูปแบบของอาสาสมัครพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจเป็นสำคัญ ✅โครงการปันชีวิต (สนามหลวงโมเดลทั่วประเทศ) Sanam Luang Model 1. ลงพื้นที่ดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ประจำพื้นที่คลองหลอด สนามหลวง ราชดำเนิน ทุกวันอังคาร เวลา 16:00 – 21:00 น. และพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ทุกวัน เวลา 09:00 – 21:00 น. ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะเป็นการ ช่วยเหลือเรื่องปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น คือ ยารักษาโรค อาหารการกิน ที่อยู่หลับนอน เครื่องนุ่งห่ม หรือแม้แต่ปัจจัยเสริมเบื้องต้น ที่เร่งด่วน ✅โครงการปันอิ่ม ( 1 อิ่ม 1 สะอาดแบ่งปันอาหาร ) ✅โครงการแบ่งปันของเพื่อเพื่อน ✅โครงการถุงปันสุข ✅โครงการปันอาชีพ ✅โครงการ ปันสุข (สุขภาพกายและใจในถนน) ✅โครงการสื่อสานสร้างสุข(ปันโอกาสเชิงรุก) 3. โครงการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในกลุ่มพนักงานบริการอิสระ

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERGOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONGENDER EQUALITYCLEAN WATER AND SANITATIONREDUCED INEQUALITIESRESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTIONCLIMATE ACTIONPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมาย

เด็กและเยาวชน
ผู้สูงอายุ
ผู้ป่วย
ผู้พิการ
ผู้หญิง
LGBTQ
คนชายขอบ
ผู้ประสบภัยพิบัติ
ชุมชน
อื่นๆ

โครงการ/ผลงานที่ผ่านมา

ปันอิ่มคนไร้บ้าน

“1 อิ่ม 1 มื้ออาหาร” รับประทานอาหารร่วมกันทุกวันอังคารเวลา 17.00 น เพื่อนคนไร้บ้านของเราอาศัยอยู่ตามถนน บ้างก็เสาะหาอาหารในถังขยะซึ่งเป็นต้นตอของเชื้อโรคที่ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นเราจึงจัดสถานที่ให้อาหารที่เหมาะสมแก่พวกเขาสัปดาห์ละครั้ง ที่ปรุงสุก สะอาด ถูกหลักอนามัย เราอยากเห็นการแบ่งปันในสังคม เปิดกว้างมากขึ้น และเข้าใจวิถีชีวิตของคนไร้บ้านในที่สาธารณะ เราแบ่งปัน 300-500 ชุดต่อ สัปดาห์ นอกจากจุดนี้จะเป็นจุดแบ่งปันอาหารแล้วเรายังเป็นพื้นที่ของการพัฒนา เรียนรู้ ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลเคสคนเร่ร่อนไร้บ้าน พื้นที่ให้อาสาสมัครมาร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ระหว่างกิจกรรมอาสาสมัครบุคคลทั่วไปและคนเร่ร่อนไร้บ้าน พื้นที่จุด Dropin ในการพัฒนา มีเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วม ตรวจสุขภาพ ย้ายสิทธิการรักษาพยาบาล สมัครงาน ทำบัตรประชาชน หรือการช่วยเหลือการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ

1 care 1 share เพื่อชีวิตใหม่ของเพื่อนในที่สาธารณะ

การที่มูลนิธิอิสรชนเปิดพื้นที่ให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ในการแบ่งปัน ในการร่วมดูแลสังคมร่วมกัน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเท่ากันกับเรา เพียงแต่เขาถูกกระทำจากสังคม ได้รับผลกระทบจากสังคม ขาดโอกาส และเข้าไม่ถึงรัฐสวัสดิการใด ๆ ที่เขาควรจะได้รับ มูลนิธิอิสรชนจึงเกิดโครงการ กองทุน 365 บาท (เฉลี่ยวันละ 1 บาท ใน 1 ปีของคุณ) 1care 1share เพื่อมาร่วมกันแบ่งปันชีวิตใหม่ให้เพื่อนในที่สาธารณะได้ (เฉลี่ยเป็นค่าอาหาร ค่ายา ค่าประสานงานส่งกลับบ้าน ค่าประสานงานส่งรักษาต่อ 1 คนในที่สาธารณะ) โดยเป้าหมาย คือ 1 คน 1 กองทุนดูแลผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้ 1 คน ใน 1 ปี 1.1. การส่งกลับบ้าน เมื่อผู้รับบริการ 1.2. การเปิดพื้นที่ให้อาสาสมัครลงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับมุมมองทัศนคติสังคมมองเห็นคนเท่ากัน 1.3.การทำบัตรประชาชน โดยส่วนใหญ่ บัตรประชาชนหาย ชำรุด ไม่กล้าทำ เพราะทัศนคติและการถูกปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่ 1.4.1.5. การรักษาพยาบาล จะเน้น ในการส่งต่อและประสานงานกับหน่วยงาน เพราะ ก่อนหน้านี้หลายคนที่ไปรักษาที่โรงพยาบาลแล้วถูกปฏิเสธ จนมาตายข้างถนน

