cover_1

ชวนทำบุญปล่อยปลา โดยไม่ต้องซื้อปลามาปล่อย

สัตว์
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปลงพื้นที่เก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายให้กับแม่น้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม1แห่ง

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
23 พ.ย. 2567

รายงานปิดโครงการลงพื้นที่ปฎิบัติงานอาสาปกป้องปลาในฤดูมีไข่

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

16 มิ.ย. 2567 - 15 ก.ย. 2567

พื้นที่ที่ทำกิจกรรม

อ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม จ.กาญจนบุรี

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

แม่น้ำ
2สาย
อื่นๆ
3กลุ่ม

การทำงานในครั้งนี้ เป็นการทำงานยกระดับจากการทำงานเพียงงานอาสาเก็บกู้เครื่องมือผิดกฎหมาย พัฒนาเป็นการทำงานสนับสนุนเครือข่าย ซึ่งรวมทั้งคณะทำงานภาครัฐและเอกชน โดยเนื้องานภาคสนามแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1.งานอาสาสมัครปกป้องปลาในฤดูมีไข่ ขับเคลื่อนการทำงานโดยอาสาสมัครกลุ่มใบไม้ร่วมกับคณะทำงานในพื้นที่ เช่น หน่วยประมงฯ หน่วยอุทยานฯ

แต่ละครั้งกลุ่มใบไม้จะมีการประชาสัมพันธ์รับอาสาสมัครที่มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เข้าร่วมปฏิบัติงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่ โดยจะกำหนดรอบทำงานตามสถานการณ์ของฝน ฤดูกาล และกระแสน้ำ ในแต่ละครั้งจะมีอาสาสมัครเข้าร่วมปฏิบัติงานประมาณ 10-15 คน สมทบกับคณะทำงานจากหน่วยประมงฯ และอุทยานฯ รวมทั้งภาคส่วนอื่น ๆ ปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้เรือในการทำงานเป็นหลัก และใช้พื้นที่แพอาสาสมัครและด่านตรวจร่วมฯ เป็นฐานในการปฏิบัติงานอาสา

นอกจากภารกิจในการออกเรือค้นหา เก็บกู้ และช่วยชีวิตฝูงปลาแล้ว ยังมีการทำงานด้านการเรียนรู้ อธิบายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้กับอาสาสมัครฟัง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หาแนวทางในการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่ขยายผลได้กว้างไกลขึ้น

2.งานสนับสนุนการทำงานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม เช่น อุปกรณ์การทำงาน เสบียงอาหาร ยาสามัญ และอุปกรณ์จำเป็นในการดำรงชีพภาคสนาม

กลุ่มใบไม้ได้มีการสนับสนุนอุปกรณ์จำเป็นในการทำงาน เช่น ยาสามัญ อุปกรณ์กันน้ำ กันฝน รวมทั้งเสบียงอาหารแห้ง อาหารสด อุปกรณ์ในการเก็บกู้ แบตเตอรี่ต่าง ๆ รวมทั้งได้ประสานงานความร่วมมือในการติดตั้งระบบพลังงานไฟฟ้าโซล่าเซลขนาด 3.5kw พร้อมแบตเตอรี่ เพื่อเพิ่มขีดศักยภาพในการทำงาน เพื่อให้ภาคสนามทำงานได้สะดวกขึ้น

3.สนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการทำงาน และอะไหล่เรือ อุปกรณ์ในการทำงานภาคสนามต่าง ๆ

ด้วยระยะทางการเดินทางที่ไกล (350-400 กิโลเมตรจากกรุงเทพ) อาสาสมัครจะต้องใช้เวลาเดินทางค่อนข้างมาก จึงมีการกำหนดเนื้องานร่วมกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการภาคสนาม โดยกลุ่มใบไม้สนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการทำงาน ซึ่งโดยปกติการทำงานทางเรือ มีข้อจำกัดเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงของหน่วยงานที่มีจำกัดอย่างมาก (ไม่เพียงพอ) จึงได้มีการสนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานภาคสนามทั้ง 2 หน่วยฯ (อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีการสนับสนุนอะไหล่ เครื่องมือ ในการซ่อมแซมอุปกรณ์การทำงาน ซ่อมบำรุงเรือและยานพาหนะ

4.ซ่อมแซม แพทำงานอาสา และแพด่านตรวจร่วม เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาปกป้องพื้นที่ในฤดูปลามีไข่

ด้วยการทำงานภาคสนามที่อยู่กับสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งฝนตกหนัก พายุเข้า แดดดออก น้ำขึ้น น้ำลง และการใช้งานแพเพื่อรองรับคนทำงานที่หลากหลาย ในโครงการปีนี้จึงได้มีการซ่อมแซมแพอาสา ต่อเติมส่วนที่จำเป็นเช่นห้องน้ำ ไฟส่องสว่าง อุปกรณ์ครัว และหลังคาผ้าใบเพื่อกันฝน ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของฐานปฏิบัติงาน ที่ไม่ได้เกิดประโยชน์เฉพาะการรองรับทีมอาสาฯ แต่ยังเกิดประโยชน์ระยะยาวที่จะสามารถใช้พื้นที่แพอาสา ด่านตรวจร่วมฯ ในการรองรับการจัดกิจกรรม ประชุม ชี้แจงข้อมูลสำคัญระหว่างหน่วยงานฯ และชาวบ้าน ชาวประมงเป็นต้น

โดยในปีนี้มีการสร้างความร่วมมือพัฒนาระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ติดตั้งบริเวณแพอาสาฯ เพื่อให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

โดยการทำงานในปี 2567 กลุ่มใบไม้ได้นำอาสาสมัครลงพื้นที่เป็นจำนวน 7 ครั้ง และสนับสนุนทรัพยากรทำงานให้เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่เสริมจากแผนปฏิบัติงานปกติอีก 12 ครั้ง

 

-----------------------------------------------------

การทำงานเก็บกู้และช่วยชีวิตฝูงปลา เป็นงานที่ต้องทำแข่งกับเวลา โดยมีขั้นตอนสำคัญคือ

1.การค้นหาตาข่ายหรือเครื่องมือทำประมงผิดกฎหมาย โดยการใช้เรือเดินทางบนผืนน้ำ และใช้อุปกรณ์ช่วยในการควานหาใต้ผิวน้ำเป็นระยะ

2.เมื่อเจอตาข่ายหรือเครื่องมือทำประมงผิดกฎหมาย ก็ทำการยก เก็บกู้ ขึ้นมาบนเรือเพื่อเก็บหลักฐานกลับไปที่หน่วยประมงฯ ในขณะเดียวกันถ้าเจอปลาที่ยังมีสัญญาณชีพ ก็ต้องรีบเข้าสู่ ข้อที่ 3 

3.ช่วยชีวิตปลาโดยการใช้กรรไกรตัดตาข่าย ปลดปลา ปล่อยพันธนาการจากตาจ่ายออกจาพ่อแม่พันธุ์ปลาและรีบปล่อยปลาคืนสู่แหล่งน้ำให้เร็วที่สุด

บอกเล่าความประทับใจ

ฤดูน้ำแดงเป็นโครงการที่การลงมือลงแรงมากของกลุ่ม เราเห็นบางอย่างจากสิ่งที่เราทำ ปลาที่หายไป กับการกลับมาของมัน ความร่วมมือของชาวบ้านบางคน ความมุ่งมั่นเข้าเจ้าหน้าที่กรมประมง ที่เฝ้าพื้นน้ำที่ใหญ่กว่าตัวเค้า หลายร้อยเท่าด้วยตัวคนเดียว เรารู้สึกว่าตัวเราคือแรงขับเคลื่อน เป็นพลัง ให้

นายอัฐพล นิยม ทีมประสานงานอาสาสมัครโครงการปกป้องปลาในฤดูมีไข่

งานอาสาฤดูน้ำแดง เป็นงานที่ ไม่เหมือน ที่เคยรู้จักมา และมีความน่าสนใจ ของตัวเนื้องาน มากๆ และเมื่อได้ลองไป ลงมือทำ และเรียนรู้ จึงได้เข้าใจ ว่าทำไม เราถึงต้อง ไป เก็บกู้ ตาข่าย หรืออุปกรณ์ประมง ที่ผิดกฎหมาย เพราะจะได้ อนุรักษ์ พันธุ์สัตว์น้ำ และ ยังทำให้ มีสัตว์น้ำคงอยู่กับพวกเรา

นายวสพล เปรมปริ่ม อาสาสมัครนักกิจกรรม กลุ่มใบไม้

รายงานการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
สนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการทำงานของเครือข่ายคณะทำงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่

12ครั้ง60,000.00
จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ในการทำงานบนแพอาสาสมัคร และเรือ

1ชุด10,000.00
จัดซื้ออุปกรณ์สนับสนุนการทำงานภาคสนาม

1ชุด20,000.00
ซ่อมแซม แพทำงาน และด่านตรวจร่วมฯ

1ครั้ง40,000.00
สนับสนุนอุปกรณ์สำรวจภาคสนาม

1ชุด36,000.00
ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับอาสาสมัคร ครั้งละ 12-16 คน

7ครั้ง140,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด306,000.00