cover_1

โครงการดนตรีพลังบวก

เด็กและเยาวชน
ผู้สูงอายุ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดกิจกรรมการสอนดนตรีให้กับเด็กเยาวชนและผู้สูงอายุที่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับดนตรี420คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

8 ส.ค. 2565 - 20 ธ.ค. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
280คน
ผู้สูงอายุ
240คน

โครงการดนตรีพลังบวก โดยมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข มุ่งสร้างพลักบวกให้กับ กลุ่มเด็ก เยาวชนที่ขาดโอกาสช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทยเพราะดนตรีจะเป็นสื่อการ การเชื่อมโยงสังคมที่มีความหลากหลายในทุกมิติเข้าหากัน และ กลุ่มผู้สูงวัยให้มีสุข ให้มีไฟที่จะลุกขึ้นมาทำสิ่งที่อยากทำอีกครั้ง

ร่วมสร้างพลังบวกให้เด็กใน 7 โรงเรียน และ 6 กลุ่มผู้สูงอายุทั่วประเทศกันเถอะ

ปัญหาสังคม

 
เด็กภูมิดีคือภูมิคุ้มกันจากปัจจัยแวดล้อมที่จะทำให้เด็กห่างไกลจากสิ่งยั่วยุ ล่อแหลม พวกเขามีกิจกรรมที่ดีแล้ว คนในชุมชนควรสนับสนุนด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

 

กลุ่มคนทำงานในมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข มีความเชื่อว่าดนตรีจะช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย เพราะดนตรีจะเป็นสื่อการ การเชื่อมโยงสังคมที่มีความหลากหลายในทุกมิติเข้าหากันได้ เด็กในสังคมไทยที่อยู่ในโรงเรียนชนบท หรือแม้แต่โรงเรียนในเมืองยังขาดครูดนตรี ขาดเครื่องดนตรีที่ดี ไม่ได้รับการสนับสนุนในการเรียนดนตรี ทำให้เด็กที่มีความสามารถทางด้านดนตรี หรือเด็กที่มีพรสวรรค์ ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตนเองมีความสามารถ เพราะระบบการศึกษาไทยมุ่งเน้นการเรียนวิชาการ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับดนตรี ศิลปะ เท่าที่ควร ทำให้เด็กที่ไม่มีความถนัดทางด้านวิชาการ ไม่มีทางเลือก

 

ขณะเดียวกันกลุ่มคนทำงานในมูลนิธิเล็งเห็นว่าดนตรีจะช่วยพัฒนาศักยภาพทางสมอง ร่างกาย จิตใจ ของผู้สูงอายุไม่ให้เสื่อมไปตามกาลเวลา กิจกรรมการสอนดนตรีสำหรับผู้สูงอายุเป็นการสร้างสังคมใหม่ให้กับผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยเกษียณให้ได้ทำกิจกรรมดนตรีร่วมกันในรูปแบบของวงขับร้องประสานเสียง เกิดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถขับร้องเพลงประสานเสียงได้ ทำให้พวกเขามีความสดชื่น เบิกบาน เพราะสามารถใช้เสียงเพลงให้ความสุขกับผู้อื่นได้ ทาง

 

 

 

Targets

ประเภท อื่นๆ ระบุ จำนวน รายละเอียด เปลี่ยนแปลง ใช้งาน
เด็กและเยาวชน   280 -ไม่มีโอกาศการเรียนรู้ เกี่ยวกับดนตรี -ไม่มีวงดนตรี -ไม่มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมการเเสดงดนตรี -เกิดความรู้พื้นฐานดนตรี และสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง -เกิดวงดนตรี เพื่อการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก -เกิดพื้นที่ดนตรี สร้างความเข้าใจกับบริบทชุมชนโดยรอบ True
ผู้สูงอายุ   240 -ไม่มีกิจกรรมดนตรี -ไม่มีวงขับร้องประสานเสียง -ไม่มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมการเเสดงดนตรี -เกิดการรวมกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมด้านดนตรี -เกิดวงขับร้องประสานเสียงผู้สูงอายุ -เกิดพื้นที่ดนตรี สร้างความเข้าใจกับบริบทชุมชนโดยรอบ True

วิธีการแก้ปัญหา

  1. มูลนิธิจึงเข้าไปส่งเสริมให้เด็กขาดโอกาสให้ได้รับการส่งเสริมการศึกษาด้านวิชาดนตรี สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนดนตรีที่จะขึ้นจะอยู่กับบริบทของแก่ละโรงเรียนได้ วงดนตรีไทย วงดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตก วงขับร้องประสานเสียง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กได้ค้นพบตนเองได้อีกมิติหนึ่ง กลุ่มเป้าหมายของกล่มเด็กประกอบด้วย 1. โรงเรียนวัดสุวรรณาราม ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม : กิจกรรมการสอนเป็นดนตรีสากล วงเมโลเดียน 2. โรงเรียนวัดลาดทราย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมการสอนวงดนตรีไทย วงปี่พาทย์ 3. โรงเรียนวัดกุฏีประสิทธิ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนวงดนตรีไทย 4. โรงเรียนวัดพยอม ตำบลพยอม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนดนตรีไทย วงปี่พาทย์ และวงกลองยาว 5. โรงเรียนเทอดไทย ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย : กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนวงดนตรีเครื่องสายตะวันตก 6. โรงเรียนบ้านห้วยอื้น ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย : กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนวงเมโลเดียน 7. โรงเรียนอนุบาลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา : กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนวงขับร้องประสานเสียง

  2. ทำวงประสานเสียงให้กลุ่มผู้สูงอายุ 4 พื้นที่ประกอบด้วย 1.กลุ่มผู้สุงอายุ ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี 2.กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3.กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 4.กลุ่มผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา 5. กลุ่มผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 6. กลุ่มผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

  3. กิจกรรมของทั้งสองกลุ่มจะดำเนินการตลอด 1 ปี ซึ่งจะมีทั้งการสอน และการเปิดพื้นที่ให้เด็กและผู้สูงวัยได้จัดกิจกรรมแสดงด้วย

แผนการดำเนินงาน

  1. พัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ

  2. ดำเนินแผนบูรณาการสร้างความเข้าใจ โดยจัดประชุมในพื้นที่โครงการใหม่ ที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่ตัวแทน โดยเริ่มทำก่อนมีการดำเนินการสอน ในที่นี้เป็นการประชุมร่วมระหว่าง ผู้เรียน (เด็ก/ ผู้สูงอายุ/เด็กที่อยู่ในสถานพินิจ) ผู้ดูแลพื้นที่ (ครู/เจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชน) ครูผู้สอน (วิทยากรโดยมูลนิธิ)

  3. ดำเนินการสอน โดยวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านดนตรีโดยเฉพาะ

  4. การติดตามผลการพัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ

  5. รับสมัครและงานเปิดตัวพื้นที่โครงการใหม่ เพื่อขยายผลความสำเร็จ

  6. ดำเนินการสอน / ทำแผนบูรณาการจัดทำเครื่องมือสอนให้สอดคล้องกับพื้นที่ ตามอัตลักษณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่ ครอบคลุม จัดทำโน้ตเพลง จัดหาพื้นที่และอุปกรณ์การสอนและ เรียบเรียงเนื้อหาการสอน

  7. ติดตามผล และการพัฒนาต่อยอดชุมชน/โรงเรียนต้นแบบ

  8. จัดการแสดง/ถอดบทเรียน

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
โรงเรียนวัดสุวรรณาราม ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กิจกรรมการสอนเป็นดนตรีสากล วงเมโลเดียน กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
โรงเรียนวัดลาดทราย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมการสอนวงดนตรีไทย วงปี่พาทย์ กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
โรงเรียนวัดกุฏีประสิทธิ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนวงดนตรีไทย กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
โรงเรียนวัดพยอม ตำบลพยอม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนดนตรีไทย วงปี่พาทย์ และวงกลองยาว กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
โรงเรียนเทอดไทย ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนวงดนตรีเครื่องสายตะวันตก กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
โรงเรียนบ้านห้วยอื้น ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนวงเมโลเดียน พื้นที่ใหม่ที่ยังไม่เคยทำกิจกรรม

ค่าวิทยากร 2,500 x 2 คน x 24 ครั้ง = 120,000 บาท ค่าอาหารว่าง 50 บาท x 40 ครั้ง x 24 ครั้ง 48,000 บาท ค่าเดินทาง 2,500 บาท x 24 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าจัดกิจกรรมการแสดง = 50,000 บาท ค่าเรียบเรียงเพลงสำหรับการขับร้องประสานเสียงและทำโน้ต 4,000 x 10 = 40,000 บาท ค่าวิทยาพิเศษและค่าเดินทางเหมาจ่ายรวมค่าเดินทาง 8,000 x 2 คน x 4 ครั้ง = 64,000 บาท ค่าครุภัณฑ์ในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดโครงการ 15,500 บาท

1ปี397,500.00
โรงเรียนอนุบาลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา กิจกรรมการสอนเป็นกิจกรรมสอนวงขับร้องประสานเสียง พื้นที่ใหม่ที่ยังไม่เคยทำกิจกรรม

ค่าวิทยากร 2,500 x 2 คน x 24 ครั้ง = 120,000 บาท ค่าอาหารว่าง 50 บาท x 40 ครั้ง x 24 ครั้ง 48,000 บาท ค่าเดินทาง 2,500 บาท x 24 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าจัดกิจกรรมการแสดง = 50,000 บาท ค่าเรียบเรียงเพลงสำหรับการขับร้องประสานเสียงและทำโน้ต 4,000 x 10 = 40,000 บาท ค่าวิทยาพิเศษและค่าเดินทางเหมาจ่ายรวมค่าเดินทาง 8,000 x 2 คน x 4 ครั้ง = 64,000 บาท ค่าครุภัณฑ์ในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดโครงการ 15,500 บาท

1ปี397,500.00
กลุ่มผู้สุงอายุ ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลป่าตัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
กลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
กลุ่มผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา กิจกรรมการสอนพื้นที่ต่อเนื่อง

ค่าวิทยากร 2,500 บาท x 2 คน X 12 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าทำสื่อการสอน = 10,000 บาท ค่าเดินทางวิทยากร 2,500 บาท x 12 ครั้ง = 30,000 บาท

1ปี100,000.00
กลุ่มผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ใหม่ที่ยังไม่เคยทำกิจกรรม

ค่าวิทยากร 2,500 x 2 คน x 24 ครั้ง = 120,000 บาท ค่าอาหารว่าง 50 บาท x 40 ครั้ง x 24 ครั้ง 48,000 บาท ค่าเดินทาง 2,500 บาท x 24 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าจัดกิจกรรมการแสดง = 50,000 บาท ค่าเรียบเรียงเพลงสำหรับการขับร้องประสานเสียงและทำโน้ต 4,000 x 10 = 40,000 บาท ค่าวิทยาพิเศษและค่าเดินทางเหมาจ่ายรวมค่าเดินทาง 8,000 x 2 คน x 4 ครั้ง = 64,000 บาท ค่าครุภัณฑ์ในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดโครงการ 15,500 บาท

1ปี397,500.00
กลุ่มผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ใหม่ที่ยังไม่เคยทำกิจกรรม

ค่าวิทยากร 2,500 x 2 คน x 24 ครั้ง = 120,000 บาท ค่าอาหารว่าง 50 บาท x 40 ครั้ง x 24 ครั้ง 48,000 บาท ค่าเดินทาง 2,500 บาท x 24 ครั้ง = 60,000 บาท ค่าจัดกิจกรรมการแสดง = 50,000 บาท ค่าเรียบเรียงเพลงสำหรับการขับร้องประสานเสียงและทำโน้ต 4,000 x 10 = 40,000 บาท ค่าวิทยาพิเศษและค่าเดินทางเหมาจ่ายรวมค่าเดินทาง 8,000 x 2 คน x 4 ครั้ง = 64,000 บาท ค่าครุภัณฑ์ในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดโครงการ 15,500 บาท

1ปี397,500.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด2,490,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)249,000.00
ยอดระดมทุน
2,739,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เป้าหมายสำคัญสูงสุดของโครงการคือ การช่วยแก้ปัญหาด้านสังคมที่เน้นไปที่ การสร้างมิติใหม่ของสังคมผู้สูงอายุ ด้วยการลดภาระเรื่องของผู้สูงอายุ ลดภาระคนเลี้ยงดู ทำการพัฒนาคุณภาพการอยู่ร่วมกันทั้งในระหว่างสังคมผู้สูงอายุและสังคมต่างวัย ทำให้มีชีวิตชีวา มีความสุขร่วมกัน สามารถสร้างเป็น “ต้นแบบ” หรือตัวอย่างชุมชนของผู้สูงอายุต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศไทยต่อไป เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัวของประเทศเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหามีประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น ต้องเผชิญหน้าเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านจำนวนที่มีมากและการจัดการเรื่องความเป็นอยู่ การดูแลรักษา การเลี้ยงดู เผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ซึ่งกลายเป็นภาระของครอบครัว ภาระของสังคม และกลายเป็นวาระของชาติ เพราะผู้สูงอายุจะละทิ้งก็ไม่ได้ สร้างรายได้ก็ทำได้ยาก แต่จะดูแลอย่างมีคุณภาพชีวิต มีคุณค่าต่อสังคมและจะควบคุมค่าใช้จ่ายให้สมดุลได้อย่างไร คนแก่กลายเป็นภาระของครอบครัว คนแก่ถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ความรู้ของคนแก่กลายเป็นสิ่งที่คนสมัยใหม่ไม่ต้องการ คนแก่กลับกลายเป็นคนที่อยู่อย่างไร้ค่าและว้าเหว่ เป็นคนที่เหงาไม่มีลูกหลานอยู่ใกล้ ไม่มีรายได้ไม่มีทรัพย์สินอีกต่อไป ผู้สูงอายุเป็นภาระในการเลี้ยงดู ไม่มีใครดูแล ไม่มีใครเอาใจใส่ ปล่อยให้คนแก่อยู่ตามยถากรรม รอวันที่จะจากโลกนี้ไปเท่านั้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมผู้สูงวัยที่กำลังจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ มูลนิธิฯ เชื่อเสมอว่า “ผู้สูงวัยเป็นทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ” และ “การร้องเพลงและการเล่นดนตรีของผู้สูงอายุ เป็นอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของสังคมผู้สูงอายุได้” มูลนิธิฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแลสังคมผู้สูงวัย และเตรียมความพร้อมให้กับสังคมไทยเผื่อเผชิญหน้ากับสังคมผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ดนตรีที่เป็นความเชี่ยวชาญของมูลนิธิมาใช้เป็นเครื่องมือดังที่กล่าวมา และถึงแม้จะเป็นเพียงกลุ่มต้นแบบเล็กๆที่มูลนิธิฯจะทำได้ แต่มูลนิธิฯเชื่อมั่นว่า “การสร้างต้นแบบที่ดี”

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon