cover_1

พ่อบ้านแม่บ้านพลังบวก

เด็กและเยาวชน
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะจัดอบรมทักษะการสื่อสารเชิงบวกให้กับพ่อบ้านแม่บ้านและเจ้าหน้าที่ในสถานพินิจ120คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
25 ส.ค. 2566

อัปเดตโครงการเสริมทักษะการสื่อสารเชิงบวกให้กับพ่อบ้านแม่บ้านและเจ้าหน้าที่

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

25 ส.ค. 2566 - 25 ส.ค. 2566

โครงการ พ่อบ้านแม่บ้านพลังบวก พื้นที่การเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสารเชิงบวกให้กับพ่อบ้านแม่บ้านและเจ้าหน้าที่ ผ่านรูปแบบการแบ่งปันจากประสบการณ์จริง ดำเนินการโดย บริษัท ทูลมอโร จำกัด

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ธรรมชาติพัฒนาการของเด็ก พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก และแนวคิดเรื่องการสื่อสารเชิงบวก ปัจจัยพื้นฐานในการปรับพฤติกรรมเด็ก หลักการปรับพฤติกรรมเด็กตามช่วงวัย
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารของพ่อบ้านแม่บ้านในการช่วยปรับพฤติกรรมและส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี (เสริมแรงทางบวก) ของเด็กที่ดูแล เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีพื้นที่ในการพูดคุย ระบายทุกข์สุข แลกเปลี่ยนประสบการณ์

กลุ่มเป้าหมาย : พ่อบ้านแม่บ้าน ของสถานพินิจ และศูนย์ฝึกฯ นำร่อง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก จํานวน 33 คน

เป้าหมาย : ผู้เข้าอบรมที่ผ่านกระบวนการทำกลุ่มเรียนรู้ออนไลน์ มีความเข้าใจในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเด็ก นำวิธีการสื่อสารเชิงบวกไปใช้ในการดูแลเด็ก

รูปแบบการอบรม : กระบวนการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และฝึกปฏิบัติ ในรูปแบบ online group sharing ผ่านโปรแกรม zoom

ระยะเวลาในการจัดอบรม : เรียน 4 สัปดาห์ๆ ละ 2 วัน โดยแบ่งการเรียนเป็น 2 รอบ และติดตามผลต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

  • รอบวันอังคาร และ วันพุธ เวลา 13.00 – 15.00 น. เริ่มวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566
  • รอบวันพฤหัส และ วันศุกร์ เวลา 9.00 – 11.00 น. เริ่มวันพฤหัสที่ 13 กรกฎาคม 2566

จำนวนผู้เรียนทั้งสิ้น 33 คน แบ่งการเรียนเป็น 2 รอบ

  • การทำกลุ่มเรียนรู้รอบวันอังคาร และ วันพุธ จำนวนผู้เรียน 15 คน
    เริ่มเรียนวันที่ 11 ก.ค - 2 ส.ค. เวลา 13.00 - 15.00
  • การทำกลุ่มเรียนรู้รอบวันพฤหัส และ วันศุกร์ จำนวนผู้เรียน 18 คน
    เริ่มเรียนวันที่ 13 ก.ค - 4 ส.ค. เวลา 09.00 - 12.00

หัวข้อการเรียน

  • ครั้งที่ 1 เปิดกลุ่มเตรียมความพร้อม
  • ครั้งที่ 2 มีสติกับการพูดและการฟัง โดยใช้ I Message
  • ครั้งที่ 3 เรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์
  • ครั้งที่ 4 การให้คำชม
  • ครั้งที่ 5 การวางกติกา การสร้างการมีส่วนร่วม
  • ครั้งที่ 6 การให้รางวัล/การลงโทษ/ข้อจำกัดความยากในการปรับใช้กับเด็กจำนวนมาก
  • ครั้งที่ 7 สะท้อนการเรียนรู้และวางแผนการนำไปใช้

ตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนและหลังทำกิจกรรม จากผู้เรียนที่เข้าเรียนต่อเนื่อง

 

 

ผลการประเมินเชิงคุณภาพ

ผู้เรียนส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเอง และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับเด็กๆที่ดูแล โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ดังนี้

  • การจัดการอารมณ์ตัวเอง เป็นคนใจเย็นอยู่แล้วแต่เด็กๆก็ทักว่าวันนี้พ่ออารมณ์ดี
  • ได้ฝึกคำชม และฝึกสังเกตเด็กที่ละคน มีความละเอียดมากขึ้น
  • การฟังแบบไม่ตัดสินเด็ก ๆ
  • มีสติในการพูด คิดก่อนพูด
  • การเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ทำให้รู้สึกได้เติมพลังชีวิต
  • ใช้ภาษาฉัน การสื่อสารถึงความรู้สึก บอกความต้องการ ดีมากเลย และได้สังเกตตัวเอง จากสัตว์ 4 ทิศ จะลองใช้เทคนิคกาสร้างกติกา และปรับการลงโทษ ให้ไม่รุนแรงและไม่ใช้อารมณ์

ปัญหา อุปสรรค

  • ผู้เรียนเข้าสายเนื่องจากติดภารกิจ
  • ผู้เรียนฟังอย่างเดียว เข้ามาแล้วไม่สะดวกเปิดกล้อง เปิดไมค์ เพื่อแลกเปลี่ยน
  • ระหว่างเรียนต้องทำงานไปด้วย ทำให้การแลกเปลี่ยนไม่ต่อเนื่อง และขาดสมาธิในการเรียน

ข้อเสนอแนะ

  • ทางกรมแจ้งต้นสังกัดของพ่อบ้านเรื่องการอบรม เพื่อให้สามารถเข้าอบรมได้อย่างเต็มที่และมีสมาธิ
  • มีพื้นที่ให้พ่อบ้าน เพื่อนร่วมงานได้พูดคุยแลกเปลี่ยน
  • อยากเรียนรู้ วิธีการรับมือกับเด็กที่มีอารมณ์รุนแรง อารมณ์แปรปรวน ในเชิงจิตวิทยา
  • ควรมีคู่มือ ความรู้สำหรับการสื่อสารกับเด็กที่อยู่ในศูนย์ฝึก
  • มีการนัดพูดคุยติดตามผลการนำไปปรับใช้ทุกเดือน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

     

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ อธิบาย จำนวนที่ได้ประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชน กลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและศูนย์ฝึก ที่พ่อบ้านแม่บ้านดูแล 1,000 คน เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับพ่อบ้านแม่บ้าน นำไปสู่การมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และมีทัศนคติเชิงบวก
พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อบ้านแม่บ้านที่ดูแลเด็กในสถานพินิจ และศูนย์ฝึก ทั่วประเทศ 33 คน พ่อบ้านแม่บ้านที่เข้าอบรมอย่างต่อเนื่องตลอดหลักสูตรสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการมีความพึงพอใจในชีวิต มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กที่ดูแล โดยเฉพาะในด้านความใกล้ชิดผูกพันระหว่างพ่อบ้านแม่บ้านกับเด็ก การมีกิจกรรมทำร่วมกันกับเด็กมากขึ้น และการสร้างกติการร่วมกัน เพื่อเป็นข้อตกลงของบ้าน