โครงการดนตรีพลังบวก วงปล่อยแก่
- โครงการวงปล่อยแก่บ้านคา จังหวัดราชบุรี
- โครงการวงปล่อยแก่บ้านเกาะลอย จังหวัดราชบุรี
- โครงการวงปล่อยแก่เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการวงปล่อยแก่ยะลา จังหวัดยะลา
- โครงการวงปล่อยแก่บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
- โครงการวงปล่อยแก่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
- โครงการวงปล่อยแก่เชียงราย จังหวัดเชียงราย
- โครงการปล่อยแก่สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- โครงการปล่อยแก่ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
- โครงการปล่อยแก่โคราช จังหวัดนครราชสีมา
|
- พัฒนาต่อยอดให้เกิดวงปล่อยแก่สำหรับชุมชน
- ดำเนินการสอนและดำเนินแผนบูรณาการให้เข้ากับบริบทในแต่ละพื้นที่
- สร้างความเข้าใจ โดยจัดประชุมในพื้นที่โครงการที่มีศักยภาพโดยให้ชุมชน/ภาครัฐ/ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย เปิดพื้นที่สำหรับวงปล่อยแก่เป็นที่รู้จัก และจัดกิจกรรมดนตรีในพื้นที่
- การดำเนินการสอนให้เป็นไปตามบริบทพื้นที่จัดให้มีการเป็นการประชุมร่วมระหว่าง ผู้เรียน (ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่) (ครูเจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชน) ครูผู้สอน (วิทยากรโดยมูลนิธิฯ)
- กิจกรรมการถอดบทเรียน
|
โครงการดนตรีพลังบวก วงเด็กภูมิดี
โรงเรียนวัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม |
- การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเมโลเดียน
- ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล จนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
- การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
|
โรงเรียนวัดลาดทราย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
- การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และวงเครื่องสาย
- ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวงเครื่องสาย เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
- การสร้างพื้นฐานอาชีพดนตรีไทย ให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยอาศัยพื้นที่วัดลาดทรายเป็นศูนย์กลางในการแสดงดนตรีไทยของชุมชน
|
โรงเรียนวัดกุฏิประสิทธิ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
- การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และวงอังกะลุง
- ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวงอังกะลุง เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
- การสร้างพัฒนาผู้เรียนให้สามารถประกวดแข่งขันดนตรีไทย
|
โรงเรียนวัดพระยอม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
- การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และกลองยาว
- ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวกลองยาว เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
- การสร้างพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
|
โรงเรียนบ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย |
- การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตก
- ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัมธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักเรียน 40 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตกจนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก โรงเรียน
- การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
|
โรงเรียนบ้านห้วยอื่น จังหวัดเชียงราย |
- การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเมโลเดียน
- ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล จนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
- การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
|
โรงเรียนอนุบาลยะลา จังหวัดยะลา |
- การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
- ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
- การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
|
โรงเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านคา จังหวัดราชบุรี |
- การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
- ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 35 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
- การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
|
โรงเรียนโรงเรียนโป่งเจ็ด จังหวัดราชบุรี |
- การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
- ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 35 คน
- การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
- การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
|
เสียงสะท้อนจากวงปล่อยแก่