1 อิ่มและชีวิตใหม่ของคนไร้บ้าน

รถโมบายสวัสดิการ Social welfare service ลงพื้นที่ดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่คลองหลอด สนามหลวง ราชดำเนิน ให้ความรู้เรื่องทักษะชีวิต ส่งเสริมด้านการป้องการการติดเชื้อเอดส์ และสุขภาวะอนามัย ช่วยเหลือเรื่องปัจจัย 4 การส่งกลับบ้าน การส่งเสริมอาชีพ รวมถึงเลี้ยงอาหาร เพราะเราอยากให้พวกเขาได้กินอาหารที่สะอาดและอิ่มท้องอย่างน้อย 1 มื้อในหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือน แทนการคุ้ยอาหารในถังขยะ หรือกินอาหารหมดอายุที่ถูกทิ้งมาจากร้านต่างๆ 1.เลี้ยงอาหารในกิจกรรมฝากข้าวเพื่อเพื่อนในที่สาธารณะ (เลี้ยงคนอิ่มได้ 10 คนต่อวัน ทำให้เขาไม่ต้องกินอาหารในถังขยะ) ทุกวันอังคารและศุกร์ ทุกครั้งที่ออกหน่วยโมบาย เป็นเวลา 48 วัน จานละ 25 บาท รวม 12,000 บาท 2. ค่าอุปกรณ์ในถุงเยี่ยมเพื่อนสำหรับลงพื้นที่ ประกอบด้วย ยา อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค เสื้อผ้า ฯลฯ ทุกวันอังคารและศุกร์ ทุกครั้งที่ออกหน่วยโมบาย เป็นเวลา 48 วัน วันละ 5 ถุง ถุงละ 100 บาท รวม 24,000 บาท

โครงการสื่อสานสร้างสุข เพื่อเด็กขาดแคลน

ตั้งแต่ ปี 2556 มูลนิธิอิสรชนได้ออกโครงการสื่อสานสร้างสุข เพื่อสร้างพื้นที่ทางปัญญา พื้นที่แห่งโอกาส โดยรถโมบายเคลื่อนที่ไปหาเด็ก ๆ ในชุมชน มีกิจกรรมสนุกสนานผ่านการเล่น มอบจักรยานเพื่อน้องที่เรียนแต่ยากจนเพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน มอบทุนการศึกษา เมื่อไปทำกิจกรรม เราพบว่ามีเด็กบางจำนวนที่มาทำกิจกรรมร่วมด้วยถึงแม้เขาได้สนุกสนาน ได้ความรู้ แต่เราในฐานะองค์กรที่เรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานจึงคิดว่า อย่างน้อยให้เด็กได้มีถุงของขวัญ เป็นชุดการเรียนการสอน ของเล่น ของรางวัลติดมือเบื้องต้นทุกคน มันถึงแสดงออกว่าเขาได้รับสิทธิ สวัสดิการขั้นพื้นฐานอย่างเท่ากัน เราจึงอยากทำกิจกรรมให้เด็ก พร้อมมอบทุนการศึกษาให้เด็กโดยระดมทุนผ่านเทใจ 50 ทุน ๆ ละ 1,000 บาท ยังมีเด็กด้อยโอกาสจำนวนมากที่อยู่ตามชุมชนเมืองและต้องออกเรียนกลางคัน บางคนก็กลายมาเป็นคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน เราจึงทำงานเชิงป้องกันในการให้เด็ก ๆ ที่ด้อยโอกาส ในโรงเรียนได้มีโอกาสเรียนต่อ และสนับสนุนสวัสดิการขั้นพื้นฐาน เช่น ทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียนตาม

