cover_1

พัฒนาชุดโคม LED แก้ปัญหาทารกตัวเหลือง

เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะโคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดให้กับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา1แห่ง

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว
29 มิ.ย. 2560

อัปเดตโครงการชุดโคมไฟ LED แก้ปัญหาทารกตัวเหลืองออกรายการทีวี

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

29 มิ.ย. 2560 - 29 มิ.ย. 2560

ชุดโคมไฟ LED แก้ปัญหาทารกตัวเหลือง จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ออกรายการและสัมภาษณ์ทีมวิจัยในWorkpoint TV  และรายการสมุทรโคจร (หนองโพ the hero)

5 เม.ย. 2560

อัปเดตโครงการส่งมอบเครื่องพัฒนาชุดโคม LED แก้ปัญหาทารกตัวเหลือง ให้กับโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

5 เม.ย. 2560 - 5 เม.ย. 2560

ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016) จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทีมงานผู้พัฒนาโคมไฟต้นแบบชุดโคม LED ได้นำโคมไฟต้นแบบดังกล่าวไปจัดแสดงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานภาคนิทรรศการในงานวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้กล่าวถวายรายงาน และมีกระแสรับสั่งให้พัฒนาชุดโคมไฟจนสำไปสู่การแจกจ่ายตามโรงพยาบาลในที่ห่างไกลต่อไป 

ที่ผ่านมาโครงการพัฒนาชุดโคม LED แก้ปัญหาทารกตัวเหลืองพร้อมชุดขาตั้ง ได้พัฒนาต่อยอดจากผลงาน Cerulean LED Phototherapy โคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ผลงานนิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับอาจารย์แพทย์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ทางทีมงานห้องปฏิบัติการ ECIL ได้มีการปรับปรุงและทดสอบการทำงานของโคมต้นแบบจนสามารถส่งมอบให้กับหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด (NICU)  ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรรัตน์ วัฒนมงคล นายณัทกร เกษมสำราญ และนายเวียงชัย คาระมาตย์ ตัวแทนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ อาจารย์ นายแพทย์ ปราการ ทัตติยกุล และแพทย์หญิงกีรติ อยู่เย็นตัวแทนจากคณะแพทยศาสตร์ ในการส่งมอบโคมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา 

ซึ่งโคมไฟตัวดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการรักษาอาการทารกตัวเหลือง (Neonatal Hyperbilirubinemia) ภายใต้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์ ในระหว่างนี้ทางทีมงานห้องปฏิบัติการ ECIL จะทำการออกแบบ และสร้างโคมไฟรุ่นใหม่ ที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นกว่ารุ่นก่อน โดยมีการนำระบบสมองกลฝังตัวเข้ามาใช้ในการควบคุม และสั่งงานระบบแหล่งกำเนิดแสงโดยตรง แทนการใช้ระบบ Dimming และปรับเปลี่ยนแนวการจัดเรียงของกลุ่มหลอดใหม่ เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอของความเข้มแสงเชิงสเปกตรัมต่อไป ซึ่งได้มีการต่อยอดจากสิ่งประดิษฐ์ของนิสิตระดับปริญญาตรีไปเป็นโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา ที่กำลังขอทุนวิจัย จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อที่จะได้สามารถทำการศึกษาวิจัยทางคลินิก ตลอดจนนำไปสู่การสร้างโคมไฟสำหรับแจกจ่ายต่อไป

ความประทับใจ

"ขอบพระคุณเว็บ “เทใจดอทคอม” ที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว รวมไปถึงผู้ใจบุญที่ร่วมกันบริจาคเข้ามาจนเกินยอดที่ได้ตั้งเป้าไว้ ซึ่งตอนนี้พวกเราได้ส่งมอบให้กับหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด (NICU) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นที่เรียบร้อย หวังว่ากุศลผลบุญจะส่งกลับไปยังผู้ร่วมบริจาคทุกๆ ท่าน ถ้าไม่มี “เทใจดอทคอม” โครงการของพวกเราก็ไม่จะไม่มาถึงจุดนี้ได้ ทุกท่านสามารถติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหวของพวกเราได้ที่ https://www.facebook.com/ECILBUU/" นายณัทกร เกษมสำราญ ตัวแทนนิสิตประจำห้องปฏิบัติการ ECIL ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
29 ส.ค. 2559