สิ่งที่รู้สึกชอบมาก คือ รู้สึกมีความสุขมากขึ้น ตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการมา มีสุขภาพจิตดีมากขึ้น เชื่อว่า การร้องเพลงเป็นวิธีคลายเครียดวิธีหนึ่ง มีเพื่อนได้พูดคุย ไม่เหงา มีเป้าหมาย ตารางเวลาและภาระหน้าที่ให้ต้องปฏิบัติ ไม่รู้สึกว่างเปล่าไร้ประโยชน์เหมือนในอดีต
สิ่งที่รู้สึกภาคภูมิใจมาก คือ การพัฒนาความสามารถในด้านร้องเพลงของตัวเอง จากเริ่มต้นที่คิดว่าการเรียนตัวโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะเป็นเรื่องยาก เป็นตัวถ่วงของกลุ่มแต่ในที่สุดสามารถทำได้แม้ว่าอาสาสมัครบางคนอ่านหนังสือไม่ออก การได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทเพลงในงานต่างๆ หรือการได้ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นในกลุ่มที่มีปัญหา เช่น การช่วยอ่านหนังสือ อ่านตัวโน้ต การช่วยประสานงาน ช่วยเหลือเพื่อให้เดินทางมาฝึกซ้อมและจัดแสดง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น
สิ่งที่รู้สึกว่ายากในการเรียนการสอน คือ การอ่านโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะ การออกเสียงให้ถูกต้อง การหายใจให้ถูกจังหวะ การเข้าใจอารมณ์ของเพลง และเมื่อร้องรวมกัน ยังสามารถออกเสียงตนเองได้ถูกต้อง
เป้าหมายสำคัญที่เข้าร่วมโครงการ คือ ความอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวงปล่อยแก่ อยากมีเพื่อน อยากมาพูดคุยกับเพื่อนช่วยให้หายเหงาได้เยอะมาก อยากมีความสามารถในทักษะการร้องเพลงประสานเสียงมาขึ้น อยากแสดงบนเวทีเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ สร้างเป้าหมายใหม่ๆ ร่วมกัน
อยากมีเวทีให้แสดงบ่อยๆ เพื่อจะได้ฝึกฝนทักษะมากขึ้น สร้างความมั่นใจมากขึ้น อยากให้ชุมชนในพื้นที่ภาคภูมิใจในวงปล่อยแก่ ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้สูงวัย ก็ยังมีประโยชน์ สามารถช่วยสังคมด้วยการสร้างความสุขให้ผู้คน ดูแลสุขภาพ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นสังคมสุขภาวะที่ไม่ต้องพึ่งพิงลูกหลาน
ผลการประเมินความมีชีวิตชีวา
- แสดงให้เห็นว่า เมื่อแยกระดับความมีชีวิตชีวาตามด้านต่างๆ จะพบว่าสิ่งที่ได้เพิ่มเข้ามาอย่างเห็นได้ชัดคือส่วนของสุขภาพจิต ที่ระดับความมีชีวิตชีวาด้านจิตใจเพิ่มขึ้น ในภาพรวมทั้ง 6 กลุ่ม สอดคล้องกับผลการถอดบทเรียนที่พบว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดของแต่ละบุคคลคือการที่รู้สึกมีความสุขมากขึ้น สุขภาพจิตดีมากขึ้น โดยให้เหตุผลประกอบว่า การร้องเพลงเป็นวิธีคลายเครียดวิธีหนึ่ง การรู้สึกภาคภูมิใจกับการพัฒนาความสามารถในด้านร้องเพลงของตัวเอง จากเริ่มต้นที่คิดว่าการเรียนตัวโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะเป็นเรื่องยาก เป็นตัวถ่วงของกลุ่มแต่ในที่สุดสามารถทำได้แม้ว่าอาสาสมัครบางคนอ่านหนังสือไม่ออก การได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทเพลงในงานต่างๆ หรือการได้ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นในกลุ่มที่มีปัญหา เช่น การช่วยอ่านหนังสือ อ่านตัวโน้ต การช่วยประสานงาน ช่วยเหลือเพื่อให้เดินทางมาฝึกซ้อมและจัดแสดง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น รองลงมาจากด้านสุขภาพจิตคือเรื่องของการเข้าสังคม นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงวัยที่มักเก็บตัวอยู่บ้านหรือรู้สึกโดดเดี่ยว ได้มีกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่นมากขึ้นแล้วยังมีเรื่องของการปรับตัวเมื่อต้องอยู่ในคนหมู่มาก นับได้ว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน และถือเป็นเรื่องยากมากสำหรับผู้สูงวัยแล้ว
- วงปล่อยแก่เป็นวงขับร้องเพื่อสร้างพลังผู้สูงอายุให้สามารถช่วยตัวเองได้มากที่สุด เมื่อกำลังเริ่มถดถอยก็ต้องสร้างพลังจากภายในให้เข้มแข็ง เวลาร้องเพลงเลือดลมได้สูบฉีดทั่วร่างกาย ได้ปลดปล่อยความเจ็บปวดที่มีอยู่ภายในให้ออกไปและจะช่วยเติมความสุขเข้ามาแทน การเปล่งเสียงจึงเป็นการออกกำลังกายของคนแก่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ |
อธิบาย |
จำนวนที่ได้ประโยชน์ |
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
เด็กและเยาวชน |
นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ |
355 คน |
เกิดวงดนตรีต้นแบบนำร่องเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน |
ผู้สูงอายุ |
ผู้สูงอายุในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ |
480 คน |
- ลดภาวะซึมเศร้า ลดภาวะความหดหู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ
- มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดีขึ้น
- ทำให้ภาระการดูแลของลูกหลานลดลง
- มีกลุ่มผู้สูงอายุที่สุขภาพที่ดี แข็งแรง
- เกิดวงขับร้องปล่อยแก่ ขึ้นในชุมชน
- เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย / ผู้เกี่ยวข้อง ในรูปแบบการสนับสนุนในหลายมิติ
|
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม