cover_1

“ปลูก ปันอิ่ม” สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง

อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะพื้นที่เหลือว่างของสวนมะพร้าว นำมาเป็นพื้นที่สร้างแหล่งอาหาร ผลิตวัตถุดิบในการทำให้กับคนไร้ที่พึ่งและผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ1สวน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

5 มี.ค. 2564 - 31 ส.ค. 2564

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGLIFE ON LAND

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

พื้นที่สวน/ป่า
1ผืน

พื้นที่เหลือว่างของสวนมะพร้าว นำมาเป็นพื้นที่สร้างแหล่งอาหาร ผลิตวัตถุดิบในการทำอาหาร เพื่อมาแบ่งปันให้คนไร้ที่พึ่งและผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ

โดยใช้กิจกรรมการปลูกผักทำสวนเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิต เสริมความมั่นคงในชีวิต สร้างโอกาส และรายได้ในรูปแบบของค่าแรงเพื่อเป็นเงินทุนในการใช้ชีวิต

ปัญหาสังคม

ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ไร้บ้าน ซึ่งหากมองโดยผิวเผินแล้วคนกลุ่มนี้อาจไม่ได้เป็นปัญหากับสังคมโดยชัดเจน หากในทางกลับกันพวกเขาคือ กลุ่มคนที่ถูกกระทำ ทั้งการดูถูก การถูกรังเกียจ กระทั่งถึงการที่พวกเขาเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการในหลายๆ ด้าน ทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาเองที่ย่ำแย่ แต่หากมองในเชิงโครงสร้างของสังคมโดยรวมอาจพบว่า ปัญหาคนเร่ร่อน ไร้บ้าน เป็นผลสะท้อนของปัญหาที่หลากหลาย เช่น การเข้าไม่ถึงการศึกษา ความยากจน การไม่มีงานทำ ฯลฯ ซึ่งแม้มีการพยายามจัดการเรื่องต่างๆ เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างครอบคลุมและเข้มแข็งเพียงพอให้คนทุกคนในสังคมสามารถอยู่ได้อย่างเท่าเทียม มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอ ในขณะเดียวกันในการที่คนหนึ่งคนจะต้องออกมาเป็นคนเร่ร่อน สังคมก็ต้องสูญเสีย “ผลิตภาพ” กำลังการผลิตที่จะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกลุ่มเล็กๆ ด้วย ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนเร่ร่อน นอกจากจะเป็นการทำงานในเชิงสิทธิมนุษยชน ผ่านการสร้างช่วยเหลือดูแลคนแต่ละคนเพื่อให้เขาสามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการพร้อมทั้งเพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะเคารพตัวเองพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในฐานะมนุษย์แล้ว ยังเป็นการสร้างผลิตภาพที่สำคัญแม้จะเป็นส่วนเล็กๆ ให้กับสังคมอีกทางหนึ่งเช่นกัน

วิธีการแก้ปัญหา

  1. โครงการ “ปลูก ปันอิ่ม” เป็นแนวความคิดที่มูลนิธิอิสรชนคาดหวังจะใช้พื้นที่เหลือว่างของสวนมะพร้าวที่ได้รับความอนุเคราะห์มาจากเจ้าของสวนซึ่งเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิอิสรชนให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหลือว่างในสวน เพื่อ“เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง” โดยการใช้กิจกรรมการปลูกผักทำสวนเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิต พร้อมผลิตวัตถุดิบในการทำอาหารเพื่อมาแบ่งปันให้เพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ด้านคือ ผลิตวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนกิจกรรมแบ่งปันอาหารให้กับผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งจะเป็นวัตถุดิบที่เพื่อนคนไร้ที่พึ่ง ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เป็นผู้ลงมือปลูก และดูแลเพื่อแบ่งปันแก่กันด้วยตนเอง ใช้กิจกรรมการปลูกและแบ่งปันอาหารให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเพื่อผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับเพื่อผู้ใช้ชีวิตพื้นที่สาธารณะ ในรูปแบบของค่าแรงเพื่อเป็นเงินทุนในการใช้ชีวิต(แม้อาจเล็กน้อยแต่ถือเป็นคุณค่าทางใจ) ให้กับคนไร้ที่พึ่ง ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะที่เข้าร่วมโครงการ บริหารผลผลิตให้เป็นรายได้ให้กับเพื่อนที่มาช่วยดำเนินการและแปรรูปรายได้บางส่วน(หากพอมี) เพื่อไว้เป็นอุปกรณ์ของใช้จำเป็นเพื่อแจกจ่ายเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะหรือเป็นต้นทุนในการทำกิจกรรมอื่นๆ ของมูลนิธิฯ ต่อไป

