เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนถุงยังชีพ และการจัดทำครัวชุมชนให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม3จังหวัดชายแดนใต้
มากกว่า 13 อำเภอ 68 ตำบล 410 หมู่บ้าน 28,049 ครัวเรือน 109,545 คน 8 ชุมชน โรงเรียน 254 แห่ง มัสยิด 13 แห่ง วัด 18 แห่ง ถนน 2 สาย ได้รับความเสียหาย ต้องรีบอพยพผู้คนออกจากบ้านที่ตัวเองอยู่อาศัย และหาพื้นที่ปลอดภัยอยู่ระหว่างรอน้ำลด หลายคนต้องออกมาโดยไม่ได้นำสิ่งใดออกมาด้วย หรือหากอยู่ในพื้นที่การกินอยู่ก็ลำบาก
เร่งจัดหาถุงยังชีพ ประกอบด้วย อาหารแห้ง, น้ำ, นมผงสำหรับเด็ก, แพมเพิส, การจัดตั้งโรงครัวชุมม
ระดมทุนเพื่อจัดซื้อถุงยังชีพ
ลงพื้นที่ส่งถุงยังชีพอย่างเร่งด่วน
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และเครือข่ายใกล้เคียงเพิ่มเติมเพื่อให้ความช่วยเหลือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ถุงยังชีพถุง ถุงละ 500 บาท | 1,000ถุง | 500,000.00 |
อาหารจากครัวชุมชม เฉลี่ยหัวละ 50 บาท | 1,000คน | 50,000.00 |
นมผงเด็ก กล่องละ 400 บาท | 100กล่อง | 40,000.00 |
แพมเพิสเด็กและผู้ใหญ่ เฉลี่ย 400 บาท | 300แพ็ค | 120,000.00 |
ผ้าอนามัยสำหรับผู้หญิง 50 บาท | 300ห่อ | 15,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 725,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 72,500.00 |
เหตุการณ์ภัยพิบัติในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต และมักจะปรากฎเป็นมหันตภัยขนาดใหญ่ทุกรอบ 10 ปี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุการณ์ ‘คลื่นพายุซัดฝั่ง’ (storm surge) และกระทบกับชาวประมงรอบอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวนกว่า 300 ครัวเรือน บ้านบางหลังถูกพายุหอบหายไปทั้งหลัง เช่นเดียวกับการเกิดความเสียหายต่อเครื่องมือประมง เช่น เรือ อวน ตามสถิติพบว่า เด็กผู้หญิง เด็กผู้ชาย และผู้หญิง เสียชีวิตในสถานการณ์ภัยพิบัติสูงกว่าผู้ชาย 14 เท่า แต่ผู้หญิงกลับขาดการพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ สถานการณ์ภัยพิบัติดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้น เมื่อปี พ.ศ. 2562 ในการก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายผู้หญิงกับภัยพิบัติจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ คือ 1. เพื่อร่วมมือและประสานงานกับรัฐและองค์กรเอกชนอื่นๆ ในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ คุณภาพชีวิต และสิทธิของผู้หญิงและคนกลุ่มเปราะบางในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 2. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 3. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในการจัดตั้งกลุ่มยังอยู่บนฐานการศึกษาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จากแบบสอบถาม 39 คน ผู้หญิง 35 คน ผู้ชาย 4 คน จาก 9 หมู่บ้าน ได้แต่ ราตาปันยัง ยามู บ้านกลาง ตาเชร บราโหม บางปู แหลมโพธิ์ ตะโล๊ะกาโปร์ และตันหยงลูโล๊ะ พบว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านทุกคนได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ แต่จำนวนกว่า 92% ไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องการป้องกันภัยพิบัติเลย
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้