cover_1

โครงการแบ่งปันน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยพิบัติโดยเครือข่ายองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก

เงินบริจาคของคุณจะช่วยเหลือ เครื่องอุปโภค บริโภค ที่พักอาศัยชั่วคราว และซ่อมแซมที่พักให้กับประชาชนที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมหนัก100ครัวเรือน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
11 เม.ย. 2566

อัปเดตโครงการพอช. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.ตากใบ จ.นราธิวาส 398 ครัวเรือน และซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 1 ครัวเรือน

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

11 เม.ย. 2566 - 11 เม.ย. 2566

จากงบประมาณที่ได้รับ จำนวนเงิน 113,495 บาท คณะทำงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้จัดประชุมเพื่อส่งมอบการให้ความช่วยเหลือ โดยมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ประกอบด้วย 2 แผนงาน ดังนี้

แผนกิจกรรม งบประมาณ (บาท)
1. จัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค จัดทำครัวกลางในการดำรงชีพเฉพาะหน้า จ.นราธิวาส จำนวน 10 ตำบล 59 หมู่บ้าน 73,495
2. การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยที่อยู่นอกระบบทะเบียนราษฎร์ จำนวน 1 ครัวเรือน (สมาชิก 6 คน) 40,000
รวม

113,495

1. การจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค จัดทำครัวกลางในการดำรงชีพเฉพาะหน้า

สภาองค์กรชุมชนตำบล เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนราธิวาส และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภายใต้โครงการแบ่งปันน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยพิบัติโดยเครือข่ายองค์กรชุมชนเป็นแกรหลัก ในพื้นที่อำเภอตากใบ 4 ตำบล จำนวน 134 ครัวเรือน กลุ่ม 4 อาชีพ 263 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 397 ครัวเรือน

สรุปข้อมูลการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม

ที่ ตำบล (1)ผู้ประสบภัยน้ำท่วม (2)ผู้ประสบภัยตามประเภทกลุ่มอาชีพ รวมครัวเรือน
1 ตำบลมูโน๊ะ 20 - 20
2 ตำบลนานาค 23
  • กลุ่มเลี้ยงเป็ด 15 ครัวเรือน
  • กลุ่มปลูกผัก 8 ครัวเรือน
รวม 23 ครัวเรือน

46
3 ตำบลพร่อน 30 - 30
4 ตำบลโฆษิต 61
  • กลุ่มเลี้ยงสัตว์ 200 ครัวเรือน
  • กลุ่มเยาวชน 40 ครัวเรือน
รวม 240 ครัวเรือน

301
  รวม 134  4 กลุ่ม 263 ครัวเรือน  397

ผลการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม 

  1. เกิดการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยการมอบสิ่งที่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในพื้นที่อำเภอตากใบ จำนวน 134 ครัวเรือน 4 กลุ่มอาชีพ (263 ครัวเรือน)
  2. เกิดการเยียวยาให้กำลังใจผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ยากจนที่ประสบภัยให้มีกำลังใจและฟื้นคืนเป็นปกติ
  3. เกิดการช่วยฟื้นฟูอาชีพให้กลุ่มอาชีพปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ให้สามารถเพิ่มรายได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ
  4. เกิดความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรชุมชนตำบล อำเภอตากใบ กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล พัฒนาชุมชนอำเภอ นายอำเภอ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการฟื้นฟูป้องกันภัยพิบัติอำเภอตากใบ
  5. เกิดแผนการป้องกันภัยพิบัติในชุมชน โดยเฉพาะการเสนอแผนการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
  6. เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอตากใบ

 

2. การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยที่อยู่นอกระบบทะเบียนราษฎร์

ชื่อครอบครัวผู้มีรายได้น้อย/กลุ่มเปราะบาง ที่เครือข่ายภัยพิบัติเมืองวารินชำราบ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และหน่วยงานภาคีในพื้นที่เมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ให้การช่วยเหลือหลังจากประสบภัยน้ำท่วม คือ ครอบครัวของนางคำพันธ์ อายุ 75 ปี เนื่องจากบ้านและที่ดินไม่มั่นคงอยู่ในที่ดินการรถไฟ สภาพบ้านพักเก่า ทรุดโทรมเป็นอย่างมาก

นางคำพันธ์ มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวน 6 คน นายอนุชา อายุ 47 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป ลูกเขยเป็นคนบกพร่องทางสมอง ลูกสาวป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ออกจากงานมารักษาตัวเอง มีลูก 2 คน หญิง 1 ชาย 1 กำลังเรียนหนังสือ 

เมื่อประมาณปลายเดือนมกราคม ได้ดำเนินการมอบเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อการดำรงชีพเฉพาะหน้าให้กับครอบครัวนางคำพันธ์ ชุมชนลับแล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1 ครัวเรือน

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน โดยวางแผนจะปรับปรุงซ่อมแซมให้แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2566