แผนการดำเนินงาน

  1. ชักชวนเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ซึ่งได้รับการพูดคุยพัฒนาโดยมูลนิอิสรชนในเบื้องต้นแล้วจนสามารถเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิฯ ให้เข้าร่วมโครงการฯ

  2. ศึกษาธรรมชาติของพืชผักชนิดต่างๆเพื่อคัดเลือกพืชผักที่สามารถนำมาใช้ทำอาหารเลี้ยงเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่จะปลูก โดยเน้นคัดเลือกผักระยะเวลาสั้นและเก็บเกี่ยวได้เร็วในช่วงประมาณ 45 วัน พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม

  3. พัฒนาพื้นที่เหลือว่างในสวนมะพร้าวให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผักแบบผสมผสาน ตามแผนที่ออกแบบไว้

  4. แบ่งทีมอาสาสมัครเพื่อจัดการดูแลพื้นที่สวน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

  5. เก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้รับ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสนับสนุนกิจกรรมเลี้ยงอาหารผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ซึ่งมูลนิธิอิสรชนมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทุกวันอังคารในพื้นที่สนามหลวง

  6. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน ที่เข้ามารับแจกอาหารได้ทราบว่าเป็นผลผลิตจากการทำงานของเพื่อนของเขาเอง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองและการแบ่งปันแก่กัน

  7. จัดการผลผลิตบางส่วนที่เหลือออกจำหน่ายเพื่อจัดสรรเป็นรายได้เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ที่เข้าร่วมโครงการฯ และใช้เป็นทุนจัดซื้ออุปกรณ์ของใช้จำเป็นเพื่อแจกจ่ายเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะหรือเป็นทุนในการทำกิจกรรมอื่นๆของมูลนิธิฯต่อไป

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสวน เช่น จอบ เสียม เครื่องตัดหญ้า -จอบ 5 อัน x 220 บาท = 1,100 บาท -เสียม 3 อัน x 100 บาท = 300 บาท -กระบวยรดน้ำ 5 อัน x 100 บาท = 500 บาท -เครื่องตัดหญ้า 2 เครื่อง x 2,000 บาท = 4,000 บาท -กรรไกรตัดหญ้า ตัดกิ่ง 5 อัน x 250บาท = 1,250 บาท -ถังใส่ผัก ใส่เมล็ด ต้นกล้า 50 อัน x 50 บาท = 2,500 บาท -ไม้ไผ่ข้ามคู่ ไม่สาน 10 อัน x 250 บาท =2,500 บาท

0012,150.00
ค่าเมล็ดพันธ์ และกล้าพันธ์ที่ใช้ปลูกประมาณ 20 ชนิด ชนิดละ 100 เมล็ดพันธ์ ราคาเฉลี่ยที่ 15 บาท 20 ชนิด x 100 กล้า/เมล็ด x 15 บาท

0030,000.00
ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น -น้ำมันเติมเครื่องตัดหญ้า 200 บาท x 30 ครั้ง =6,000 บาท -ไม้หลัก ไม้ไผ่ทำหลักหรือค้างผัก ยาว 80 ซม. 1มัดมี 100 ซี่ 5 มัด x 200 บาท=1,000 บาท -ไม้หลัก ขนาด 2 ม. และ 1.2 ม 1 มัดมี 50 ท่อน 5 มัด x 200 บาท =1,000 บาท -ไม้หลัก ไม้ปักหลักต้นไม้ ไม่ไผ่ผ่าซีก ความยาว 50 ซม. 1มัด 50อัน จำนวน 10 มัด x 150 บาท = 1,500 บาท -เชือกมัดพันธ์ไม้ 50 ม้วน x 40 บาท = 2,000 บาท -ตาข่าย scrog net ตาข่ายปลูกผัก ตาข่ายไม้เลื้อย ตาข่ายไนลอน ตาข่ายทำค้างผักเลื้อยเน็ต ตาข่าย ตาข่ายHDPE ตาข่ายไนล่อน Nylon net 5 ชิ้นx 200 บาท =1,000 บาท -ตาข่ายกันแมลง กันUV ผ้าคลุมปลูกผักสร้างโรงเรือน ขนาดกว้าง 2.5 ม. ยาว 30 ม. 5,000 บาท

0017,500.00
ค่าดูแล ค่าเฉลี่ย ดิน ปุ้ย การบำรุง น้ำหมัก ตลอด 6 เดือน จนเก็บเกี่ยวผลผลิต

0030,000.00
ค่าแรงเพื่อนคนไร้ที่พึ่งและอาสาสมัครที่มาช่วยงาน 350 บาท x 8 คนx 30ครั้ง

0091,200.00
.ค่าอาหารเครื่องดื่มคนที่มาช่วยงานและอาสาสมัคร 50 บาท x 8 คน x 30 (สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งที่เขาไปทำสวน ซึ่งเฉลี่ยที่ 30 ครั้งตลอดโครงการใน ทั้งหมด 6 เดือน)

0012,000.00
ค่าบริหารจัดการโครงการ ค่าประสานงาน ค่าเดินทาง น้ำมันรถ ตลอดโครงการ ค่าน้ำมันรถ 500 บาท x30 ครั้ง = 15,000 ค่าประสานงาน 300 บาท x 30 ครั้ง =9,000 บาท

0024,000.00
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็นเฉพาะหน้า ค่าสิ่งของสิ้นเปลืองตลอดโครงการ

0010,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด226,850.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)22,685.00
ยอดระดมทุน
249,535.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิอิสรชน

มูลนิธิอิสรชน

กรุงเทพมหานคร

มูลนิธิอิสรชน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย โดยเริ่มทำงานในรูปแบบของอาสาสมัครมาตั้งแต่ปี 2539 และเมื่อถึงปี 2548 ได้ก่อตั้งเป็น “สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน” หรือ VACA. จวบจนปี2554 ได้พัฒนามาเป็น “มูลนิธิอิสรชน” มูลนิธิอิสรชนได้รับอนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิอิสรชนในวันที่ 18 ตุลาคม 2554 การทำงานอย่างต่อเนื่องในตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาในนาม “อิสรชน” เพื่อสร้างความเท่ากันในสังคม เน้นการทำงานกับตัวบุคคล มุ่งเข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจและฟื้นฟูสภาพครอบครัว ชุมชน สังคม รอบข้างไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้กิจกรรมการพูดคุย การเยี่ยมบ้าน เยี่ยมครอบครัว ชุมชน ของ ผู้ที่อยู่ในที่สาธารณะ คนไร้บ้าน คนไร้ที่พึ่ง เพื่อค้นหาคำตอบที่แท้จริงเพื่อนำมาวางแผนปรับกระบวนการในการทำงาน ในรูปแบบของอาสาสมัครพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจเป็นสำคัญ ✅โครงการปันชีวิต (สนามหลวงโมเดลทั่วประเทศ) Sanam Luang Model 1. ลงพื้นที่ดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ประจำพื้นที่คลองหลอด สนามหลวง ราชดำเนิน ทุกวันอังคาร เวลา 16:00 – 21:00 น. และพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ทุกวัน เวลา 09:00 – 21:00 น. ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะเป็นการ ช่วยเหลือเรื่องปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น คือ ยารักษาโรค อาหารการกิน ที่อยู่หลับนอน เครื่องนุ่งห่ม หรือแม้แต่ปัจจัยเสริมเบื้องต้น ที่เร่งด่วน ✅โครงการปันอิ่ม ( 1 อิ่ม 1 สะอาดแบ่งปันอาหาร ) ✅โครงการแบ่งปันของเพื่อเพื่อน ✅โครงการถุงปันสุข ✅โครงการปันอาชีพ ✅โครงการ ปันสุข (สุขภาพกายและใจในถนน) ✅โครงการสื่อสานสร้างสุข(ปันโอกาสเชิงรุก) 3. โครงการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในกลุ่มพนักงานบริการอิสระ

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon