เงินบริจาคของคุณจะช่วยเหลือค่าผ่าตัด อาหารและยา อาการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุให้กับเต่าที่บาดเจ็บจำนวน600ตัว

project in progress
กำลังดำเนินกิจกรรม
28 มี.ค. 2568

รายงานปิดโครงการช่วยเหลือและรักษาพยาบาล เต่าและตะพาบน้ำ กลับสู่ธรรมชาติ

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

2 ส.ค. 2561 - 31 ธ.ค. 2567

พื้นที่ที่ทำกิจกรรม

ทั่วประเทศ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

สัตว์
1,494ตัว

กองทุนรักษาเต่าและตะพาบน้ำที่บาดเจ็บ รักษาพยาบาลจนปล่อยสู่ธรรมชาติ เป็นกิจกรรมที่จะเข้าไปนำเต่าและตะพาบน้ำในแหล่งน้ำที่มีความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตตามสถานที่ต่างๆ เช่น แหล่งน้ำหรือบ่อน้ำในพื้นที่ต่าง ในวัด หรือสถานที่ส่วนบุคคลที่ได้รับอนุญาต รวมทั้งที่ถูกนำมาส่งที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำมาปฐมพยาบาลและทำการรักษาตามอาการของแต่ละตัว และเมื่อรักษาอาการต่างๆ แล้วก็จะนำเต่าและตะพาบน้ำหล่านี้ไปปล่อยกลับสู่ธรรมชาติต่อไป

การช่วยเหลือในปี 2567
มูลนิธิเอิร์ธ อะเจนด้า ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้สนับสนุนต่างๆ  ได้ช่วยเหลือและรับเต่ารวมทั้งตะพาบน้ำไทยจากพื้นที่ต่างๆ และไม่มีเจ้าของซึ่งได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยต่างๆ เข้ามารักษาและดูแลในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 131 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ ดังแสดงในตาราง

โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมด แบ่งเป็น

  • เต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุต่างๆ จำนวน 61 ตัว
  • เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ จำนวน 70 ตัว

หลังจากทำการรักษาแล้วและสัตวแพทย์ประเมินแล้วมีความพร้อม เต่าและตะพาบน้ำทั้งหมดจะได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไป

และนอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังทำกิจกรรมช่วยเต่าและตะพาบน้ำสู้ธรรมชาติ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็จะมีทั้งผู้นำเต่าหรือตะพาบมาส่งให้การรักษา และเข้าร่วมกิจกรรมช่วยชีวิตและนำไปปล่อยที่ได้จัดกิจกรรมขึ้น ซึ่งแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 30 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมฯได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงชนิดของเต่า การช่วยเหลือเบื้องต้น และการจัดการอย่างถูกวิธี หลังทำกิจกรรมก็ทำให้สามารถเข้าใจการดำเนินการ ถ้าหากพบเต่าหรือตะพาบน้ำที่ได้รับบาดเจ็บก็สามารถดำเนินการได้ การรักษานั้นต้องใช้เวชภัณฑ์และบุคลากรจำนวนมาก รวมถึงใช้เวลาในการรักษาที่ยาวนาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีงบประมาณสนับสนุนจำนวนมากและต่อเนื่อง

ปัจจุบันยังการช่วยเหลือและนำเต่าและตะพาบน้ำมารักษา โดยยังดำเนินการอยู่ต่อไป พร้อมกันนั้นก็ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อให้การช่วยเหลือครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพดีขึ้น ดังนั้น จึงยังต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการช่วยหลือสัตว์ที่ต้องการการดูแลและยังเป็นการช่วยเหลือระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมอีกด้วย

บอกเล่าความประทับใจ

ในฐานะที่เป็นสัตวแพทย์ที่ต้องให้ความช่วยหลือสัตว์ การได้ร่วมกิจกรรมช่วยหลือสัตว์นี้ก็ทำให้ได้มีโอกาสทำหน้าที่และสามารถเผยแพร่ความรู้สู่สังคมมากขึ้นครับ

คุณสิรวิชญ์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้มีโอกาสสนับสนุนโครงการช่วยเหลือเต่าก็เหมือนกับเราได้ช่วยเหลือสัตว์ และยังได้ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น ถ้าช่วยเหลือกันมากๆ ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วยค่ะ

คุณไอรินทร์ เจ้าของกิจการรีสอร์ท จ.นครนายก

รายงานการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
กองทุนรักษาและช่วยเต่าและตะพาบน้ำสู่ธรรมชาติ

704ตัว2,494,218.21
รวมเป็นเงินทั้งหมด2,494,218.21
8 พ.ค. 2567

อัปเดตโครงการการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทย ประจำปี 2564-2566

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

8 พ.ค. 2567 - 8 พ.ค. 2567

สรุปผลการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทย ประจำปี 2564

ในปี 2564 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 81 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ แสดงดังในตาราง


โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมด แบ่งเป็น

  • เต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับ จำนวน 31 ตัว
  • เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่น จำนวน 48 ตัว
  • เต่าติดเบ็ด จำนวน 2 ตัว

หลังจากทำการรักษาพบว่ามีเต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 66 ตัว และเต่าที่เสียชีวิตจำนวน 15 ตัว

สรุปผลการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทย ประจำปี 2565

ในปี 2565 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 164 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ แสดงดังในตาราง 


โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมด แบ่งเป็น

  • เต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับ จำนวน 79 ตัว
  • เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่น จำนวน 79 ตัว
  • เต่าติดเบ็ด จำนวน 6 ตัว

หลังจากทำการรักษาพบว่ามีเต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 127 ตัว และเต่าที่เสียชีวิตจำนวน 37 ตัว

สรุปผลการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทย ประจำปี 2566

ในปี 2566 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 159 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ แสดงดังในตาราง


โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมด แบ่งเป็น

  • เต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับ จำนวน 65 ตัว
  • เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่น จำนวน 86 ตัว
  • เต่าติดเบ็ด จำนวน 8 ตัว

หลังจากทำการรักษาพบว่ามีเต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 111 ตัว เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษาจำนวน 10 ตัว เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อยจำนวน 21 ตัว และเต่าที่เสียชีวิตจำนวน 17 ตัว

4 ม.ค. 2567

อัปเดตโครงการสรุปผลการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทยเดือน ม.ค. - ธ.ค. ประจำปี 2563

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 ม.ค. 2563 - 31 ธ.ค. 2563

ในปี 2563 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 246 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ ดังตาราง 

โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมดแบ่งเป็นเต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับจำนวน 107 ตัว เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นจำนวน 123 ตัว และเต่าติดเบ็ดจำนวน 16 ตัว หลังจากทำการรักษาพบว่ามีเต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 178 ตัว เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษาจำนวน 7 ตัว เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อยจำนวน 23 ตัว และเต่าที่เสียชีวิตจำนวน 38 ตัว

4 ม.ค. 2567

อัปเดตโครงการสรุปผลการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทยเดือน ม.ค. - ธ.ค. ประจำปี 2562

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 ม.ค. 2562 - 31 ธ.ค. 2562

ในปี 2562 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 324 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ แสดงดังในตาราง

โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมดแบ่งเป็น

  • เต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับจำนวน 114 ตัว
  • เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นจำนวน 194 ตัว
  • เต่าติดเบ็ดจำนวน 16 ตัว

หลังจากทำการรักษาพบว่า

  • เต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 182 ตัว
  • เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษาจำนวน 36 ตัว
  • เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อยจำนวน 51 ตัวต่าที่เสียชีวิตจำนวน 55 ตัว

 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำขอนำภาพเกี่ยวกับเต่าแต่ละชนิดมาฝากกัน

ขอบคุณค่ะ 

 

4 ม.ค. 2567

อัปเดตโครงการครึ่งปีแรก '62 ช่วยเหลือเต่าไปแล้ว 98 ตัว

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 ม.ค. 2562 - 30 มิ.ย. 2562

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคในสัตว์น้ำทุกชนิดรวมทั้งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน ทั้งในและนอกสถานที่ รวมถึงการทำวิจัย หรือวิจัยผลิตภัณฑ์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และร่วมเปิดระดมทุนผ่านเทใจดอทคอมเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลเต่าและตะพาบไทยมาตั้งแต่ปี 2561 และต่อเนื่องถึงปี 2562

ผลการทำงานตั้งแต่มกราคม-มิถุนายนปี 2562 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 98 ตัว โดยแบ่งการช่วยเหลือเต่าชนิดต่างๆ ดังตาราง

เดือน/ชนิดเต่า เต่าบัว เต่านา เต่าหับ เต่าดำ ตะพาบ รวม (ตัว)
ม.ค. 14 10 2 2 1 29
ก.พ 4 9 1 3 1 18
มี.ค. 3 - 6 - - 9
เม.ย. 3 2 1 1 - 7
พ.ค. 1 3 2 14 3 23
มิ.ย. 5 5 - 1 1 12

อาการของเต่าที่เข้ารับการรักษา 

  1. เต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับ  จำนวน 35 ตัว
  2. เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ  จำนวน 55 ตัว
  3. เต่าติดเบ็ด  จำนวน 8 ตัว

การดำเนินงานหลังทำการรักษาเต่า

  1. ปล่อยเต่าคืนสู่ธรรมชาติไปแล้ว จำนวน 38 ตัว
  2. เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษา  จำนวน 22 ตัว
  3. เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อย  จำนวน 23 ตัว
  4. เต่าที่เสียชีวิต  จำนวน 15 ตัว

ปัจจุบันทางศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ยังมีสัตว์น้ำที่ไม่มีเจ้าของเข้ามารักษาจำนวนมาก เช่น ปลาหรือเต่าสายพันธุ์จากต่างประเทศที่ลักลอบนำเข้ามา สัตว์ทะเลที่บาดเจ็บหรือเกยตื้น เป็นต้น และในปีนี้เราจะนำเงินจากคนใจดีมาช่วยรักษาสัตว์เหล่านี้กันด้วย เพื่อขยายความช่วยเหลือ สิ่งมีชีวิต การอนุรักษ์สัตว์ และขยายพันธุ์ในสัตว์บางประเภทต่อไป

เราขอขอบคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้

4 ม.ค. 2567

อัปเดตโครงการปี 61 รักษาเต่า-ตะพาบ 389 ตัว

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

1 ม.ค. 2561 - 31 ธ.ค. 2561

ในปี 2561 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 389 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ แสดงดังในตาราง

ชนิดเต่า เต่าบัว เต่านา เต่าหับ เต่าดำ เต่าเหลือง ตะพาบ เต่าหวาย เต่าตนุ
ม.ค. 18 7 4 2 - - 1 -
ก.พ. 13 5 1 1 - - - -
มี.ค. 12 7 1 - - 4 - -
เม.ย. 14 3 2 2 - - 3 -
พ.ค. 13 3 3 3 - - - -
มิ.ย. 7 5 4 1 12 4 - -
ก.ค. 12 25 7 1 1 4 2 -
ส.ค. 17 8 7 2 8 - 2 -
ก.ย. 12 16 2 4 - 3 1 -
ต.ค. 17 7 2 2 - 1 1 -
พ.ย. 15 8 6 6 - 1 - 1
ธ.ค. 17 8 6 1 - 1 - -
รวม 153 102 45 24 21 14 2 1

จากจำนวนเต่าทั้งหมดแบ่งเป็นเต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับจำนวน 154 ตัว เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ จำนวน 209 ตัว และเต่าติดเบ็ดจำนวน 26 ตัว หลังจากทำการรักษาพบว่ามีเต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 269 ตัว เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษาจำนวน 18 ตัว เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อยจำนวน 35 ตัว และเต่าที่เสียชีวิตจำนวน 67 ตัว

มีเต่าและตะพาบที่รอรับการรักษาอยู่ มาร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลเต่ากันได้ที่ https://taejai.com/th/d/saveturtle/