อัปเดตโครงการความคืบหน้าและความประทับใจจากเจ้าของโครงการพัฒนาชุดโคม LED แก้ปัญหาทารกตัวเหลือง

ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

29 ส.ค. 2559 - 29 ส.ค. 2559

โครงการพัฒนาชุดโคม LED แก้ปัญหาทารกตัวเหลืองพร้อมชุดขาตั้ง เกิดจากการพัฒนาต่อยอดจากผลงาน Cerulean LED Phototherapy โคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับแก้ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ผลงานนิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับอาจารย์แพทย์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดย นายณัทกร เกษมสำราญ นายเวียงชัย คาระมาตย์ และนายณัฐพล ไชยมาก (ปัจจุบันจบการศึกษาไปแล้ว ซึ่งจะพัฒนาต่อเพียง 2 คน)

การดำเนินการที่จะเกิดขึ้น

ในระหว่างที่ระดมทุนอยู่นั้น พวกเราได้มีการพัฒนาชุดโคมไฟ และชุดขาตั้งไปพร้อมๆ กัน โดยอาศัยทุนสนับสนุนจากร้าน EasyHomeLED.com มาสำรองจ่ายในค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการสั่งผลิตหลอดแอลอีดีที่มีความยาวคลื่นที่จำเพาะเจาะจงสำหรับใช้ในการประกอบโคมไฟ สำหรับเปลือกโคมที่เกิดจากการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ เกิดขึ้นสำเร็จได้โดยร้าน NTT Pro 3D Printer ภาพรวมของชุดโคมไฟแอลอีดีสมบูรณ์ไปถึงร้อยละ 90 ซึ่งยังมีจุดแก้ไขปรับปรุงบางส่วน เช่น การระบายความร้อนของอุปกรณ์ ก่อนที่จะส่งมอบโคมไฟพวกเราอยากพัฒนาให้สมบูรณ์ที่สุด และให้ดีกว่าตัวต้นแบบที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ตัวโคมไฟต้นแบบได้ถูกนำไปจัดแสดงในงาน มหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016) จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานภาคนิทรรศการในงานวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้กล่าวถวายรายงาน และมีกระแสรับสั่งให้พัฒนาชุดโคมไฟจนสำไปสู่การแจกจ่ายตามโรงพยาบาลในที่ห่างไกลต่อไป ข่าวเพิ่มเติม http://s.ch7.com/188892

ตั้งแต่ที่มีการเปิดการระดมทุนโครงการขึ้นมา มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวน 20 ท่าน และบริจาคเป็นจำนวนเงินที่สูง จึงทำให้สามารถปิดโครงการได้ก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับเงินบริจาคที่เหลือจากการพัฒนาชุดโคมไฟและขาตั้ง จะนำไปสบทบทุนบริจาคให้กับการสร้าง อาคารวิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

ความประทับใจ

ขอบพระคุณเว็บ “เทใจดอทคอม” ที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว รวมไปถึงผู้ใจบุญที่ร่วมกันบริจาคเข้ามาจนเกินยอดที่ได้ตั้งเป้าไว้ จากเดิม 20,000 บาท เป็น 26,000 บาท ถือเป็นโครงการแรกที่ประสบความสำเร็จในการระดมทุน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลระดับชาติ และสามารถนำไปใช้ได้จริง พวกเราจะตั้งใจพัฒนาโคมไฟตัวนี้ให้ดีที่สุด ให้เป็นไปตามความต้องการและกำลังใจจากผู้บริจาคทุกๆ ท่าน ทั้ง 20 ท่าน พวกเราจะพยายามอัพเดทความคืบหน้าของโครงการอยู่เป็นระยะทั้งการบวนการพัฒนาปรับปรุงจนถึงการส่งมอบ ซึ่งส่วนของภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษานั้นไม่สามารถเผยแพร่ได้ เนื่องจากจะผิดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณทางการแพทย์ รวมถึงคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย สำหรับท่านที่บริจาคเข้ามาสามารถพูดคุยสอบถามกับพวกเราได้ที่ https://www.facebook.com/ECILBUU/  นายณัทกร เกษมสำราญ ตัวแทนนิสิตประจำห้องปฏิบัติการ ECIL ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา