cover_1

ธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์

นวัตกรรมชาวบ้านนวัตกรรมชาวบ้าน
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ และให้บริการกู้ยืมเมล็ดพันธุ์ให้กับกลุ่มเกษตรกร1กลุ่ม

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

21 มิ.ย. 2555 - 7 ก.พ. 2556

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จ.ลพบุรี

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYZERO HUNGERRESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTIONPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

กลุ่มเกษตรกร
1กลุ่ม

เรารู้กันดีว่า "เมล็ดพันธุ์" เป็นหัวใจสำคัญในการเริ่มทำการเกษตร หากไม่มีเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรก็คงเริ่มลงมือเพาะปลูกไม่ได้ มาร่วมสร้างคลังอาหารที่ยั่งยืนของชาติและบรรเทาความยากจนของเกษตรกรไทยเพื่อจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้บริการกู้ยืมเมล็ดพันธุ์แก่เกษตรกร และส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อเกิดเป็นระบบการช่วยเหลืออย่างยั่งยืน

ปัญหาสังคม

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ชาวนาเกิดสูญพืชผลและรายได้ที่จะเป็นเงินทุนในการทำการเกษตร และต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อเป็นเงินทุนไปซื้อเมล็ดพันธุ์และ ไม่มีสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพื่อการผลิตอีกครั้ง พวกเขาจะกลับมาทำเกษตรกรรมอีกครั้งได้อย่างไร หากไม่มีทั้งเงินทุนทั้ง "เมล็ดพันธุ์" เพื่อเริ่มเพาะปลูก

โครงการ ธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ จึงเกิดขึ้น โดยเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ขาดแคลน "เมล็ดพันธุ์" ในการเพาะปลูก ธนาคารเมล็ดพันธุ์ ประกอบการในรูปแบบและธุรกรรมเหมือนธนาคาร แต่เปลี่ยนจากเงินเป็น "เมล็ดพันธุ์" มีทั้งบริการให้กู้และยืมเมล็ดพันธุ์ แต่ไม่ได้ให้แค่เมล็ดพันธุ์เท่านั้น แต่จะทำงานควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกษตรกรในการเพาะปลูกแนว "เกษตรอินทรีย์" ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ในระยะยาว

เมล็ดพันธุ์ของธนาคาร มาจากหลากหลายท้องถิ่น ผ่านการคัดและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี รวมทั้งวิจัยและรวบรวมสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น ข้าวสายพันธุ์ที่ทนต่อน้ำท่วม ฯลฯ เมล็ดพันธุ์ของ ธนาคารเป็น เมล็ดพันธุ์อินทรีย์ คุณภาพสูง แข็งแรง ปราศจากโรคแมลง ให้ผลผลิตดี

มารู้จักกันสักนิดกับ "เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน" (Grassroot Innovation Network - GIN)

เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน มีประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานด้านเกษตรอินทรีย์และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรไทย เครือข่ายฯ ประสบความสำเร็จมาแล้วกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่เรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ยอินทรีย์ การให้ความรู้ การทำงานร่วมกับชาวบ้านเพื่อพัฒนาการทำเกษตรกรรมแบบเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งช่วยเหลือด้านการตลาด ด้วยการรับซื้อผลิตผลและหาช่องทางจำหน่ายให้อีกด้วย

รู้จักกับคุณ นาวี นาควัชระ ผู้ประสานงานเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน และแนวคิดการทำงานของเขาได้ที่ http://change.in.th/?p=66

ประโยชน์ของโครงการ :

ธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์

  • ช่วยสำรองเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรไว้ใช้ยามขาดแคลน เช่น ผลกระทบจากภัยพิบัติ 
  • ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร 
  • ฟื้นฟูภาคเกษตรกรรมเมื่อประสบภัยพิบัติ
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้มีแหล่งรายได้และทุนการผลิตที่มั่นคง จากการเพาะปลูกแนวเกษตรอินทรีย์
 

สมาชิกภายในทีม :

  • เครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน
  • เกษตรกรหรือชาวบ้านในพื้นที่ พื้นที่ละ 1 คน

ภาคี :

ชุมชนพื้นที่ใน จ.ลพบุรี

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนจัดซื้อเมล็ดพันธุ์และอุปกรณ์ต่างๆ จัดทำธนาคารสำหรับให้บริการกู้ยืมเมล็ดพันธุ์ ช่วยสำรองเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรไว้ใช้ยามขาดแคลน เช่น ผลกระทบจากภัยพิบัติ และช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร

แผนการดำเนินงาน

  1. ลงพื้นที่พูดคุย พบปะกับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย พูดคุยกับผู้นำชุมชน สร้างความเข้าใจและเห็นความสำคัญของโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ และการทำเกษตรอินทรีย์

  2. ตั้งคณะกรรมการในพื้นที่จังหวัด จัดตั้งและดำเนินการธนาคารเมล็ดพันธุ์

  3. รับสมัครเกษตรกรเป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 100 ครอบครัว

  4. จัดหาเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในธนาคารเมล็ดพันธุ์ ให้ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ และให้บริการกู้ยืมเมล็ดพันธุ์ ดูแล เยี่ยมเยือนเกษตรกรที่เป็นสมาชิก

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว

เช่น สินเหล็ก, หอมนิล, ไรซ์เบอรี่, หอมชลสิทธิ์, เจ็กเชย ฯลฯ

30กิโลกรัม4,000.00
ค่าเมล็ดพันธุ์พืชอื่นๆ

เช่น ถั่ว, ผัก, ต้นกล้า ฯลฯ

20กิโลกรัม1,000.00
รถเข็นกระสอบข้าว

2คัน6,000.00
ตาชั่งแบบรางเลื่อนขนาดชั่ง 500 กก.

10อัน10,000.00
ผ้าใบพลาสติกสำหรับคลุมกระสอบเมล็ดพันธุ์เพื่อป้องกันฝน

ขนาด 12x6 เมตร

1ผืน12,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด33,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)3,300.00
ยอดระดมทุน
36,300.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นวัตกรรมชาวบ้าน

นวัตกรรมชาวบ้าน

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon