project สัตว์

กองทุนรักษาเต่าบาดเจ็บ

ช่วยเหลือค่าผ่าตัด อาหารและยา เต่าและตะพาบไทยในธรรมชาติ ที่เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุให้กลับมามีสุขภาพที่ดี หายจากความเจ็บป่วย และได้รับการปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง

ระยะเวลาโครงการ ตลอดปี พื้นที่ดำเนินโครงการ The Veterinary Medical Aquatic animal Research Center (VMARC), Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University

ยอดบริจาคขณะนี้

2,610,206 บาท

เป้าหมาย

3,000,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 87%
250 วัน จำนวนผู้บริจาค 3,054

ความคืบหน้าโครงการ

สรุปผลการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทยเดือน ม.ค. - ธ.ค. ประจำปี 2563

26 มกราคม 2021

ในปี 2563 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 246 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ ดังตาราง 

โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมดแบ่งเป็นเต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับจำนวน 107 ตัว เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นจำนวน 123 ตัว และเต่าติดเบ็ดจำนวน 16 ตัว หลังจากทำการรักษาพบว่ามีเต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 178 ตัว เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษาจำนวน 7 ตัว เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อยจำนวน 23 ตัว และเต่าที่เสียชีวิตจำนวน 38 ตัว

ภาพประกอบ

น้องเต่าที่ได้รับบาดเจ็บ กระดองแตก และกำลังทำการรักษา

ตัวอย่างภาพเอ็กซเรย์

เพิ่มยา และอาหาร ทางสายยางให้กับน้องเต่า

เต่าที่อยู่ในระหว่างการรักษา และการฟื้นฟู เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จะมีเต่า ตะพาบน้ำ เจ็บป่วยที่ไม่มีเจ้าของเข้ามารับการรักษาเป็นจำนวนประมาณ 300-500 ตัวต่อปี

เคสส่วนใหญ่ที่เราพบจะมีทั้ง....
เต่าทะเลเกยตื้นเพราะกินขยะ กินพลาสติก
เต่ากินเหรียญ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ 
เต่าที่โดนรถทับกระดองแตก

การดูแลเต่าและตะพาบน้ำแต่ละตัวจะแตกต่างกันตามอาการที่พบเจอ รวมถึงระยะเวลาที่ป่วย หรือความรุนแรงที่ประสบมา

เต่าบางรายที่มีอาการหนักและจำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดในการรักษา มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 5,000 บาทต่อเคส ถ้าเคสหนักๆ จะอยู่ที่ 20,000 บาท  โดยแต่ละเคสที่ทำการช่วยเหลือแบบเร่งด่วนแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อคือการรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อที่จะนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ หรือสถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชนเมือง มีอาหารในธรรมชาติเพียงพอและเหมาะสม และเป็นแหล่งอาศัยท้องถิ่นของเต่าและตะพาบชนิดนั้นๆ เพื่อคืนชีวิตและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป ซึ่งเป็นการอนุรักษ์พันธุ์เต่าไทยในประเทศไทยให้มีชีวิตเเละจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นนอกเหนือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว ยังมีค่าอาหารและยาประมาณ 500 บาทต่อเดือนต่อตัวที่ต้องการใช้ดูแล

บรรยายภาพ : เคสเต่าได้รับบาดเจ็บที่ส่งมารักษาที่ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ

ทางศูนย์จัดตั้งกองทุนช่วยชีวิตสัตว์น้ำ โดยเปิดเป็นกองทุนรับบริจาคจากผู้ใจดีที่ให้ความเมตตากับเต่าป่วยและพิการ แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนเต่าที่เข้ามารักษาในโครงการ เนื่องจากการรักษาเต่าแต่ละตัว โดยเฉพาะเต่าที่ประสบอุบัติเหตุนั้นต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษานานกว่าจะหายเป็นปกติ ร่วมกับการใช้วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี เครื่องมือทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ จำนวนมากในการรักษา ซึ่งทางโครงการยังขาดแคลนและต้องการทุนในการจัดซื้ออย่างต่อเนื่อง

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • การช่วยเหลือและการรักษาเต่าและตะพาบท้องถิ่นของไทย จะมีทั้ง เต่าบัว เต่านา เต่าหับ เต่าดำ เต่าเหลือง ตะพาบน้ำ รวมถึงเต่าทะเล ที่มีอาการเจ็บป่วยจากการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ถูกคุกคามจากการขยายพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ที่ได้รับอันตรายหรือประสบอุบัติเหตุ ในหลายกรณี เช่น ถูกรถทับ ติดเบ็ดหรืออุปกรณ์ประมงต่าง ๆ โดนมนุษย์หรือสัตว์อื่นทำร้าย และเต่าที่พิการไม่สามารถทำการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติได้
  • ส่วนเต่าทะเลที่เข้ามารักษาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ส่วนหนึ่งเป็นเต่าธรรมชาติที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเต่าที่ลักลอบเลี้ยงมาแบบผิดวิธีแล้วนำมาบริจาค รวมถึงเต่าทะเลเกยตื้นที่กินขยะทะเลต่างๆ พวกพลาสติก เหรียญ สิ่งแปลกปลอม เต่าและตะพาบ 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. เจ้าหน้าที่ได้รับการติดต่อจากบุคคลที่พบเจอเต่าประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย สัตวแพทย์จะอธิบายวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนที่จะนำเต่าเข้ามารับการรักษาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
  2. เมื่อสัตว์ถูกส่งตัวเข้ามาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ สัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียดและให้การรักษาพยาบาลตามอาการที่มา โดยส่วนใหญ่จะต้องทำแผล ให้ยา ให้สารน้ำ ป้อนอาหาร กายภาพบำบัด การผ่าตัด และบางตัวอาจจะต้องอาศัยเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดพิเศษต่างๆ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรค เช่น x-ray , ultrasound, endoscopes, CT scan ร่วมด้วย
  3. เต่าที่เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุมาแต่ละรายนั้น จะมีระยะเวลาในการรักษาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอาการและความเสียหายของร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนของกระดอง การรักษาจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือน จนถึง 1 ปี โดยจะมีสัตวแพทย์ที่มีความชำนาญดูแลเต่าจนกว่าจะหายเป็นปกติ ก่อนที่จะนำไปฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมกลับสู่ธรรมชาติต่อไป
  4. เต่าที่ไม่สามารถปล่อยกลับสู่ธรรมชาติได้ เช่น เต่าที่โดนรถทับในตำแหน่งสำคัญทำให้เกิดความพิการ หรือโดนตัดบริเวณใบหน้าและดวงตา ส่งผลให้หากินเองในธรรมชาติไม่ได้ ทางโครงการจะต้องให้การดูแลไปตลอดชีวิต
  5. เมื่อรักษาเต่า ตะพาบน้ำ และเต่าทะเล จนหายแล้วทางโครงการร่วมกับชมรมรักษ์เต่า จะนำสัตว์ที่หายดี สุขภาพแข็งแรง ไปปล่อยในธรรมชาติ โดยจะมีทีมสำรวจพื้นที่จากชมรมฯ ช่วยหาพื้นที่ที่ห่างไกลชุมชน ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ หรือเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่มีอาหารเพียงพอกับสัตว์ เพื่อป้องกันมิให้ได้รับอันตรายอีก

บรรยายภาพ : พาเต่ากลับบ้านกัน

ประโยชน์ของโครงการ  

สนับสนุนค่ารักษา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์และค่าอาหารเพื่อช่วยเหลือชีวิตเต่า ตะพาบน้ำ และเต่าทะเลของไทยที่เจ็บป่วย หรือ ประสบอุบัติเหตุ ให้ได้มียาและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและเพียงพอในการรักษาพยาบาล เป็นการช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์เต่าและตะพาบน้ำไทย เช่น เต่าบัว เต่านา เต่าหับ เต่าดำ เต่าเหลือง ตะพาบไทย รวมถึงเต่าทะเล ให้อยู่ในธรรมชาติต่อไปเพื่อสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ และไม่ตัดโอกาสการในมีชีวิตของเต่าที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเหล่านั้นในการที่จะได้กลับมามีสุขภาพที่ดีและดำรงชีวิตต่อไปอีกครั้ง

สมาชิกภายในทีม 

  • รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร. นันทริกา ชันซื่อ
  • สัตวแพทย์หญิง ดร. ฐนิดา เหตระกูล
  • นายสัตวแพทย์ นรภัทร โตวณะบุตร
  • นายสัตวแพทย์ ปฏินันท์ รุกขชาติ
  • นายสัตวแพทย์ ชัยรัตน์ ซุ้มกอทอง
  • สัตวแพทย์หญิง เมธิรา เลิศหิรัญวงศ์
  • สัตวแพทย์หญิง นิธิวดี เกษจำรัส
  • สัตวแพทย์หญิง ชญานิศ ดาวฉาย
  • สัตวแพทย์หญิง ธนัชพร ตันติวีรกุล
  • นายสัตวแพทย์ สิรวิชญ์ ศรีศิริ
  • นายสัตวแพทย์ สฤษฏ์ปกรณ์ สมิทธิวงศ์
  • นางสาวสุภมาศ แซ่เฮง

ภาคี

ชมรมรักษ์เต่า

เทใจดอทคอม ขออนุญาตหักค่าธรรมเนียมการให้บริการ 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

ปี 61 รักษาเต่า-ตะพาบ 389 ตัว

1 กุมภาพันธ์ 2019

ในปี 2561 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 389 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ แสดงดังในตาราง

ชนิดเต่าเต่าบัวเต่านาเต่าหับเต่าดำเต่าเหลืองตะพาบเต่าหวายเต่าตนุ
ม.ค.18742--1-
ก.พ.13511----
มี.ค.1271--4--
เม.ย.14322--3-
พ.ค.13333----
มิ.ย.7541124--
ก.ค.122571142-
ส.ค.178728-2-
ก.ย.121624-31-
ต.ค.17722-11-
พ.ย.15866-1-1
ธ.ค.17861-1--
รวม1531024524211421

จากจำนวนเต่าทั้งหมดแบ่งเป็นเต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับจำนวน 154 ตัว เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ จำนวน 209 ตัว และเต่าติดเบ็ดจำนวน 26 ตัว หลังจากทำการรักษาพบว่ามีเต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 269 ตัว เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษาจำนวน 18 ตัว เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อยจำนวน 35 ตัว และเต่าที่เสียชีวิตจำนวน 67 ตัว

ภาพเต่าที่ได้รับการรักษา


เต่ากระดองแตก


เต่ากระดูกขาหัก


ตะพาบรอการรักษา


หมอ ณ รักษาเต่าบาดเจ็บ


มีเต่ารอรับรักษาอยู่


เต่าตนุกลับมาว่ายน้ำได้เหมือนเดิม

มีเต่าและตะพาบที่รอรับการรักษาอยู่ มาร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลเต่ากันได้ที่ https://taejai.com/th/d/saveturtle/

ครึ่งปีแรก '62 ช่วยเหลือเต่าไปแล้ว 98 ตัว

27 สิงหาคม 2019

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคในสัตว์น้ำทุกชนิดรวมทั้งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน ทั้งในและนอกสถานที่ รวมถึงการทำวิจัย หรือวิจัยผลิตภัณฑ์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และร่วมเปิดระดมทุนผ่านเทใจดอทคอมเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลเต่าและตะพาบไทยมาตั้งแต่ปี 2561 และต่อเนื่องถึงปี 2562

ผลการทำงานตั้งแต่มกราคม-มิถุนายนปี 2562 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 98 ตัว โดยแบ่งการช่วยเหลือเต่าชนิดต่างๆ ดังตาราง

เดือน/ชนิดเต่าเต่าบัวเต่านาเต่าหับเต่าดำตะพาบรวม (ตัว)
ม.ค.141022129
ก.พ4913118
มี.ค.3-6--9
เม.ย.3211-7
พ.ค.13214323
มิ.ย.55-1112


อาการของเต่าที่เข้ารับการรักษา 

  1. เต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับ  จำนวน 35 ตัว
  2. เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ  จำนวน 55 ตัว
  3. เต่าติดเบ็ด  จำนวน 8 ตัว

การดำเนินงานหลังทำการรักษาเต่า

  1. ปล่อยเต่าคืนสู่ธรรมชาติไปแล้ว จำนวน 38 ตัว
  2. เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษา  จำนวน 22 ตัว
  3. เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อย  จำนวน 23 ตัว
  4. เต่าที่เสียชีวิต  จำนวน 15 ตัว

ดร. นันทริกา ชันซื่อ (หมอหนิ่ง) และตะพาบที่บาดเจ็บ 


ปัจจุบันทางศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ยังมีสัตว์น้ำที่ไม่มีเจ้าของเข้ามารักษาจำนวนมาก เช่น ปลาหรือเต่าสายพันธุ์จากต่างประเทศที่ลักลอบนำเข้ามา สัตว์ทะเลที่บาดเจ็บหรือเกยตื้น เป็นต้น และในปีนี้เราจะนำเงินจากคนใจดีมาช่วยรักษาสัตว์เหล่านี้กันด้วย เพื่อขยายความช่วยเหลือ สิ่งมีชีวิต การอนุรักษ์สัตว์ และขยายพันธุ์ในสัตว์บางประเภทต่อไป

เราขอขอบคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้

สรุปผลการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทยเดือน ม.ค. - ธ.ค. ประจำปี 2562

18 มิถุนายน 2020

ในปี 2562 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 324 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ แสดงดังในตาราง


โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมดแบ่งเป็น

  • เต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับจำนวน 114 ตัว
  • เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นจำนวน 194 ตัว
  • เต่าติดเบ็ดจำนวน 16 ตัว

หลังจากทำการรักษาพบว่า

  • เต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 182 ตัว
  • เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษาจำนวน 36 ตัว
  • เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อยจำนวน 51 ตัวต่าที่เสียชีวิตจำนวน 55 ตัว

 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำขอนำภาพเกี่ยวกับเต่าแต่ละชนิดมาฝากกัน

ขอบคุณค่ะ 


สรุปผลการช่วยเหลือเต่าและตะพาบไทยเดือน ม.ค. - ธ.ค. ประจำปี 2563

26 มกราคม 2021

ในปี 2563 ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ได้รับเต่าและตะพาบไทยไม่มีเจ้าของที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย เข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนทั้งสิ้น 246 ตัว โดยแบ่งเป็นเต่าชนิดต่างๆ ดังตาราง 

โดยจากจำนวนเต่าทั้งหมดแบ่งเป็นเต่าที่ได้รับบาดเจ็บกระดองแตกจากอุบัติเหตุรถทับจำนวน 107 ตัว เต่าที่มีอาการเจ็บป่วยอื่นจำนวน 123 ตัว และเต่าติดเบ็ดจำนวน 16 ตัว หลังจากทำการรักษาพบว่ามีเต่าที่ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 178 ตัว เต่าที่ยังอยู่ในการดูแลรักษาจำนวน 7 ตัว เต่าที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกายก่อนทำการปล่อยจำนวน 23 ตัว และเต่าที่เสียชีวิตจำนวน 38 ตัว

ภาพประกอบ

น้องเต่าที่ได้รับบาดเจ็บ กระดองแตก และกำลังทำการรักษา

ตัวอย่างภาพเอ็กซเรย์

เพิ่มยา และอาหาร ทางสายยางให้กับน้องเต่า

เต่าที่อยู่ในระหว่างการรักษา และการฟื้นฟู เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

แผนการใช้เงิน


ค่ารักษา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์และค่าอาหารเพื่อช่วยเหลือชีวิตเต่า ตะพาบน้ำ และเต่าทะเลของไทย

3,000,000 บาท

ค่าใช้จ่ายร่วมค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10% แล้ว

(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

บริจาคให้
กองทุนรักษาเต่าบาดเจ็บ

เลือกการบริจาค

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน