cover_1

ขอห้องวิทยาศาสตร์ในฝันให้นักเรียนดอย

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะนำไปปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6133คน

project in progress
กำลังดำเนินกิจกรรม
22 เม.ย. 2568

รายงานปิดโครงการโรงเรียนบ้านห้วยมะแกงมีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในฝันที่ทันสมัย

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 พ.ย. 2567 - 31 มี.ค. 2568

พื้นที่ที่ทำกิจกรรม

โรงเรียนบ้านห้วยมะแกง ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 57180ดูแผนที่

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

เด็กและเยาวชน
131คน

โรงเรียนบ้านห้วยมะแกง  เป็นโรงเรียนขนาดกลาง  นักเรียนจำนวน 133 คน ตั้งอยู่ในถิ่นห่างไกลความเจริญ ในตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีเขตพื้นที่บริการ 1 หมู่บ้าน คือหมู่บ้านห้วยมะแกง ชนเผ่าลาหู่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป เศรษฐกิจครัวเรือนไม่ดี  โรงเรียนบ้านห้วยมะแกงเป็นความหวังเดียวของผู้ปกครองที่จะนำพาให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดี

โดยสภาพทั่วไปของโรงเรียน  เป็นโรงเรียนที่ให้โอกาสทางการศึกษาของนักเรียนที่ไม่สามารถไปเรียนต่อ   ในตัวอำเภอหรือตัวจังหวัด  ซึ่งมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยเรื่องของธรรมชาติ  มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งฟิสิกส์  เคมี  ชีววิทยา  ในขณะเดียวกันที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล  การเรียนรู้ที่ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ

  1. การออกแบบเนื้อหา
  2. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
  3. การออกแบบการสื่อสาร

ซึ่ง 3 ส่วนนี้ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนในสังคมยุคที่ทุกคน   ต่างเรียกว่าสังคมไร้สายที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก  ในขณะเดียวกันโรงเรียนบ้านห้วยมะแกง  มีบุคลากรทางการศึกษาที่จบสาขาวิชาวิทยาศาสตร์มีคุณวุฒิและประสบการณ์ การออกแบบการจัดการเรียนการสอน   มีข้อจำกัดสูงมาก  ต้องอาศัยการสอนตามหนังสือเรียนหรือหาสื่อการเรียนตามอินเตอร์เน็ต  การทดลองแบบอาศัยดูรูปภาพหรือดูการทดลองตามอินเตอร์เน็ต  โอกาสที่จะได้ทดลองจริง ๆ มีน้อยมากหรือไม่มีโอกาสเลยซึ่งหลายโรงเรียนในประเทศไทยก็เป็นเช่นนั้น สาเหตุเพราะ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  ไม่มีความพร้อม  ไม่มีอุปกรณ์ทดลอง  ที่มีอยู่ก็ใช้การไม่ได้หรือได้น้อย  ไม่มีสารทดลอง   หรือมีไม่ครบบ้าง  การสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นได้ยากมาก สิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัดในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน

บัดนี้โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในฝันที่ทันสมัย มีอุปกรณ์การทดลองที่พร้อมในการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และมีอุปกรณ์สืบค้นข้อมูลสำหรับห้องวิทยาศาสตร์ ครูสามารถออกแบบการจัดการเรียนการสอนได้น่าสนใจ ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนดในหลักสูตรได้ นักเรียนมีทักษะในการเรียนรู้ผ่านการทดลอง ปฏิบัติจริง และสืบค้นข้อมูลประกอบการเรียนรู้ได้ นักเรียนมีความสุขกับการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ มีความรู้ที่ฝังแน่น ถาวร และสามารถนำไปใช้ในอนาค

บอกเล่าความประทับใจ

ขอขอบคุณโครงการเทใจที่ได้สนับสนุนเงินในการจัดซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้การจัดการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างราบรื่น และนักเรียนมีความสุขกับงานเรียนรู้

นางสาวนิติกร ยานะชาติ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ

ขอขอบคุณโครงการเทใจที่มอบเงินสนับสนุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนมีห้องวิทยาศาสตร์ในฝันครับ

เด็กชายกิตติกวิน เปาปิน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ขอขอบคุณโครงการเทใจที่มอบเงินสนับสนุนในการจัดซื้อกล้องจุลทรรศ์ค่ะ

เด็กหญิงพัชรพร บุญธรรม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

รายงานการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
กระจกสไลด์

2กล่อง360.00
กระจกปิดสไลด์ 18*18

2กล่อง130.00
แม่เหล็ก คละ 4 แบบ

5กล่อง225.00
บีคเกอร์แก้ว 100 มล.

10อัน850.00
บีคเกอร์แก้ว 250 มล.

10อัน1,150.00
หลอดทดลอง 25*180 มม.(ทนไฟ)

10หลอด500.00
แอลกอฮอล์จุดไฟ 3.8 ลิตร

1แกลอน350.00
หลอดหยดแก้ว 10 ซม.

1ชุด150.00
แว่นขยาย 2.5 นิ้ว

90อัน980.00
สายไฟพร้อมที่เสียบคลิปปากจระเข้

10ชุด900.00
ส้อมเสียง

4อัน660.00
ไม้เคาะส้อมเสียง

4อัน840.00
เกมบิงโก ชุดแอนิมอล

1ชุด660.00
กรวยแก้ว 75 มม.

5อัน525.00
จานเพาะเชื้อแก้ว

4คู่520.00
กล้องจุลทรรศน์

1เครื่อง18,690.50
รวมเป็นเงินทั้งหมด27,490.50
19 ก.พ. 2568

อัปเดตโครงการโรงเรียนบ้านห้วยมะแกงได้ทำการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 พ.ย. 2567 - 31 มี.ค. 2568

หลังจากปิดระดมทุนโครงการขอห้องวิทยาศาสตร์ในฝันให้นักเรียนดอยไปแล้ว ทาง โรงเรียนดำเนินการไปแล้วบางส่วน ทำให้

  1. คุณครูและนักเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีสื่อและอุปกรณ์ครบถ้วน 
  2. นักเรียนได้รู้จักอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และได้ฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์เบื้องต้น
  3. นักเรียนเห็นคุณค่าของอุปกรณ์ โดยการใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง  และเก็บรักษาอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย