cover_1

1 อิ่มและชีวิตใหม่ของคนไร้บ้าน

อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปมอบอาหารและถุงเยี่ยมเพื่อนให้กับกลุ่มคนไร้บ้าน1กลุ่ม

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

25 ก.ค. 2556 - 11 ก.พ. 2557

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERGOOD HEALTH AND WELL-BEINGREDUCED INEQUALITIESPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

กลุ่มคนไร้บ้าน
1กลุ่ม

มอบอาหารวันละ 1 อิ่มให้คนไร้บ้าน ส่งเสริมสิทธิความเป็นมนุษย์ ให้โอกาสพวกเขาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในสังคม

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

ในปี 2555 ที่ผ่านมา เฉพาะในพื้นที่สนามหลวง คลองหลอด มีคนข้างถนนเสียชีวิตทั้งหมด 49 คน โดยที่มีเพียง 5 คนเท่านั้นที่สามารถแจ้งตายในฐานะพลเมืองไทยได้อย่างสมบูรณ์

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนไร้ที่พึ่ง คนเร่ร่อนไร้บ้านเหล่านี้...คุณเห็นเขาไหม? คุณรู้ไหมว่ามีเขาอยู่ในสังคม?

ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะทั่วกรุงเทพฯ มีไม่เกิน 3,000 คน แต่หากรวมกลุ่มที่เป็นขอทานทั้งขอทานไทยและขอทานต่างด้าวเข้าไปด้วยแล้วคาดว่าจะมีจำนวนมากกว่า 5,000 คน คนเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลในกรณีที่เป็นคนไทยที่ขาดรายได้และไร้ที่พึ่ง ส่วนคนที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านก็ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเพื่อนมนุษย์ ด้วยการประสานงานช่วยเหลือหรือส่งกลับอย่างเป็นระบบ

หลายครั้งที่บางหน่วยงานคิดแก้ปัญหาโดยเน้นการทำให้คนที่อยู่ข้างถนนหายไปจากถนน ด้วยการพาออกไปจากพื้นที่ ไม่มีแนวทางในการฟื้นฟูหรือค้นหาคำตอบที่แท้จริงของการออกมาใช้ชีวิตข้างถนน เพื่อนำไปสู่การเยียวยาและฟื้นฟูอย่างครบถ้วน เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

มูลนิธิอิสรชนทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2539 เน้นการทำงานกับตัวบุคคล มุ่งเข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจและฟื้นฟูสภาพครอบครัว ชุมชน สังคมรอบข้างไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้กิจกรรมการพูดคุย การเยี่ยมบ้าน เยี่ยมครอบครัว ชุมชน ของผู้ที่อยู่ในที่สาธารณะ เพื่อค้นหาคำตอบที่แท้จริง และนำมาวางแผนปรับกระบวนการทำงานต่อไป

ทุกวันอังคารและศุกร์ เวลา 13.00 - 18.00 น. ทีมงานและอาสาสมัครจะนำรถโมบายสวัสดิการ Social welfare service ลงพื้นที่ดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่คลองหลอด สนามหลวง ราชดำเนิน ให้ความรู้เรื่องทักษะชีวิต ส่งเสริมด้านการป้องการการติดเชื้อเอดส์ และสุขภาวะอนามัย ช่วยเหลือเรื่องปัจจัย 4 การส่งกลับบ้าน การส่งเสริมอาชีพ รวมถึงเลี้ยงอาหาร เพราะเราอยากให้พวกเขาได้กินอาหารที่สะอาดและอิ่มท้องอย่างน้อย 1 มื้อในหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือน แทนการคุ้ยอาหารในถังขยะ หรือกินอาหารหมดอายุที่ถูกทิ้งมาจากร้านต่างๆ

ประโยชน์ของโครงการ :

  • สนับสนุนการคืนสู่ภูมิลำเนาโดยสมัครใจของผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ
  • สร้างจิตสำนึกในสังคมด้านการแบ่งปัน เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีโอกาสช่วยเหลือกัน และก่อให้เกิดอาสาสมัครในการทำงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ
  • ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงสภาพความเป็นอยู่และปัญหาของผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เกิดการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขา และดูแลคนในครอบครัวของตนเองมากขึ้น
  • เกิดเครือข่ายการทำงานด้านผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะของภาครัฐและภาคเอกชน
  • สังคมสนใจและมองเห็นกันมากขึ้น ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะได้รับสิทธิสวัสดิการในฐานะมนุษย์คนหนึ่งในสังคม ได้รับการรักษาโดยไม่รังเกียจ สังคมมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมสังคมในถนน ครอบครัวดูแลกันมากขึ้นและไม่ปล่อยให้คนในครอบครัวออกมาสู่ถนนเพิ่มขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่
www.issarachonfoundation.com

สมาชิกภายในทีม :

  1. นที สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน หัวหน้างานในพื้นที่ดูแลทุกอย่างในรถโมบายสวัสดิการ
  2. วิไลพรรณ หลวงยา รองประธานมูลนิธิอิสรชน ช่วยในด้านประชาสัมพันธ์กิจกรรมในพื้นที่
  3. น้องส้ม เจ้าหน้าที่อาสาในพื้นที่ กำลังศึกษา
  4. อัจฉรา อุดมศิลป์ ผู้ประสานงานในพื้นที่
  5. พี่หน่อย คลองหลอด อาสาสมัครในพื้นที่ที่ฟื้นฟูจากผู้รับบริการมาเป็นผู้ช่วยดูแลคนอื่นๆ ในพื้นที่ต่อ

ภาคี :

บ้านมิตรไมตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนจัดหามื้ออาหารให้คนไร้บ้านเหล่านี้ได้กินอาหารที่สะอาดและอิ่มท้องอย่างน้อย 1 มื้อในหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งเดือน แทนการคุ้ยอาหารในถังขยะ หรือกินอาหารหมดอายุที่ถูกทิ้งมาจากร้านต่างๆ

  2. มอบถุงเยี่ยมเพื่อน ซึ่งประกอบด้วยยารักษาโรค อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค เสื้อผ้า ให้เขาได้พัฒนา ฟื้นฟูตัวเองในพื้นที่ด้วยการอาบน้ำ นำไปสู่การพูดคุย ปรึกษา และพาเขาคืนสู่สังคม

แผนการดำเนินงาน

  1. นำรถโมบายสวัสดิการลงพื้นที่บริเวณริมคลองหลอด ทุกวันอังคารและวันศุกร์ เวลา 13.00 - 18.00 น.

  2. ให้คำปรึกษา และส่งต่อการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น

  3. ช่วยเหลือเรื่องปัจจัยสี่แก่ผู้ยากไร้ในพื้นที่ เช่น ยารักษาพยาบาลเบื้องต้น อาหาร น้ำ เสื้อผ้ามือสอง และให้คำปรึกษาต่างๆ

  4. กิจกรรมฝากข้าวเพื่อเพื่อนในที่สาธารณะ โดยให้เขาได้กินข้าวอิ่ม 1 มื้อที่สะอาด

  5. นำถุงเยี่ยมเพื่อนลงพื้นที่เดินเยี่ยมเพื่อนในที่สาธารณะทุกวันศุกร์ เวลา 18.00 - 23.00 น. โดยในถุงเยี่ยมเพื่อนประกอบด้วยยารักษาโรค อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค เสื้อผ้า นำไปให้เขาได้พัฒนา ฟื้นฟูตัวเองในพื้นที่ ด้วยการอาบน้ำ และเป็นขั้นตอนแรกในการดูแลรู้จักกัน นำไปสู่การพูดคุย ปรึกษา และพาเขาคืนสู่สังคม

  6. ประสานงานกับบ้านมิตรไมตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อส่งเสริมอาชีพ ทำบัตรประชาชน และพากลับสู่ครอบครัว ภายใต้ความเชื่อที่ว่า มนุษย์มีครอบครัว และสุดท้ายแล้วครอบครัวเป็นหน่วยที่ดูแลซึ่งกันและกันได้ดีที่สุด โดยการส่งกลับต้องไปส่งถึงถิ่น หน้าประตูบ้าน เพื่อทำความเข้าใจกับครอบครัวผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ไม่ให้เขากลับมาเร่ร่อนอีก และประสานงานกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) ในการส่งเสริมดูแล

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าอาหารในกิจกรรมฝากข้าวเพื่อเพื่อนในที่สาธารณะ

- เลี้ยงคนอิ่มได้ 10 คนต่อวัน ทำให้เขาไม่ต้องกินอาหารในถังขยะ - คนละ 25 บาท

48วัน12,000.00
ค่าอุปกรณ์ในถุงเยี่ยมเพื่อนสำหรับลงพื้นที่

- ประกอบด้วย ยา อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค เสื้อผ้า ฯลฯ - ถุงละ 500

48วัน24,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด36,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)3,600.00
ยอดระดมทุน
39,600.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิอิสรชน

มูลนิธิอิสรชน

กรุงเทพมหานคร

มูลนิธิอิสรชน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย โดยเริ่มทำงานในรูปแบบของอาสาสมัครมาตั้งแต่ปี 2539 และเมื่อถึงปี 2548 ได้ก่อตั้งเป็น “สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน” หรือ VACA. จวบจนปี2554 ได้พัฒนามาเป็น “มูลนิธิอิสรชน” มูลนิธิอิสรชนได้รับอนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิอิสรชนในวันที่ 18 ตุลาคม 2554 การทำงานอย่างต่อเนื่องในตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาในนาม “อิสรชน” เพื่อสร้างความเท่ากันในสังคม เน้นการทำงานกับตัวบุคคล มุ่งเข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจและฟื้นฟูสภาพครอบครัว ชุมชน สังคม รอบข้างไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้กิจกรรมการพูดคุย การเยี่ยมบ้าน เยี่ยมครอบครัว ชุมชน ของ ผู้ที่อยู่ในที่สาธารณะ คนไร้บ้าน คนไร้ที่พึ่ง เพื่อค้นหาคำตอบที่แท้จริงเพื่อนำมาวางแผนปรับกระบวนการในการทำงาน ในรูปแบบของอาสาสมัครพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจเป็นสำคัญ ✅โครงการปันชีวิต (สนามหลวงโมเดลทั่วประเทศ) Sanam Luang Model 1. ลงพื้นที่ดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ประจำพื้นที่คลองหลอด สนามหลวง ราชดำเนิน ทุกวันอังคาร เวลา 16:00 – 21:00 น. และพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ทุกวัน เวลา 09:00 – 21:00 น. ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะเป็นการ ช่วยเหลือเรื่องปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น คือ ยารักษาโรค อาหารการกิน ที่อยู่หลับนอน เครื่องนุ่งห่ม หรือแม้แต่ปัจจัยเสริมเบื้องต้น ที่เร่งด่วน ✅โครงการปันอิ่ม ( 1 อิ่ม 1 สะอาดแบ่งปันอาหาร ) ✅โครงการแบ่งปันของเพื่อเพื่อน ✅โครงการถุงปันสุข ✅โครงการปันอาชีพ ✅โครงการ ปันสุข (สุขภาพกายและใจในถนน) ✅โครงการสื่อสานสร้างสุข(ปันโอกาสเชิงรุก) 3. โครงการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในกลุ่มพนักงานบริการอิสระ

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon