เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดหาอาหาร รักษาพยาบาล เสริมอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต คนไร้บ้าน คืนสู่สังคมให้กับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนไร้บ้าน500คน
คนไร้บ้านที่ถูกหลงลืม... พวกเขาไม่เคยได้กินอาหารที่สดใหม่ ไม่เคยได้อาบน้ำให้ร่างกายสะอาด เข้าไม่ถึงบริการที่จะรักษาทั้งกายและใจ มูลนิธิอิสรชนตั้งเป้าช่วยเหลือคนไร้บ้านกว่า 500 คนให้กินอิ่ม มีสุขอนามัยทางร่างกาย ด้านจิตใจ พร้อม กลับคืนสู่สังคม ร่วมสร้างคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านดีขึ้นไปรับเรา
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
"สุขภาพเป็นเรื่องของชีวิต" ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับภาวะด้านต่างๆ 4 ด้าน คือ กาย จิต สังคม และจิตจากการนโยบายทำงานของมูลนิธิอิสรชนที่ดำเนินกิจกรรมกับคนไร้บ้าน หรือ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในพื้นที่รอบเขตสนามหลวง ตรอกสาเก ราชดำเนิน ทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูสภาพจิตใจและฟื้นฟูสภาพครอบครัว ชุมชน สังคมรอบข้าง ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลคนไร้บ้านร่วมกับ พม. และ สสส. พบว่า จำนวนคนบ้านในประเทศไทยที่นับได้ เมื่อเดือนพ.ค. 2023 มีจำนวนทั้งหมด 2,499 คน ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร 1,271 คน คิดเป็น 50.86% สัดส่วนอายุที่พบมากที่สุดเป็นวัยกลางคนอายุ 40-59 ปี 56.8% รองลงมาเป็นวัยสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป 22.1% วัยแรงงาน อายุ 19-39 ปี 20% ทั้งยังพบคนไร้บ้านหน้าใหม่ถึง 39 % นอกจากนี้ยังพบคนไร้บ้านมีปัญหาติดสุรา 18.1% ปัญหาสุขภาพจิต 17.9% อีกทั้งมีผู้สูงอายุไร้บ้านเพิ่มสูงขึ้น 22% ผลการสำรวจสะท้อนถึงสัดส่วนคนไร้บ้านสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งมีคนไร้บ้านหน้าใหม่เพิ่ม จากการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลครั้งนี้ ทำให้ทางมูลนิธิฯ ออกแบบการทำงาน กิจกรรมและส่งเสริมนโยบายด้านคนไร้บ้านสูงอายุ สุขภาพกายและจิตใจ สร้างพื้นที่ชุมชนการดูแลกันในกลุ่มคนไร้บ้าน เพื่อช่วยเหลือกัน และส่งเสริมให้คนไร้บ้านดูแลตนเองได้ ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ทำงานได้ กลับคืนสู่สังคมหรือเข้าถึงสิทธิสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ เป็นการลงลึกการทำงานเดิมและขยายเนื้อหาการทำงานใหม่ ให้คุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านดีขึ้น
ด้านโภชนาการ
พัฒนากิจกรรมปันอิ่ม ซึ่งใน 1 เดือนแจกอาหารให้คนไร้บ้าน จำนวนประมาณ 2,500 ชุด ประกอบด้วย ข้าว น้ำดื่ม ขนม โดยดำเนินการแจกอาหารทุกวันอังคารเวลา 17.00 น. บริเวณตรอกสาเก ราชดำเนิน เขตพระนคร โดยกำหนดอาหารที่ให้ เป็นอาหารผ่านการปรุงสุก สะอาด ถูกหลักอนามัย นอกจากนี้ เรายังพัฒนาโครงการให้จัดทำอาหารที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 5 หมู่ ถูกหลักโภชนาการ อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน พร้อมทั้งสร้างอาสาสมัครคนไร้บ้าน ในการประกอบอาหารปรุงสุกสะอาดตรงนั้น
ด้านสุขอนามัยทางร่างกาย
ทางมูลนิธิเห็นความสำคัญในการทำความสะอาดร่างกายของคนไร้บ้าน บางคนไม่สามารถเข้าถึงห้องน้ำ การใช้น้ำสะอาดในการชำระร่างกายได้ ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการใช้น้ำไม่สะอาด และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลความสะอาดร่างกายตนเองและพื้นที่สาธารณะร่วมกัน จึงพัฒนากิจกรรม “1 บัตร 1 สะอาดเพื่อสุขภาวะที่ดีทางร่างกายและพื้นที่สาธารณะ” ให้คนไร้บ้าน จำนวน 50 ใบ/สัปดาห์
ด้านจิตใจ
คัดกรองคนไร้บ้านที่มีอาการจิตเวชเบื้องต้น หาอาสาสมัครดูแลเคสและส่งต่อการรักษาเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข ประสานงานให้คนไร้บ้านที่มีอาการจิตเวชเข้าถึงสิทธิสวัสดิการการรักษาของรัฐ จนสามารถคืนสู่สังคมได้ โดยระหว่างทางมีการเก็บข้อมูล จัดการความรู้ เพื่อใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ด้านสังคม
การดูแลกันและกัน ลงพื้นที่พูดคุย สร้างความสัมพันธ์ ทำกิจกรรมกับคนไร้บ้าน โดยเฉพาะคนไร้บ้านสูงอายุและผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ วัยปลายการทำงานที่มาเป็นคนไร้บ้าน เพื่อดูแลสุขภาวะทางกายและจิตใจ หรือชวนคิดวางแผนสุขภาพล่วงหน้า รู้จักสิทธิสวัสดิการที่ควรจะได้รับ โดยลงพื้นที่พูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายทุกอังคารที่ 2 และ 4 ของเดือน ครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวน 10 คน
ระดมทุนเป็นค่าอาหารและค่าจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับคนไร้บ้าน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูสภาพจิตใจ ทำงานได้ กลับคืนสู่สังคม หรือเข้าถึงสิทธิสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ
กิจกรรมปันอิ่ม (food for friends) : ด้านโภชนาการ ทุกวันอังคารเวลา 17.00 น เราแบ่งปัน ประมาณ 300 ชุด (ข้าว น้ำดื่ม ขนม) เฉลี่ยชุดละ 50 บาท เพื่อมอบอาหาร ที่ปรุงสุก สะอาด ถูกหลักอนามัย พร้อมทำจุดสวัสดิการในการเชื่อมเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมจัดสวัสดิการ เช่น รักษาพยาบาล จัดหางาน เป็นต้น และบางครั้ง นอกจากนี้มีการรับบริจาคในส่วน นมกล่อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ณ จุดนี้ด้วย ครั้งละประมาณ 500 ชิ้น พื้นที่ดำเนินการ บริเวณตรอกสาเก ราชดำเนิน เขตพระนคร
กิจกรรมปันคูปอง 1 บัตร 1 สะอาด เพื่อสุขภาวะที่ดี : ด้านสุขอนามัยทางร่างกาย เราทำโครงการคูปองอาบน้ำเพื่อคนไร้บ้าน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการใช้น้ำที่ไม่สะอาด และมีสุขภาวะที่ดี คูปองใบละ 20 บาทนี้เพื่อออกค่าห้องอาบน้ำให้คนไร้บ้าน
กิจกรรมปันบำบัดสุขภาวะกายและจิต ผู้สูงอายุไร้บ้าน : ด้านจิตใจ และ ด้านสังคม การดูแลกันและกัน ลงพื้นที่พูดคุย สร้างความสัมพันธ์ ทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุและผู้เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หรือวัยปลายการทำงาน ที่ตกมาเป็นคนไร้บ้านคือ อายุ 40 ปีขึ้นไป และกิจกรรมบำบัดผู้ป่วยทางจิต (การพูดคุยทีละเคส) เพื่อดูแลสุขภาวะทางกายและจิตใจ หรือฝึกคิดวางแผนสุขภาพล่วงหน้า รู้จักสิทธิสวัสดิการการรักษาที่ควรจะได้รับ โดยกิจกรรมกับผู้สูงอายุ จะจัดขึ้นทุกอังคารที่ 2 และ 4 ของเดือน ครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวน 10 คน (อาจจะขยายไปเรื่อย ๆ ถ้ามีคนไร้บ้านสนใจ)
กิจกรรมปันอาชีพ : ด้านสวัสดิการรส่งเสริมอาชีพ โดยการจ้างคนไร้บ้าน ที่เริ่มการพัฒนาทำความสะอาดบริเวณจุดสวีสดิการและรอบริมคลองหลอด ที่มีคนนอนจำนวนมาก เพื่อลดความสกปรก กลิ่นไม่พึ่งประสงค์ และสร้างความรับผิดชอบให้ดูแลพื้นที่สาธารณะร่วมกัน และเขาก็จะมีรายได้เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและส่งต่อ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 5 คน ขึ้นไป หรือ ใครสนใจอยากมาสอนอาชีพ ก็จะให้คำปรึกษาและแนะนำ อาจมีทุนด้านอาชีพช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งหลาย ๆ หน่วยงานเข้ามาเป็นเครือข่ายมีส่วนร่วม เช่น บ้านมิตรไมตรี อาชีพที่เริ่มพัฒนาตนเอง เช่น ยาม ขายของเก่า เก็บขยะ ขายอาหาร รับจ้างทั่วไป เป็นต้น
การฟื้นฟูผู้ป่วยทางจิตคนไร้บ้าน และการสร้างอาสาสมัครคนไร้บ้านในการดูแลพื้นที่ และเพื่อนคนไร้บ้านที่เจ็บป่วย
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าอาหาร - 300 ชุดต่อครั้ง (ข้าว น้ำดื่ม ขนม) - 1 ชุด ราคา 50 บาท | 50สัปดาห์ | 750,000.00 |
ค่าชุดยังชีพ - 200 ชุดต่อเดือน (นมกล่อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) - 1 ชุด ราคา 99 บาท | 50สัปดาห์ | 990,000.00 |
กิจกรรมปันคูปอง 1 บัตร 1 สะอาด เพื่อสุขภาวะที่ดี ค่าห้องน้ำ (อาบน้ำ) 20 บาท x 100 คูปอง (ต่อเดือน) | 12เดือน | 24,000.00 |
กิจกรรมดำเนินการ ค่าประสานงานและค่ารถ ส่งต่อ พารักษาพยาบาล ทำบัตรประชาชน ทำเบี้ยต่าง ๆ เดือนละ 10,000 บาท | 12เดือน | 120,000.00 |
กิจกรรมปันบำบัดสุขภาวะกายและจิต ผู้สูงอายุไร้บ้าน ค่าทำกิจกรรมกระบวนการ ฟื้นฟูคนไร้บ้านที่ป่วยทางจิตและสูงอายุ 20 ครั้ง ครั้งละ 5,000 | 20ครั้ง | 100,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 1,984,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 198,400.00 |
มูลนิธิอิสรชน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย โดยเริ่มทำงานในรูปแบบของอาสาสมัครมาตั้งแต่ปี 2539 และเมื่อถึงปี 2548 ได้ก่อตั้งเป็น “สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน” หรือ VACA. จวบจนปี2554 ได้พัฒนามาเป็น “มูลนิธิอิสรชน” มูลนิธิอิสรชนได้รับอนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิอิสรชนในวันที่ 18 ตุลาคม 2554 การทำงานอย่างต่อเนื่องในตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาในนาม “อิสรชน” เพื่อสร้างความเท่ากันในสังคม เน้นการทำงานกับตัวบุคคล มุ่งเข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจและฟื้นฟูสภาพครอบครัว ชุมชน สังคม รอบข้างไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้กิจกรรมการพูดคุย การเยี่ยมบ้าน เยี่ยมครอบครัว ชุมชน ของ ผู้ที่อยู่ในที่สาธารณะ คนไร้บ้าน คนไร้ที่พึ่ง เพื่อค้นหาคำตอบที่แท้จริงเพื่อนำมาวางแผนปรับกระบวนการในการทำงาน ในรูปแบบของอาสาสมัครพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจเป็นสำคัญ ✅โครงการปันชีวิต (สนามหลวงโมเดลทั่วประเทศ) Sanam Luang Model 1. ลงพื้นที่ดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ประจำพื้นที่คลองหลอด สนามหลวง ราชดำเนิน ทุกวันอังคาร เวลา 16:00 – 21:00 น. และพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ทุกวัน เวลา 09:00 – 21:00 น. ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะเป็นการ ช่วยเหลือเรื่องปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น คือ ยารักษาโรค อาหารการกิน ที่อยู่หลับนอน เครื่องนุ่งห่ม หรือแม้แต่ปัจจัยเสริมเบื้องต้น ที่เร่งด่วน ✅โครงการปันอิ่ม ( 1 อิ่ม 1 สะอาดแบ่งปันอาหาร ) ✅โครงการแบ่งปันของเพื่อเพื่อน ✅โครงการถุงปันสุข ✅โครงการปันอาชีพ ✅โครงการ ปันสุข (สุขภาพกายและใจในถนน) ✅โครงการสื่อสานสร้างสุข(ปันโอกาสเชิงรุก) 3. โครงการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในกลุ่มพนักงานบริการอิสระ
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้