ชุดยาสามัญคนไร้ที่พึ่ง

มูลนิธิอิสรชนลงพื้นที่ทำงานกับ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ หรือที่เรียกว่า คนเร่ร่อน ในถนน ในที่สาธารณะ ในพื้นที่สนามหลวง ราชดำเนิน คลองหลอด สมุทรสาคร และอยุธยา พบปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่กล้าไปโรงพยาบาล ทำให้คนเหล่านี้ขาดสิทธิการรักษาพยาบาล หรือบางทีก็มีแผลที่เกิดจากการทำงาน แล้วไม่รักษา ด้วยสภาพที่อยู่ในที่สาธารณะ คุณภาพชีวิตตรงนี้ ทางมูลนิธิอิสรชนจึงเกิดโครงการชุดยาสามัญในการดูแลคนเร่ร่อนหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเบื้องต้น เนื่องจากทุกการลงพื้นที่จะมีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะหรือคนเร่ร่อน มาขอยาแก้ปวด ยาแก้ไข้ ยาแก้อักเสบ ทำแผล จำนวน 8-10 ราย ต่อวัน เราจึงจัดกล่องชุดยาขึ้นเพื่อเมื่อใครเจ็บป่วยจะได้มียาในการดูแลตัวเองเบื้องต้น เพื่อการลดการเจ็บป่วยเรื้อรัง และเมื่อยาหมดสามารถมาเติมได้ ซึ่งตั้งแต่สนับสนุนโครงการจากทางเทใจ เราก็ได้จัดทำชุดยามาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนปัจจุบัน กว่า 100 ชุด ในการลงพื้นที่แบ่งปัน สอนทำแผล สอนในการดูแลสุขภาพตัวเขาเอง เพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง และถือว่าเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน ในการดูแลตนเอง ให้อยู่ในที่สาธารณะได้อย่างมีคุณภาพชีวิต

ปลูกปันอิ่ม

เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง เป็นแนวความคิดที่มูลนิธิอิสรชนคาดหวังจะใช้พื้นที่เหลือว่างของสวนมะพร้าวที่ได้รับความอนุเคราะห์มาจากเจ้าของสวนซึ่งเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิอิสรชนให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหลือว่างในสวน เพื่อ “เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง” โดยการใช้กิจกรรมการปลูกผักทำสวนเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิต พร้อมผลิตวัตถุดิบในการทำอาหารเพื่อมาแบ่งปันให้เพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ด้านคือ 1ผลิตวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนกิจกรรมแบ่งปันอาหารให้กับผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ 2.ใช้กิจกรรมการปลูกและแบ่งปันอาหารให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ 3.สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับเพื่อนผู้ใช้ชีวิตพื้นที่สาธารณะ ในรูปแบบของค่าแรงเพื่อเป็นเงินทุนในการใช้ชีวิต(แม้อาจเล็กน้อยแต่ถือเป็นคุณค่าทางใจ) 4.บริหารผลผลิตให้เป็นรายได้ให้กับเพื่อนที่มาช่วยดำเนินการและแปรรูปรายได้บางส่วน(หากพอมี) เพื่อไว้เป็นอุปกรณ์ของใช้จำเป็น

นักกู้ขยะข้างถนน Street's Hero

เปลี่ยนผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะให้เป็นฮีโร่กู้ขยะ ด้วยรถเก็บขยะที่ออกแบบพิเศษสำหรับคนเร่รอน เพื่อให้เขามีรายได้ และมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมด้วยการเก็บขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เราอยากให้พวกเขามีอาชีพที่สุจริตพร้อมช่วยเหลือสังคม เราจึงมีไอเดียอยากสร้างให้พวกเขาเป็น Street hero นักกู้ขยะข้างถนน เพราะเรามองเห็นความสำคัญของการพัฒนาและช่วยสังคมไปพร้อมๆ กัน เราใช้เวลาตลอดสองเดือนมาเปลี่ยนทดลอง ให้กลายเป็น Street's Hero นักกู้ขยะข้างถนน ด้วยการให้ให้พวกเขาเดินเก็บขยะรอบๆสนามหลาง คลองหลอดมาแลกของ แลกข้าวกับเรา ทำให้เราทราบว่า แต่ละวันคนเหล่านี้เดินเก็บขยะได้ราว 8 กิโลกรัมต่อวัน โดยส่วนใหญ่จะเป็น ขยะประเภทขวดน้ำ กระป๋องน้ำ และเศษกระดาษบางส่วน 1 : เราจะนำซาเล้งปกติมาดัดแปลงเพิ่มหลังคาและพื้นที่เก็บของให้ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ซาเล้งดังกล่าวสามารถจุขยะที่นำกลับมาใช้ได้ถึง 80 กิโลกรัม หรือเรียกได้ว่าเพิ่มเป็น 10 เท่าจากวิธีการเดิมที่เดินเก็บ 2 : รับสมัคร คนไร้บ้าน ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ 3 : ส่งมอบซาเล้งให้ คนไร้บ้าน 4 : เปิดธนาคารการออม 5 : อิสรชนดูแลประเมินผล

ติดต่อ

โครงการทั้งหมด (12)