เงินบริจาคของคุณจะนำไปสอนดนตรีและจัดกิจกรรมดนตรีให้กับเด็กและคนชรา760คน
มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข มุ่งสร้างพลังบวกให้กับ กลุ่มเด็ก และคนชรา เพราะดนตรีจะเป็นสื่อสาร การเชื่อมโยงสังคมที่มีความหลากหลายในทุกมิติเข้าหากัน ร่วมการให้คนเหล่านี้เข้าถึงพลังบวกดี ๆ กันเถอะ
ดนตรีช่วยผู้สูงอายุอย่างไร
ดนตรีช่วยพัฒนาสมองเด็ก อย่างไร
มูลนิธิอาจารย์ เจริญสุข จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่างทางสังคม โดยการนำกิจกรรมดนตรีให้เข้าถึง กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ขาดโอกาสเพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมทางดนตรีซึ่งจะสามารถสร้างการพัฒนาศักยภาพ สุขภาพ และสุนทรียภาพ
ระยะสั้น (ระยะเเรก)
- ความรู้/การเรียนรู้
- ความตระหนัก
- ทักษะ
- แรงบันดาลใจ/แรงจูงใจ
- ความตั้งใจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ระยะกลาง (ระยะสอง)
- พฤติกรรมเปลี่ยน มีความเป็นระเบียบวินัย รักใคร่กลมเกลียว
- เปลี่ยนแปลงระบบปฏิบัติหรือกลไก มีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน
- เปลี่ยนแปลงนโยบาย นโยบายมีความชัดเจน
ระยะยาว (ระยะสาม)
- ด้านสุขภาพ: มีสุขภาพกายและใจดี
- ด้านสังคม: มีสังคมที่น่าอยู่
- ด้านเศรษฐกิจ: มีเศรษฐกิจในครัวเรือนดีขึ้น
- ด้านสิ่งแวดล้อม: มีสิ่งแวดล้อมในชุมชนดี
ทีมเจ้าหน้าที่โครงการ
ระดมทุนสอนดนตรีและจัดกิจกรรมดนตรีให้เข้าถึงกลุ่มเด็กและกลุ่มผู้สูงอายุที่ขาดโอกาสในการทำกิจกรรมทางดนตรี ก่อเกิดวงดนตรีต้นแบบนำร่องของเด็กและวงขับร้องของผู้สูงอายุ สร้างสภาพแวดล้อมดนตรีที่ดี เพื่อให้เกิดสังคมที่น่าอยู่
พัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ
ดำเนินแผนบูรณาการสร้างความเข้าใจ โดยจัดประชุมในพื้นที่โครงการใหม่ ที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่ตัวแทน โดยเริ่มทำก่อนมีการดำเนินการสอน ในที่นี้เป็นการประชุมร่วมระหว่าง ผู้เรียน (เด็ก/ผู้สูงอายุ/เด็กที่อยู่ในสถานพินิจ) ผู้ดูแลพื้นที่ (ครู/เจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชน) ครูผู้สอน (วิทยากรโดยมูลนิธิ)
ดำเนินการสอน โดยวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านดนตรีโดยเฉพาะ
การติดตามผลการพัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ
รับสมัครและงานเปิดตัวพื้นที่โครงการใหม่ เพื่อขยายผลความสำเร็จ
ดำเนินการสอน / ทำแผนบูรณาการจัดทำเครื่องมือสอนให้สอดคล้องกับพื้นที่ ตามอัตลักษณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่ ครอบคลุม จัดทำโน้ตเพลง จัดหาพื้นที่และอุปกรณ์การสอนและ เรียบเรียงเนื้อหาการสอน
ติดตามผล และการพัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ
จัดการแสดง/ถอดบทเรียน
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
โครงการเด็กภูมิดี พื้นที่เก่า พื้นที่ละ 100,000 บาท ประกอบด้วย: โรงเรียนวัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม, โรงเรียนวัดลาดทราย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, โรงเรียนวัดกุฏิประสิทธิ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, โรงเรียนวัดพระยอม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, โรงเรียนบ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย, โรงเรียนบ้านห้วยอื่น จังหวัดเชียงราย และรงเรียนอนุบาลยะลา จังหวัดยะลา | 7พื้นที่ | 700,000.00 |
โครงการวงปล่อยแก่ พื้นที่เก่า พื้นที่ละ 100,000 บาท ประกอบด้วย: กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านคา จังหวัดราชบุรี, กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านเกาะลอย จังหวัดราชบุรี, กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลบ้านป่าตันจังหวัดเชียงใหม่, กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา, กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลนคร นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ | 6พื้นที่ | 600,000.00 |
โครงการวงเด็กภูมิดี พื้นที่ใหม่ พื้นที่ละ 400,000 บาท ประกอบด้วย: โรงเรียนอนุบาลบ้านคา และโรงเรียนบ้านโป่งเจ็ด จังหวัดราชบุรี | 2พื้นที่ | 800,000.00 |
เปิดพื้นที่การแสดงดนตรี โครงการวงปล่อยแก่ พื้นที่ใหม่ พื้นที่ละ 400,000 บาท ประกอบด้วย: จังหวัดเชียงราย, จังหวัดสุราษฎร์ธานี, จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดภูเก็ต พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตลายของดนตรีแต่ละพื้นที่ ของโครงการดนตรีพลังบวก วงเด็กภูมิดี และวงปล่อยแก่ ในรูปแบกิจกรรมการแสดงดนตรี โดยดึงจุดเด่นของดนตรีในแต่ละพื้นที่มาผสมผสานผ่านการร้องเพลง การบรรเลงดนตรีจาก โครงการดนตรีพลังบวกในแต่ละพื้นที่ โดยมีนัยยะเพื่อกระตุ้นให้เกิด “เทศกาลดนตรีพลังบวก” | 4พื้นที่ | 1,600,000.00 |
เทศกาลดนตรีพลังบวก | 1ครั้ง | 480,000.00 |
ค่าเจ้าหน้าที่ประสานงาน 15,000 บาทต่อเดือน | 1ปี | 180,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 4,360,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 436,000.00 |
เป้าหมายสำคัญสูงสุดของโครงการคือ การช่วยแก้ปัญหาด้านสังคมที่เน้นไปที่ การสร้างมิติใหม่ของสังคมผู้สูงอายุ ด้วยการลดภาระเรื่องของผู้สูงอายุ ลดภาระคนเลี้ยงดู ทำการพัฒนาคุณภาพการอยู่ร่วมกันทั้งในระหว่างสังคมผู้สูงอายุและสังคมต่างวัย ทำให้มีชีวิตชีวา มีความสุขร่วมกัน สามารถสร้างเป็น “ต้นแบบ” หรือตัวอย่างชุมชนของผู้สูงอายุต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศไทยต่อไป เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัวของประเทศเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหามีประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น ต้องเผชิญหน้าเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านจำนวนที่มีมากและการจัดการเรื่องความเป็นอยู่ การดูแลรักษา การเลี้ยงดู เผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ซึ่งกลายเป็นภาระของครอบครัว ภาระของสังคม และกลายเป็นวาระของชาติ เพราะผู้สูงอายุจะละทิ้งก็ไม่ได้ สร้างรายได้ก็ทำได้ยาก แต่จะดูแลอย่างมีคุณภาพชีวิต มีคุณค่าต่อสังคมและจะควบคุมค่าใช้จ่ายให้สมดุลได้อย่างไร คนแก่กลายเป็นภาระของครอบครัว คนแก่ถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ความรู้ของคนแก่กลายเป็นสิ่งที่คนสมัยใหม่ไม่ต้องการ คนแก่กลับกลายเป็นคนที่อยู่อย่างไร้ค่าและว้าเหว่ เป็นคนที่เหงาไม่มีลูกหลานอยู่ใกล้ ไม่มีรายได้ไม่มีทรัพย์สินอีกต่อไป ผู้สูงอายุเป็นภาระในการเลี้ยงดู ไม่มีใครดูแล ไม่มีใครเอาใจใส่ ปล่อยให้คนแก่อยู่ตามยถากรรม รอวันที่จะจากโลกนี้ไปเท่านั้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมผู้สูงวัยที่กำลังจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ มูลนิธิฯ เชื่อเสมอว่า “ผู้สูงวัยเป็นทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ” และ “การร้องเพลงและการเล่นดนตรีของผู้สูงอายุ เป็นอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของสังคมผู้สูงอายุได้” มูลนิธิฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแลสังคมผู้สูงวัย และเตรียมความพร้อมให้กับสังคมไทยเผื่อเผชิญหน้ากับสังคมผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ดนตรีที่เป็นความเชี่ยวชาญของมูลนิธิมาใช้เป็นเครื่องมือดังที่กล่าวมา และถึงแม้จะเป็นเพียงกลุ่มต้นแบบเล็กๆที่มูลนิธิฯจะทำได้ แต่มูลนิธิฯเชื่อมั่นว่า “การสร้างต้นแบบที่ดี”
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้